“Hey Google, play Madagascar from Netflix on my TV.”
“OK Google, play mr. Bean video.”
“Hey Google, Turn the fan on.”
นี่คือตัวอย่างของคำสั่งที่ลูกชายคนเล็กวัย 4 ขวบครึ่งของผมสั่งงานเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยเสียง ตัวเขาเองยังไม่สามารถที่จะใช้รีโมทคอนโทรลได้ และยังไม่เข้าใจปุ่มในการเปิดปิดพัดลม แต่ก็สามารถที่จะใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเสียงตามตวามต้องการของเขาได้ นอกจากนี้ในบางครั้งหากสงสัยคำศัพท์ใดเขาก็จะถาม Google Home ด้วยคำสั่งอาทิเช่น
“Hey Google how to spell cat?”
เด็กวัยนี้เกิดมาในยุคดิจิทัล (Digital native) ไม่รู้จักอะไรหลายๆอย่างแบบที่พวกเราเคยใช้อาทิเช่นแผนที่ที่เป็นกระดาษ, เทป, CD, หรือแม้กระทั่งกรอบรูป ผมจำได้ว่าวันหนึ่งเขาไปบ้านย่าแล้วเขาเห็นกรอบรูปของย่า เขาก็เลยหยิบมันลงมาแล้วก็พยายามใช้นิ้วสไลด์เพื่อที่จะดูรูปต่อไปเพราะเขาเข้าใจว่ามันคือ iPad
เรื่องราวที่เล่าให้ฟังก็เพื่อที่จะสื่อให้เห็นว่าได้เด็กยุคใหม่หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไป ต่อไปเราคงไม่ต้องสอนให้เขาใช้คอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ไม่ต้องสอนเขาใช้ เมาส์ สอนการใช้คีย์บอร์ด อย่าว่าแต่เด็กในยุคใหม่เลยแม้แต่ตัวผมเองการพิมพ์เอกสารต่างๆผมก็เขียนน้อยลง รวมถึงเบทความที่ผมเขียนอยู่นี้ผมก็ใช้ Google doc พิมพ์ด้วยเสียงแล้วค่อยกลับมาปรับเอกสารอีกทีนึง ทุกวันนี้ผมใช้กระดาษน้อยมากแล้วก็พยายามที่จะใช้เงินสดให้น้อย ลงเน้นมาใช้ mobile payment มาใช้บัตรเครดิต การสั่งของก็ผ่านออนไลน์ ผมคิดว่าโลกมันกำลังเปลี่ยนไปมาก และอนาคตใหม่ของโลกดิจิทัลมาถึงเรียบร้อยแล้ว (The Future is now)
โลกมันกำลังเปลี่ยนไปมาก สิ่งที่เราจะเห็นในอนาคตสำหรับเด็กยุคนี้อาจมีหลายอย่างอาทิเช่น
- เราคงเห็นรถยนต์ทิ้ไร้คนขับ คำถามก็คือว่าแล้วเด็กจะต้องเรียนขับรถไหมหรือจะต้องซื้อรถไหม
- เราคงเห็นการสั่งงานด้วยเสียงกับอุปกรณ์ต่างๆมากมาย คำถามก็คือว่าแล้วเด็กจะต้องหัดใช้ Keyboard ต้องหัดเขียนหนังสือหรือเรียนวิชาคัดไทยแบบเดิมเพื่อให้ลายมือสวยๆไหม
- เราคงเห็นระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำถามก็คือว่าแล้วเด็กจะต้องเรียนภาษาต่างชาติในรูปแบบเดิมหรอ
- เราอาจเห็นสังคมไร้เงินสด คำถามก็คือว่าแล้วเด็กจะต้องเข้าใจธุรกรรมการเงินด้วยวิธีเดิมๆอยู่หรอ
- เราอาจเห็นระบบอัจฉริยะเข้ามาทำงานแทนที่คนต่างๆอย่างมากมาย คำถามก็คือว่าแล้วเด็กจะไปประกอบอาชีพแบบเดิมๆได้หรอ
ผมว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปมาก ทักษะของเด็กที่ต้องการเรียนรู้สำหรับการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคตก็กำลังเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ผมเห็นในบ้านเราก็คือวิธีคิดแบบเดิมๆ เรายังสอนให้ท่องจำ เรียนรู้แบบเดิมๆ ผู้ใหญ่บางครั้งก็กลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ แล้วก็ใช้วิธีสอนแบบเดิมๆด้วยความกลัวเทคโนโลยี ทั้งๆที่วันนี้เทคโนโลยีบางอย่างอาจฉลาดกว่าผู้สอน และอาจเปลี่ยนวิชาเดิมๆที่ต้องเรียน แต่เราก็มักจะบอกว่าเด็กต้องมีพื้นฐานบางอย่างแบบเดิมๆ ทั้งๆที่วันนี้เราควรจะต้องสอนการเรียนรู้โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ สอนวิธีคิดแบบใหม่ๆ สอนการตั้งคำถาม และผู้ใหญ่ก็ต้องพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลง
การศึกษาบ้านเราในวันนี้ ถูกกำหนดโดยคนในยุค Analog แม้จะโชคดีอยู่บ้างที่มีผู้สอนบางกลุ่มเป็นคนในกลุ่ม Digital Immigrant แต่เรากำลังสอนคนในยุค Digital Native ถ้าเรายังไม่เปลี่ยนแปลงต่อไปประเทศเราคงแข่งขันลำบาก คงอาจต้องถึง้วลาที่เราจะวางนโยบายการศึกษาโดยวิธีคิดแบบ Digital Native ปรับทักษะในหลายๆวิชา และอาจต้องถึงเวลาปฎิรูปการศึกษาครั้งใหญ่โดยมองตั้งแต่ระดับอนุบาล ถ้ากล้าที่จะคิดนอกกรอบอาจต้องเริ่มต้นด้วยกล้าที่จะลดเอกสารและหนังสือเรียนจำนวนมากออกไป แล้วหันมาใช้ในรูปดิจิทัลแทน ผมว่าเราก็อาจเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างไม่มากก็น้อย ครับปัญหาเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คนที่กลัวไม่ใช่เด็กรุ่นนี้ที่จะโตขึ้นไปใช้หรอกครับ แต่คนกลัวก็คือคนสอนคนกำหนดนโยบายเขากลัวเทคโนโลยีจะมาแย่งงานเขาเห็นพวกเขาหมดความสำคัญไป
ธนชาติ นุ่มนนท์
IMC Institute