25182135_982595078554499_4976486232400632025_o (1)

บริษัท Startup กำลังนำเทคโนโนโลยีใหม่ๆเข้ามาให้บริการลูกค้าในกลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคาร หรือที่เรียกว่า FinTech (Financial Technology) ทำให้เกิดรูปแบบการแข่งขันใหม่ๆเช่น การให้บริการชำระเงิน (เช่น PayPal, AliPay)  การบริการกู้เงิน (เช่น Lendingclub) จนบางคนตั้งข้อสังเกตว่า FinTech อาจจะทำให้ของธนาคารพาณิชย์แข่งขันลำบากในอนาคต เพราะกลุ่ม Startup มีความคล่องตัวในการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดีกว่าโดยการใช้เทคโนโลยี

แต่แท้จริงแล้วธนาคารพาณิชย์ก็ยังมีจุดแข็งที่เป็นสถาบันที่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ที่มั่นใจจะมาทำธุรกรรมต่างๆกับธนาคารมากกว่า FinTech Startup ธนาคารพาณิชย์ยังมีฐานลูกค้าปัจจุบันจำนวนมาก และมีข้อมูลการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลของลูกค้า นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันการเงินให้ทำธุรกรรมต่างๆได้ ก็คงยังเป็นจุดที่ทำให้ Startup ต่างๆเข้ามาแข่งขันในช่วงนี้ได้ยาก

แต่อุปสรรคที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในการแข่งกับ Startup ก็คือระบบ Core-banking โดยมากยังเป็นระบบไอทีแบบเดิมๆ ยากต่อการปรับนำเทคโนโลยีใหม่ๆบางด้านเข้ามา และมักจะมีความล่าช้าในการดำเนินงาน ข้อสำคัญบางครั้งธนาคารก็อาจไม่มีทีมงานที่จะมาเน้นงานวิจัยที่จะศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ในการที่จะนำมาใช้ในระบบของธนาคาร ประกอบกับธนาคารเป็นหน่วยงานที่ใหญ่จึงไม่มีความคล่องตัวเช่นบริษัท FinTech จึงทำให้ธนาคารพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆช้ากว่ากลุ่ม FinTech ที่อาจเน้นธุรกรรมการเงินเฉพาะในบางด้าน

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องปรับระบบเทคโนโลยีด้านไอทีให้สามารถที่จะให้บริการธุรกรรมต่างร่วมกับกลุ่ม FinTech Startup เหล่านี้ให้ได้ โดยอาศัยการปรับเทคโนโลยี Core Banking ให้สนับสนุนการใช้  API (Application Programming Interface) เพื่อให้โซโลชั่นของกลุ่ม FinTech สามารถเชื่อมต่อและเรียกใช้งานได้ โดยอาศัยจุดแข็งของธนาคารที่มีใบอนุญาต มีลูกค้าจำนวนมากในปัจจุบันที่มีอยู่ในฐานข้อมูลลูกค้า (CRM) และมีระบบในการตรวจสอบตัวตนลูกค้า (KYC) ซึ่งไม่ใช่จุดแข็งของกลุ่ม FinTech Startup แนวโน้มของธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันจึงจะต้องปรับตัวเป็น Neo-API bank ที่อาจมีโมเดลดังรูปที่ 1 ที่เป็นการใช้ Core Banking Platform  + API Layer + KYC + CRM  + Banking License ของธนาคารพาณิชย์ร่วมกับโซลูชั่นของกลุ่ม FinTech ที่เชื่อมต่อผ่าน API Layer ทั้งนี้ Neobank จะมีความแตกต่างกับ Challenge Bank ที่เป็นธนาคารใหม่ซึ่งอาจต้องมีใบอนุญาตใหม่แล้วมีการทำธุรกรรมโดยไม่ใช้รูปแบบเดิมๆเช่นอาจเป็น Digital Bank ล้วนๆโดยไม่มีสาขา แต่ทั้งนี้นิยามของ Neobank เองก็ยังสับสนบางแห่งก็ระบุว่าเป็นบริษัทที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ได้เน้นเรื่องใบอนุญาตธนาคาร

Screenshot 2017-10-13 16.19.09

รูปที่  1 Neo-API Bank (Core banking platform + API Layer + CRM + KYC + Banking License + FinTech Companies)  [ภาพจาก The next 10 years in Fintech, Kantox]

นอกจากนี้หากเราพิจารณาถึงระดับขั้นของการเปลี่ยนแปลง (Disruption) ที่ทาง FinTech จะมีผลกระทบต่อระบบหลักของธนาคารอาจแบ่งได้ตามกลุ่มของต่างๆดังรูปที่ 2 ซึ่งกลุ่มวงนอกจะกระทบต่อสถาบันการเงินก่อนวงในๆ กล่าวคือ กลุ่มของ Banking Tech เช่นการทำ Data Management, Analytic, CRM หรือ Security จะเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกรรมของธนาคาร ขั้นต่อมาคือกลุ่มของ Payments เช่น Mobile Payment หรือ P2P Money Transfer ระดับขั้นที่สามคือ Cyber Currency สกุลเงินดิจิทัลเช่น Bitcoin หรือ Digital Wallet ขั้นต่อมาคือ กลุ่มของ Business Finance เช่น CrowdFunding หรือ P2P Business Lending ระดับขั้นที่ห้า คือกลุ่มของ Consumer Finance เช่น Personal Finance Management, Mortage Lending, Robo Advisor หรือ P2P Consumer Lending และขั้นสุดท้ายคือการทำ Alternative Core เช่น Alternative car insurance หรือ  Digital Bank

Screenshot 2017-10-13 17.40.24

รูปที่ 2 Layers of disruption in FinTech [ภาพจาก SparkLabs]

ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นตัวอย่างของ FinTech ที่ร่วมกับ Neobank หลายๆแห่งอาทิเช่น Moven ซึ่งเป็น mobile first experience platform โดยร่วมมือกับ CBW Bank หรือ Simple ซึ่งเป็น FDIC-insured checking accounts โดยร่วมมือกับ Compass Bank และ Bancorp Bank ทั้งนี้ทาง Techfoliance ได้จัดทำ The Global NeoBank Landscape และนำเสนอเป็นบทความและรายชื่อของ Neobank ที่สำคัญทั่วโลกดังรูปที่ 3

Screenshot 2017-10-13 18.23.56

รูปที่ 3 The Global NeoBank Landscape [ภาพจาก Techfoliance]

กล่าวโดยสรุปธนาคารพาณิชย์ต่างๆคงต้องปรับระบบ  Core banking เพื่อให้สามารถใช้จุดแข็งของธนาคารเพื่อให้ร่วมมือกับ FinTech ได้มากขึ้น ทั้งนี้กลุ่มแรกที่จะเห็นก็คงเป็นเรื่องของ Banking Tech และ Payment

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s