10 การคาดการณ์อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยปี 2556

เรามักจะเห็น Prediction เรื่องของแนวโน้มไอทีในโลกและภูมิภาคต่างๆของค่่ายวิจัยต่างๆทั้ง Gartner และ IDC ซึ่งบางเรื่องก็อาจจะไกลตัวเราไปบ้าง ปลายปีก็มักจะมีสื่อมาถามผมว่าปีหน้าแนวโน้มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะเป็นอย่างไร ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงได้รับคำถามคล้ายๆกัน และตอบออกมาจากประสบการณ์ของตัวเอง ผมเองยังมองอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในปีหน้าว่ายังค่อนข้างสดใส และเศรษฐกิจในประเทศไทยก็น่าจะโตตามคาดการณ์ของสำนักวิจัยต่างๆ แม้ในระยะยาวเราอาจจะเจอปัญหาจากนโยบายประชานิยมที่อาจทำให้มูลค่าหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ตาม โดยมีคาดการณ์ต่างๆดังนี้

  • ตลาดซอฟต์แวร์ในปีหน้าจะโตที่สุดในกลุ่มของ Telecom อันเนื่องมาจากการลงทุนของ Operator ต่างๆที่ได้สัมปทาน 3G  ซึ่งจะต้องมีการลงทุนในด้าน IT Infrastructure ทั้ง Software และ Hardware เป็นจำนวนมาก แต่ ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ก็คงยังเป็นซอฟต์แวร์จากตลาดต่างประเทศ อีก  Sector หนึ่งที่น่าจะตลาดซอฟต์แวร์น่าจะขยายตัวขึ้นคือ FSI (Financial Security และ Insurance)  เพราะจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และจะมีความต้องการของลูกค้าที่จะเป็น Mobile และ บริการแบบ 24×7  มากขึ้น

3GNTB

  • ยอดขายของ  Tablets และ  Smartphone จะเพิ่มขึ้นไปอีกตามการคาดการณ์ของ IDC และ Gartner  คนในกรุงเทพจะเริ่มเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์โมบายมากกว่าพีซี จึงจะทำให้ตลาด   Mobile Applications  ในประเทศโตขึ้น องค์กรหลายแห่งจะเริ่มมีการทำกลยุทธ์ Mobile ขององค์กร เพื่อแข่งกันให้บริการลูกค้า
  • Cloud Computing จะเป็นกระแสที่แรงอยู่ และองค์กรบางแห่งจะเริ่มพัฒนา  Private Cloud แต่ความเข้าใจเรื่อง  Cloud ที่แท้จริงในประเทศก็คงยังน้อยอยู่ คนใช้ไอทีจะใช้  Public Personal  Cloud  ของต่างประเทศมากขึ้น แต่องค์กรต่างๆในประเทศอาจยังไม่พร้อมที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud  ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเรื่องของการขาดบุคลากร และความไม่พร้อมเรื่องกฎระเบียบในประเทศ

cloud-wharton2-300x176

  • บริษัทซอฟต์แวร์ไทยจะเริ่มมีการพัฒนา Application ขึ้น Cloud Platform ของต่างประเทศมากขึ้น และคาดการณ์ว่า Platform ที่บริษัทจะพัฒนามากที่สุดคือ Microsoft Azure  ทั้งนี้เนื่องจาก  Microsoft จะให้การสนับสนุนที่ดีกว่าค่ายอื่นๆ ขณะที่ PaaS อื่นๆเช่น Amazon, Google App Engine และ  Force.com จะยังไม่มีการสนับสนุนจาก Vendor โดยตรง นอกจาก Online Support  
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย จะสนใจพัฒนา Mobile Application มากขึ้น แต่จำนวนของ iOS Developer ก็คงยังมีไม่มากนัก แต่อาจเห็นจำนวนของ  Android Developer  มากกว่า และที่น่าจับตามองคือ  Windows 8 Developer ที่น่าจะได้แรงหนุนที่ดีจาก Microsoft ส่วนตลาดของ BB10 ก็คงยังไม่แรงพอ แม้จะมีแรงสนับสนุนอย่างมากจาก RIM ก็ตาม 

windows8 Phone

  • โปรเจ็คในภาครัฐก็คงยังวนเวียนอยู่กับกระแสของ  One Tablet Per Child และ Government Cloud   ซึ่งสุดท้ายแล้วคงยังไม่มีโอกาสมากนักสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เล็กๆในบ้านเรา แต่อาจเก็บตกโปรเจ็คด้าน e-Learning/Mobile Apps บางส่วนจากโครงการ Tablet ไปได้บ้าง ส่วนโปรเจ็คใหญ่ๆก็คงยังไปที่  SI รายใหญ่ๆในประเทศเรา ส่วน Freelance หรือบริษัทซอฟต์แวร์เล็กๆก็อาจ  Sub Project ไปได้บ้าง
  • นโยบายรถคันแรกจะทำให้ตลาด e-Commerce และ  Online  ขยายตัวขึ้นมาก เพราะผู้คนจะเบื่อหน่ายกับการเดินทาง คงจะเห็นความต้องการ  Application ที่ให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสาร ทำงาน และ ทำธุรกรรม ได้ ทุกที่ทุกเวลามากขึ้น

Tesco-Homeplus-Subway-Virtual-Store-in-South-Korea-1

  • ตลาดส่งออกซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจก็ยังคงเป็นกลุ่มของ Embedded System  ที่อาจเห็นบริษัทจากญี่ปุ่นและเกาหลีมาจ้างบริษัทซอฟต์แวร์ไทย แต่จำนวนบริษัทที่ทำในด้านนี้ของบ้านเราอาจมีไม่มากนัก แต่ก็จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ดี แม้จะหาบุคลากรค่อนข้างยาก
  • เราจะยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เช่นเดิม ทั้งนี้เนื่องจากหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาต่างๆผลิตบัญฑิตออกมาจะไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้าน Cloud Computing
  • สุดท้าย บริษัทซอฟต์แวร์ไทยก็จะมีอยู่สองกลุ่มที่ชัดเจนคือ กลุ่มที่เป็น Start-up แต่อาจมีนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้ Emerging Technology  ซึ่งจะเริ่มบุกไปตลาดต่างประเทศ แต่อาจต้องการเงินทุน ซึ่งเราจะเริ่มเห็น Venture Capital ทั้งในและต่างประเทศมาลงทุนกับกลุ่มนี้มากขึ้น กับอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ ที่สามารถรับโครงการใหญ่จากหน่วยงานต่างๆได้ แต่อาจไม่ได้เน้นเรื่องของนวัตกรรมมากนัก

10 บริษัทซอฟต์แวร์ Startup ที่โดดเด่นปี 2012

ปีนี้เป็นปีทองของบริษัทซอฟต์แวร์ที่เป็นกลุ่ม Startup  ในบ้านเรา เราเห็นบริษัท Startup หลายๆบริษัท ประสบความสำเร็จในเวทีประกวดทั้งในและต่างประเทศ เราเห็นความตื่นตัวของกลุ่ม Startup ในบ้านเราที่มีการรวมตัวกันของชุมชนต่างๆ เรามีทีมงานที่เป็นสื่อที่จะกระตุ้นและให้ความรู้กับกลุ่ม Startup ทั้งกลุ่ม Thumpsup  EggIdea หรือ Disrupt University ของคุณกระทิง พูนผล  และก็มี Co-working Space เกิดขึ้นใหม่ในเวลาใก้ลเคียงกันถึงสองที่คือ Hubba ที่เอกมัย และ LaunchPad ที่สาทร นอกจากเราก็ยังมีงาน Startup Pitching อีกหลายครั้งทั้งที่จัดโดย  Thumpsup, Software Park, Hubba และ  AIS

มีหลายๆบริษัทที่โดดเด่นในปีนี้ ซึ่งผมคิดว่าคงมีมากมายกว่าที่ผมสรุปได้ แต่ขออนุญาตสรุปจากมุมมองของผมที่ได้เจอบริษัทต่างๆว่ามีรายใดบ้างที่โดดเด่น

1) OokBee ผมรู้จักตัวตนของ  OokBee ครั้งแรกก็ในงานสัมมนาของ Software Park เมื่อเกือบปลายปีแล้ว แม้ผมจะใช้ Software ของพวกเขามาตลอด เพราะเป็นหนึ่งคนที่ซื้อหนังสือออนไลน์ทาง B2S BookStoreและอีกหลายๆแพลต์พอร์มที่ผลิตโดย OokBee แต่ที่ผมยอมรับว่าพวกเขาเก่งกันมากๆก็คือเขามี Users อยู่นับล้านคนและมาใช้  Cloud Platform  ทั้งของ Microsoft และ Amazon และที่สำคัญ OokBee เป็นบริษัทรายแรกที่ได้รับเงินลงทุนจากโครงการ  InVent ของกลุ่ม อินทัช จำนวนว 57.48 ล้านบาท

OOKBEE-Winning-Awards

2) iLertu จริงๆชื่อนี้เป็นชื่อ Product ของบริษัท Arunsawad.com ผมถือว่าปีนี้เขาโดดเด่นมากเพราะ เขากวาดรางวัลต่างๆไปหมดทั้ง APICTA 2012, โครงการ 84 พรรษาของ SIPA และล่าสุดโครงการนวัตกรรมวณิชย์ที่ได้รางวัลอีกรวม 1 ล้านบาท บางคนอาจตั้งคำถามว่า Arunsawad  เป็นบริษัท  Startup จริงหรอ? ถึงแม้ว่าเขาจะเปิดมาหลายปีแล้ว แต่ผมว่า Product นี้มันเหมือนกับว่าทำให้บริษัทเขาเพิ่งเริ่มเกิดได้จริง และเป็น Product ที่มีนวัตกรรมขึ้นอยู่บน Cloud ของ Microsoft

Screen Shot 2555-12-29 at 9.20.33 PM

3) Builk.com คงปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกรายที่โดดเด่นในปีนี้ เพราะเว็บไซต์การบริหารงานก่อสร้างอันนี้ Go Inter ไปแล้ว หลังจากชนะ  APICTA 2011 เมื่อปีที่แล้ว  ปีนี้  CEO คุณผไทก็ไปได้รางวัลชนะเลิศ  Startupในงาน Echelon 2012 ที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนมิถุนายน ต้องยอมรับครับว่าผมเจอ  Builk.com ครั้งแรกงานประกวดเจ้าฟ้าไอทีเมื่อสองปีก่อน ยังงงกับ   Business Model ของเขา แต่วันนี้เห็นก้าวหน้่าไปได้ดี สามารถที่จะบุกไปขายที่ประเทศอื่นๆอย่าง อินโดนีเซีย ได้ก็ดีใจกับเขาครับ

Screen Shot 2555-12-29 at 8.35.55 PM

4) ShopSpot เป็นแอปพลิเคชันที่ตั้งตัวเป็นศูนย์กลางของคนที่อยากขายของและอยากซื้อของ ซึ่งทำทุกอย่างผ่านสมาร์ทโฟน ผมจะได้ยิน App ตัวนี้บ่อยมากเพราะตั้งแต่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากงาน AIS Startup Weekend เมื่อปีที่แล้ว ทาง AIS ก็หมายมั่นปั้นมือเต็มที่ โดยการส่งไปร่วมโครงการ JFDI-Innov8 Bootcamp ถึงประเทศสิงคโปร์ และได้ข่าวว่าได้รับความสนใจจาก Venture Capital หลายๆราย

5) FreeHap ผมเริ่มรู้จักน้องที่พัฒนาโปรแกรมนี้เมื่อปีที่แล้ว เห็นความตั้งใจของพวกเขาที่จะ  Go Inter และเห็นแนวคิดในการที่แชร์ความรู้สึกให้กับคนที่รอบข้างผ่าน  Smartphone ผมเจอเขาในงานประกวดหลายๆงานทั้ง AIS Startup Weekend, Software Park Startup Pitching, Thumpsup ที่ Microsoft และล่าสุดงานนวัตกรรมวณิชย์ของ SIPA โปรแกรมนี้ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งจากหลายๆกลุ่ม ผมเชื่อว่าเขามีโอกาสที่ดีในอนาคต


6) Wongnai โปรแกรมแนะนำร้านอาหารที่อยู่อุปกรณ์  Smartphone และTablet ตัวนี้มีความน่าสนใจ ผมเริ่มรู้จักเขาในงาน  Google I/O เมื่อเดือนมิถุนายน และเห็นเขานำเสนองานจนได้รับรางวัลชนะเลิศงาน ขุนศึก-ซามูไร StartUp Pitching ที่ Software Park และมีโอกาสพาเขาไปทำ Business Matching ร่วมกับสสว.ที่ประเทศญี่ปุ่น ดูแล้วผมว่าน่าจะเป็น App ที่มีอนาคตที่ดี

Screen Shot 2555-12-29 at 9.27.41 PM

7)  Thorfun.com “ทอฝัน”เป็นเว็บที่ผมอาจเพิ่งรู้จักไม่นาน และเป็นหนึ่งที่ผมตัดสินให้ชนะเลิศนวัตกรรมวณิชย์ของ SIPA ในปีนี้ และปีที่แล้วก็ชนะเลิศรางวัล  Business Innovation ของบริษัทสามารถ เจ้าของเป็นบัณฑิตที่เพิ่งจบจากวิศวกรรมคอมที่จุฬา และทำเว็บนี้เพื่อให้ Users มีความสุขจากการได้ใช้ Social Network ในรูปแบบของการแชร์ เขียน และอัพโหลดภาพที่ถูกใจ ไปพร้อมๆ กับการมีรายได้จากเว็บไซต์ มีหลักเกณฑ์ในการแบ่งรายได้ให้กับผู้ใช้งานจากรายได้จากค่าโฆษณา และจากแคมเปญการตลาด นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนจากสิงคโปร์สนใจเข้ามาร่วมลงทุนด้วยแล้วงบประมาณ 60 ล้านบาท

torgun

8) Innovation Plus หลายๆคนอาจยังไม่ได้ยินชื่อบริษัทนี้มากนัก เพราะเป็นบริษัทเล็กๆที่ตั้งอยู่ที่ Software Park  ที่ทำ  Mobile Apps แต่ล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมรางวัลหนึ่งล้านบาทจากการประกวดนวัตกรรมวณิชย์ของ SIPA บริษัทนี้ทำ Product  ที่ชื่อ MAYAR ที่ทำด้าน  AR ให้กับลูกค้าหลายๆราย

e0b897e0b8b5e0b8a1-mayar

9) Gotit โปรแกรมบนมือถือสำหรับ นักช๊อป นักชิม ที่ช่วยเรื่องของการสะสมแต้มร้านค้าต่างๆ ที่ต้องกล่าวถึง App นี้ก็เพราะได้แรงหนุนที่ดีจาก AIS และก็มีร้านค้าหลายๆแห่งร่วมเข้าโครงการเช่น Dunkin Donut และ  Au Bon Pain

Screen Shot 2555-12-29 at 9.17.14 PM

 10) บริษัทสุดท้าย คงไม่ใช่ Startup Software แต่ผมอยากให้เครดิตกับกลุ่มที่ช่วยสนับสนุน Startup  ในปีนี้ที่ คือ Thumpsup เพราะพวกเขาช่วยทำหลายสิ่งหลายอย่างทีดีให้กับ Startup ในปี2012

Screen Shot 2555-12-29 at 9.24.59 PM

ความประทับใจ และความทรงจำ กับงาน Software Park ปี 2555

วันนี้เป็นวันทำงานวันสุดท้ายของปีนี้ และเมื่อพ้นสิ้นปีนี้ผมก็คงหมดหน้าที่ในการทำงานในฐานะผู้อำนวยการ Software Park และคงไปทำงานในหน้าที่อื่นๆต่อไปในบทบาทของที่ปรึกษา นักวิชาการ และผู้บริหารองค์กรเอกชนและสมาคมไอทีต่างๆ ในปี 2555 กับการทำงานที่ Software Park มีหลายๆเรื่องที่ทำให้ผมประทับใจ หลายๆเรื่องทำให้ผมมีรอยยิ้มและเป็นภาพที่มีความสุข และอยากเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป จริงๆมีหลายๆเรื่องมากแต่อยากจะแชร์เรื่องเด่นๆดังนี้

1) งาน Software Share Day กลุ่มวิทยากรต้องนั่งพื้น

Software Park จัดงานสัมมนาทั้งปีเป็นสิบๆครั้ง แต่ที่ประทับใจที่สุดครั้งหนึ่งคืองาน Software Share Day  ที่ทีมงาน  ITA ของ Software Park จัดร่วมกับชมรม Thailand SPIN ที่มีดร.จีรพันธ์ คณบดี ABAC เป็นประธาน เพราะวันนั้นมีคนมาร่วมล้นห้อง  Auditorium ของ Software Park  ที่จุได้ประมาณ 250 คน แต่วันนั้นมาร่วม 400 คน ต้องต่อกล้องวงจรปิด และที่สำคัญคือไม่มีที่นั่งให้กลุ่มวิทยากร ต้องมานั่งพื้นกัน เห็นแล้วเป็นความประทับใจที่เห็นชาว Software Park  ช่วยผลักดันกิจกรรมให้กับนักพัฒนา  Software เมืองไทย

427848_417303121630094_646258299_n 538769_10151451117545534_1489844731_n

2) อาบน้ำหนึ่งวันสามประเทศ

ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ผมต้องเดินทางพาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์  16 รายไปทำ Business Matching ที่ญี่ปุ่น โดยได้รับงบประมาณจาก สสว.  และเป็นงานของทีม SBE ของ Software Park แต่ขณะเดียวกันก็ได้รับเชิญจาก ASOCIO ที่จะออกค่าใช้จ่ายให้ไปบรรยายที่ศรีลังกา โดยเป็นงานของสมาคม ATCI ตอนแรกลังเลในการจะไปงานทั้งสองพร้อมกัน สุดท้ายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ก็ต้องไปทำภาระกิจที่ญี่ปุ่นช่วง 11-16 พ.ย. ให้เสร็จแล้วในวันที่ 16-17 พ.ย. ก็ไปบรรยายที่ศรีลังกาต่อ ดังนั้นในศุกร์ที่ 16 ตอนเช้าที่ญี่ปุ่นผมต้องอาบน้ำแต่งตัวมาขึ้นเครื่องประมาณ  10 โมงเช้า มาถึงกรุงเทพประมาณ 4 โมงเย็น แล้วรีบกลับมาอาบน้ำแต่งตัวที่บ้าน ก่อนไปขึ้นเครื่องไปศรีลังกาประมาณหนึ่งทุ่ม และไปถึงโรงแรมที่ศรีลังกาตอนห้าทุ่ม ก่อนอาบน้ำเข้านอน เตรียมบรรยายวันรุ่งขึ้น

484345_531017736911080_1771853365_n 283384_10151263361137250_1589874227_n

3) บรรยายคู่กับ ผอ. SIPA งาน Software Park Annual Conference

Software Park จัดงานประจำปีทุกปีประมาณเดือนกันยายน ทุกครั้งเราจะหา Keynote Speaker เด่นๆ มาบรรยาย แต่ในปีนี้ เราจัดวันที่ 7 กันยายน โดยเรากำลังมีผอ. SIPA ใหม่คือคุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผมบอกกับทีม TTD ของ Software Park ที่จะจัดงานว่า ถ้าหา  Keynote ยากปีนี้ก็เอาผมกับ ผอ. ไตรรัตน์ ไปยืนเป็น Duo Talk แล้วสลับเสื้อกันใส่ ผมจะใส่เสื้อ SIPA คุณไตรรัตน์จะใส่เสื้อ SWP งานบรรยายก็เลยออกมาดูดี ดึงความสนใจของผู้ฟังได้ดีพอควร เป็นความประทับอีกครั้งหนึ่ง

426299_10152119210990534_1732829352_n

4) จัดงานถ่ายทอดสด Google I/O และ Apple Developer ตอนเที่ยงคืน

อีกความประทับใจและรอยยิ้มที่มี เกิดจากงานที่เป็นความคิดของ ผอ.สวทช. ที่อยากให้  Software Park จัดงาน ให้กับกลุ่มนักพัฒนามาฟังงาน Apple Developer Day ที่ถ่ายทอดมาจาก San Francisco พร้อมกันในวันที่  11 มิถุนายน และ งาน Google I/O กลางคืนวันที่ 27 มิถุนายน ตกลงเราเลยต้องไปจัดงานกลางคืนเลิกกันตีสองงานแรกไปจัดที่ร้านอาหารญึ่ปุ่นมีบางคนใส่ชุดนอนมา พองาน Google  ทาง Google ก็ร่วมเป็นเจ้าภาพไปจัดกันที่ True Digital Gateway คราวนี้เลยมี  Theme งานให้ใส่ขุดนอนกันมา เลยได้ยืนสัมภาษณ์กับน้องซีที่แต่งตัวมาสอดคล้องกับธีมงาน งานนี้เรามีน้องทีมงาน TES ของ Software Park ที่อดหลับอดนอนมาทำงานร่วมกัน และได้รับการตอบรับที่ดีจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย

376553_10151882473145534_414082287_n
575088_10151833930040534_1036167061_n

5) งาน Business Matching ที่ญี่ปุ่น

ช่วง 11-16 พฤศจิกายน ทีมงาน SBE ของ Software Park  ร่วมกับ สสว. พาผู้ประกอบซอฟต์แวร์ด้าน Digital Media ไปญี่ปุ่น 16  ราย งานนี้ต้องยอมรับว่าเหนื่อย แต่ก็ประทับใจ เพราะเรามีโอกาสได้ Present ให้กับ สมาคมและหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่นถึง 10 ครั้งในช่วงนั้น บางวันผมต้อง Present แนะนำผู้ประกอบการถึง 4 รอบ เป็นงานที่ดีจน สสว. บอกว่าในกลุ่ม SME ด้วยกันผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยดูมีความพร้อมมากที่สุด และการ Present ที่ประทับมากที่สุดก็คือการพาผู้ประกอบการทั้ง 16 รายไปยืนแนะนำต่อหน้า สมาชิกสมาคม Made in Japan Software Consortium นับร้อยคน

374479_10152271183520534_1768670066_n 548930_10152274538310534_1035079481_n

6)  งานสัมมนา Technology Trends

ปีนี้  Software Park โดยทีม TTD จัดงาน  Tech Trends ถึงสองครั้ง คือตอนต้นปี 26 มกราคม จัด Trends 2012 และปลายปี 19 ธันวาคม จัด Trends 2013 ที่เป็นงานสุดท้ายที่ผมบรรยายบนเวที Software Park ในฐานะของ ผอ.  ทั้งสองครั้งคนแน่นมาก ต้นปีต้องต่อกล้องวงจรปิด และเปิดห้องอาหารให้คนนั่งฟัง ปลายปีเลยต้องทำ Live Stream  แต่ก็ยังมีคนลงทะเบียน 350 คนต้องมีเก้าอี้เสริม และที่ประทับใจอีกอย่างก็คือได้ขึ้นไปบรรยายบนเวที ด้วยความมั่นใจว่าพวกเราได้ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มคนไอทีอีกครั้งหนึ่ง

420973_2460031151399_1602062681_n 521494_10152366702995534_408573580_n

7) งาน CommunicAsia 2012

งานนี้ผมไม่ได้ไปเองเพราะงบประมาณเราจำกัด และผมบอกว่าผมไปก็ไม่มีประโยชน์เท่ากับน้องๆที่ควรไปช่วยได้ดีกว่าที่ Booth และก็ประทับใจน้องๆทีม  SBE และ TES  ที่พาผู้ประกอบการ 15  ราย ในช่วงเดือนมิถุนายน โดยได้รับเงินค่า Booth จากกรมการค้าระหว่างประเทศ ไปออกบูธที่ Singapore พวกเธอและเขาตัวเล็กๆ 3  คน สามารถพาผู้ประกอบการไปด้วยความมั่นใจ สามารถยืน Present กับสื่อ หรือแม้แต่รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ได้อย่างคล่องแคล่ว และทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากสนใจที่จะไปออก  Booth ในงาน CommunicAsia 2013 ร่วมกับ Software Park อีกครั้ง แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่พวกเขาต้องออกเอง

538478_2251168096030_1145240754_n 544966_2251169616068_1185481577_n

8) จัดงานจนห้องอบรมสัมมนาเต็ม

ทีมงานอีกทีมของ Software Park ที่สำคัญคือ FMS ที่จะต้องดูแลผู้เช่า และห้องอบรมสัมมนา ต่างๆใน Software Park นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหาต่างๆ ยังต้องช่วยหารายได้เข้า  Software Park  ขายห้องอบรมที่ชั้น 3 ซึ่งเราก็จะมีป้ายบอกกิจกรรมในห้องต่างๆว่าทำอะไร ผมประทับใจกับภาพนี้ครับในวันทีื 28  มีนาคม ที่บอกว่าทุกห้องใน  Software Park  มีการใช้งาน แสดงว่าพวกเราทำงานกันหนักสุดๆจริงๆ

562314_10151452398170534_1784923965_n

9) จัดงาน ขุนศึก –  ซามูไร Startup Pitching

งานอีกงานที่น่าประทับใจก็คือ การจัดงานของทีม SBE ที่ร่วมกับ กลุ่ม  Startup ในบ้านเราที่มาร่วมกันให้คำแนะนำทั้ง คุณผไท  Builk.com ทีม Thumpsup และอื่น ที่จะจัดงาน Pitching ให้มีการแข่งร่วมกับกลุ่ม Startup จากญี่ปุ่น เลยมาร่วมกันจัดงาน KhunSeuk v.s. Samurai Startup Pitching ในวันที่ 27 สิงหาคม ที่ได้รับความสนใจและมีความแปลกใหม่ที่น่าประทับใจ ที่ถือว่าเป็นการทำ Startup Pitching ครั้งแรกของ  Software Park

539380_10152074565135534_1357083305_n

10) การไปบรรยาย  4 งาน 4 วันติดต่อกันใน 3ประเทศ

ความประทับอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือช่วง 12-15  พฤษภาคม เพราะผมต้องไปบรรยาย 4 งานติดๆกัน วันเสาร์ที่  12 พ.ค. ได้รับเชิญจาก HP ไปบรรยายที่หัวหิน อาทิตย์ที่ 13 พ.ค. กลับมาบรรยายหลักสูตรร่วม Software Park กับลาดกระบัง หลักสูตร Mini Master of Java Technology วันจันทร์เช้าไปบรรยายให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มาเลเซียเรื่องตลาด ICT บ้านเรา และวันอังคารที่ 15 พ.ค. ไปบรรยายเรื่อง Cloud Computing งาน  Cloud Asia ที่ Singapore

—-

จริงๆยังมีงานที่น่าประทับใจอีกหลายๆงานที่อยากกล่าวถึงไม่ว่างานสัมมนา Digital Marketing งานของกลุ่ม MT2 ด้าน  Mobile Technology งานของกลุ่ม Cloud Thailand Alliance  งาน Business Matching กับทีมจากญึ่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีที่เข้ามาที่  Software Park และงานบรรยายต่างๆอีกมากมาย ทุกอย่างอยู่ในความทรงจำ และความประทับใจ ขอขอบคุณทีมงาน Software Park ทุกท่าน และบอกว่า “ขอบคุณมากๆครับ จะเก็บความประทับใจนี้ไว้ เป็นกำลังใจไว้สู้ในวันข้างหน้า เก็บไว้ทุกๆเรื่องราว เก็บรวมไว้เป็นภาพที่ดี สิ่งเหล่านี้คือความทรงจำตลอดไป” เช่นเพลงนี้ครับ