93322987_1696217040525629_5200657121405829120_n

เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ทางสถาบันไอเอ็มซีได้จัด Webinar ที่เป็นการเสวนาในหัวข้อ “ความพร้อมของมหาวิทยาลัยไทยกับการเรียนการสอนออนไลน์ ในยุควิกฤติโควิด-19″โดยได้เชิญวิทยากรมาสี่ท่านคือ

  1. ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี -รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล – รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. ดร. วรสรวง ดวงจินดา -ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  4. อาจารย์เอกอนันต์ ทองแท้ -วิทยากรด้าน Big Data / Data Analytics สถาบันไอเอ็มซี

โดยมีผมเองเป็นผู้ร่วมบรรยาย และได้เกริ่นนำให้เห็นแนวโน้มว่าการศึกษากำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงไปจากกระแสของอุตสาหกรรม 4.0 และเทคโนโลยีดิจิทัล แต่วิกฤติโควิดทำให้โลกในอนาคตมาถึงเร็วขึ้น โดยสามารถดูสไลด์ประกอบการบรรยายของผมได้ที่ url >>  https://tinyurl.com/ya2kffyu

93307309_1698163793664287_8573656223566528512_o

จากนั้น ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี ได้บรรยายให้เห็นในมุมมองของผู้บริหารมหาวิทยาลัยว่า วิกฤติโควิดทำให้การเรียนการสอนออนเลน์มาเร็วกว่าที่คิด และอาจารย์ส่วนมากกระตือรือล้นที่จะปรับตัว โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการวางแผนในหลายๆเรื่องอาทิเช่น

  • ช่วงประกาศให้ปิดมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงสอบปลายภาคที่สอง ก็ปรับให้เป็นการสอบออนไลน์ และในช่วงภาคฤดูร้อนให้เน้นเปิดวิชาออนไลน์ที่เป็นแบบบรรยาย
  • ในการเปิดภาคการศึกษาใหม่ปีการศึกษาหน้า มหาวิทยาลัยจะงดกิจกรรมรับน้้อง แต่จะแทนที่ด้วยการเสริมทักษะให้นักศึกษาใหม่ได้เรียนรู้การเรียนแบบออนไลน์ทางไกลแทน
  • มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนเทคโนโลยีในหลายๆด้านทั้งระบบ LMS เครื่องมือการประชุมออนไลน์ โดยมีการจัดหาซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่างๆมาช่วยบุคลากรในการจัดการเรียนการสอน
  • มหาวิทยาลัยมีระบบพี่เลี้ยงที่จะช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาการสอนออนไลน์ทั้งแบบสด และอัดเนื้อหาไว้
  • มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะพิจารณาลดค่าธรรมเนียมการศึกษา ตลอดจนหาแนวทางจัดสรรอุปกรณ์ให้กับนักศึกษาขาดทุนทรัพย์
  • การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้ จะเป็นการใช้ Webinar ผ่าน zoom เพื่อรองรับนักศึกษาจำนวนเกือบหนึ่งหมื่นคน
  • บุคลากรมหาวิทยาลัยมีความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และทราบดีว่าหากไม่ปรับตัวต่อไปจะแข่งขันลำบาก
  • มหาวิทยาลัยกำลังพิจารณาจัดระบบการเรียนการสอนใหม่ เพราะวิชาที่มีปฎิบัติการต้องให้นักศึกษามาใช้ห้องปฎิบัติการจะต้องจัดการสอนเป็นบล็อกโมดูล อาจให้นักศึกษาผลัดกลุ่มกันเข้ามาอยู่หอ เป็นชุดๆให้เสร็จทุกวิชาภายใน 3-4 สัปดาห์
  • การจัดการเรียนการสอนออนไลน์คือการวางนโยบาย และรูปแบบการศึกษาใหม่ ไม่สามารถที่จะให้อาจารย์แต่ละคนไปจัดเองได้หมด ต้องเป็นความร่วมมือกันในระหว่างสาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย ที่บางครั้งอาจต้องจัดตารางการศึกษาแบบใหม่
  • การสอบออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่สามารถจะใช้วิธีการสอบแบบปรนัยได้ แต่ควรจะเป็นงานให้นักศึกษาทำ

ดร. วรสรวง ดวงจินดา ในฐานะของผู้ที่เป็นหลังบ้านของมหาวิทยาลัยศรีปทุมในการผลักดันให้มีการเรียนการสอนออนไลน์มาตลอด ซึ่งแต่ก่อนอาจเป็นเรื่องยากที่จะชักชวนอาจารย์ให้มาร่วม แต่พอเกิดวิกฤติโควิดก็ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์เป็นอย่างดี โดยอาจารย์ให้ข้อคิดประเด็นต่างๆดังนี้

  • มหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงเพราะอาจถูก disrupt ได้เช่นอุตสาหกรรมอื่นๆ เหมือนตัวอย่างของ  Netflix ที่มาแทนที่ Blockbuster หรือ Airbnb ที่มาแข่งกับโรงแรม
  • ทีมงานของอาจารย์ทำหน้าที่สนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ทุกคณะทุกเพศ ทุกวัย ทุกวิทยาเขต ได้รู้จักการใช้เครื่องมือ เพื่อทำการสอนสดออนไลน์ การทำ Video on demand การทำกิจกรรมออนไลน์ และการวัดประเมินผลออนไลน์
  • การอบรมผู้สอนจะเป็นการอบรมออนลไน์ 1:1 โดยจะมีโค้ชเข้าไปเป็นผู่้เรียนสมมุติ โดยใช้เครื่องมือต่างๆอาทิเช่น Zoom, Microsoft Team หรือ Google meet
  • นักศึกษามีความสนใจกับการเรียนออนไลน์มากกว่าการเข้าเรียนปกติ และสามารถจะสื่อสารกับนักศึกษาได้ดีกว่าเดิม อาจารย์ได้แสดงตัวอย่าง comment ที่นักศึกษาหลายคนพึงพอใจกับรูปแบบการสอนแบบนี้
  • การสอนสดออนไลน์จะต้องทำให้ไม่น่าเบื่อควรจะต้องมีลูกเล่นโต้ตอบกับผู้เรียนตลอดเวลา โดยใช้คำว่า Fun > Engagement
  • การวัดผลนักศึกษาจะต้องเน้นให้มีการวัดผลย่อยๆบ่อยครั้ง ที่จะดีกว่าการสอบเพียงแค่Midterm หรือ Final แบบเดิม
  • สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถดูได้ที่ url >> http://bit.ly/imc_covid

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้กล่าวในฐานะผู้สอนที่ต้้องสอนวิชา Gen-Ed ให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยที่ชื่อ Innovative thinking (การคิดเชิิงนวัตกรรม) ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องเน้นในการทำกิจกรรมกลุ่ม เมื่อมาสอนออนไลน์ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างดังนี้

  • การสอนออนไลน์ สิ่งสำคัญคือระบบเสียง ทางภาควิชาจึงได้จัดหาอุปกรณ์ USB Microphone ให้กับอาจารย์ทุกคน
  • วิชาการคิดเชิิงนวัตกรรม เน้นทำวิดีโอคลิปให้ชมไม่มีการสอนสด
  • เนื้อหาวิชาต่างๆเก็บไว้ที่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย ที่อาจารย์ในภาควิชาได้พัฒนาขึ้น
  • เครื่องมือที่ใช้โต้ตอบกับนักศึกษามีทั้งอีเมล Line และผ่าน LMS platform (My CourseVille)
  • นักศึกษาจะเข้ามาเรียนผ่านวิดีโอที่อัดไว้ตอนไหนก็ได้ ซึ่งจากที่พบคือนักศึกษาส่วนมากชอบมาเรียนในเวลาดีกๆ
  • อาจารย์มีการสอนสดผ่าน  Zoom แต่เน้นเพียงเพื่อใช้ในการถามและตอบข้อสงสัยของนักศึกษาหลังจากได้ชมคลิปแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีนักศึกษาเข้ามาเรียนในแต่ละครั้งมากนัก
  • การวัดผลอาจารย์มีการบ้าน และมีการสอบแบบปรนัยที่ข้อสอบแต่ละคนแบบสุ่มมา
  • บทบาทของอาจารย์ในอนาคตจะต้องเป็น คนสร้างเนื้อหา ผู้ดูแลให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลต่างๆ และต้องเป็นโค้ชที่ให้คำปรึกษา
  • การแข่งขันของมหาวิทยาลัยในอนาคตจะเปลี่ยนไปเพราะต้องแข่งกันไม่ใช่แค่ภายในประเทศ แต่อาจต้องแข่งกับมหาวิทยาลัยดังๆในต่างประเทศ
  • สไลด์การบรรยายของอาจารย์สามารถดูได้ที่ >> https://tinyurl.com/yblu4fkoc

สุดท้ายอาจารย์เอกอนันต์ ทองแท้ ได้ให้มุมมองการสอนออนไลน์ ในฐานะวิทยากรด้าน Big Data / Data Analytics ของสถาบันไอเอ็มซี ที่ต้องมาสอนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่เป็นคนทำงาน

  • การสอนออนไลน์ถ้าเป็นการอัดวิดีโอ อรรถรสจะไม่เหมือนเดิมผู้สอนต้องปรับตัวไปอย่างมาก
  • การสอนสดออนไลน์ ผู้สอนจะต้องคงรูปแบบการสอน และอรรถรสที่เป็นวิธีการสอนที่ให้น่าติดตามไว้ ้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุก
  • เครื่องมือที่อาจารย์ใช้สอนออนไลน์มีทั้ง Zoom และ Anydesk เนื่องจากวิชาที่สอนมีปฎิบัติการ บางครั้งต้องเข้าไปช่วยผู้เรียนทำ Lab ซึ่งก็ต้องใช้ TA มาช่วย
  • ผู้เรียนที่ยังอยู่ในวัยทำงานจำนวนหนึ่งยังอาจชอบการสอนแบบเดิมมากกว่า
  • มหาวืทยาลัยจำเป็นต้องปรับตัวเพราะความต้องการบัณฑิตในอนาคตได้เปลี่ยนไปแล้ว

สำหรับวิดีโอการบรรยายย้อนหลัง สามารถตามดูได้ที่ YouTube ช่อง IMC institute

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s