69237138_1470765076404161_3826382545780473856_n

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งอยากจะพัฒนาตัวเองเป็น Digital University หลายที่ก็เริ่มทำหลักสูตรออนไลน์ มีความพยายามเรื่องของ MOOC ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่มหาลัยมีความเป็นกังวลเป็นอย่างมากก็คือจำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อมีจำนวนน้อยลง และเริ่มมองเรื่องของ Digital disruption ว่าอาจส่งผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาไปอย่างมาก

digitaluni-300x161-1

แท้จริงแล้วความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงของสถาบันอุดมศึกษามีมากกว่าการที่จะต้องทำ Digitizing หรือที่เรียกว่าการนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในภาคการศึกษา เพราะแนวโน้มการศึกษากำลังเปลี่ยนไปอย่างมากตามความต้องการของผู้เรียนและสังคม ดังนั้นสิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องทำก็คือ Digital transformation ซึ่งมันอาจหมายถึงปรับเปลี่ยนค่านิยม (Value proposition)ของมหาวิทยาลัยให้ตรงกับบริบทที่เปลี่ยนไป อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ปรับหลักสูตรรวมถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่และสำคัญที่สุดผู้บริหารจะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างความหมายของ Digitized University และ Digital University

การพัฒนาระบบดิจิทัล (Doing Digital) ไม่เพียงพอกับอุตสาหกรรมที่กำลังถูก Digital Disruption อย่างอุตสาหกรรมการศึกษา ลองคิดง่ายๆถ้าวันนี้เราเป็นผู้จำหน่ายซีดี DVD หรือแม้แต่เทปเพลง ซึ่งแต่ก่อนเราอาจจะเป็นร้านค้าทั่วๆไป แล้วก็เปลี่ยนระบบมาขายออนไลน์มีระบบ E-commerce ซึ่งมันก็การนำระบบดิจิทัลมาใช้ แต่สุดท้ายก็ไม่จะถูก Disrupt อยู่ดีก็เพราะว่าสินค้าที่เราขายนี่มันไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปแล้ว

มหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนเพียงแต่พัฒนาระบบดิจิทัลโดยไม่ได้สนใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะเทคโนโลยีมันสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมไปอย่างมาก เราต้องการบัณฑิตที่มีทักษะใหม่ๆ มีอาชีพใหม่ๆ มีระบบการเรียนใหม่ๆ วันนี้คู่แข่งของสถาบันการศึกษามันคือโลกออกไลน์ เรียนจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้นเราอาจเริ่มการทำ Digital Transformation ของมหาวิทยาลัยด้วยการวิเคราะห์ว่า Value Propostion ที่มหาวิทยาลัยมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากความเข้ามาเทคโนโลยี หรืออาจเป็นเพราะความต้องการเปลี่ยนแปลง หรืออาจเพราะมีคู่แข่งรายใหม่ๆหรือมีทางเลือกที่เปลี่ยนไป สุดท้ายมหาวิทยาลัยก็จะต้องวิเคราะห์ถึงการกำหนด  Value Proposition ใหม่ โดยอาจนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นช่วยทำให้สัมฤทธิ์ผล

ดังนั้น Digital Transformation  จึงอาจไม่ได้เริ่มที่จะต้องทำหรือพัฒนาระบบดิจิทัล แต่ต้องเริ่มที่กลยุทธ์และมีทิศทางในการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่แน่ละมหาวิทยาลัยก็อาจต้องมีพื้นฐานในการพัฒนาระบบดิจิทัล เพราะจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยถ้าวันนี้ยังไม่มีความเป็นดิจิทัล และที่สำคัญสุดคือบุคลากรต้องมีวัฒนธรรมดิจิทัล

สุดท้ายผมขอนำเอาตัวอย่างบางส่วนที่ผมใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ Value Proposition Roadmap  มากับระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยขอแยกเป็นเอกสารในตอนที่สองดังนี้

การวิเคราะห์ Value Proposition Roadmap  ของมหาวิทยาลัย  (เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จากแบบฝึกหัดที่ผมทำ)

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s