73251706_1522920721188596_4970794027956830208_n

Gartner เพิ่งประกาศ  Strategic Technology Trends 2020  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งค่อนข้างมีความแตกต่างกับปี 2-3 ที่ผ่านมามากพอควร เพราะมีการพูดถึงเรื่องใหม่ๆในหลายด้าน และก็จะแบ่งแนวโน้มเทคโนโลยีของปีหน้าทั้ง 10 เรื่องออกเป็นสองกลุ่มคือ People centric และ Smart space ซึ่งจะแตกต่างกับปีก่อนๆที่แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ Intelligent, Digital และ Mesh ทั้งนี้เราสามารถจะเปรียบเทียบแนวโน้มเทคโนโลยีต่างๆที่ Gartner ระบุไว้ในช่วง 4  ปีที่ผ่านมาได้ดังตาราง

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบ Gartner Strategic Technology Trends 2017-2020Screenshot 2019-10-26 18.08.58

สำหรับเทคโนโลยีทั้ง 10 ที่ Gartner ระบุไว้สำหรับปี 2020 สามารถสรุปได้ดังนี้

กลุ่ม People centric 

  • Hyperautomation

เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Machine Learning, Packaged software และ Automation tools เพื่อทำให้เกิดระบบงานอัตโนมัติ โดยจะมีสองส่วนคือ 1) จะมีการทำระบบอัตโนมัติของงานต่างๆที่สามารถจะ automate ได้เพิ่มมากขึ้น และ  2) จะมีการทำ  AI-based process automation โดยจะต้องมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้ง Robot Process Automation (RPA) และเครื่องมืออื่นๆผสมกัน ที่จะเป็นการสร้าง Digital Twin ขององค์กร

  • Muliexperience

คือการที่คนจะโต้ตอบ รับรู้ และควบคุมโลกดิจิทัลและ Applicaiton ต่างๆ โดยจะเปลี่ยนจาก Technology-literate people เป็น People-literate techonology กล่าวคือกำลังเปลี่ยนจาก การที่ผู้คนจะโด้ตอบคอมพิวเตอร์ที่จุดสัมผัสบริการจุดใดจุดหนึ่ง (Single touchpoint) กลายเป็นว่าโลกก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ผู้คนจะมีจุดสัมผัสบริการที่หลากหลาย ( Multi touchpoint) ที่ระบบอินเตอร์เฟสอาจเป็นทั้งระบบเสียง, augmented reality (AR), virtual reality (VR) หรือมีรูปแบบใหม่ๆ

ตัวอย่างเช่น Domino Pizza ได้พัฒนา customer experience ที่ใช้ App ในการสั่งอาหาร, การสั่งงานด้วยเสียงผ่านลำโพงอัจฉริยะ, ระบบติดตาม pizza, รถยนต์ไร้คนขับหรือโดรนในการส่ง pizza

  • Democratization

คือการที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นด้วยระบบอินเตอร์เฟสที่ดีขึ้นหรืออาจมีระบบเอไอฝั่งอยู่  ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบยากๆที่น่าจะมีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้นโดยแทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากนัก โดยจะแบ่งระบบที่ว่าเป็นสี่ด้านคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์ข้อมูล, การออกแบบ  และ การเข้าถึงองค์ความรู้ ตัวอย่างของ  Democratization ก็คือผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้เครื่องมือที่มีระบบเอไอ ในการวิเคราะห์หรือสร้างโมเดลของข้อมูล  (data model)  โดยอาจไม่ต้องเขียนโปรแกรมหรือมีทักษะทางด้าน Data Science เลยก็ได้ หรือที่เรียกว่า Citizen Data Scientist

  • Human augmentation

คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อที่เพิ่มความรู้ความเข้าใจ (cognitive) และประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experience) ของคน ซึ่งในด้านของ Cognitive augmentation จะเป็นการเข้าถึงองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นของระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจากการเข้ามาของ multiexperience interface ในโลกของ smart space เช่นการใช้ digital assistant อย่าง Google home ส่วน  Physical augmentation ก็คือการทีนำเทคโนโลยีให้มาเชื่อมโยงกับอวัยวะการรับรู้ของคนเช่น wearable device หรืออุปกรณ์ AR

  • Transparency and Traceability

เรื่องของการใช้ข้อมูลกำลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data privacy) และการที่องค์กรต่างๆนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ ทำให้ทุกคนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและความเสี่ยงจากการถูกใช้ข้อมูลเหล่านี้ จึงต้องมีการสร้างความความเชื่อมั่นโดยต้องมีความโปร่งใสในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และต้องมีจริยธรรมดิจิทัล (Digital Ethics)  ทีดี นอกจากนี้ก็ยังมีความกังวลในเรื่องของการพัฒนาระบบเอไอที่ต้องสามารถอธิบายได้ โดยจะต้องบอกได้ว่านำข้อมูลใดมาใช้ มีการพัฒนาและสอนระบบเอไออย่างไร ระบบเอไอที่ได้มาต้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานอย่างไร

กลุ่ม Smart space

  • Empowered Edge

Edge หมายถึงเทคโนโลยีอย่าง IoT หรืออุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา Empowered Edge คือการที่เทคโนโลยีเหล่านี้ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สามารถที่จะดึงข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ และแทนที่จะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลที่ระบบคลาวด์ แต่จะเป็นการประมวลผลที่อุปกรณ์นั้นเลยเพื่อที่จะลด Latency ของการส่งข้อมูลไปมา อาทิเช่นการทำให้ระบบลำโพงอัจฉริยะสามารถประมวลผลบางส่วนได้ที่อุปกรณ์นั้นเลย หรือการพัฒนาระบบอย่างเช่น หุ่นยนต์ หรือโดรน ให้มีทรัพยากรในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าสู่ Edge Computing

  • Distributed Cloud

คือระบบคลาวด์ยุคต่อไป (Next era of Cloud) กล่าวคือแทนที่ระบบคลาวด์จะรวมศูนย์อยู่ที่เครื่องเซิฟเวอร์ภายนอกแต่อาจจะกระจายไปยัง Data Center หลายๆที่ เพื่อที่จะตอบโจทย์เรื่องของกฎระเบียบต่างๆที่อาจต้องการให้ข้อมูลและการประมวลผลอยู่ในบริเวณที่ต้องการ หรืออาจต้องการลด Latency  จากการส่งข้อมูลไปยัง เครื่องเซิฟเวอร์ไกลๆ เช่นการส่งข้อมูล IoT

  • Autonomous Things

ก็เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่ Gartner ระบุมาต่อเนื่องหลายปี โดยระบุถึงการนำระบบเอไอมาประยุกต์ใช้กับงานที่มนุษย์เคยทำเช่นใช้ในระบบหุ่นยนต์ โดรน หรือรถยนต์ไร้คนขับ แต่ระบบเหล่านี้กำลังเปลี่ยนจากการทำงานตามลำพังเป็นการส่งข้อมูลเชื่อมโยงกันทำให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น

  • Practical Blockchain

Gartner ระบุว่าแม้ Completed Blockchain จะมีองค์ประกอบ 5  อย่างที่ทำให้น่าสนใจคือ Shared and distributed ledger, immutable and traceable ledger, encryption, tokenization และ distributed public consensus mechanism แต่ก็อาจยังไม่สามารถทำให้องค์กรต่างๆนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมดเพราะปัญหาทางเทคนิคโดยเฉพาะในแง่ของ Scaability และมาตรฐานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในปีนี้ Gartner จึงเน้นเรื่องการนำไปปฎิบัติโดยเน้นในสององค์ประกอบก่อนคือในด้าน Share ledger และเรื่องของ distributed  โดยยกตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้ในด้าน Supply chain management

  • AI Security

ปัจจุบันมีการนำ AI และ Machine Learning  มาประยุกต์ใช้งานที่มากขึ้น ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน AI จึงเป็นเรื่องสำคัญโดยสามารถแบ่งออกเป็นสามด้านคือ  1) การป้องกันระบบ AI ที่พัฒนาขึ้นมา จากความเสี่ยงของการคุกคามข้อมูลหรือโมเดลที่อยู่ในระบบ 2)  การนำ AI มาใช้ในการพัฒนาระบบCyber security ให้มีความชาญฉลาดขึ้น และ 3) การป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber แบบใหม่ๆ ที่ผู้ร้ายใช้ AI มาทำการพัฒนา

สำหรับผู้ที่สนใจในหัวข้อของ Digital Trends 2020 ทาง IMC Institute และ Optimus (Thailand) จะจัดให้มีงาน Digital Trends 2020 :The 7 Elements of Digital Transformation ขึ้นในวันที่ 17-18 ธันวาคม 2562 ที่ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่  www.imcincstitute.com/Digital_Trends2020

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC institute

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s