ผมไปเซินเจิ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาและได้สังเกตการเก้บข้อมูลของหน่วยงานในประเทศจีนที่ทำให้ไปแปลกใจว่าทำไมเขาถึงสามารถทำ Social credit scoring หรือทำการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของประชาชนของเขาได้ตลอด ประสบการณ์ที่พบตั้งแต่เขาประเทศจีนครั้งแรกเขาก็สแกนลายนิ้วมือผมเก็บไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง และหลังจากนั้นทุกครั้งที่่เข้าประเทศจีนผมก็ไม่ต้องทำการสแกนแล้วเพราะเขาได้เก็บประวัติผมไว้แล้ว และเมื่อขึ้นแท็กซี่จากสนามบินเข้ามาโรงแรมก็สังเกตเห็นรถที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่นอกจากมีระบบติดตามรถตลอดแล้วยังมีกล้องที่จับภาพทั้งคนขับและผู้โดยสารตลอดเวลา

ตอนผมเข้าไปพักที่โรงแรมงวดนี้ก็ค่อนข้างที่แปลกใจที่ทางเขาขอถ่ายรูปผมเก็บไว้ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่เจอแบบนี้ รูปที่เขาถ่ายไปก็ไม่ได้นำไปใช้ในการอำนวยความสะดวกในการเข้าพัก แต่ใช้ในการระบุตัวตนคู่กับ  Passport ที่ผมคิดว่าเขาสามารถทำระบบจดจำใบหน้า (FacialRecognition) ได้เป็นอย่างดี ทำให้นึกถึงระบบตรวจสอบคนทำผิดกฎหมายอาทิเช่นการไม่ข้ามทางม้าลายด้วยการทำ Realtime facial recognition จากกล้อง CCTV ที่อยู่ในที่สาธารณะทั่วเมืองเมืองเซินเจิ้น หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ตในประเทศจีนก็บล็อก Social media และ Search engine ของต่างชาติอย่าง Facebook หรือ Google คนจีนต้องใช้ระบบในประเทศอย่าง Baidu หรือ Weibo จึงไม่แปลกใจที่รัฐบาลเขาสามารถที่จะเก็บข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ต การใช้ Social Media และการสืบค้นข้อมูลของประชากรได้

นอกจากนี้การใช้ E-commerce และ Mobile payment ของระบบในจีนอย่าง Taobao, Tmall, Alipay หรือ WeChat ทำให้เขาสามารถติดตามพฤติกรรมของประชาชนได้ว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างไร เดินทางไปไหน หรือการซื้อบัตรโดยสารหรือการแสดงต่างๆอย่างไร แม้แต่คนต่างชาติอย่างผมจะซื้อตั๋วโดยสารรถไฟ ผมก็ต้องแสดง Passport และเมื่อซื้อครั้งแรกเขาก็จะเก็บข้อมูลต่างๆของผมไปหมด การขึ้นรถไฟก็ต้องใช้ Passport สแกนผ่านประตูเข้าออกแทนที่จะใช้บัตรโดยสาร แสดงให้เห็นว่าเขาใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยตรงผ่าน Identity ที่อาจเป็นบัตรประชาชน, Passport, WeChat หรือ Alipay

ctm-0424-china-surveillance-cameras-social-credit-score

อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ว่าหลักการของ Big data ที่สำคัญคือการจะต้องมี Velocity ของข้อมูลแต่ละคนที่จะต้องเข้ามาอย่างต่อเนื่อง (ดูบทความเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ:  Data is the new oil: มาวิเคราะห์กันว่าอุตสาหกรรมใดมีข้อมูลขนาดใหญ่) และข้อมูลลักษณะนี้อาจจำแนกได้เป็นสี่ประเภทคือ Social media, Mobile, IoT และ Transaction ซึ่งหน่วยงานที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีจะต้องมี Big data ในลักษณะนี้ ไม่ใช่แค่ข้อมูลสรุปขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าประเทศจีนมีการยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้มาเพื่อมาใช้ในการทำ Big data analytics ในเรื่องต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากการวางกลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลที่ทางรัฐบาลอาจต้องใช้กฎหมายมาบังคับแล้ว รัฐบาลเองก็ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อาจมี Server นับล้านเครื่องในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้

การเก็บข้อมูลประชาชนของรัฐบาลจีน มีอยู่ในหลายๆมิติอาทิเช่น

  • การติดตั้งกล้อง CCTV ที่สามารถใช้ระบบ Facial recognition ตรวจสอบพฤติกรรมประชาชนทั่วประเทศจีนจำนวน 176 ล้านตัวและจะขยายเป็น 450 ล้านตัวในปี 2020
  • การติดตามข้อมูลการซื้อสินค้าออนไลน์และการใช้จ่ายเงินผ่าน  Mobile payment อย่าง Alipay หรือ WeChat ที่เอาทำ Social credit scoring อย่าง Zhima (Sesame) Credit
  • การบังคับให้รถยนต์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อทั้งในและต่างประเทศตั้งแต่ Tesla, Volkswagen, BMW, Ford, General Motors, Nissan, BYD ต้องส่งข้อมูลตำแหน่งรถยนต์กลับมายังรัฐบาลตลอดเวลา
  • การดึงข้อมูลจาก Mobile App ต่างๆเข้ามา และมีการบังคับให้คนบางกลุ่มเช่นชาวอุยกูร์ต้องติดตั้ง Mobile App ที่ชื่อ Jingwang เพื่อตรวจสอบรูปภาพ ไฟล์ หรือเอกสารต่างๆที่อยู่ในมือถือ

จากตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บมาจึงไม่แปลกใจที่เขาจะสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของประชาชนได้ตลอด ถ้ามองในแง่ของความสะดวกสบายและความปลอดภัยก็อาจเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามองในแง่ของเสรีภาพและสิทธิส่วนบุคคลก็เริ่มเป็นข้อสงสัยที่ทุกถาม ดังนั้นถ้ามองในแง่ของเทคโนโลยีก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม Big data analytics ของประเทศจีนมีความก้าวหน้าไปอย่างมากแต่ก็แลกมาด้วยข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจถูกละเมิด

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s