สรุป Strategic Technology Trends 2020 ของ Gartner

73251706_1522920721188596_4970794027956830208_n

Gartner เพิ่งประกาศ  Strategic Technology Trends 2020  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งค่อนข้างมีความแตกต่างกับปี 2-3 ที่ผ่านมามากพอควร เพราะมีการพูดถึงเรื่องใหม่ๆในหลายด้าน และก็จะแบ่งแนวโน้มเทคโนโลยีของปีหน้าทั้ง 10 เรื่องออกเป็นสองกลุ่มคือ People centric และ Smart space ซึ่งจะแตกต่างกับปีก่อนๆที่แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ Intelligent, Digital และ Mesh ทั้งนี้เราสามารถจะเปรียบเทียบแนวโน้มเทคโนโลยีต่างๆที่ Gartner ระบุไว้ในช่วง 4  ปีที่ผ่านมาได้ดังตาราง

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบ Gartner Strategic Technology Trends 2017-2020Screenshot 2019-10-26 18.08.58

สำหรับเทคโนโลยีทั้ง 10 ที่ Gartner ระบุไว้สำหรับปี 2020 สามารถสรุปได้ดังนี้

กลุ่ม People centric 

  • Hyperautomation

เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Machine Learning, Packaged software และ Automation tools เพื่อทำให้เกิดระบบงานอัตโนมัติ โดยจะมีสองส่วนคือ 1) จะมีการทำระบบอัตโนมัติของงานต่างๆที่สามารถจะ automate ได้เพิ่มมากขึ้น และ  2) จะมีการทำ  AI-based process automation โดยจะต้องมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้ง Robot Process Automation (RPA) และเครื่องมืออื่นๆผสมกัน ที่จะเป็นการสร้าง Digital Twin ขององค์กร

  • Muliexperience

คือการที่คนจะโต้ตอบ รับรู้ และควบคุมโลกดิจิทัลและ Applicaiton ต่างๆ โดยจะเปลี่ยนจาก Technology-literate people เป็น People-literate techonology กล่าวคือกำลังเปลี่ยนจาก การที่ผู้คนจะโด้ตอบคอมพิวเตอร์ที่จุดสัมผัสบริการจุดใดจุดหนึ่ง (Single touchpoint) กลายเป็นว่าโลกก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ผู้คนจะมีจุดสัมผัสบริการที่หลากหลาย ( Multi touchpoint) ที่ระบบอินเตอร์เฟสอาจเป็นทั้งระบบเสียง, augmented reality (AR), virtual reality (VR) หรือมีรูปแบบใหม่ๆ

ตัวอย่างเช่น Domino Pizza ได้พัฒนา customer experience ที่ใช้ App ในการสั่งอาหาร, การสั่งงานด้วยเสียงผ่านลำโพงอัจฉริยะ, ระบบติดตาม pizza, รถยนต์ไร้คนขับหรือโดรนในการส่ง pizza

  • Democratization

คือการที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นด้วยระบบอินเตอร์เฟสที่ดีขึ้นหรืออาจมีระบบเอไอฝั่งอยู่  ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบยากๆที่น่าจะมีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้นโดยแทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากนัก โดยจะแบ่งระบบที่ว่าเป็นสี่ด้านคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์ข้อมูล, การออกแบบ  และ การเข้าถึงองค์ความรู้ ตัวอย่างของ  Democratization ก็คือผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้เครื่องมือที่มีระบบเอไอ ในการวิเคราะห์หรือสร้างโมเดลของข้อมูล  (data model)  โดยอาจไม่ต้องเขียนโปรแกรมหรือมีทักษะทางด้าน Data Science เลยก็ได้ หรือที่เรียกว่า Citizen Data Scientist

  • Human augmentation

คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อที่เพิ่มความรู้ความเข้าใจ (cognitive) และประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experience) ของคน ซึ่งในด้านของ Cognitive augmentation จะเป็นการเข้าถึงองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นของระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจากการเข้ามาของ multiexperience interface ในโลกของ smart space เช่นการใช้ digital assistant อย่าง Google home ส่วน  Physical augmentation ก็คือการทีนำเทคโนโลยีให้มาเชื่อมโยงกับอวัยวะการรับรู้ของคนเช่น wearable device หรืออุปกรณ์ AR

  • Transparency and Traceability

เรื่องของการใช้ข้อมูลกำลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data privacy) และการที่องค์กรต่างๆนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ ทำให้ทุกคนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและความเสี่ยงจากการถูกใช้ข้อมูลเหล่านี้ จึงต้องมีการสร้างความความเชื่อมั่นโดยต้องมีความโปร่งใสในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และต้องมีจริยธรรมดิจิทัล (Digital Ethics)  ทีดี นอกจากนี้ก็ยังมีความกังวลในเรื่องของการพัฒนาระบบเอไอที่ต้องสามารถอธิบายได้ โดยจะต้องบอกได้ว่านำข้อมูลใดมาใช้ มีการพัฒนาและสอนระบบเอไออย่างไร ระบบเอไอที่ได้มาต้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานอย่างไร

กลุ่ม Smart space

  • Empowered Edge

Edge หมายถึงเทคโนโลยีอย่าง IoT หรืออุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา Empowered Edge คือการที่เทคโนโลยีเหล่านี้ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สามารถที่จะดึงข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ และแทนที่จะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลที่ระบบคลาวด์ แต่จะเป็นการประมวลผลที่อุปกรณ์นั้นเลยเพื่อที่จะลด Latency ของการส่งข้อมูลไปมา อาทิเช่นการทำให้ระบบลำโพงอัจฉริยะสามารถประมวลผลบางส่วนได้ที่อุปกรณ์นั้นเลย หรือการพัฒนาระบบอย่างเช่น หุ่นยนต์ หรือโดรน ให้มีทรัพยากรในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าสู่ Edge Computing

  • Distributed Cloud

คือระบบคลาวด์ยุคต่อไป (Next era of Cloud) กล่าวคือแทนที่ระบบคลาวด์จะรวมศูนย์อยู่ที่เครื่องเซิฟเวอร์ภายนอกแต่อาจจะกระจายไปยัง Data Center หลายๆที่ เพื่อที่จะตอบโจทย์เรื่องของกฎระเบียบต่างๆที่อาจต้องการให้ข้อมูลและการประมวลผลอยู่ในบริเวณที่ต้องการ หรืออาจต้องการลด Latency  จากการส่งข้อมูลไปยัง เครื่องเซิฟเวอร์ไกลๆ เช่นการส่งข้อมูล IoT

  • Autonomous Things

ก็เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่ Gartner ระบุมาต่อเนื่องหลายปี โดยระบุถึงการนำระบบเอไอมาประยุกต์ใช้กับงานที่มนุษย์เคยทำเช่นใช้ในระบบหุ่นยนต์ โดรน หรือรถยนต์ไร้คนขับ แต่ระบบเหล่านี้กำลังเปลี่ยนจากการทำงานตามลำพังเป็นการส่งข้อมูลเชื่อมโยงกันทำให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น

  • Practical Blockchain

Gartner ระบุว่าแม้ Completed Blockchain จะมีองค์ประกอบ 5  อย่างที่ทำให้น่าสนใจคือ Shared and distributed ledger, immutable and traceable ledger, encryption, tokenization และ distributed public consensus mechanism แต่ก็อาจยังไม่สามารถทำให้องค์กรต่างๆนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมดเพราะปัญหาทางเทคนิคโดยเฉพาะในแง่ของ Scaability และมาตรฐานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในปีนี้ Gartner จึงเน้นเรื่องการนำไปปฎิบัติโดยเน้นในสององค์ประกอบก่อนคือในด้าน Share ledger และเรื่องของ distributed  โดยยกตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้ในด้าน Supply chain management

  • AI Security

ปัจจุบันมีการนำ AI และ Machine Learning  มาประยุกต์ใช้งานที่มากขึ้น ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน AI จึงเป็นเรื่องสำคัญโดยสามารถแบ่งออกเป็นสามด้านคือ  1) การป้องกันระบบ AI ที่พัฒนาขึ้นมา จากความเสี่ยงของการคุกคามข้อมูลหรือโมเดลที่อยู่ในระบบ 2)  การนำ AI มาใช้ในการพัฒนาระบบCyber security ให้มีความชาญฉลาดขึ้น และ 3) การป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber แบบใหม่ๆ ที่ผู้ร้ายใช้ AI มาทำการพัฒนา

สำหรับผู้ที่สนใจในหัวข้อของ Digital Trends 2020 ทาง IMC Institute และ Optimus (Thailand) จะจัดให้มีงาน Digital Trends 2020 :The 7 Elements of Digital Transformation ขึ้นในวันที่ 17-18 ธันวาคม 2562 ที่ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่  www.imcincstitute.com/Digital_Trends2020

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC institute

 

Defining an AI strategy จากหลักสูตรออนไลน์ AI Business School ของ Microsoft

73251706_1522920721188596_4970794027956830208_n

เมื่อเช้านี้ได้เข้าไปดูเว็บ Microsoft AI ซึ่งมีการเรียนรู้ออนไลน์ที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจภายใต้หลักสูตรในกลุ่มที่เรียกว่า AI Business School ซึ่งมีหัวข้อที่น่าเรียนรู้อยู่หลายเรื่องอาทิเช่น

  • Defining an AI strategy
  • Enabling an AI-ready culture
  • Responsible AI in business
  • AI technology for business leaders

ผมได้เลือกเปิดเข้าไปเรียนหัวข้อ Defining an AI strategy ซึ่งพูดได้น่าสนใจว่า การที่องค์กรต่างๆจะทำ Digital Transformation โดยใช้กลยุทธ์ทางด้านเอไอจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสามด้านดังรูปคือ External environment, Value proposition และ Organisation & excecution

Screenshot 2019-10-25 13.25.16

โดยจะต้องเริ่มต้นจากการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกก่อนว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อาทิเช่นพฤติกรรมของผู้บริโภคอาจเปลี่ยนไป, มีคู่แข่งรายใหม่ๆที่อาจมีรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (New business model), ผลกระทบจากการเข้ามาของเทคโนโลยี และ กฎระเบียบของภาครัฐอาจเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อประเมินสภาพแวดล้อมแล้ว ก็คงต้องมาคิดว่า Value proposition ที่องค์กรของเราจะมอบให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆขะมีประโยชน์หรือฟังก์ชันที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปไหม และจะสามารถสร้างโอกาสในการแข่งขันได้ไหม ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ผมเคยเขียนบทความในเรื่อง Digital Transformation ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่มันคือการ Redefine Customer Value Proposition

สุดท้ายเพื่อให้การพัฒนา ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สร้าง Value Proposition ใหม่ๆตามที่กำหนดไดว้สำเร็จผล เราอาจจำเป็นต้องประบโครงสร้างองค์กร พัฒนาคน ปรับวัฒนธรรมองค์กร และกำหนดตัวบุคคลในการทำงานให้เหมาะสม

ทั้งนี้หลักสูตรออนไลน์เรื่องนี้มีหัวข้อย่อยๆในหลายๆเรื่องอาทิเช่น

  • Transform your applications with AI – Case study introduction
  • Discover the value of empowering every employee with AI – Case study introduction

และก็ยังมีหลักสูตร AI business school สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆอาทิเช่น การศึกษา, การเงิน, ค้าปลีก, manufacturing และ ด้านสุขภาพ เลยอยากแนะนำให้ลองเข้าไปศึกษาดูครับ น่าสนใจทีเดียว

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

การใช้งาน Digital Assistant สำหรับเมืองไทย (ตอนที่ 2 ทักษะที่เรียกใช้ประจำ)

72784977_1513301902150478_4135460826330955776_o

เมื่อตอนที่แล้ว ได้เล่าให้ฟังว่าปกติผมใช้อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ตัวใดเป็น Digital Assistant ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้บอกไว้ว่าส่วนใหญ่ก็จะใช้แพลตฟอร์ม Google Assistant แต่ก็มีการใช้ Amazon Alexa บ้าง ตอนนี้ผมจะมาเล่าต่อว่าแล้วปกติผมใช้เพื่อทำอะไร

  • ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ เสมือนเป็น Encyclopedia ส่วนตัว แต่ก่อนผมมักจะสอบถาม Google Home เมื่ออยากรู้ข้อมูลอะไรเป็นภาษาอังกฤษ เช่น “Hey Google, Who is a prime minister of Japan?” แต่ระยะหลังพอเล่น Google Assistant App บนมือถือที่สามารถสั่งงานภาษาไทยได้ ผมก็มักจะใช้มือถือมากกว่าเช่น “OK Google แชมป์ฟุตบอลโลกปีที่แล้ว” อุปกรณ์สองอย่างนี้ต่างกัน ความสะดวกสบายของ Google Home หรือ Amazon Echo ก็คือมันตั้งอยู่ในบ้าน จะพูดกับเขาตอนไหนก็ได้ และได้คำตอบเป็นเสียงที่แม่นยำกว่าถ้าสั่งเป็นภาษาอังกฤษ แต่ Google Assistant App มีจุดเด่นคือรู้จักภาษาไทย พกพาได้ ให้คำตอบเป็นเสียงภาษาไทยและแสดงผลบนหน้าจอมือถือด้วย แต่บางครั้งถ้าสั่งงานเป็นภาษาไทยก็อาจไม่เก่งเท่าภาษาอังกฤษ

72619809_708613136316328_3553853560745623552_n

  • ใช้ในการสอบถามข้อมูลต่างๆ สอบถามข่าวสาร ผลกีฬา บางครั้งตื่นเช้ามาผมก็อาจจะถาม “OK Google, what’s the news today?” เจ้า Google Home ก็จะอ่านข่าวหัวข้อข่าวที่ผมน่าจะสนใจมาให้ฟังเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นข่าวของ CNA (Channel News Asia) ตามที่ผมชอบฟัง หรือบางทีผมก็จะถามผลกีฬาเมื่อคืนนี้เช่น “OK Google, What is Premier League score?” หรือหลังๆผมก็อาจถามข้อมูลบางอย่างเป็นภาษาไทย ผ่าน Google Assistant App อาทิเช่น “OK Google ราคาหุ้นทุนธนชาต” หรือ “OK Google อากาศวันนี้” ซึ่งก็จะแสดงราคาหุ้นล่าสุด และถ้าอยู่ในระหว่างเวลาทำการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ก็จะแสดงราคาในช่วงนั้น ส่วนการพยากรณ์อากาศก็จะแจ้งในบริเวณที่เราอยู่
  • ใช้ในการสอบถามเส้นทาง หรือค้นหาสถานที่ต่างๆ โปรแกรม Google Assistant จะเชื่อมโยงกับ Google Map ทำให้เราสามารถสอบถามเส้นทางและระยะเวลาการเดินทางได้ เช่น “OK Google, เส้นทางไปสยามพารากอน”  หรือใช้ค้นหาข้อมูลร้านค้าต่างๆเช่น “OK Google ร้านอาหารญี่ปุ่นบริเวณนี้” ซึ่งจากรูปจะเห็นว่าผมกำลังอยู่แถว Central EastVille โปรแกรมก็จะแจ้งร้านอาหารใกล้ๆมาให้ผมทราบ หรือมีครั้งหนึ่งผมกำลังเดินทางและอยากทราบเบอร์ร้านตัดผมที่ผมเคยไปที่ The Nine ผมก็เลยสั่งงานว่า “OK Google ร้านตัดผมที่ The Nine” โปรแกรมก็จะแจ้งรายชื่อร้านตัดผมที่อาจมีเบอร์โทรขึ้นมาดังรูป
  • ใช้ในการสอบถามนัดหมาย อีกสิ่งหนึ่งใช้เป็นประจำก็คือการสอบถามนัดหมายที่บันทึกไว้ใน Google Calendar ที่เราสามารถจะตั้งให้เชื่อมโยงกับ account ของ Google Home ได้ โดยใช้คำสั่งง่ายๆได้อาทิเช่น “OK Google ปฎิทินของฉันในวันศุกร์” นอกจากนี้ยังสามารถที่จะสั่งด้วยเสียงเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงนัดใหม่ได้ โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า “OK Google add on my calendar” จากนั้นโปรแกรมก็จะสนทนาถามคำถามกับเราเพื่อได้ข้อมูลต่างๆก่อนใส่เข้าไปใน Google Calendar
  • สอบถามโปรแกรมหนัง หรือรายการต่างๆ เมื่อเร็วๆนี้ ผมต้องการไปชมภาพยนตร์ ซึ่งแต่ก่อนถ้าเราอยากจะทราบว่ามีหนังเรื่องใดฉาย หรือหนังที่ต้องการดูฉายโรงไหนเวลาใด เราก็อาจจะต้องใช้แอปพิเคชั่นของโรงหนังในโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการค้นหา ซึ่งบางครั้งก็ต้องเลือกเมนูต่างๆกว่าจะได้คำตอบอาจใช้เวลานาน แต่ในทุกวันนี้โปรแกรม Google Assistant จะมีความฉลาดพอที่จะให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงเพื่อหาคำตอบได้อย่างเร็ว ซึ่งผมสามารถเปิดโปรแกรมอย่าง Google Assistant แล้วสั่งงานเป็นภาษาไทยว่า “OK Google วันนี้มีหนังอะไรฉายบ้าง” หรือ “OK Google  หนังขุนแผนฟ้าฟื้นฉายกี่โมง” ซึ่งโปรแกรมก็จะตอบมาด้วยเสียงเลือกข้อมูลของโรงภาพยนตร์ใกล้ตำแหน่งที่ผมในขณะนั้น และแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ
  • ค้นหารูปภาพ หรือเปิดโปรแกรมต่างในมือถือ โปรแกรม Google Assistant สามารถจะช่วยค้นหารูปถ่ายต่างๆที่อยู่ในมือถือหรือ Cloud storage ได้อย่างกรณีของผมใช้ iPhone อยู่สามารถที่จะสั่งให้ค้นหารูปได้อาทิเช่น “OK Google แสดงรูปภาพของฉันที่บาร์เซโลน่า” นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการเปิดโปรแกรมต่างๆได้อาทิเช่น “OK Google เปิดโปรแกรม Google Drive
  • ใช้ในการแปลภาษาต่างๆ โปรแกรม Google Assistant จะเชื่อมโยงกับ Google Translator ทำให้สั่งให้แปลภาษาต่างๆได้ เช่นถ้าเป็นการใช้กับ Google Home ก็อาจสั่งเป็นภาษาอังกฤษว่า  “OK Google, say ‘I love you’ in French” หรือถ้าใช้ Google Assistant App บนมือถือก็อาจสั่งให้แปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างๆได้เช่น  “OK Google, แปลฉันรักเธอภาษาจีน

74495404_522665828570472_7081291925864579072_n

  • สั่งให้เล่นเพลงใน  Spotify หรือเลือกเล่นหนังใน NetFlix หรือ  YouTube ตัว Google Home หรือ  Amazon Alexa สามารถตั้งให้เชื่อมต่อกับ Account  ของ Spotify หรือ NetFlix ได้ ทักษะหนึ่งที่ผมมักจะใช้บ่อยคือการสั่งให้ Google Home หรือ Amazon Echo ที่บ้านเล่นเพลงของ Spotify โดยให้เลือกเพลงอัตโนมัติด้วยคำสั่ง  “OK Google, play Spotify” หรือ   “Alexa, play Spotify” นอกจากนี้ถ้าใช้ Google Assistant Appllication”ก็สามารถสั่งให้เลือกเพลงภาษาไทยได้เช่น “OK Google เล่นเพลงแสดงสุดท้าย ใน Spotify” หรือสามารถเปิดหนังใน NetFlix หรือ  YouTube ได้ อาทิเช่น “OK Google เล่นหนัง Toy Storyใน  NetFlix” หรือ “OK Google ดูรายการ เจาะลึกทั่วไทย ใน  YouTube” นอกจากนี้ผมยังสามารถสั่งให้เปิดมายังทีวีที่บ้่านได้ด้วยคำสั่ง “OK Google, play Toy Story from NetFlix on my TV” ที่น่าสนใจอีกอย่างคือผมมี True ID TVbox  ซึ่งมี Google Assistant ฝั่งอยู่ ก็จะสามารถใช้เสียงสั่งค้นหารายการจาก  YouTube เป็นภาษาไทยได้
  • สั่งควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ผมยังสามารถที่จะใช้ Google Home ที่บ้านเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆด้วยเสียง ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นสนับสนุนการใช้งานกับ Google Assistant แล้วผมก็ตั้งชื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้จำได้ง่ายแล้วใช้คำสั่งอาทิเช่น “OK Google, turn on my living room TV” หรือผมมี Smart plug ต่ออยู่ผมก็สามารถสั่งงานได้ว่า “OK Google, turn Fan on” หรือ “OK Google, turn Fan off
  • เปิดอ่านหนังสือใน Amazon Kindle สุดท้ายผมมีหนังสือจำนวนมากที่ซื้อจาก Amazon Kindle หนังสือบางเล่มมีไฟล์เสียง ผมสามารถจะสอบถามข้อมูลจาก Amazon Echo Dot ให้ดูรายการในคลังหนังสือ Kindle ของผมได้ หรือสั่งให้อ่านหนังสือให้ผมได้ด้วยคำสั่ง  “Alexa, play the Kindle book Big data

72974390_1812814482195414_2960264328541896704_n

  • ใช้ในการตั้งเวลา หรือเป็นนาฬิกาปลุก  ทักษะง่ายๆอีกอันที่สามารถทำได้ก็คือการตั้งเวลาปลุกหรือจับเวลา อาทิเช่น “OK Google, set timer for 4 minutes” หรือ “OK Google, ตั้งเวลา 4 นาที”

ทั้งหมดนี้ก็คือตัวอย่างการใช้งาน Digital Assistant ที่ผมใช้ประจำ แต่จริงๆแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีคำสั่งอัจฉริยะต่างๆอีกมากมาย ที่ผู้ใช้แต่ละคนอาจเลือกใช้แตกต่างกัน

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

การใช้งาน Digital Assistant สำหรับเมืองไทย (ตอนที่ 1 อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ใช้)

72784977_1513301902150478_4135460826330955776_o

ในปัจจุบันผู้ผลิตเทคโนโลยีรายใหญ่ต่างพยายามนำระบบ AI เข้ามาอยู่ในชีวืตประจำวันของผู้คนด้วยการการพัฒนาแพลตฟอร์ม Digital Assisstant เข้ามาฝั่งอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆทั้ง ระบบ Digital Assistant นอกจากเป็นโมบายแอปที่อยู่บนโทรศัพท์มือถืออย่าง Apple Siri, Google Assitant, Microsoft Cortana หรือ Amazon Alexa แล้วยังมีฝั่งอยู่ในลำโพงอัจฉริยะต่างๆอย่าง Google Home, Amazon Echo หรือ Apple Homepod หรือมีอยู่ในสมาร์ททีวี รถยนต์ หรืออุปกรณ์ IoT ต่างๆมากมาย

โดยอุปกรณ์ที่ผู้ใช้นิยมกันมากก็คือการใช้ลำโพงอัจฉริยะ ที่ทาง Amazon ได้เริ่มทำก่อนคือ Amazon Echo และ Amazon Echo Dot แล้วหลังจากนั้นทาง Google ก็ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Google Home และ Google Mini เข้ามาแข่ง นอกจากนี้ในปัจจุปันลำโพงต่างๆที่มีขายตามท้องตลอดก็เริ่มที่จะพัฒนาติดตั้ง Digital Assistant ของค่ายเทคโนโลยีเหล่านี้มาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกเหนือจากการใช้ฟังเพลงตามปกติ

ระบบ Digital Assistant โดยมากจะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง และจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่เชื่อมโยงกันหมด และก็จะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้มาตลอดเวลา ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้มากขึ้น รู้จักผู้ใช้ได้ดีขึ้นและมีความชาญฉลาดในหลายเรื่อง อาทิเช่นการให้ข้อมูลต่างๆ การทราบตำแหน่งของผู้ใช้ การเข้าปฎิทินของผู้ใช้ การสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน หรือการสั่งสินค้าต่างๆ นอกจากนี้ระบบเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับบริการอินเตอร์เน็ตต่างๆเชื่อ Google Map, NetFlix, Spotify หรือ Lyft เพื่อสั่งงานด้วยเสียงได้ หรือแม้แต่มีบริการในการจองร้านอาหารด้วยเสียงอย่างเช่น Google Duplex ที่เปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา

Screenshot 2019-10-19 17.05.02

รูปที่  1 อุปกรณ์ /โปรแกรม  Digital Assistant ที่ผมใช้ในชีวิตประจำวัน

สำหรับผมเองใช้ Digital Assistant อยู่สองค่าย คือ Google Assistant และ Amazon Alexa แต่ส่วนใหญ่จะใช้ Google Assistant มากกว่า โดยจะมีอุปกรณ์ที่มี Google Assistant อยู่สี่ตัวคือ

  • Google Home ตั้งแต่รุ่นแรก
  • Google Home Mini
  • True ID TV Box
  • โมบายแอป Google Assistant ที่อยู่ในมือถือ iPhone

นอกจากนี้ที่บ้านมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างที่สามารถเชื่อมต่อกับ Google Assistant ได้ทำให้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ อาทิเช่น Google Chromecast ที่เชื่อมต่อทีวี, BroadLink RM Mini 3  ที่ทำหน้าที่เป็นรีโมทควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ, Xenon Smart Plug ที่เป็นปลั๊กไฟที่สามารถเชื่อมต่อ WiFi ได้ และ อุปกรณ์อัจฉริยะของ Xiaomi หลายๆอย่างเช่น Smart Bedside Lamp หรือ Air Purifier ส่วนตัวอุปกรณ์ Google Home ผมก็จะเชื่อมต่ออยู่กับเครื่องเสียงที่บ้าน เพื่อทำให้ได้เสียงที่ไพเราะขึ้น โดยเฉพาะเวลาให้เล่นเพลงจาก Spotify  โดยเลือกการตั้งค่าในโปรแกรม Google Home ให้ Default speaker เป็นลำโพงที่ต้องการ

Screenshot 2019-10-19 19.28.27

รูปที่  2 การเชื่อมโยง Google Home แล้วกำหนดให้เครื่องเสียงคุณภาพดีเป็น Default Speaker

รูปที่  3 ขั้นตอนการกำหนด  Default Speaker โดยใช้โปรแกรม Google Home

อุปกรณ์ Google Assistant ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนการสั่งงานด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะตัวลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home ส่วนตัว True ID TV Box จะรู้จักคำสั่งภาษาไทย แต่ตัวโมบายแอป Google Assistant โดยปกติจะไม่รู้จักภาษาไทย แต่เราสามารถติดตั้งให้เข้าใจคำสั่งภาษาไทยได้ (ดูรายละเอียดการติดตั้งจากบทความ “การติดตั้ง Google Assistant ลงบนมือถือเพื่อให้สั่งงานเป็นภาษาไทยได้“)  เลยทำให้ระยะหลังผมจะใช้ Digital Assistant จากโมบายแอป Google Assistant เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอยู่บนมือถือที่พกติดตัวตลอดเวลาและสามารถสั่งงานเป็นภาษาไทยได้

 

นอกเหนือจาก Google Assistant ผมยังมีอุปกรณ์ Amazon Echo Dot เพื่อใช้สั่งงานกับบริการต่างของ Amazon อย่างการอ่านหนังสือใน  Amazon Kindle หรือการฟังเพลงจาก Spoitfy รวมถึงการใช้สั่งงานในเรื่องต่างๆ

ในตอนหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ผมใช้ Digital Assistant เหล่านี้ทำอะไรบ้่าง ตั้งแต่การค้นหาหนังตามโรงภาพยนต์ การดูทีวี การแปลภาษา การสั่งเปิดปิดเครื่องไฟฟ้า หรือการฟังเพลง ซึ่งจะมาอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆที่ผมใช่้ประจำ

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

 

 

เมื่อเทคโนโลยีทำให้คนชอบอ่านหนังสือ Gen X เปลี่ยนไป แต่เนื้อหา (Content) ดีๆยังไม่มีวันตาย

IT Trend2020

สมัยเรียนชั้นประถมต้นทุกเช้าผมจะตั้งหน้าตั้งตารอรถมอเตอร์ไซค์มาส่งหนังสิอพิมพ์ที่บ้าน และวิ่งไปรับด้วยความดีใจเมื่อหนังสือพิมพ์มาถึง ผมชอบตามข่าวฟุดบอลอังกฤษแต่สมัยนั้นไม่มีการถ่ายทอดกีฬาฟุตบอลสดๆไม่มีอินเตอร์เน็ตและคนไทยก็ยังไม่นิยมดูฟุตบอลต่างประเทศเหมือนในปัจจุบัน เมื่อได้หนังสิอพิมพ์มาผมก็จะต้องรีบเปิดดูข่าวกีฬาในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ที่อยู่หน้าสุดท้ายเป็นอย่างแรก เพื่อจะลุ้นดูผลบอลอังกฤษด้วยความตื่นเต้นว่าเมื่อคืนใครชนะ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางหลักที่สำคัญในยุคนั้นที่ทำให้เราทราบและติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆในแต่ละวัน มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ได้อ่านในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็น ไทยรัฐ บ้านเมือง เดลินิวส์ สยามรัฐ หรือ Bangkok Post

พอผมย้ายมาอยู่นครปฐมตั้งแต่ช้นประถมปลายที่บ้านเปิดร้านขายหนังสือ คุณพ่อและแม่ก็จะมีการบ้านให้เอาหนังสือมาอ่านในแต่ละสัปดาห์และต้องสรุปส่งให้ บางทีก็อ่านหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองต่างๆทำให้เป็นคนชื่นชอบกับการอ่านหนังสือมากขึ้น เมื่อขึ้นสู่ชั้นมัธยมศึกษาความสุขเล็กๆน้อยๆของนักเรียนอย่างผมก็เริ่มต้นจากที่ตามคุณแม่ที่ไปค้นเอกสารที่ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ทำให้เรามีโอกาสเข้าไปอ่านและค้นหนังสือที่ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ตอนหลังก็เริ่มนั่งรถเมล์ไปเองจากนครปฐมเพื่อไปอ่านหนังสือพิมพ์เก่าๆย้อนหลังเป็นสิบๆปี บางทีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติได้ทั้งวัน หรือบางครั้งก็ไปเดินดูหนังสือที่ ร้านดวงกมล ตรงสยามสแควร์ ไปยืนเลือกดูหนังสือได้เป็นชั่วโมง อุปนิสัยนี้ที่ได้มาก็เพราะพ่อกับแม่ชอบพาไปร้านหนังสือตามที่ต่างๆ

 

50102461

รูปที่  1 Encyclopedia Britannica ปี 1967

ความสุขอีกอย่างหนึ่งของเด็กนักเรียนอย่างผมก็คือการได้อ่าน Encyclopedia Britannica ที่พ่อซื้อมาชุดใหญ่ตั้งแต่สมัยทำงาน BBC ที่อังกฤษ แม้จะเป็นรุ่นตั้งแต่ปี 1967 แต่มันก็เป็นคลังความรู้ชั้นดีของผม และมันก็ทำให้ผมสนใจดูข้อมูลสถิติต่างๆ อยากเห็นตัวเลขอะไรสารพัดโดยเฉพาะสถิติกีฬาต่างๆในอดีต เวลาเข้าห้องสมุดหรือร้านหนังสือบางทีผมก็จะรีบไปดูหนังสือภาษาอังกฤษที่เป็น World Almanac สรุปสถิติต่างๆ จำได้ว่าแม้แต่พี่ชายตอนกลับมาจากต่างประเทศในสมัยนั้นยังซื้อหนังสือ Sport Almanac มาฝากแทนที่จะซื้ออย่างอื่น

ตอนเข้าเรียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เริ่มสนใจอ่านอ่านนิตยสารวิเคราะห์การเมืองอย่าง อาทิตย์รายสัปดาห์  และหนังสือการเมืองต่างๆ นอกจากนี้ผมก็ยังชอบเข้าไปยืมและหาหนังสืออ่านในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ยุคนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์และการอ่านข่าวก็ต้องพึ่งจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่อยู่ในห้องสมุด และก็ชอบเมื่อมีโอกาสเข้าเมืองก็จะไปดูหนังสือที่ ร้านหนังสืออาเข่ง แถวตลาดโต้รุ่ง ที่สมัยนั้นมีหนังสือให้เลือกมากมาย และเมื่อมีโอกาสกลับเข้ากรุงเทพ สถานที่ซึ่งเลือกจะไปเยี่ยมก็คือร้านหนังสือต่างๆ ไม่ใช่ศูนย์การค้าหรือร้านกาแฟ โดยเฉพาะร้านหนังสือต่างๆบริเวณสยามสแควร์ หรือแม้แต่แว๊บนั่งรถเมล์เข้าไปค้นหนังสือเก่าๆในหอสมุดแห่งชาติ

อุปนิสัยนี้ติดตัวมาจนเข้าทำงานและเรียนต่อประเทศ ผมก็จะเลือกไปดูหนังสือตามห้องสมุด ตามร้านหนังสือ ในต่างประเทศ จำได้ว่าตอนเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่  University of Auckland  ประเทศนิวซีแลนด์ ผมก็ไปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยหาหนังสือพิมพ์ไทยอ่านที่อาจเป็นหนังสือพิมพ์เก่าย้อนหลัง 2-3 สัปดาห์อ่าน เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะทราบข่าวเมืองไทยในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต แม้แต่ตอนไปทำงานในต่างประเทศบางครั้งมีเวลาว่างผมยังเลือกที่จะไปร้านหนังสือมากกว่าทีอื่น จำได้ว่าครั้งหนึ่งมีเวลาแค่วันเดียวในเมือง Toronto ประเทศแคนาดา ผมเลือกที่ไปดูหนังสือที่ร้าน Barnes and Nobles และอยู่ที่นั้น 4-5 ชั่วโมง มากกว่าที่จะไปเที่ยวที่อื่นๆ หรือแม้แต่ตอนทำงาน Sun Microsystems ที่ช่วงหนึ่งต้องไปประชุมที่สิงคโปร์บ่อยๆผมก็จะต้องแวะไปดูหนังสือที่ร้าน Computer Book Center ในห้าง Funan Digital IT Mall  ทุกครั้งที่มีโอกาส ซึ่งร้านมีหนังสือคอมพิวเตอร์ให้ผมเลือกมากมาย ยืนดูได้เป็นชั่วโมง

แต่ทุกวันนี้ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ได้ตายจากผมไปแล้ว ผมไม่เคยตื่นเต้นต้องมารอคนมาส่งหนังสือพิมพ์เหมือนเดิมแล้ว โลกโซเชียลทำให้ผมทราบข่าวตรงจากผู้สื่อข่าวจากสนามข่าวผ่าน Tweeter หรือออนไลน์ต่างๆ ข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เป็นข่าวที่ทราบมาก่อนแล้ว หนังสือพิมพ์วันนี้ผมเน้นที่จะอ่านบทความ บทวิเคราะห์  ผมยังซื้อหนังสือพิมพ์อยู่แต่ไม่ใช่เป็นกระดาษแบบเดิมแล้ว เลิกรับแบบเดิมมานับสิบปีแล้ว เมื่อสิบปีก่อนผมก็เริ่มซื้อหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ โดยตรงจาก App Store ฉบับที่เป็น e-Book ทุกวัน (แต่จ่ายเป็นรายเดือน) หลังจากนั้นก็มารับหนังสือพิมพ์และนิตยสารแบบบุฟเฟ่ต์ของ OokBee อ่านในรูปแบบของ e-Book อยู่หลายปี จนหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เคยอ่านในนั้นทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆ จากที่เคยได้อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 4-5 ฉบับทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆจนกระทั่งไม่มีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่ผมอยากอ่านเหลืออยู่เลย จนสุดท้ายก็ต้องหันกลับมารับฉบับออนไลน์โดยตรงกับเจ้าของสำนักพิมพ์คือ กรุงเทพธุรกิจ และล่าสุดก็สมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ Business Today  ใช่ครับคนกลางที่เป็นแผงหนังสือหรือคนส่งหนังสือพิมพ์กำลังหายไปแล้ว

ร้านหนังสือที่เคยไปยืนเลือกดูหนังสือเป็นชั่วโมงๆ ก็เริ่มหายไปแล้ว หนังสือดีๆที่น่าอ่านก็มีให้เลือกน้อยลง ไปร้านหนังสือวันนี้แทบไม่มีนิตยสารให้เลือก หนังสือตามชั้นก็เน้นเรื่องธุรกิจ การเล่นหุ้น หรือวิธีการรวยทางลัด นอกนั้นก็อาจเป็นหนังสือท่องเที่ยว ส่วนหนังสือคอมพิวเตอร์ ประวัติศาสตร์ สังคมก็น้อยลงไปเรื่อยๆ ผมยังไปนั่งทานกาแฟแถวร้านหนังสือที่ Think Space B2S ซึ่งเป็นร้านขนาดใหญ่ตรง Central EastVille และก็ไปทานกาแฟที่ร้านหนังสือบริเวณ Open House ตรง Central Embassy แต่ก็มีหนังสือน้อยเล่มที่ให้เลือกซื้อ

72698843_394940214791098_7983564778368925696_n

รูปที่  2 ตัวอย่างหนังสือใน Kindle App ของผม

ร้านหนังสือผมกลายเป็นว่ามาอยู่ในโลกออนไลน์ ถ้าอยากจะได้หนังสือดีๆก็ต้องซื้อตรงจาก Amazon.com  อ่านผ่าน Kindle App แถมบางเล่มยังสามารถซื้อไฟล์เสียงได้ แล้วก็สั่งด้วยเสียงของเราเปิดฟังอัตโนมัติผ่าน Amazon Echo ในยามที่ต้องการได้ หนังสือก็มีให้เลือกมากมายไม่จำกัด แถมยังมีเนื้อหายังใหม่ๆตลอดเวลา ส่วนร้านหนังสือคอมพิวเตอร์ของผมก็ย้ายมาอยู่ที่ Safari Book Online มีหนังสือด้านเทคโนโลยีให้ผมเลือกอ่านเป็นพันๆเล่ม ผมจ่ายเป็นรายปีอ่านแบบไม่จำกัด แถมยังมีวิดีโอหลักสูตรคอมพิวเตอร์ต่างๆให้ผมเรียน ที่สำคัญสุดหนังสือเทคโนโลยีเหล่านี้ใหม่มากๆบางทีผู้เขียนยังเขียนเสร็จไม่ครบทุกบทยังไม่ตีพิมพ์เป็นเล่มขายแต่ผมก็ได้อ่าน E-Book ที่เป็น Early Edition หรือ Pre-Print แล้ว

72578371_2459527324155471_8548084280343920640_n

รูปที่  3 ตัวอย่างหนังสือที่ผมอ่านใน Safari Book Online

Encyclopedia ก็กลายเป็น Wikipedia หรือ Google แม้อินเตอร์เน็ตจะมีข้อมูลมากมาย หลายแหล่งอาจไม่ถูกต้อง แต่ด้วยความโชคดีที่ได้ฝึกทักษะในการอ่าน ในการค้นข้อมูล สรุปย่อความและคิดวิเคราะห์ตั้งแต่เด็ก ก็เลยพอมั่นใจตัวเองได้ในระดับหนึ่งว่ามีหลักการในการหาข้อมูลที่พอเชื่อถือได้ จากทักษะตั้งแต่ในยุคอนาล็อกนั้นละครับ ไม่ใช่ประเภทตามกระแสโซเชียลที่กด Click, Like และ Share

ล่าสุดผมเห็นข่าวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในปีนี้ คนเริ่มเงียบเหงาลง มีคำถามว่าหนังสือก็ตายแล้วหรอ สำหรับผมเนื้อหา (Content) ยังไม่มีวันตาย เผลอๆในโลกยุคปัจจุบันผู้คนต้องการบริโภคเนื้อหาทีถูกต้องและแม่นยำกว่าเดิม คนที่ต้องการเนื้อหาดีๆยังต้องจ่ายเงินแต่ช่องทางอาจเปลี่ยนไปแล้ว อาจไม่ใช่เป็นกระดาษเป็นเล่มแบบเดิม แต่อาจเป็นการซื้อบนโลกออนไลน์ แบบทันทีทันใด อ่านจากอุปกรณ์ไหนก็ได้ และเนื้อหาต้องทันสมัย สำคัญสุดวันนี้ถ้าเราอยากให้ลูกหลานเราอ่านเนื้อหาดีๆ ภาษาอังกฤษพวกเขาต้องเก่ง เพราะมีเนื้อหามากมายในโลกออนไลน์ ที่จะรอแปลมาเป็นไทยก็อาจไม่ทันโลกแล้ว และสำคัญสุดในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเราต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ค้นข้อมูล และคิดเชิงวิเคราะห์ให้ได้ว่าข้อมูลไหนถูกต้อง ไม่ใช่แค่สอนการใช้กูเกิ้ล

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

มูลค่า Internet Economy ของประเทศต่างๆใน ASEAN จากรายงาน e-Conomy SEA 2019

IT Trend2020

ผมได้มีโอกาสอ่านรายงาน e-Conomy SEA 2019 ซึ่งเป็นการสรุปผลวิจัยด้าน Internet Economy ของประเทศต่างๆใน ASEAN ที่ทางบริษัท Google และ Temasek ได้จัดทำมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 โดยในปีนี้มีบริษัท Bain & Company ได้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรหลักอีกหนึ่งราย โดยงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจาก Bain analysis, Google Trends, Temasek, แหล่งข้อมูลอุตสาหกรรมต่างๆและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาในการสรุปตัวเลขต่างๆ

ทั้งนี้รายงานนี้มีการสำรวจมูลค่า Internet Economy ของประเทศต่างๆ 6 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ โดยเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตทั้ง 6  ประเทศเคยมีมูลค่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2015 ด้เพิ่มขึ้นเป็น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 38.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 34.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้คาดการณ์ว่ามูลค่า Internet Economy จะเพิ่มสูงถึง 300 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 153 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  (แบ่งย่อยเป็น Online Gaming 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Advertising 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Subscription Music & Video 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) Online Travel 78 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (แบ่งย่อยเป็น Online Hotels 36 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Flights 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online vacation rental 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และ Ride haling 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ (แบ่งย่อยเป็น Online Food Delivery 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online Transport 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

Screenshot 2019-10-10 16.20.19รูปที่ 1 SEA Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศต่างๆใน ASEAN ในปี 2019 จะพบว่าอินโดนีเซียจะมีมูลค่าสูงสุดคือที่ 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยประเทศไทยที่ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยอัตราเจริญเติบโดของแต่ละประเทศในช่วงตั้งแต่ปี 2015 อยู่ที่ค่าเฉลี่ยระหว่าง 20-30% ต่อปี ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนามที่มีอัตราเติบโดแบบก้าวกระโดดที่เกิน 40% ต่อปี และคาดว่าในปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตของอินโดนีเซียจะเพิ่มเป็น 133 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเวียดนามจะเพิ่มเป็น 43 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 50 พันล้านเหรียญสหรัฐนปี 2025 โดยคาดว่าจะแบ่งเป็น E-commerce18 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุว่าใน  ASEAN มีผู้ใช้ Internet อยู่  360 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้ในประเทศไทย 47 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากปี 2015 ที่มีอยู่ 38 ล้านคน และถ้าพิจารณาจำนวนผู้ใช้ตามประเภทของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่ามีผู้ใช้ e-Commerce อยู่ 150 ล้านราย, Online Gaming 180 ล้านราย, Ride Haling 40 ล้านราย และ Online Booking มีปริมาณ 43% ของจำนวนการจองทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาการเจริญเติบโดของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่าจะกระจุกกันอยู่ในเมืองหลวงของแต่ละปรเทศที่มีปริมาณมากกว่าต่างจังหวัดสูงถึง 3-4 เท่าเช่นมีการคำนวณ GMV (Gross Merchandise Value) สำหรับ Internet Economy ต่อหัวในกรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ $549 ขณะที่ต่างจังหวัดจะอยู่ที่เพียง $152

Screenshot 2019-10-10 16.20.07รูปที่ 2 Thailand Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

สุดท้ายรายงานก็ได้ระบุถึงบริการทางด้านการเงินดิจิทัล 5 ด้านคือ Payments, Remittance, Lending, Investment และ Insurance  โดยพบว่าในกลุ่ม Digital Payments ที่รวมถึงการใช้การ์ด การโอนเงินระหว่างบัญชี และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ในจำนวนนี้เป็น e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับมูลค่าการชำระเงินทั้งหมดคือ 1,400 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าในปี 2025 มูลค่าการชำระเงินทั้งหมดจะโตเป็น 2,200 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเป็นส่วนของ Digital Payments ที่ 1,100 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 114 พันล้านเหรียญ หรือคิดว่า 50% จะเป็น Cashless นอกจากนี้ในปี 2019 ยังมีพบว่า Digital Remittance มีมูลค่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 13% ของสัดส่วน Remittance ทั้งหมด, Digital Lending มีมูลค่า 23 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมด, Digital Investment มีมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมดและ Digital Insurance มีมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 4% ของสัดส่วนทั้งหมด

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Building the infrastructure of the Digital Economy จากงาน Apsara Conference 2019 ของ Alibaba Cloud

Screenshot 2019-10-01 10.14.45

ช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว (25-27 กันยายน) Alibaba Cloud ได้จัดงานสัมมนาประจำปีที่ชื่อ Apsara Conference 2019 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 และกำหนด Theme ของงานปีนี้เป็น The Rise of Data Intelligence ซึ่งผมเองได้ติดตามดูงานสัมมนาผ่านเว็บไซต์ www.alibabacloud.com/apsara-conference-2019 โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจอยู่จำนวนมาก และสามารถที่จะเข้าไปชมย้อนหลังได้

S__7110660

หนึ่งในหัวข้อของ Keynote session ที่น่าสนใจคือ Building the infrastructure of the Digital Economy โดย Jeff Zhang, CTO of Alibaba Group, President of Alibaba Cloud Intelligence ซึ่งเริ่มต้นอธิบายให้เห็นเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆกำลังขับเคลื่อนให้เกิด Digital Transformation  โดยได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในอนาคตที่จะมีจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น และจะมีจำนวนข้อมูลทั่วโลกขึ้นไปถึง175 ZettaByte ในปี 2025 ทั้งนี้ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่ามูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ในประเทศจีนคิดเป็นบริมาณถึง 67.9% ของมูลค่า GDP รวมของประเทศ

เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้านคือ

  • Demand: ความต้องการของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป และจะต้องการจัดการบริหารสภาวะแวดล้อมระหว่างผู้บริโภคและธุรกิจ (C2B) ที่เปลี่ยนไป
  • Production: กระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อและควบคุมกระวนการได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
  • Supply:  ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขาย ก็สามารถจะตรวจสอบและทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • Operation: กระบวนการทำงานก็เปลี่ยนแปลงเป็นแบบ Dynamic collaboration และมีการตัดสินใจได้ดีขึ้น

ดังนั้นองค์กรต่างๆจึงต้องปรับตัวเองและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำงาน ซึ่งการทำ Digital Transformation ซึ่งทาง Jeff Zhang ชี้ให้เห็นว่าจะต้องมีการวางพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่ดีได้ควรมีเสาหลักในการดำเนินงานสี่ด้านคือ

  • Reliable Cloud
    • Cloud เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยี Cloud computing จะช่วยทำให้สามารถทำนวัตกรรมต่างๆได้รวดเร็วขึ้นทั้งเรื่องของ IoT, Big Data, AI หรือ Blockchain การใช้ Cloud  เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ทั้งเป็นการเปลี่ยน Mindset ด้านเทคโนโลยี การออกแบบและติดตั้งระบบในรูปแบบใหม่ ที่จะมีความคล่องตัว รวดเร็ว และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้
  • Intelligent Big Data
    • ข้อมูลเป็นปัจจัยที่สำคัญสุดในการทำ Digital Transformation จะต้องสร้างคุณค่าจากข้อมูลในทุกขั้นตอนต่างๆทั้ง การทำ Data collection, Data Cleansing,Data Classification &  Storage, Cognition & Mining รวมถึงการทำ Intelligent application จากการใช้ข้อมูล
  • Intelligent Cloud-End Network
    • ต้องมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆในองค์กรเข้าระบบอินเตอร์เน็ตแบบ Real-time โดยเฉพาะอุปกรณ์ Internet of ้thing (IoT) เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้งานให้ได้มากที่สุด
  • Unparalleled Mobility
    • การทำงานจะต้องเป็นแบบ Mobility และต้องมีเทคโนโลยีที่สามาถทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งก็อาจเป็น Mobile apps ที่สามารถสร้างที่ทำงานแบบไร้พรมแดนได้ ( borderless workplaces)

Screenshot 2019-10-01 10.17.11

ทั้งนี้งาน Apsara Conference 2019 ยังมี  Session ที่น่าสนใจอีกจำนวนมากทั้งหัวข้อด้าน Machine Intelligence, China Gateway, AI&Big Data Intelligence, New Retail Ecosystems และ Enterprise Digital Transformation ซึ่งผมเองก็อยากให้เข้าไปดูการบรรยายที่สามารถดูย้อนหลังได้ วันนี้ผู้นำขับเคลื่อนเทคโนโลยีโลกกำลังจะเปลี่ยนจากตะวันตกสู่ตะวันออก ถ้าเราจะเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัลได้ดีก็ควรจะต้องศึกษาเทคโนโลยีของบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศจีนไปด้วย

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute