IT Trend2020

เมื่อวันก่อนผมเขียนบทความเรืีอง API Econmy ตอนแรก เพื่อชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างของบริษัทในต่างประเทศที่ใข้ API ในการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ วันนี้เลยขอมาเขียนต่อเพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนา API รูปแบบของ API ต่างๆ กลยุทธ์การพัฒนา API ขององค์กร และข้อที่ควรคำนึงถึงในการพัฒนา API ขององค์กร

ทำไมต้องพัฒนา API

ในปัจจุบันหลายๆองค์กรก็เริ่มที่จะก้าวเข้าสู่ดิจิทัล มีการพัฒนาระบบไอทีในองค์กร พัฒนาเว็บไซต์ Mobile App แต่สิ่งที่พบก็คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของไอที มีอุปกรณ์ใหม่ๆมากมาย ทำให้การพัฒนาไอทีในองค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆได้เพราะจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์มีไม่พอ นอกจากนี้การพัฒนาไอทีเองก็ไม่สามารถที่จะทำให้ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากเข้าถึงระบบเราได้ ลองพิจารณาดูจากรูปที่ 1 จะเห็นว่าถ้าบริษัทต้องทำซอฟต์แวร์เอง สร้างข้อมูลและ Application เอง ก็จะมีผู้เข้าถึงระบบได้เพียงแค่จำนวนหนึ่ง แต่ถ้าเรามีการเปิด Web APIs ให้คนอื่นเข้ามาใช้ได้ จะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นเว็บไซต์อื่นๆที่เข้าถึงระบบของเรา Application หรือ Mobile App ที่พัฒนาโดยคนอื่นๆ ทำให้มีผู้เข้าถึงข้อมูลธุรกิจเราได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจโตขึ้นได้มากขึ้นจากนวัตกรรมที่คนอื่นมาช่วยกันพัฒนา

Screenshot 2014-11-04 15.19.33

รูปที่ 1 การเปิด APIs  จะทำให้เราเข้่าถึงผู้คนที่อยู่บนโลกออนไลน์ได้มากขึ้น

เหตุผลหลักๆที่ต้องพัฒนา API มีสองประเด็น

1) การเติบโตของอุปกรณ์โมบายที่มีหลากหลายทั้งในแง่ของ OS และยี่ห้อที่อาจมีขนาดที่แตกต่างกัน และยังมีเรื่องของ Internet  of Things  ที่มีอุปกรณ์ใหม่ๆที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เช่น Smart TV, Smart Watch  ซึ่งในปัจจุบันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอาจเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากกว่าใช้พีซี องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาเว็บหรือ Application ให้ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งการที่จะให้ทีมไอทีในองค์กรมาพัฒนาระบบเองทั้งหมดย่อมเป็นไปได้ยากมาก การเปิด API จะช่วยทำให้มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยสร้าง Application ให้กับองค์กรได้มากขึ้น

2) การเชื่อมต่อกับธุรกิจอื่นๆ (B2B Integration) โดยการเปิด APIs เพื่อเปิดโอกาสให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆของระบบธุรกิจ เป็นการขยายช่องทางธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

ประเภทของ APIs

เราสามารถที่จะแบ่งประเภทของ API ออกมาได้เป็นสี่กลุ่มดังแสดงในรูปที่ 2

Screenshot 2014-11-04 15.38.26

รูปที่ 2 ประเภทของ APIs

1) Internal APIs คือการเปิด APIs ในองค์กรเพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรสามารถเรียกใช้คำสั่งหรือดึงข้อมูลจากระบบต่างๆในองค์กรได้ องค์กรโดยมากจะประกอบด้วยไอทีหลายๆระบบถูกพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายกลุ่ม แต่ทุกครั้งที่เราจะพัฒนาระบบใหม่และตัองเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เรามักจะมีปัญหาในการที่จะหาวิธีการในการเชื่อมต่อระบบอื่นๆ การสร้าง APIs ภายในองค์กรจะช่วยทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ขององค์กรในอนาคตเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น

2) B2B APIs คือ APIs ที่ต้องการเปิดให้กับคู่ค้า (Partner) ในการที่จะให้เข้าถึงระบบหรือข้อมูลของหน่วยงานเรา เพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของคู่ค้ามาพัฒนา Application หรือนวัตกรรมต่างๆในการขยายธุรกิจของทั้งหน่วยงานเราและคู่ค้า

3) Open Web APIs คือ APIs ที่เปิดกว้างให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไปเข้าไปเรียกใช้ได้ โดยอาจมีโมเดลธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์

4) Product APIs คือ APIs สำหรับผลิตภัณฑ์เช่นซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ต้องการให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไปหรือคู่ค้าสามารถเข้ามาพัฒนาโปรแกรมเิ่มเติมเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ทำให้เกิดระบบนิเวศน์(ecosystem) ของผลิตภัณฑ์ ต้วอย่างของ Product APIs มีอาทิเช่น Salesforce APIs หรือ google Glass APIs

โมเดลธุรกิจของการเปิด APIs

การเปิด APIs จำเป็นต้องหาวิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไปเข้ามาเรียกใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีโมเดลทางธุรกิจที่ดี ซึ่งทาง Programmableweb ได้สรุปให้เห็นรูปแบบธุรกิจต่างๆที่เป็นไปได้ดังนี้

Screenshot 2014-11-04 16.04.05

รูปที่ 3  โมเดลธุรกิจรูปแบบต่างๆของการเปิด APIs [Source: ProgrammableWeb]

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้ได้ฟรี: ตัวอย่างเช่น Facebook APIs ที่อนุญาตให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเรียกใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นผู้จ่าย: ตัวอย่างเช่น AWS APIs ให้นักพัฒนาจ่ายตามบริมาณการใช้งาน หรือ Paypal APIs จะให้นักพัฒนาจ่ายตามจำนวน Transaction
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นผู้ได้รายได้: ตัวอย่างเช่น Google AdSense APIs จะจ่ายเงินให้นักพัฒนาตามจำนวนครั้งที่ถูกเรียก หรือ Amazon Product Advertise APIs จะแบ่งรายได้จากการโฆษณาให้กับนักพัฒนา
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รายได้ทางอ้อม: ตัวอย่างเช่นการเรียก content ของ eBay ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รายได้จากการการพัฒนา Application ของตัวเองหรือการใช้ salesforce APIs ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนา Application ที่ต่อยอดจาก SalesForce.com แลัวมาขายผ่าน Salesforce Marketplace ได้

เครื่องมือการบริหาร APIs

การสร้าง APIs เพื่อเปิดให้กับคนอื่นๆใช้จริงๆแล้วไม่ได้มีความซับซ้อนมาก แต่เรื่องที่ยากคือการบริหาร APIs  การควบคุมการเข้าถึง การบริหารเวอร์ชั่นของ APIs การควบคุม  Life Cycle  การจัดการเรื่องเอกสาร โดยมากเราจะใช้เครื่องมือในการบริหาร APIs ตัวอย่างของเครื่องมือเหล่านี้คือ 3Scale, APIgee  ดังนั้นการพัฒนา APIs จำเป็นต้องเข้าใจการใช้เครื่องมือต่างๆ และการบริหารจัดการ  APIs  มิใช่แค่การสร้าง APIs ที่อาจเป็นเพียงการสร้าง Web Services

Screenshot 2014-11-04 16.11.44

รูปที่ 4  ตัวอย่างของเครื่องมือการบริหาร APIs

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s