Screenshot 2017-09-18 10.59.49

ผมคิดว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการที่จะก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ก็คือช่องว่างเชิงวิกฤตเชิงดิจิทัล (Digital Divide) ของภาคประชาชนและหน่วยราชการเอง ผมเองมีโอกาสได้สัมผัสกับการทำงานทั้งภาคเอกชนและภาคราชการ และยังมีโอกาสได้สอนอบรมผู้คนจำนวนมากทั้งในด้านเทคนิคองค์ความรู้ดิจิทัลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ผมยังเห็นช่องว่างของการใช้เทคโนโลยีอีกมาก ระหว่างประชาชนในเมืองกับชนบท ระหว่างภาคราชการกับภาคเอกชน กับองค์กรขนาดใหญ่และ SME  แม้เราจะบอกว่า คนไทยทุกวันนี้ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แต่โดยมากก็เพื่อความบันเทิงเช่น เล่น Facebook เล่นไลน์ เล่น Youtube แต่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของข้าราชการและประชาชนจำนวนมากยังมีน้อยอยู่

ผมคิดว่าองค์กรของเราส่วนใหญ่โดยเฉพาะภาคราชการยังขาดวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล (Digital Culture) ซึ่งมันมีความหมายมากกว่าการใช้เทคโนโลยี องค์กรที่มีวัฒนธรรมเชิงดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลงทุนกับการซื้อเทคโนโลยีมากมาย ไม่ได้หมายความว่าผู้คนในองค์กรจะต้องเก่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งสำคัญคือองค์กรจะต้องมีความโปร่งใส ต้องมีการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ต้องฝึกการใช้เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกัน ต้องมีความคล่องตัวในการทำงาน และต้องรู้จักการแชร์ข้อมูล

แต่ทุกวันนี้หน่วยงานในประเทศหลายหน่วยงานยังใช้เอกสารจำนวนมาก ราชการยังยึดติดกับเอกสาร เรายังส่งแฟกซ์ เซ็นชื่อเข้าประชุม เรายังทำเอกสารโดยใช้กระดาษ เรามีการแชร์ข้อมูลน้อยมาก บุคลากรเองก็ขาดทักษะเชิงดิจิทัล หากเราไม่สามารถพัฒนาบุคลากรรู้จักใช้เครื่องมือใหม่ๆเหล่านี้ ยังขาดวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล ผมเชื่อว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 คงไปไม่ถึงไหน

digital-divide-and-development-communication-3-638

หากเรามองแต่กลุ่มของ SME เราก็จะพบว่า SME จำนวนมากยังใช้ digital ในขั้นพื้นฐาน เราอาจจะเก็นการขายของออนไลน์ เอามาทำ marketing บ้าง แต่ SME ส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล จำนวนมากก็ยังใช้ free email การลงทุนด้าน digital ก็ค่อนข้างต่ำ เราแทบไม่ค่อยเห็น SME ลงทุนกับซอฟต์แวร์ เห็นการลงทุนการใช้ cloud technology ไม่ต้องพูดถึงเรื่องของ big data การทำ data analytics ที่ SME บ้านเรายังห่างไกลกับอีกมาก ผมแทบไม่ค่อยห็น SME บ้านเรามาใช้ colllaboration tool เช่น Google doc หรือ Office 365 online ในการทำเอกสารร่วมกัน แม้เราอาจเห็น SME จำนวนมากนำเทคโนโลยี่มาใช้ในการสื่อสารเช่นการใช้ facebook การใช้ line แต่ถ้ามองในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานก็ยังถือว่าไม่สูงมาก

ในกลุ่มของคนพัฒนาเทคโนโลยีเราอาจดีใจที่เห็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ กลุ่ม Start up หลายๆแห่งหันมาพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ถ้าเรามองลึกไปจริงๆก็ยังหนีไม่พ้นในเรื่องของการพัฒนาเว็บ การขายของออนไลน์ การเล่นกับ social media แต่พอมองนวัตกรรมในเชิงลึกเหมือนที่นักพัฒนาต่างประเทศกำลังให้ความสนใจอย่างหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ เรื่องของหุ่นยนต์ เรื่องของ big data เราจะพบว่าคนของเรายังห่างไกลกับเรื่องเหล่านี้อีกมาก

ผมคิดว่านอกเหนือจากการจะพัฒนาคนให้ลดช่องว่างเชิงดิจิทัลในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆให้เราทันกับต่างชาติแล้ว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างภาคราชการกับเอกชนระหว่างองค์กรใหญ่ๆกับ SME ระหว่างผู้คนในเมืองกับสังคมต่างจังหวัด หากยังปล่อยทิ้งไว้ผมคิดว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับสังคมจะยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นมีมากยิ่งขึ้น

เป็นไปไม่ได้ที่เราจะให้คนกำหนดนโยบายหรือผู้ปฏิบัติงานหรือผู้เชี่ยวชาญไปมองเทคโนโลยีของต่างประเทศ โดยการเน้นเดินทางไปดูงานเอา Best Practice ของประเทศต่างๆมาใช้ โดยคนเหล่านี้สัมผัสกับชนบทไทยสัมผัสกับต่างจังหวัดน้อยมากๆเ ราต้องกำหนดให้เขาเหล่านั้นต้องเข้าใจสังคมไทยมากขึ้นโดยเฉพาะช่องว่างของสังคมต่างจังหวัดกับสังคมในเมือง อย่ามองว่ากรุงเทพฯคือประเทศไทย ต้องคิดเพื่อช่วยทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนต่างจังหวัดเพื่อลดช่องว่างเชิงชนชั้น ดังนั้นสิ่งแรกสุดที่เราควรจะทำเพื่อ คือการกำหนดนโยบายที่เป็นการลดช่องว่างเชิงดิจิทัลและต้องสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลให้กับองค์กรทั้งภาคราชการและ SME

 

ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s