การวางแผน Mobile Strategy ขององค์กร

mobile-banner5

เมื่อต้นปีนี้ทาง IDC ได้ออกรายงานคาดการณ์ยอดขายอุปกรณ์โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยในปี 2556 ว่าจะมีจำนวน smartphone ที่จะ shipment ในปีนี้ 7.3 ล้านเครื่ิอง เครื่อง Tablet ประมาณ 3.5 ล้านเครื่อง ส่วนเครื่อง notebook  จะมีประมาณ 2.5 ล้านเครือง และเป็นเครื่อง Desktop อีก 1.5 ล้าน จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าจำนวนยอดขายของ Smartphone มีจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับเครื่อง notebook และ desktop รวมกัน นอกจากนี้จำนวน Tablet ที่ shipment ในประเทศก็มีจำนวนมากกว่า Notebook ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลของ Morgan Stanley ที่ประมาณการจำนวน shipment ของเครื่อง smartphone, tablet และ PC ว่่าจะเห็นแนวโน้มของ Smartphone ทั่วโลกมีจำนวน shipment ถึง 1.1 พันล้านเครื่องในปี 2015 โดยมีจำนวนของ PC เป็น 535 ล้านเครื่อง และจำนวน Tablet ประมาณ 326 ล้านเครื่อง

Image

จากจำนวนเครื่อง Smartphone และ Tablet ที่มีมากกว่า PC ทำให้แนวโน้มของผู้ใช้จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตจะมาจากอุปกรณ์โมบายมากกว่าเครื่องพีซี และทำให้โลกของไอทีกำลังเปลี่ยนแปลงจากจากยุคที่ใช้เครื่อง Desktop หรือ Notebook เป็นหลักโดยทีมี OS หลักๆจะเป็น Windows OS มาสู่ยุคหลังพีซี (Post-PC) ที่ผู้ใช้ไม่ได้ใช้พีซีเป็นหลักแต่ผู้ใช้จะเลือกอุปกรณ์ที่หลากหลายและ OS  หลายๆระบบ เช่นอาจเป็น smartphone หรือ Tablet ที่เป็น iOS, Android  หรือ  Windows 8

ในยุคของพีซีและอินเตอร์เน็ตองค์กรต่างๆก็เตรียมกลยุทธ์ทางด้านอินเตอร์เน็ตหรือเว็บขององค์กร (Internet Strategy or Web Strategy) กล่าวคือองค์กรต้องวางแผนระบบอีเมล์ วางแผนการทำเว็บไซต์ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์องค์กร การติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตหรือ  WiFi ในองค์กร ตลอดจนการติดตั้งระบบ  e-Service ให้กับองค์กร รวมไปถึงการทำ e-Commerce และเมื่อโลกการใช้ไอทีเปลี่ยนเป็นยุคหลังพีซีโดยมีการใช้โมบายกันอย่างกว้างขวาง องค์กรต่างก็เริ่มที่จะต้องพัฒนากลยุทธธ์ด้านโมบาย  (Mobile Strategy) ขององค์กร เพื่อที่กำหนดแนวทางการนำอุปกรณ์โมบายมาใช้ในองค์กรให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม Gartner ได้แสดงผลสำรวจให้เห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่ใน Fortune 1000 กว่า 60% จะยังขาดการวางแผน  Mobile Strategy ที่สมบูรณ์ในปี 2014

Image

Mobile Strategy จะช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายและยังมีส่วนช่วยทำให้องค์กรมีแผนการนำเทคโนโลยีโมบายมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจครอบคลุมด้านต่างๆอาทิเช่น

  • การให้พนักงานนำอุปกรณ์โมบายมาใช้ในองค์กร (BYOD: Bring Your Own Devices) องค์กรอาจต้องกำหนดนโยบายการนำอุปกรณ์ smartphone, tablet หรือ notebook เข้ามาใช้ในองค์กร การป้องกันข้อมูลขององค์กร นโยบายการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโมบายให้แก่พนักงาน การกำหนดนโยบายการใช้ Application หรือการใช้ WiFi
  • กลยุทธ์การทำงานผ่านอุปกรณ์โมบาย เพื่อที่จะนำ Application ต่างๆมาใช้และปรับวัฒนธรรมการทำงานที่อาจนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดการทำงานแบบทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์มากขึ้น รวมถึงการทำงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์โมบาย ขณะเดียวกันก็ต้องแบ่งสรรเวลาให้ดีทั้งเรื่องของงานและเรื่องส่วนตัว
  • กลยุทธ์ด้่าน Mobile Marketing หรือ Mobile Social Media เนื่องจากในปัจจุบันลูกค้าหรือบุคคลภายนอกได้เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์โมบายมาเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากกว่าอุปกรณ์พีซี องค์กรก็จะต้องกำหนดกลยุทธ์ในการทำการตลาด การพัฒนา Application ผ่าน Mobile ที่จะให้ถึงผู้ใช้มากขึ้น อาทิเช่นอาจต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้สามารถเรียกดูผ่านอุปกรณ์โมบายได้ การทำ Mobile Social Media
  • กลยุทธ์ด้าน Mobile Commerce กระแสด้าน e-Commerce กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคของ m-Commerce ที่ผู้ใช้เริ่มทำการ shopping ผ่านอุปกรณ์อย่าง smartphone หรือ Tablet มากขึ้น องค์กรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ทางนี้ รวมทั้งการทำ Mobile Payment
  • กลยุทธ์ด้านการนำเทคโนโลยีด้านโมบายใหม่ๆอาทิเช่น QR Code, NFC  หรือ Tectile มาใช้งาน

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า Mobile  Technology กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในการเข้าถึงข้อมูล และมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรยุคใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นองค์กรต่างๆจำเป็นต้องมี  Mobile Strategy  เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันและสามารถที่จะกำหนดนโยบายการใช้จ่ายด้านไอทีให้มีประสิทธิภาพ

www.imcinstitute.com/mobile

ฺBSA และ ACCA ระบุไทยติดอันดับรั้งท้ายทางด้าน Cloud Computing และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

เมื่อวันก่อนได้อ่านบทความเรื่อง The Best (and Worst) Countries for Cloud Computing จากเว็บไซต์ CIO.com  ซึ่งเป็นการนำผลการสำรวจ  Cloud Computing Scorecard ของ BSA ที่ออกมาเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้มาวิเคราะห์ ซึ่งบางท่านอาจเคยเห็นรายงานโดยละเอียดแล้ว (สามารถหาอ่านได้ที่ BSA Global Cloud Computing Scorecard 2013) โดยทาง BSA จัดอันดับให้ญี่ปุ่นมีคะแนนโดดเด่นเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ซึ่งในบทความก็ได้ย้ำให้เห็นถึงห้าประเทศที่มีความโดดเด่นด้านนี้ แต่ขนาดเดียวกันก็พยายามเน้นย้ำถึงอีกห้าประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่ยังอยู่อันดับท้ายๆเรื่อง Cloud Computing ดังตารางนี้

Image

แม้หลายท่านอาจจะมีความคิดเห็นต่างว่าประเทศไทยก็มีการพัฒนาเรื่อง Cloud Computing ไปมากและเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่โดยแท้จริงแล้วหากเราเทียบกับประเทศอื่นๆเรายังพัฒนาด้วยความเร็วที่ช้ากว่าเขาไปมาก เพราะนอกเหนือจากการจัดอันดับของ BSA ผลการจัดอันดับของ Asia Cloud Computing Association ด้าน Asia Cloud Computing Readiness เมื่อปลายปีที่แล้วก็ออกมาทำนองเดียวกัน โดยประเทศไทยอยู่อันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนาม

ผมจำได้ว่าเมื่อทาง  Asia Cloud Computing Association (ACCA) มาจัดประชุมความคิดเห็นที่ประเทศไทยเมื่อปลายดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีหน่วยงานจากภาครัฐและอกชนบางรายก็พยายามไปแย้งกับทาง ACCA ว่าประเทศไทยก็มีความก้าวหน้าทางด้านนี้ ข้อมูลของ ACCA น่าจะผิดพลาด ผมคิดว่าแทนที่เราจะมาแย้งกับเขา เพราะข้อมูลหลายฝ่ายสอดคล้องกันว่าเรายังพัฒนาเรื่องนี้น้อย เราควรที่จะหันมาปรับปรุงการพัฒนาเรื่อง  Cloud Computing ในบ่้านเราอย่างจริงจัง และศึกษาการพัฒนา  Cloud Computing  ที่แท้จริงมากกว่่าที่จะพยายามประกาศว่าเรามี Cloud Computing ทัั้งๆที่บางครั้งเรายังไปไม่ถึงไหนในเรื่องนี้

ถ้าเราพิจารณาเรื่องของ  Cloud Computing Maturity จะพบว่ามีการกำหนด Maturity Level ไว้หลายๆระดับเช่นในเว็บ http://cloudmaturity.com/  ก็จะมีการกำหนดระดับไว้ 5 ระดับคล้ายๆกับมาตรฐาน CMMI คือมีระดับ Performed, Defined, Managed, Adapted และ Optimized ทั้งในกลุ่มของ IaaS, PaaS และ SaaS ดังตารางข้างล่าง ซึ่งหากนำ  Maturity Model  พิจารณากับผู้ให้บริการ Cloud Computing ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ก็คงจะเห็นว่าของเรายังอยู่ใน Level  1 หรือ 2 เท่านั้น ซึ่งก็อาจสอดคล้องกับหน่วยงานหรือผู้ให้บริการในต่างประเทศหลายๆแห่งที่ระบุว่าตัวเองเป็น Cloud Computing  แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วอาจไม่ใช่ Cloud Computing เลย ดังบทความของ  Forrester ที่ระบุว่า Most “private clouds” aren’t really clouds at all เพียงแต่ต่างประเทศมีหลายรายที่พร้อมกว่าบ้านเราการจัดอันดับจึงไปได้ดีกว่า

Image

คราวนี้อยากให้ดูผลการจัดอันดับ Cloud Computing ของทั้งทาง ACCA  และ BSA พร้อมทั้งข่้อเสนอแนะต่อประเทศไทยบ้างว่าเป็นอย่างไร

Asia Cloud Computing Association

ACCA ได้จัดอันดับ Asia Cloud Computing Readiness Index เมื่อเดือนตุลาคม 2012 โดยประเทศญี่ปุ่นอยู่อันดับหนึ่งด้วยคะแนน 78.8  ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนามที่คะแนน 44.9 ทั้งนี้ประเทศไทยตกลงมาสองอันดับจากปี 2011  โดยมีผลการจัดอันดับดังตารางข้างล่าง

สำหรับประเทศไทย ทาง ACCA ระบุว่าคะแนนของเราดีขึ้นในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับต่างประเทศ คุณภาพของ Broadband และระบบไฟฟ้า และคะแนนด้านความสะดวกทางธุรกิจและอิสระทางการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แต่ประเทศไทยจะต้องปรัปปรุงเรื่องของ   data sovereignty ที่ยังอยู่อันดับสุดท้าย ทาง ACCA แนะนำว่าประเทศไทยต้องปรับปรุงเรื่องโครงสร้างพื้นฐานให้ดีกว่านี้ รวมถึงต้องแก้ไขเรื่องของ Data  Sovereignty และ Data Privacy

Image

BSA: Cloud Computing Scorecard

BSA จัดอันดับ Cloud Computing ของประเทศต่างๆทั่วโลก  24 ประเทศทุกๆสองปี โดยล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2013  ทาง BSA ได้ประกาศจัดอันดับครั้งใหม่และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 23  จาก 24 ประเทศ โดยอันดับตกลงมาหนึ่งอันดับจากเมื่อปี 2011 โดยทาง  BSA ระบุว่าทางด้านกฎหมายและนโยบายเรื่อง  Cloud Computing ของประเทศไทยยังมีอยู่แบบกระจัดกระจายไม่เป็นระบบ โดยในบ้างเรื่องเช่นด้านของกฎหมาย  cybercrime หรือกฎหมายด้าน e-commerce และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศมีความเข้มแข็งดีทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้งาน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีช่องว่างเช่นกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลสิทธิ์ส่วนบุคคล (Data Privacy) ยังต้องปรับปรุงอีกมาก รวมถึงเรื่องของกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งยังไม่ได้ครอบคลุมถึงด้าน การบริหารการจัดการสิทธิ์การใช้ เทคนิคการวัดการป้องกันข้อมูล หรือ วิธีป้องกันการหลบเลี่ยงImage

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าทั้ง ACCA และ BSA  ต่างเห็นพ้องกันว่าประเทศไทยจะต้องปรับปรุงข้อกฎหมายทางด้าน Data Privacy, Security และ Intellectual Property เพื่อให้เกิดความพร้อมทางด้าน Cloud Computing

การพัฒนา Enterprise Application โดยใช้ Force.com

เวลาพูดถึง  Force.com หลายคนอาจสับสนกับคำว่า SaesForce.com  เพราะหลายๆคนคงรู้จัก SalesForce.com ค่อนข้างดีว่าเป็น Cloud Software SaaS ที่ทำทางด้าน CRM ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนมากกว่า 2 ล้านคนและมีรายรับประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐอมริกาเมื่อปี 2012   ทั้งนี้โปรแกรม CRM  ของ Salesforce.com จะมีโซลูชั่นอยู่หลายตัวทั้ง Sales Cloud, Service Cloud, Data Cloud และCollaboration Cloud (Chatter) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้โซลูชั่นต่างๆเหล่านี้ได้โดยมีค่าใช้จ่ายตามจำนวนผู้ใช้ต่อเดือน

Image

สำหรับ Force.com จะเป็น Cloud Computing Platform as a Service (PaaS) เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนา Enterprise Application ที่เป็น Multitenant โดยใช้ Infrastructure ของ Force.com ได้ การพัฒนาโปรแกรม Force.com  จะช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถที่จะสร้าง Application ที่ต่่อยอดมาจากโปรแกรมของ Salesforce.com ได้ โดยนักพัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้อย่างง่าย ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัททั่วโลกมากกว่า 100,000 บริษัทที่ใช้ Force.com  ในการพัฒนา Business Application รวมถึงธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยบางแห่งก็มีการใช้  Force.com และมีทีมพัฒนาโปรแกรม  Force.com  ในองค์กร

นอกจากนี้นักพัฒนาสามารถที่จะนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปขายผ่าน Application Store ของ Salesforce.com ที่ชื่อ AppExchange ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรม Business Application มากกว่า  1,700 Apps ที่จำหน่ายอยู่บน AppExchange  โดยมีโปรแกรมทั้งทางด้าน HR, Finance, Project Management และ ERP

Image

ผู้เขียนก็ได้พัฒนาโปรแกรมระบบบริหารการฝึกอบรมที่เก็บข้อมูล CRM จำนวนหลายหมื่นเรคอร์ดโดยใช้ Force.com  ซึ่งสามารถที่จะพัฒนา Application ขนาดใหญ่แบบนี้โดยใชเวลาเพียง 1  สัปดาห์ และในปัจจุบันเสียค่าใช้จ่ายเพียงเดือนละ $65 ซึ่งนอกเหนือจากการที่สามารถจะพัฒนา  Business Application  ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ผู้เขียนยังเห็นว่า Force.com น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของนักพัฒนาหรือบริษัทซอฟต์แวร์ที่จะนำ Application ที่พัฒนาขึ้น นำไปขายผ่านช่องทางของ AppExchange

การพัฒนาโปรแกรม  Force.com  นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมแต่จะเป็นการใช้ Point & Click Tool โดยเราสามารถที่จะสร้าง Database, Menu การทำงานต่างๆ สร้าง Workflow รายงาน และ Dashboard ได้ แต่ถ้าต้องการที่จะพัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติมเช่นการสร้าง User Interface ก็สามารถทำได้โดยใช้  Visualforce และภาษา Apex ที่จะมีลักษณะคล้ายภาษาจาวา

Image

นอกจากนี้ทาง Salesforce.com ยังเข้าไปซื้อ Heroku ซึ่งเป็น Cloud PaaS ที่สามารถให้นักพัฒนาเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาต่างๆอาทิเช่น  Ruby, Node.js, Clojure, Java, Python และ Scala ทำให้นักพัฒนาสามารถที่จะ Integrate Web Application กับโปรแกรม Enterprise Application บน Force.com ได้โดยง่าย

Image

นักพัฒนาสามารถที่จะเริ่มต้นศึกษาการพัฒนา  Force.com ได้ที่เว็บไซต์ force.com และมีเอกสารที่สามารถเริ่มต้นศึกษาเขียนโปรแกรม  Force.com  ที่น่าสนใจเช่น

Screenshot 2013-10-15 07.58.46

นอกจากนี้ทาง IMC Institute  ก็จะเปิดอบรมการพัฒนาโปรแกรม Force.com ในวันที่  24-25 ตุลาคมนี่้ โดยผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.imcinstitute.com/force

แผนยุทธศาสตร์ไอซีทีของประเทศในกลุ่มอาเซียน

เมื่อเร็วๆนี้ผมได้วาดภาพกราฟฟิก เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนแม่บทด้านไอซีทีของประเทศต่างๆในกลุ่ม ASEAN โดยจะเห็นได้ว่า ASEAN มีแผนที่เรียกว่า ASEAN ICT Masterplan 2015 และในแต่ละประเทศก็จะมีแผนแม่บทไอซีทีของตนเอง ผมจึงตั้งใจที่จะเขียนบล็อกนี้มาขยายความเพื่อให้เข้าใจถึงแผนแม่บทต่างๆที่ได้อ้างอิงถึง

Image

ASEAN ICT Masterplan 2015

แผนยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของ ASEAN เกิดจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ TELMIN เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2008 ที่ได้เห็นชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT MASTERPLAN 2015 และอนุมัติการสนับสนุนเงินจากกองทุน ASEAN ICT Fund เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางกิจกรรมความร่วมมือด้านไอซีทีและสนับสนุนการรวมกลุ่มของอาเซียน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีที

หลังจากนั้นในการประชุม TELMIN ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนมกราคม 2011 จึงได้มีการรับรองแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 และมีการประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนแบบเบ็ดเสร็จที่มีการระบุยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน เป้าหมาย รวมทั้งระยะเวลาการดำเนินการภายใน 5 ปีที่ชัดเจน

ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้เคยเขียนบทความที่สรุปแผนแม่บท  ASEAN ICT Masterplan 2015  ไว้เป็นภาษาไทยไว้ที่ http://www.ddn.ac.th/web/aseanictmasterplan2015.pdf ซึ่งในเนื้อหาจะเห็นได้ว่าแผนมีบทจะมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ  6 ด้านคือ

  • การปฎิรูปทางเศรษฐกิจ
  • การเสริมสร้างพลังใหัแก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
  • การสร้างนวตกรรม
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • การพัฒนาทุนมนุษย์
  • การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ดังแสดงในรูป โดยแผนแม่บทฉบับจริงสามารถที่จะ download ได้ที่ www.asean.org แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแผนแม่บทฉบับนี้ จะเห็นได้ว่ามีเพียงกรอบเวลาการทำงานคร่าวๆและไม่มีตัวชี้วัดที่ขัดเจน

Image

แผนแม่บท  iN2015 ของสิงคโปร์

Intelligent Nation 2015 (iN2015) เป็นแผนแม่บทด้านไอซีทีของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2005 ที่กำหนดให้ในสิบปีข้างหน้าที่จะผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น Intelligent Nation โดยใช้ศักยภาพของ Infocomm ซึ่งแผนแม่บทนี้ได้ถูกร่างโดยหน่วยงานที่ชื่อ Infocomm Development Authority (IDA)

ซึ่งวิสัยทัศน์ของแผนกำหนดไว้ว่า “Singapore: An Intelligent Nation, A Global City, Powered By Infocomm.

เป้าหมายหลักของแผน iN2015 มีดังนี้

  • ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นประเทศอันดับหนึ่งของโลกในการที่จะนำ Infocomm มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
  • เพื่มมูลค่าอุตสาหกรรมด้าน Infocomm  เป็นสองเท่าคือมีมูลค่า $26 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
  • เพิ่มมูลต่าการการส่งออกทางด้าน เป็นสามเท่าคือมีมูลค่า $60 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
  • เพิ่มงานด้าน Infocomm อีก  80,000 ตำแหน่ง
  • ทำให้มีการใช้งาน Broadband  ตามบ้านถึงร้อยละ 90
  • ทำให้ทุกบ้านที่มีเด็กที่จะต้องศึกษาในโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้งาน

และเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย แผนแม่บทได้กำหนดยุทธศาสตร์สี่ด้านคิอ

  • ผลักดันให้กลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ภาครัฐ และสังคมมีนวัตกรรมการใช้ Infocomm  มากขึ้น
  • มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Infocomm ที่มีความเร็วสูง ชาญฉลาด และน่าเชื่อถือ
  • มีการพัฒนาอุตสาหกรรม Infocomm  ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้
  • มีการพัฒนากำลังคนด้าน Infocomm ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้

โดยเราสามารถที่จะศึกษาดูแผนของ  iN2015 ได้จากรายงานของ iN2015 Steering Committee >> รายงาน

แผนแม่บท Digital Strategy ของฟิลิปปินส์

แผนแม่บทของฟิลิปปินส์เป็นแผน 5 ปีตั้งแต่ปี  2011 ซึ่งเป็นแผนต่อจากแผนแรกเมื่อปี  2006-2010 โดยชูคำว่า “Transform 2.0 : Digitally Empowered Nation”  แผนของฟิลิปปินส์จะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม BPO (Business Process Outsourcing), KPO (Knowledge Process Outsourcing), CPO (Creative Process Outsourcing), ITO (IT Outsourcing)  รวมถึงด้าน e-Government และงานด้านสังคม โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว่ว่า

““A digitally empowered, innovative, globally competitive and prosperous society where everyone has reliable, affordable and secure information access in the Philippines. A government that practices accountability and excellence to provide responsive online citizen-centered services. A thriving knowledge economy through public-private partnership.”

โดยมียุทธศาสตร์สี่ด้านดังรูปคือ

  • การลงทุนในการให้ประชาชนมีทักษะในการใช่้ไอซีที
  • การให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต
  • ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมไอซีทีและนวัตกรรมทางธุรกิจ
  • การมีบริการ e-service ของรัฐบางที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

Image

สำหรับเป้าหมายที่สำคัญของแผนแม่บทนี้คือ

  • การเพิ่มรายได้ของอุตสาหกรรม ITO และ  BPO เป็น $20  ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งเป้าที่จะมีสัดส่วนการตลาดของ BPO ในโลกถึง 9% ในปี 2016
  • เพิ่มจำนวนงานของ IT/BPO ให้เป็น 900,000  ตำแหน่งในปี 2016
  • ให้มีสัดส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ความเร็วอย่างน้อย 2  Mbps ตามบ้านให้ได้ร้อยละ 80

เราสามารถที่จะ download แผนแม่บท Digital Strategy  ฉบับเต็มได้ที่ >> แผนแม่บท

แผนแม่บทไอซีทีของประเทศเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีของเวียดนามได้อนุมัติแผนแม่บทไอซีมีของเวียดนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  2010 โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันเวียดนามให้กลายเป็นประเทศที่ี่มีความก้าวหน้าด้าน ICT ในปี  2020 ( “Transforming Vietnam into and advanced ICT”) นอกจากนี้รัฐบาลเวียดนามยังมีการอนุมัติแผนการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีถึงปี  2015 และมุ่งเป้าปี 2020 (IT HR development up to 2015 and toward 2020.) ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี  2009

แผนแม่บทไอซีทีมีเป้่าหมายต่างๆที่สำคัญดังนี้

  • ต้องการเพิ่มให้อุตสาหกรรมไอซีทีมีรายได้รวมเป็นสัดส่วนร้อยละ  10% ของ รายได้รวมประชาชาตื GDP ในปี  2020
  • ผลักดันให้เวียดนามติด  Top Ten  ในประเทศทางด้านการบริการ Outsourcing เรื่อง Software และ Digital Content
  • ผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็น sector  ทีมีการเจริญเติบโตมากสุด
  • ต้องการเพิ่มจำนวนแรงงานทางด้านอุตสาหกรรมไอซีทีให้เป็น  1 ล้านคนในปี 2020
  • ให้มีการใช้  Mobile Broadband  ครอบคลุมถึง 95% ของจำนวนประชากร
  • ให้ประชากรร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้
  • ให้มีอินเตอร์เน็ตเข้าถึงตามบ้านร้อยละ 50-60%

ตัวแผนแม่บทฉบับจริงของเวียดนามหาค่อนข้างยาก แต่มี Presentation ที่สรุปสั้นๆสามารถดูได้ที่ >> Vietnam ICT

แผนแม่บทไอซีทีของมาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียมีแผนในการที่จะผลักดันให้ประเทศเป็นชาติที่มีรายได้สูง  (High-Income Nation)  ในปี 2020 :ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวเมื่อปี 2011 ว่ากำลังเตรียมพัฒนาแผน Digital Malaysia โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ

  • จะให้ทุกบ้านสามารถเข้าถึง Broadband Internet ได้ในปี 2020
  • จะผลักดันให้อุตสาหกรรมไอซีทีมีรายได้รวม7% ของรายได้รวมของชาติ (GNI)
  • จะผลักดันให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ด้่นไอซีทีอีก 160,000  ตำแหน่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารค้นหาแผนแม่บทของมาเลเซียล่าสุดได้ เข้าใจว่ายังอยู่ระหว่างการทำแผน

สำหรับแผนแม่บทไอซีทีของมาเลเซียคือ National IT Agenda (NITA) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี  1996  โดยในช่วงแรกได้เน้นเรื่องการพัฒนา Multimedia Super Corridor (MSC) และกลยุทธ์ก็จะเน้นอยู่ในห้าด้านคือ E-Community, E-Public Services, E-Learning, E-Economy และ E-Sovereignty โดย  NITA จะมีองค์ประกอบสำคัญสามด้านคือ คน (people) โครงสร้่างพื้นฐาน (Infostructure)  และ แอพพลิเคชั่น ดังรูป

Image

สำหรับรายละเอียดของ National IT Agenda สามารถดูไดที่เว็บไซต์ http://nitc.mosti.gov.my/

นโยบายและแผนแม่บทไอซีทีของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเราจะมีกรอบนโยบายไอซีทีฉบับที่สอง ICT 2020  (2011-2020) ซึ่งต่อจากแผน ICT2010  และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกันยายน 2010 และก็มีแผนแม่บทไอซีที ICT Masterplan 2 (2009-2013)  ที่ขอความเห็นชอบจากครม.เมื่อสิงหาคม 2009

โดยตัวกรอบนโยบาย ICT 2010 ฉบับเต็มสามารถที่จะดูรายละเอียดได้ที่ >> กรอบนโยบาย ICT 2010

และแผนแม่บท ICT Masterplan  2009-2013 สามารถดูรายละเอียดได้ที่ >> ICT Masterplan

กรอบนโยบาย ICT 2010  จะเน้นเรื่องของ “Smart Thailand”  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญหลักคือ

  • ประชากรทั่วประเทศร้อยละ 80 สามารถเข้าถึง Broadband  ได้ในปี 2015 และ ร้อยละ 95 ในปี 2020
  • ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ  75 สามารถใช้ประโยชน์จากไอซีทีได้อย่างรู้เท่าทัน และเพิ่มการจ้างงานบุคลากรไอซีทีไม่น้อยกว่า 3% ของการจ้างงานทั้งหมด
  • เพิ่มอัตราส่วนของอุตสาหกรรมไอซีทีให้มีมูลค่าเพ่มต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 18%
  • ยกระดับความพร้อมด้านไอซีทีโดยรวม เพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดร้อยละ 25 ของ  Network Readiness Index
  • ผลักดันให้เกิดการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ตระหนักถีงความสำคัญและบทบาทของไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กรอบนโยบาย ไอซีที 2020 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 7ด้านดังแสดงในรูป

Image

สำหรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปyญญา  (Smart Thailand) ด้วย ICT”  ซึ่งแผนแม่บทฉบับที่สองกำหนดจะสิ้นสุดในปีนี้ และทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศก็คงผลักดันร่างแผนฉบับที่ 3 ต่อ

ประเทศไทยอาจจะแตกต่่างกับประเทศอื่นๆพอสมควรในเรื่องของแผนไอซีที เพราะเรามีหลายแผนและยังมีนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอด จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่จะให้ความสำคัญกับกรอบนโยบายหรือแผนแม่บท มากกว่าจะเปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารของประเทศหรือกระทรวงอยู่ตลอดเวลา

สุดท้ายผมขอนำภาพให้เห็นว่า แผนและนโยบายไอซีทีของประเทศไทยถูกกำหนดมาจากส่วนใดบ้าง เพื่อให้ทุกคนเห็นถึงความหลากหลายตามที่กล่าวไว้

Image

Service Oriented Architecture กับ Cloud Computing

ผมจำได้ว่า 4-5 ปีก่อน ผมจะได้รับเชิญไปบรรยายบ่อยๆในเรื่องของ SOA (Service Oriented Architecture) เพราะองค์กรต่างๆเริ่มสนใจที่จะทำ SOA โดยเฉพาะในด้านเทคนิคที่พูดกันในเรื่องของ Web Services และในช่วง 2-3 ปีัที่ผ่านมาคนก็จะเริ่มมาพูดถึง Cloud Computing และ Enterprise Architecture มากขึ้น จนคนกลุ่มหนึ่งคิดว่าเราไม่เน้น SOA กันแล้ว

ถึงแม้ว่าวันนี้เราจะพูดกันเรื่อง  Cloud Computing กันมากขึ้น แต่รากฐานที่แท้จริงของ Cloud Computing ก็อิงมาจาก Service ดังจะเห็นได้ว่าเราจะพูดกันถึงระบบที่เป็น as-a-Service ทั้งหลาย ตั้งแต่  Infrastructure (IaaS), Platform (PaaS), Software (SaaS) หรือ   Business Process (BPaaS) ดังนั้นการพัฒนาหรือการใช้  Cloud Computing ขององค์กร คงจะต้องอิงกับสถาปัตยกรรมไอทีที่เป็นแบบเชิงบริการ  (Service Oriented Architecture)

Image

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือหน่วยงานต่างๆเริ่มสนใจที่มาพูดกันเรื่องของ Enterprise Architecture (EA) มากขึ้น EA เป็นเรืิ่องที่จะถูกขับเคลื่อนมาจากด้านธุรกิจเพื่อเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไอที ซึ่งมีทั้ง Business Architecture, Application Architecture, Data Architecture และ Technology Architecture ส่วน SOA จัดว่าเป็นกลุ่มของ IT Architecture ที่สอดคล้องกัน

ดังนั้นการเข้ามาของ Emerging Technologies อย่าง Cloud Computing, Mobile Technology, Social  Technology หรือ Big Data จะยิ่งต้องทำให้องค์กรปรับสถาปัตยกรรมไอทีให้เป็น SOA ยิ่งขึ้น เพราะ Emerging Technology เหล่านี้เป็น Services หรือ Open APIs ที่เราจะต้องออกแบบให้ไอทีขององค์กรไปเชื่อมต่อกับระบบต่างๆที่อาจเป็น Social Technology อย่าง  Facebook, Twitter  ได้

SOA ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี การที่จะทำ SOA ในองค์กร เราจะต้องเข้าใจถึงความต้องการด้านธุรกิจขององค์กรที่มีลักษณะที่จะปรับเปลี่ยนไปตลอด (Business Agility) ดังนั้นการออกแบบสถาปัตยกรรมไอทีในองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนง่ายโดยอิงกับ  Service การเข้าใจ SOA ที่ดีควรจะเริ่มจาก

  • เข้าใจความจำเป็นของการออกแบบ Service
  • เข้าใจความหมายของ Service และ Web Services
  • เข้าใจเรื่องของ SOA Benefit และ ROI
  • เข้าใจถึง SOA Governance
  • เข้าใจเรื่องของ Service Life Cycle
  • เข้าใจเรื่อง  SOA Project

ผมมีเอกสารบางส่วนที่เคยเขียนขึ้น Slideshare  และแนะนำ SOA ในบางเรื่อง จึงอยากเอามาแบ่งปันให้ดู โดยมีหัวข้อต่างๆดังนี้

และมีบทความแนะนำ SOA ที่เคยไว้ซักพักหนึ่งแล้วเรื่อง Introduction to SOA

แต่ที่ตั้งใจไว้ส่วนหนึ่งก็คือจะปรับเอกสารนี้บางส่วนและร่วมกับทาง PwC จัดอบรมหลักสูตร SOA/SOA Governance for Managers/Executives  ในวันที่ 27-28  มีนาคมนี้ โดยเนื้อหาจะพูดให้เข้าใจความหมายของ  SOA การเริ่ม SOA ตัวอย่างกรณีศึกษาต่างๆ และการทำ Workshop  ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถจะดูรายละเอียดของ Course ได้ที่ http://tinyurl.com/bx4u2df