91618641_1684893861657947_6150479015678312448_n

สัปดาห์ก่อนผมเขียนบทความว่าต่อไป โลกจะแบ่งเป็นยุคก่อนโควิด (Pre-COVID era) และยุคหลังโควิด (Post-COVID era) ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (อ่านบทความ สุดท้ายเราจะเห็นคำว่าโลก ‘ยุคก่อนโควิด’ และ’ยุคหลังโควิด’) เพราะคาดการณ์ว่าวิกฤติโควิดนี้จะอยู่กับเราเป็นเวลานาน ทำให้ต่อไปสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างมาก

หลายคนอาจเคยดูหนังและสารคดีที่เล่าเรื่องชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โลกยุคก่อนสงครามเป็นแบบหนึ่ง แต่เมื่อก้าวเข้าสู่สงครามในระยะต้นผู้คนก็ยังคาดหวังว่าสงครามจะสิ้นสุดโดยเร็ว คาดหวังว่าเมื่อสงครามสิ้นสุดลงตัวเองจะกลับไปทำอะไร บางคนคาดหวังจะไปประกอบอาชีพบางอย่าง บางคนอยากไปแต่งงาน ไปใช้ชีวิตกับครอบครัว แต่สงครามโลกครั้งที่สองใช้เวลายาวนานถึงสี่ปี มีความสูญเสียจำนวนมากทั้งชีวิตผู้คนและบ้านเมือง เมื่อสิ้นสุดสงครามก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย สังคมไม่เหมือนเดิม บางคนสูญเสียคนละครอบครัว ไม่มีบ้านจะอยู่ อาชีพการงานก็ไม่เป็นเช่นเดิม หลายประเทศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ชีวิตผู้คนก็เปลี่ยนไป

37342743_2344874038863830_2015538013534158848_o

ย้อนนึกไปถึงหนังเรื่อง Demolition man ที่ผมเคยดูเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ซึ่งเป็นหนังวิทยาศาสตร์แอคชั่น (Sci-fi action) ที่พระเอกของเรื่องที่นำแสดงโดย Sylvester Stallone ถูกจองจำแบบแช่แข็งและได้ออกมาใช้ชีวิตในปี 2032 ที่เขาพบว่าบ้านเมืองเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้คนที่อยู่อาศัยจะถูกตรวจสอบการใช้ชีวิตทุกอย่าง บ้านเมืองมีกล้อง CCTV ติดไปทั่ว ผู้คนไม่มีความเป็นส่วนตัว มีระบบการตรวจสอบเหมือนที่ประเทศจีนในปัจจุบัน ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่การเดินทาง และการสนทนา ทั้งนี้ก็เพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในสังคม

ในหนังยังมีการกล่าวถึงการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคครั้งใหญ่ก่อนปี 2032 ที่ทำให้การใช้ชีวิตผู้คนในปี 2032 เปลี่ยนไป ทุกคนจะไม่มีการสัมผัสกัน ไม่มีการจับมือกันแบบเดิม การทักทายด้วยการ shake hand จะไม่มีการสัมผัสมือกัน ผู้คนจำนวนมากจะสวมถุงมือ ไม่มีการกอดจูบหรือมีเพศสัมัพนธ์กัน การแต่งกายก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายคล้ายๆกันไปหมด ที่น่าสนใจก็คือสังคมในหนังจะไม่มีการใช้จ่ายเงินสดทุกอย่างจ่ายผ่านระบบดิจิทัลที่มีการฝั่งชิบในร่างกาย และอุปกรณ์หลายๆอย่างในหนังก็จะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง รวมถึงมีรถยนต์ไร้คนขับที่สั่งงานด้วยเสียง แม้หนังจะสร้างเมื่อปี 1993 แต่ก็สามารถคาดการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอในปัจจุบันได้หลายอย่างทั้งระบบ Voice control, Video call  และ Digtial payment

จากหนังเรื่องนั้นทำให้ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าโรคระบาดนี้มีความรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานานสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างในหนังหรือไม่ และเช่นกันทำให้นึกถึงระยะต้นของสงครามโลกครั้งที่สองที่ทุกคนยังคิดว่าสงครามจะจบโดยเร็ว เหมือนตอนนี้ที่เป็นระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ผู้คนยังมีความหวังในตอนต้นว่ามันจะจบโดยเร็ว ที่ตอนแรกเราคิดว่าเดือนหนึ่งน่าจะเสร็จ แต่ตอนนี้เราเริ่มคุยกันว่าถึงครึ่งปีนี้ บ้างก็เริ่มบอกแล้วว่าอาจข้ามไปถึงปีหน้า ซึ่งถ้ามันยาวนานขนาดนั้นมันก็คงเปลี่ยนแปลงสังคมของเราไปอย่างมาก

หลายๆคนตั้งคำถามว่าหลังโควิดแล้วเราจะเห็นอะไรที่เปลี่ยนไปบ้างโดยเฉพาะด้านธุรกิจแล้วจะต้องทำอย่างไร เจ้าของธุรกิจบางคนก็จะบอกว่าตอนนี้ยังไม่อยากคิดอะไร เอาธุรกิจตัวเองให้รอดในช่วงโควิดนี้ก่อนหลังจากนั้นแล้วค่อยว่ากัน จริงๆแล้วถ้าวิกฤตินี้ลากยาวนานเราอาจจะคิดอย่างนั้นไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะคิดไปว่าวันนี้เราจะอยู่รอดอย่างไรในวิถีเดิม เพราวิถีชีวิตผู้คนจะเปลี่ยนไป วิธีการทำงานของผู้คนจะเปลี่ยนไป อาชีพบางอย่างหายสูญหายไป ธุรกิจบางอย่างอาจเปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นวันนี้เราคงต้องเริ่มคิดรูปแบบการทำงานและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ธุรกิจเราอาจไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ต้องเริ่มคิดโดยต้องมีการนำเทคโนโลยีดิจทัลเข้ามาช่วย ลูกค้าเราอาจเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำให้สิ่งที่เคยมีความจำเป็นในวันนี้ก็อาจเริ่มไม่ใช่แล้ว

ซึ่งบทความตอนต่อไป ผมจะมาคาดการณ์ว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s