Screenshot 2014-12-13 21.47.44

โซลูชั่นของคุณตกลงเป็นของประเทศไหนกันแน่” ผมถามผู้ประกวดรายหนึ่งเพราะเห็นในเว็บไซต์ระบุ สำนักงานตั้งอยู่หลายๆประเทศ “เรามี Headquarter อยู่ที่สิงคโปร์ แต่มี สำนักงานขายที่ ออสเตรเลีย, มาเลเซีย และอีกหลายประเทศ แต่เราเป็นโซลูชั่นจากศรีลังกา เรามีทีมงานพัฒนาที่นั้น 400 คน” บริษัทซอฟต์แวร์จากศรีลังการายนั้นตอบคำถามผม

ระบบเราติดตั้งใช้งานเกือบทุกธนาคารในปากีสถาน ขายไปทั่วในตะวันออกกลาง และแอฟริกา มีหลายธนาคารใน Dubai ก็ใช้ระบบของเรา เรามีทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ที่ปากีสถานมากกว่า 500 คน และเรามี Sales Headquarter อยู่ที่ลอนดอน” ผู้เข้าแข่งขันอีกทีมจากปากีสถานนำเสนอผม

บริษัทเรามีสำนักงานที่สหรัฐอเมริกา และก็ขายสินค้ามามากกว่า 1ล้านชิ้นแล้ว” อีกบริษัทจากประเทศมาเลเซีย

เป็นเรื่องที่ผมได้ยินประจำจากการนำเสนอผลงานประกวด APICTA (Asia Pacific ICT Awards) ของผู้เข้าแข่งขันจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่าง Australia, Hong Kong, Singapore หรือ Pakistan หลายชาตินอกจากมีการนำเสนอที่ดีแล้ว เรายังเห็นว่าโซลูชั่นของเขาก้าวเข้าไปสู่ระดับสากลจริงๆ เป็นเรื่องปกติที่จะได้ยินโซลูชั่นของเขานำไปขายทั่วโลก มีทีมนักพัฒนาเป็นหลายร้อยคน มีสำนักงานในต่างประเทศ มีเทคโนโลยีในการพัฒนาทีน่าสนใจและมีการทำ R&D ที่ดี

ผมตัดสิน APICTA มาสิบปีเห็นโซลูชั่นของประเทศไทยเข้าประกวดมากมาย และมีหลายผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งผมเคยสรุปให้เห็นว่า จากการจัด 14 ครั้งที่ผ่านมาโดยในแต่ละครั้งอาจมีการประกวด 15-17 หมวดเราเคยได้รางวัลชนะเลิศถึง 21 ผลงาน บางท่านดูจากผลงานที่เราได้รางวัล APICTA แล้วอาจจะรีบสรุปว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเจ๋ง เราเก่งกว่าชาติอื่นๆและควรรีบผลักดันให้ซอฟต์แวร์ไทยไปสู่ระดับโลก แต่ถ้าเราไปตามดูผลงานที่ชนะเลิศได้รับรางวัลเราจะพบว่ามีไม่กี่ผลงานที่เราสามารถนำไปขยายตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ แต่บางรายก็อาจจะโชคดีที่ได้เวที APICTA ช่วยผลักดันให้บริษัทมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น เราต้องยอมรับครับว่าหลายๆผลงานเราเด่นในการประกวดตรงใจกรรมการ แต่อาจไม่ใช่ผลงานที่มีจำนวนลูกค้าอยู่มาก ข้อสำคัญผู้เข้าประกวดไทยที่ชนะเลิศบางรายอาจได้รับรางวัลเพราะเด่นด้านนวัตกรรม แต่ถ้าถามถึงความเข้มแข็งของทีมนักพัฒนา และความเป็นไปได้ในการขยายตลาดยังเป็นไปได้ยาก แม้ระยะ 3-4 ปีหลังเราเริ่มเห็นผลงานที่เราชนะเลิศมีโอกาสในตลาดต่างประเทศมากขึ้น และเป็นผลงานชนะเลิศที่มีความโดดเด่นจริงๆ แต่เมื่อเทียบกับโซลูชั่นของประเทศอื่นๆแล้วเรายังสู้ในแง่ของการตลาดไม่ได้ และอาจขาดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการขยายให้โตขึ้น

ปัญหาที่บริษัทซอฟต์แวร์เราสู้เขาไม่ได้ส่วนหนึ่งเราต้องยอมรับครับว่า เราขาดความเป็นสากล การนำเสนอโซลูชั่นเราไม่ว่าจะวิธีการพูด การทำเว็บไซต์ การทำเอกสาร เราสู้ชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่ได้ อีกข้อหนึ่งเราขาดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ การมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนนับร้อยคนในบริษัทของประเทศอื่นๆที่มาประกวดบางทีเป็นเรื่องปกติขณะที่บริษัทของเราพูดกันเป็นหลักสิบเท่านั้น อีกอย่างการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆของเขาเป็นเรื่องปกติ เราจะเห็นซอฟต์แวร์มีการนำเทคโนโลยีอย่าง RESTful, Cloud หรือเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ล่าสุดต่างๆมาใช้ในโซลูชั่นอย่างกลายเป็นเรื่องธรรมดา อาจเป็นเพราะว่าเขามีทีมงาน R&D ในบริษัท ข้อสำคัญอีกประการคือบริษัทของเขามีเป้าหมายการตลาดและจำนวนลูกค้าทั้งภายในประเทศและออกตลาดต่างประเทศที่ชัดเจน

ผมอยากสรุปให้เห็นว่าประเทศต่างๆที่มาแข่ง APICTA แต่ละแห่งมีความโดดเด่นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้เราต้องเร่งพัฒนาคนในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ถ้าเราหวังว่าจะแข่งในระดับสากลได้ในอนาคต แต่อย่าหวังนะครับว่าจะสร้างนโยบายแบบนักการตลาดเป็น Quick Win เพราะการสร้างคนต้องใช้เวลาครับ ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จได้ทันที

  • Australia ต้องยอมรับเรื่องนวัตกรรมที่ค่อนข้างเด่นของเขา เขามีการนำเสนอที่ดี มีตลาดในระดับโลก ข้อสำคัญตลาดในประเทศเขาเองด้านซอฟต์แวร์ก็ขนาดใหญ่มาก
  • Hong Kong เขาถูกฝึกมาให้เป็นนักธุรกิจ ตลาดเขาค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะตลาดขนาดใหญ่ในประเทศจีน แม้แต่ในฮ่องกงเอง ตลาดก็ค่อนข้างใหญ่มาก จุดเด่นอีกอย่างของเขาคือการทำ R&D และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาซอฟต์แวร์
  • Malaysia เขามีการผลักดันจากภาครัฐที่ดี บริษัทมีการวางแผนการตลาดที่ดี มีหลายๆแห่งที่บุกตลาดในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ หรือแม้แต่ในเอเซีย และเนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทำให้มีการนำเสนอผลงานที่ดี อีกอย่างบริษัทของเขามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก
  • Singapore บริษัทจากประเทศนี้มีความเป็นสากลมาก เขามองตลาดในระดับโลก มีการทำแผนการตลาดที่ดี ข้อสำคัญโซลูชั่นเขาจะใช้นวัตกรรมที่ค่อนข้างเด่น
  • Sri Lanka ค่อนข้างแปลกที่เวลาเห็นบริษัทในศรีลังกาจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เขามุ่งบุกตลาดค่อนข้างชัดในกลุ่มประเทศทีใช้ภาษาอังกฤษ
  • Pakistan เป็นอีกประเทศที่บริษัทแต่ละแห่งมีขนาดใหญ่ หลายๆบริษัทมีสำนักงานในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีลูกค้าในตะวันออกกลางและแอฟริกา
  • Taiwan บริษัทจะเด่นเรื่องนวัตกรรมและมีตลาดชัดเจนที่จะมุ่งไปที่ลูกค้าในประเทศจีน

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็ใช่ว่า บริษัทซอฟต์แวร์ไทยจะสู้ประเทศอื่นๆไม่ได้ เรายังเด่นกว่าประเทศอย่าง

  • Vietnam ที่แม้ว่าจะมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยุ่มาก แต่บริษัทส่วนใหญ่ยังเป็น SI หรือทำ Outsourcing ทำให้ไม่ได้มีโซลูชั่นที่เด่นชัด
  • Indonesia ผลงานยังไม่โดดเด่นกว่าบริษัทบ้านเรานัก แต่เขาอาจได้เปรียบเรื่องภาษาอังกฤษที่ดีกว่า แต่เรายังมีความเด่นกว่าเรื่องจำนวนนักพัฒนาและขนาดของตลาดในประเทศ ข้อสำคัญโซลูชั่นเขาก็ไม่ได้บุกไปต่างประเทศมากมายนัก
  • Brunei, Macau สองประเทศนี้ยังเล็กเกินไป และมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบริษัทไม่มากนักส่วนประเทศอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี หรืออินเดีย เขาถือว่าเขาอยู่ในระดับโลกและไม่ได้เข้ามาร่วมประกวด APICTAการประกวดมันคือเกมส์การแข่งขันอย่างหนึ่งที่อาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงในอุตสาหกรรมมากนัก เรามีนักเรียนไทยที่ได้เหรียญทองการแข่งขันโอลิมปิควิทยาศาสตร์เป็นประจำทุกปี แต่ก็ต้องยอมรับกันว่าโดยเฉลี่ยนักเรียนบ้านเราอ่อนทางด้านวิทยาศาสตร์ เราขาดการลงทุนและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่ดี เช่นเดียวกันครับเราอาจได้รางวัลการประกวดซอฟต์แวร์มากมาย มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายคนเก่งระดับโลก แต่ก็ใช่ว่าโดยเฉลี่ยอุตสาหกรรมด้านนี้เราเข้มแข็ง และก็ไม่ใช่ว่าเรามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพจำนวนมากสุดท้ายอยากจะบอกว่าเราเองก็มีหลายบริษัทที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็น Start-up แต่ถ้าจะสร้างอุตสาหกรรมด้านนี้ให้โตเราต้องเน้นการพัฒนาให้ถูกทาง สิ่งที่สำคัญในวันนี้ที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการพัฒนานักซอฟต์แวร์ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ทุกวันนี้เราหานักพัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆได้ยากขึ้นเรื่อย จำนวนคนเรียนทางด้านนี้ก็น้อยลงทุกๆปี มันคือวิกฤตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพราะงานทางด้านนี้คือเราจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากพอ ถ้าเราไม่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพมากพออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เราจะโตได้อย่างไร

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Screenshot 2015-01-25 18.22.23

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s