IT Trend2020

ผมได้มีโอกาสอ่านรายงาน e-Conomy SEA 2019 ซึ่งเป็นการสรุปผลวิจัยด้าน Internet Economy ของประเทศต่างๆใน ASEAN ที่ทางบริษัท Google และ Temasek ได้จัดทำมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 โดยในปีนี้มีบริษัท Bain & Company ได้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรหลักอีกหนึ่งราย โดยงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจาก Bain analysis, Google Trends, Temasek, แหล่งข้อมูลอุตสาหกรรมต่างๆและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาในการสรุปตัวเลขต่างๆ

ทั้งนี้รายงานนี้มีการสำรวจมูลค่า Internet Economy ของประเทศต่างๆ 6 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ โดยเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตทั้ง 6  ประเทศเคยมีมูลค่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2015 ด้เพิ่มขึ้นเป็น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 38.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 34.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้คาดการณ์ว่ามูลค่า Internet Economy จะเพิ่มสูงถึง 300 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 153 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  (แบ่งย่อยเป็น Online Gaming 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Advertising 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Subscription Music & Video 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) Online Travel 78 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (แบ่งย่อยเป็น Online Hotels 36 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Flights 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online vacation rental 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และ Ride haling 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ (แบ่งย่อยเป็น Online Food Delivery 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online Transport 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

Screenshot 2019-10-10 16.20.19รูปที่ 1 SEA Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศต่างๆใน ASEAN ในปี 2019 จะพบว่าอินโดนีเซียจะมีมูลค่าสูงสุดคือที่ 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยประเทศไทยที่ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยอัตราเจริญเติบโดของแต่ละประเทศในช่วงตั้งแต่ปี 2015 อยู่ที่ค่าเฉลี่ยระหว่าง 20-30% ต่อปี ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนามที่มีอัตราเติบโดแบบก้าวกระโดดที่เกิน 40% ต่อปี และคาดว่าในปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตของอินโดนีเซียจะเพิ่มเป็น 133 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเวียดนามจะเพิ่มเป็น 43 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 50 พันล้านเหรียญสหรัฐนปี 2025 โดยคาดว่าจะแบ่งเป็น E-commerce18 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุว่าใน  ASEAN มีผู้ใช้ Internet อยู่  360 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้ในประเทศไทย 47 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากปี 2015 ที่มีอยู่ 38 ล้านคน และถ้าพิจารณาจำนวนผู้ใช้ตามประเภทของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่ามีผู้ใช้ e-Commerce อยู่ 150 ล้านราย, Online Gaming 180 ล้านราย, Ride Haling 40 ล้านราย และ Online Booking มีปริมาณ 43% ของจำนวนการจองทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาการเจริญเติบโดของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่าจะกระจุกกันอยู่ในเมืองหลวงของแต่ละปรเทศที่มีปริมาณมากกว่าต่างจังหวัดสูงถึง 3-4 เท่าเช่นมีการคำนวณ GMV (Gross Merchandise Value) สำหรับ Internet Economy ต่อหัวในกรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ $549 ขณะที่ต่างจังหวัดจะอยู่ที่เพียง $152

Screenshot 2019-10-10 16.20.07รูปที่ 2 Thailand Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

สุดท้ายรายงานก็ได้ระบุถึงบริการทางด้านการเงินดิจิทัล 5 ด้านคือ Payments, Remittance, Lending, Investment และ Insurance  โดยพบว่าในกลุ่ม Digital Payments ที่รวมถึงการใช้การ์ด การโอนเงินระหว่างบัญชี และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ในจำนวนนี้เป็น e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับมูลค่าการชำระเงินทั้งหมดคือ 1,400 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าในปี 2025 มูลค่าการชำระเงินทั้งหมดจะโตเป็น 2,200 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเป็นส่วนของ Digital Payments ที่ 1,100 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 114 พันล้านเหรียญ หรือคิดว่า 50% จะเป็น Cashless นอกจากนี้ในปี 2019 ยังมีพบว่า Digital Remittance มีมูลค่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 13% ของสัดส่วน Remittance ทั้งหมด, Digital Lending มีมูลค่า 23 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมด, Digital Investment มีมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมดและ Digital Insurance มีมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 4% ของสัดส่วนทั้งหมด

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s