โลกหลังยุคโควิด (Post-COVID era) จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

91618641_1684893861657947_6150479015678312448_n

ในตอนที่แล้วผมเขียนไว้ว่า โลกยุคหลังโควิด (Post-COVID era) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ดังนั้นธุรกิจและผู้คนในวันนี้จะคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะมาคิดเพียงว่า รอให้หลังสิ้นสุดการระบาดของโควิด-19 ก่อน แล้วค่อยว่ากัน จะคิดแค่ว่าวันนี้แค่ประคองทำธุรกิจและการทำงานแบบเดิมเอาตัวให้รอดก่อนคงไม่พอแล้ว หรือจะคิดเพียงว่าวันนี้การพักผ่อนไม่มีงานทำอยู่บ้านก็ดป็นการช่วยชาติแล้วก็อาจไม่ได้แล้ว เพราะถ้าวิกฤตินี้ลากยาวไปเราคงเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เราต้องเริ่มปรับตัวในวันนี้ี โดยถ้ามองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบมาจากด้านเทคโนโลยีจะพอเห็นประเด็นที่สำคัญดังนี้

ออฟฟิศที่ทำงานจะไม่เหมือนเดิม

ในอดีตองค์กรต่างๆจะเน้นการทำงานแบบ Physical office ที่ทำงานมีพื้นที่ใหญ่โต ต้องเช่าตึก เช่าห้องทำงาน ห้องผู้บริหารกว้างขวาง ต้องมีสถานที่ให้ผู้คนมาติดต่อ แต่เมื่อเราเขาสู่ยุคโควิดจะเห็นได้ชัดว่า ที่ทำงานของทุกคนเปลี่ยนไปกลายเป็น Virtual office เราไม่ต้องการที่ทำงานใหญ่โต แต่ทุกคนทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยเฉพาะจากที่บ้าน คนจะเข้ามาติดต่อออฟฟิศก็น้อยลง เราไม่ต้องการห้องประชุมแต่เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการประชุมออนไลน์เห็นหน้ากัน เราไม่จำเป็นจะต้องมีการใช้เอกสารมากมายแบบเดิม เราไม่สามารถที่จะส่งกระดาษกันได้ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัล  ซึ่งการทำงานในยุคโควิดจะทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการทำงานในรูปแบบนี้

หลังจากยุคโควิดเราอาจเริ่มเห็นหน่วยงานต่างๆลดขนาดออฟฟิศลง ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากเท่าเดิม ผู้บริหารไม่จำเป็นจะต้องมีห้องทำงานใหญ่โต คนในที่ทำงานสามารถประชุมและติดต่อกับลูกค้าผ่านระบบออนไลน์ได้โดยง่าย การเดินทางก็จะน้อยลง พนักงานบริษัทก็จะมีเวลาในการทำงานมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการเช่าออฟฟิศ การเดินทางของพนักงาน การทำเอกสาร ก็จะเปลี่ยนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าระบบซอฟต์แวร์ ระบบคลาวด์ต่างๆทั้งการเก็บข้อมูล เช่าระบบการประชุมออนไลน์ การจะจัดสัมมนาหรือจัดประชุมใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องไปเช่าห้องประชุมหรือโรงแรม แต่ก็สามารถจัดผ่านระบบออนไลน์

คนทำงานจะต้องมีทักษะและวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป

ในอดีตคนทำงานจะเน้นเลือกทำงานในหน่วยงานที่มีความมั่นคง และอาจทำงานให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไปตลอดชีวิตของการทำงาน โลกของการทำงานหลังจากยุคโควิดจะกลายเป็นว่า ผู้คนจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ เพื่อนร่วมงานอาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก และหน่วยงานอาจไม่ได้สนใจว่าเขาทำงานในลักษณะใดตราบใดที่ยังสามารถทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ องค์กรต่างๆก็อาจจะจ้างคนเป็นการชั่วคราวขึ้นอยู่กับความต้องการในช่วงนั้น

คนทำงานเองก็สามารถทำงานให้กับหลายองค์กรได้ในช่วงเวลาพร้อมกันตราบใดที่สามารถส่งงานให้กับผู้ว่าจ้างได้ตามเป้าหมาย โดยคนทำงานต้องมีทักษะในการด้านดิจิทัลที่ดี มีความสามารถในการทำงานออนไลน์ สามารถทำงานออนไลน์ร่วมกันกับผู้ร่วมงานได้ มีทักษะการค้นข้อมูล และการสื่อสารออนไลน์ที่ดี ตลอดจนมีความสามารถเฉพาะในบางด้าน แม้แต่การสัมภาษณ์เข้าทำงานในอนาคตก็อาจเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำ Video conference  และไม่แน่ว่าต่อไปลูกจ้างกับนายจ้างบางบริษัทอาจไม่เคยเจอหน้ากันจริงๆเลยตลอดระยะเวลาที่ทำงานร่วมกัน

Screenshot 2020-04-05 15.29.38

(รูปภาพจาก https://allwork.space/)

อาชีพบางอย่างอาจจะหายไป

วิกฤติโควิดเป็นตัวเร่งทำให้เกิด Digital disruption ทำให้ผู้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ต้องสร้างระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทำให้ธุรกิจหลายอย่างที่ดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักในเวลานี้ ยิ่งสิ่งที่ไม่จำเป็นและสามารถทดแทนด้วยระบบดิจิทัลก็อาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในยุคหลังโควิด ตัวอย่างเช่นธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ ซึ่งก็จะมีผลทำให้อาชีพบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเหล่านี้ลดหายไปด้วยเช่น แผงขายหนังสือพิมพ์ คนส่งหนังสือพิมพ์

ยังมีอีกหลายๆอาชีพที่อาจส่งผลกระทบ เช่นธุรกิจจากการท่องเที่ยวที่คนชะลอการเดินทาง และเมื่อพ้นวิกฤติคนก็อาจจะคุ้นเคยกับการจองตั๋วหรือที่พักเอง อาชีพไกด์ เอเจนท์บางด้านก็อาจจะลดลงไป งานด้านเอกสารก็เช่นกัน งานถ่ายเอกสาร งานพิมพ์เอกสารต่างๆก็จะลดลงไป โดยเฉพาะอาชีพใดก็ตามที่ให้คนต้องมาเจอกันสัมผัสกันก็อาจหายไป ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะรวมถึงอาชีพของคนขายล็อตเตอรี่ไหมถ้าเกิดระบบล็อตเตอรี่ออนไลน์ขึ้นมาเนื่องด้วยผู้คนไม่อยากจับกระดาษ ตลอดจนอาชีพบริการอีกหลายๆอย่างที่อาจสูญหายไป

การเรียนการสัมมนาจะมุ่งสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น

ภาคการศึกษาจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูก Disrupt ไปมากที่สุดจากวิกฤติของโควิด ผู้คนจะคุ้นเคยกับการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนอาจไม่จำเป็นจะต้องพึ่งสถานศึกษาหรือผู้สอนแบบเดิมๆ แต่สามารถจะเรียนกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ตราบใดที่ผู้เรียนมีความรู้จริงๆ การวัดผลก็อาจเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นการสอบออนไลน์ที่อาจต้องเน้นวิธีวัดผลอย่างต่อเนื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อสอบปรนัยแบบง่ายๆเพียงแค่ครั้งหรือสองครั้ง และเมื่อวิธีการทำงานในอนาคตเปลี่ยนไป องค์กรต่างๆก็อาจไม่คาดหวังในปริญญาบัตรจากผู้สมัครเข้าทำงานในรูปแบบเดิมๆ แต่อาจสนใจที่จะแสวงหาคนทำงานที่มีสามารถจริงเข้ามาทำงานเป็นครั้งคราวโดยคนนั้นอาจเรียนผ่านระบบออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ ที่องค์กรมีความมั่นใจ

แม้แต่การจัดสัมมนาหรือการจัดงานต่างๆที่เคยต้องหาสถานที่ใหญ่โตในการจัด ต้องมีพิธีเปิดปิดก็อาจเปลี่ยนมาสู่การจัดออนไลน์ มีการทำ Webinar แทนและผู้คนสามารถร่วมงานได้หลายพันคน รวมถึงอาจมีการใช้เทคโนโลยีอย่าง AR/VR เข้ามาช่วยในการสัมมนาและการเรียนการสอนมากขึ้น คนทำงานเองก็สามารถที่จะเพิ่มทักษะตัวเองได้ตลอดเวลาผ่านการเรียนระบบออนไลน์

ระบบการชำระเงินออนไลน์จะกลายเป็น New normal

ที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินออนไลน์ในรูปแบบทั้ง PromtPay, Mobile banking, Internet banking หรือ Mobile payment แต่การใช้งานก็ยังอยู่ในวงจำกัดกันแค่คนบางกลุ่มหรือคนรุ่นใหม่ แต่การเกิดวิกฤติโควิดครั้งนี้ ทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์มากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะไม่อยากที่จะสัมผัสเงินสด ยิ่งมีการให้คนจำนวนมากมาลงทะเบียบรับเงินเยียวยาและจ่ายเงินผ่านระบบ PromptPay ของภาครัฐ ก็ยิ่งจะทำให้การทำธุรกรรมชำระเงินออนไลน์กลายเป็น New normalในสังคมไทย

ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและบริการด้านดิจิทัลจะเติบโตขึ้น

วิกฤติโควิดทำให้ผู้คนไม่อยากออกจากบ้าน ผู้คนหันมาใช้บริการออนไลน์มากขึ้นทั้งในด้าน Food delivery, Online shopping หรือ Content streaming ซึ่งผู้คนก็จะคุ้นเคยกับการใช้งานบริการต่างๆเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลทำให้คนที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้มีโอกาสที่ดีขึ้น รวมถึงพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น พนักงานส่งสินค้า คนทำระบบไอที คนทำ Content

นอกจากนี้จะมีความต้องการใช้เทคโนโลยีไอทีมากขึ้น ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง 5G ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจทางด้านนี้มีการเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต

การใช้เทคโนโลยีเอไอจะมีความแพร่หลายมากขึ้น

วิกฤติโควิดทำให้ผู้คนในอนาคตตระหนักเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาด และ Social distancing ซึ่งจะทำให้มีการใช้ระบบเอไอเข้ามามากขึ้น ทั้งในการทำ Big data เพื่อคาดการณ์การแพร่ระบาด การติดตามการเดินทางของผู้คน การใช้ระบบ Facial recognition เพื่อลดการสัมผัส ทั้งในเรื่องของการเข้าสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อการทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนใช้ในการใช้เอไอเพื่อตัดสินใจการทำงานหลายด้านๆเช่น ด้าน HR หรือการมาใช้ในงาน Workflow ต่างๆเช่นระบบ RPA (Robot Process Automation) ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบออฟฟิศการทำงานไม่เหมือนเดิม จึงทำให้ต้องมีระบบออโตเมชั่นต่างๆมาช่วยในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหารออฟฟิศในรูปแบบเดิมๆก็จะถูกย้ายโอนสู่การลงทุนเทคโนโลยีมากขึ้น

ผู้คนจะยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น

วิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเราจะเห็นว่าในประเทศจีนมีระบบการติดตามข้อมูลการเดินทางและข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรจำนวนมากได้อย่างถูกต้องทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี แม้ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยจะพยายามเน้นการใช้บังคับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล แต่ด้วยวิกฤติของโรคระบาดทั้งในปัจจุบันและในอนาคตก็อาจจำเป็นที่จะต้องได้ข้อมูลของประชาชนเข้ามาในแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้แนวคิดเดิมๆในด้านนี้ต้องเปลี่ยนไป

จากที่กล่าวมาทังหมดนี้จะเห็นได้ว่า วันนี้แล้วถึงเวลาที่ทุกธุรกิจและผู้คนจะต้องเริืยนรู้และปรับตัวเข้าสู่ยุคโควิดและต้องเข้าใจว่าเมื่อหลังจากนี้ไปโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  1. สุดท้ายเราจะเห็นคำว่าโลก ‘ยุคก่อนโควิด’ และ’ยุคหลังโควิด’
  2. โลกยุคหลังโควิด กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดการณ์ได้

 

 

โลกยุคหลังโควิด กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดการณ์ได้

91618641_1684893861657947_6150479015678312448_n

สัปดาห์ก่อนผมเขียนบทความว่าต่อไป โลกจะแบ่งเป็นยุคก่อนโควิด (Pre-COVID era) และยุคหลังโควิด (Post-COVID era) ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (อ่านบทความ สุดท้ายเราจะเห็นคำว่าโลก ‘ยุคก่อนโควิด’ และ’ยุคหลังโควิด’) เพราะคาดการณ์ว่าวิกฤติโควิดนี้จะอยู่กับเราเป็นเวลานาน ทำให้ต่อไปสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างมาก

หลายคนอาจเคยดูหนังและสารคดีที่เล่าเรื่องชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โลกยุคก่อนสงครามเป็นแบบหนึ่ง แต่เมื่อก้าวเข้าสู่สงครามในระยะต้นผู้คนก็ยังคาดหวังว่าสงครามจะสิ้นสุดโดยเร็ว คาดหวังว่าเมื่อสงครามสิ้นสุดลงตัวเองจะกลับไปทำอะไร บางคนคาดหวังจะไปประกอบอาชีพบางอย่าง บางคนอยากไปแต่งงาน ไปใช้ชีวิตกับครอบครัว แต่สงครามโลกครั้งที่สองใช้เวลายาวนานถึงสี่ปี มีความสูญเสียจำนวนมากทั้งชีวิตผู้คนและบ้านเมือง เมื่อสิ้นสุดสงครามก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย สังคมไม่เหมือนเดิม บางคนสูญเสียคนละครอบครัว ไม่มีบ้านจะอยู่ อาชีพการงานก็ไม่เป็นเช่นเดิม หลายประเทศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ชีวิตผู้คนก็เปลี่ยนไป

37342743_2344874038863830_2015538013534158848_o

ย้อนนึกไปถึงหนังเรื่อง Demolition man ที่ผมเคยดูเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ซึ่งเป็นหนังวิทยาศาสตร์แอคชั่น (Sci-fi action) ที่พระเอกของเรื่องที่นำแสดงโดย Sylvester Stallone ถูกจองจำแบบแช่แข็งและได้ออกมาใช้ชีวิตในปี 2032 ที่เขาพบว่าบ้านเมืองเปลี่ยนไปอย่างมาก ผู้คนที่อยู่อาศัยจะถูกตรวจสอบการใช้ชีวิตทุกอย่าง บ้านเมืองมีกล้อง CCTV ติดไปทั่ว ผู้คนไม่มีความเป็นส่วนตัว มีระบบการตรวจสอบเหมือนที่ประเทศจีนในปัจจุบัน ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่การเดินทาง และการสนทนา ทั้งนี้ก็เพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในสังคม

ในหนังยังมีการกล่าวถึงการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคครั้งใหญ่ก่อนปี 2032 ที่ทำให้การใช้ชีวิตผู้คนในปี 2032 เปลี่ยนไป ทุกคนจะไม่มีการสัมผัสกัน ไม่มีการจับมือกันแบบเดิม การทักทายด้วยการ shake hand จะไม่มีการสัมผัสมือกัน ผู้คนจำนวนมากจะสวมถุงมือ ไม่มีการกอดจูบหรือมีเพศสัมัพนธ์กัน การแต่งกายก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายคล้ายๆกันไปหมด ที่น่าสนใจก็คือสังคมในหนังจะไม่มีการใช้จ่ายเงินสดทุกอย่างจ่ายผ่านระบบดิจิทัลที่มีการฝั่งชิบในร่างกาย และอุปกรณ์หลายๆอย่างในหนังก็จะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง รวมถึงมีรถยนต์ไร้คนขับที่สั่งงานด้วยเสียง แม้หนังจะสร้างเมื่อปี 1993 แต่ก็สามารถคาดการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอในปัจจุบันได้หลายอย่างทั้งระบบ Voice control, Video call  และ Digtial payment

จากหนังเรื่องนั้นทำให้ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าโรคระบาดนี้มีความรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานานสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างในหนังหรือไม่ และเช่นกันทำให้นึกถึงระยะต้นของสงครามโลกครั้งที่สองที่ทุกคนยังคิดว่าสงครามจะจบโดยเร็ว เหมือนตอนนี้ที่เป็นระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ผู้คนยังมีความหวังในตอนต้นว่ามันจะจบโดยเร็ว ที่ตอนแรกเราคิดว่าเดือนหนึ่งน่าจะเสร็จ แต่ตอนนี้เราเริ่มคุยกันว่าถึงครึ่งปีนี้ บ้างก็เริ่มบอกแล้วว่าอาจข้ามไปถึงปีหน้า ซึ่งถ้ามันยาวนานขนาดนั้นมันก็คงเปลี่ยนแปลงสังคมของเราไปอย่างมาก

หลายๆคนตั้งคำถามว่าหลังโควิดแล้วเราจะเห็นอะไรที่เปลี่ยนไปบ้างโดยเฉพาะด้านธุรกิจแล้วจะต้องทำอย่างไร เจ้าของธุรกิจบางคนก็จะบอกว่าตอนนี้ยังไม่อยากคิดอะไร เอาธุรกิจตัวเองให้รอดในช่วงโควิดนี้ก่อนหลังจากนั้นแล้วค่อยว่ากัน จริงๆแล้วถ้าวิกฤตินี้ลากยาวนานเราอาจจะคิดอย่างนั้นไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะคิดไปว่าวันนี้เราจะอยู่รอดอย่างไรในวิถีเดิม เพราวิถีชีวิตผู้คนจะเปลี่ยนไป วิธีการทำงานของผู้คนจะเปลี่ยนไป อาชีพบางอย่างหายสูญหายไป ธุรกิจบางอย่างอาจเปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นวันนี้เราคงต้องเริ่มคิดรูปแบบการทำงานและธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ธุรกิจเราอาจไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ต้องเริ่มคิดโดยต้องมีการนำเทคโนโลยีดิจทัลเข้ามาช่วย ลูกค้าเราอาจเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำให้สิ่งที่เคยมีความจำเป็นในวันนี้ก็อาจเริ่มไม่ใช่แล้ว

ซึ่งบทความตอนต่อไป ผมจะมาคาดการณ์ว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC institute

สุดท้ายเราจะเห็นคำว่าโลก ‘ยุคก่อนโควิด’ และ’ยุคหลังโควิด’

91530554_1681978211949512_6490173644180815872_n

ผมยอมรับสารภาพตรงๆ ครับว่าตอนเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิดใหม่ๆ ในช่วงที่เริ่มแพร่ระบาดที่ประเทศจีน ผมคิดเพียงแค่ว่ามันก็คงคล้ายๆ กับตอนเกิดวิกฤติ “โรคซาร์ส” ที่เคยระบาดร้ายแรงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ซึ่งโรคมีความรุนแรง แต่สามารถแก้ไขไปได้ในเวลาไม่นาน และเป็นวิกฤติในบางประเทศเท่านั้น

สำหรับรอบนี้แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายๆ คนออกมาเตือนว่าจะรุนแรงกว่าครั้งใดๆ เปรียบเทียบได้เท่ากับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อร้อยปีก่อน แต่ผมก็ยังคิดว่าสถานการณ์คงยุติได้โดยเร็ว แต่ในวันนี้มันรุนแรงกว่าที่คิดมาก ไม่ใช่แค่วิกฤติทางสุขภาพ แต่กลับลามไปถึงวิกฤติทางเศรษฐกิจของโลก และกำลังเป็นวิกฤติหนึ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างสิ้นเชิง

750x422_649825_1585319655 (1)

ยุคที่ผมเด็กๆ เรามักได้ยินคำว่า โลกยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และโลกยุคหลังสงคราม ซึ่งมีบริบทด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เช่นเดียวกับยุคก่อนและยุคหลังสงครามเย็น ที่เราเห็นกำแพงเบอร์ลินล่มสลายเมื่อปี 1989 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สิ้นสุดการต่อสู้ของค่ายทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ และหมดยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ที่มีการเปิดเสรีภาพทางพรมแดน การเดินทาง และลดการแข่งขันกันทางอาวุธยุทโธปกรณ์
ดังนั้นจากวิกฤติครั้งนี้ก่อให้เกิดผลกระทบมหาศาล ในอนาคตเราจึงอาจจะได้ยินคำว่า โลกยุคก่อนโควิด (Pre-COVID) และโลกหลังยุคโควิด (Post-COVID)

ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ทั้งในและต่างประเทศหลายคน เริ่มเห็นฟ้องกันว่า หลังจากวิกฤตินี้สิ้นสุดลง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมหาศาล วิถีชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนไป ตั้งแต่เรื่องการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไป แม้แต่มหาอำนาจของโลกก็อาจจะเปลี่ยนไป กระแสของโลกก็อาจจะเปลี่ยนทิศจากตะวันตกสู่ตะวันออกอย่างรวดเร็วขึ้น

วิกฤติครั้งนี้ไม่สามารถเทียบได้กับวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ แต่มันอาจจะพอกับสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสงครามเย็น ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ แต่มันจะมีผลพวงทำให้ประชากรของโลกเปลี่ยนพฤติกรรมมหาศาล หากเปรียบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลก็เหมือนกับการที่มี iPhone เกิดขึ้น ทำให้คนสามารถใช้เทคโนโลยีไอทีได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้คนหันมาใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดโซเชียลมีเดีย อันมีผลพวงให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป อุตสาหกรรมเปลี่ยนไป แล้วมีผลทำให้เกิด Digital Disruption ในหลายอุตสาหกรรม

วิกฤติแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่สามารถทำงานได้แบบเดิม พนักงานไม่สามารถออกไปทำงานได้ หลายคนต้องอยู่บ้าน แม้บางคนอยู่เฉยๆ ดูทีวีในบ้าน คือการช่วยชาติแล้ว แต่สุดท้ายเมื่อเราต้องอยู่ในบ้านนานๆ เราก็จำเป็นจะต้องหารายได้ เรายังต้องทำงาน และอาจจะต้องพี่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงาน ทั้งในการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) รวมถึงการนำมาสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดจากรูปแบบเดิมๆ เพราะเชื่อว่าวิกฤติจะยาวนาน คงไม่ใช่แค่หนึ่งเดือน แต่อาจยาวนานข้ามไปเป็นปีก็เป็นได้ จึงจำเป็นจะต้องหาแนวทางในการทำธุรกิจใหม่ๆ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล

การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้เราต้องทำ Social distancing ผู้คนไม่สามารถออกมาพบปะสังสรรค์กันแบบเดิมได้ รูปแบบของการทานอาหารนอกบ้านก็เปลี่ยนไป หันมาใช้บริการสั่งอาหารผ่านฟู้ด ดิลิเวอรี่ นอกจากนี้ผู้คนกลัวการใช้กระดาษที่อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรค รวมถึงการใช้เงินสด ทำให้เราใช้สื่อออนไลน์ ชำระเงินออนไลน์มากขึ้น แม้กระทั่งรูปแบบการเรียนออนไลน์ที่ต้องเกิดขึ้นด้วยความจำเป็นจากวิกฤตินี้

เราเคยคิดเสมอว่าประเทศไทยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถจะหยุดให้คนไทยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ออกเดือนละสองงวดได้ ใครจะคิดว่าวิกฤติครั้งนี้ทำให้ต้องยกเลิกการออกฉลากกินแบ่งในเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งนอกจากการขายที่ลำบากแลัวยังมีผลจากที่ผู้คนที่ไม่อยากใช้มือจับสลากกินแบ่งในรูปแบบที่เป็นกระดาษกันมากนัก ซึ่งไม่แน่ในอนาคตเราอาจเห็นสลากออนไลน์ก็เป็นได้

เทคโนโลยีดิจิทัลหลายอย่างมีมานานแล้วแต่คนอาจไม่ได้ใช้กันอย่างจริงจัง แต่วิกฤติครั้งนี้เป็นการบังคับให้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างจริงจัง สุดท้ายแล้วผู้คนจะคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ตั้งแต่การทำงานจากที่บ้าน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ การประชุมออนไลน์ การลงเวลาทำงานออนไลน์ การเรียนหนังสือทางไกล การสั่งอาหารออนไลน์ การชำระเงินออนไลน์ การอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และอีกสารพัดเรื่อง

ผู้คนก็อาจจะคุ้นเคยกับสังคมแบบใหม่ที่อยู่กันลำพังติดต่อกันผ่านสื่อออนไลน์ อาจเห็นธุรกิจใหม่ๆ ผ่านระบบออนไลน์ เห็นอาชีพจำนวนมากที่เปลี่ยนไป สุดท้ายงานบางอย่าง อาจจะกลายเป็นอดีตแลัวเราจะบอกว่านั้นคือสิ่งที่เคยมีเคยใช้ในยุคก่อนโควิด-19 ใช่ครับโลกกำลังเปลี่ยนไปแล้ว

ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC Institute

หมายเหตุ บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ Think Beyond ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Work from home: ปัจจัยเรื่องของคน เทคโนโลยี และนโยบายขององค์กร

91084069_1680902712057062_5076779239408140288_n

ตอนนี้หลายหน่วยงานได้เริ่มมาตรการให้พนักงานทำงานจากที่บ้านแล้ว (Work from home)  บางหน่วยงานก็มีการเตรียมแผนการที่ดีก่อนจะตัดสินใจให้พนักงานเริ่มทำงานจากที่บ้าน แต่หลายหน่วยงานก็ต้องเริ่มทำแบบกระทันหัน มีการสั่งงานให้ทำงานจากที่บ้านทันทีทันใดโดยแทบไม่มีเวลาเตรียมการด้านนโยบาย เทคโนโลยี มากนัก โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมการทำงานของพนักงาน

ผมเองคุ้นเคยกับการทำงานที่ไหนก็ได้มาเป็นเวลาสิบห้าปีตั้งแต่ทำงานอยู่ที่บริษัท Sun Microsystems เพราะบริษัทจะไม่มีโต๊ะทำงานประจำให้ และบ่อยครั้งก็ต้องไปทำงานนอกสถานที่โดยไม่ได้มีเวลาเข้างานที่แน่นอน และเมื่อมาทำงานที่สถาบันไอเอ็มซีผมเองก็ไม่ได้จัดให้มีโต๊ะทำงานส่วนตัว และก็กำหนดให้พนักงานในออฟฟิศใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยการลดใช้เอกสารให้มากที่สุด มีการนำซอฟต์แวร์บนระบบคลาวด์ มีการใช้ระบบแชร์ไฟล์ต่างๆ และมีการนำซอฟต์แวร์ในการทำงานร่วมกันต่างๆมาใช้งาน ทำให้พนักงานคุ้นเคยกับวัฒนธรรมการทำงานแบบออนไลน์ ทำงานที่ไหนก็ได้อุปกรณ์ใดก็ได้และเวลาไหนก็ได้

ดังนั้นเมื่อทางสถาบันไอเอ็มซีเห็นความจำเป็นที่เราจะต้องให้พนักงานทำงานจากที่บ้านก็เนื่องจากต้องการลดความเสี่ยงของพนักงานต่อการติดเชื้อโควิด 19 และเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการช่วยเหลือสังคมในเรื่องของการทำ Social distancing ทางสถาบันจึงสามารถกำหนดให้พนักงานเริ่มทำงานจากที่บ้านทุกคนได้ทันทีตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 

 

การทำงานจากที่บ้าน ถ้าพนักงานมีความคุ้นเคยและมีวัฒนธรรมการทำงานในลักษณะแบบนี้มาอย่างดีก็จะพบว่าสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการต้องเดินทางมาทำงานในที่ทำงาน ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการลดเวลาในการเดินทางแล้วจะพบว่าผู้ทำงานอาจมีสมาธิในการทำงานได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้การทำงานจากที่บ้านจะประสบความสำเร็จได้จะต้องปัจจัยสำคัญอยู่ 3 ด้านคือ คน เทคโนโลยี และนโยบาย 

ในด้านของคนหรือพนักงานจะไม่ใช่แค่ต้องมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี แต่ต้องมีวัฒนธรรมในการทำงานแบบออนไลน์ ต้องแชร์ช้อมูลเป็น ที่สำคัญสุดต้องมีวินัยในการทำงาน รับผิดชอบตัวเองและสังคม นอกจากนี้จะต้องเป็นคนที่เปิดกว้าง ไม่ยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ และพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่กำลังก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็ว

การทำงานจากที่บ้านบางครั้งนอกจากพนักงานจะต้องมีวินัยที่ดีแล้วก็จำเป็นจะต้องให้พวกเขาสร้างความเข้าใจกับคนในครอบครัวและเพื่อนๆด้วยว่า การอยู่บ้านคือการทำงานเพราะบางครั้งบางคนอาจเข้าใจไปว่าคือวันหยุดยาว คนในครอบครัวก็อยากให้ใช้เวลากับครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญที่พนักงานควรบอกก็คืออาจมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้นในตอนเช้าก่อนเข้าทำงานและเวลาเย็นหลังเลิกงานทั้งนี้ก็เพราะสามารถลดเวลาในการเดินทาง พนักงานเองเมื่อถึงเวลาทำงานก็ควรทำตัวให้ปกติเสมือนมาทำงานในที่ทำงาน การแต่งตัวและหน้าตาต้องมีความเรียบร้อยคล้ายกับการมาทำงานตามปกติ

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2htLzAvdWQvNC8yNDc2MS93b3JrZnJvbWhvbWUuanBn

ในด้านของเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ใช่แค่เรื่ิองของการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือการมีระบบอินเตอร์เน็ตทีด่ีและเสถียร แต่หมายถึงการใช้โปรแกรมต่างๆมากมายที่จำเป็นเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกันโดยเฉพาะโปรแกรมที่อยู่บนระบบคลาวด์ โดยต้องใช้โปรแกรมในหลายๆด้านอาทืเช่น

  • โปรแกรมเพื่อการประชุมออนไลน์ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะพนักงานทำงานจากที่บ้านจำเป็นจะต้องมีการประชุมกันบ่อยๆทั้งในกลุ่มใหญ่หรือประชุมกลุ่มย่อย รวมถึงบางครั้งอาจเป็นการประชุมใหญ่ของพนักงานบริษัททั้งองค์กรทางออนไลน์ในรูปแบบ Webinar ซึ่งจากข้อมูลจะพบว่าในปัจจุบันจะมีการนิยมใช้โปรแกรมแบบนี้อยู่หลายโปรแกรมอาทิเช่น Zoom, Microsoft Team, Google Meet และ Cisco WebEx
  • โปรแกรมสื่อสาร เพื่อการตอบโต้ข้อความแบบทันทีทันใดเช่น โปรแกรมแชท หรือโทรผ่านออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะใช้ Line หรือบางครั้งใช้ Facebook Message ในการทำงานร่วมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วโปรแกรมทั้งสองนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานในองค์กร หลายที่จะแนะนำโปรแกรมเช่น Slack
  • โปรแกรมสำนักงานในการทำงานอย่างเช่น อีเมล ปฎิทินนัดหมาย รวมไปถึงโปรแกรมการทำเอกสาร การทำไฟล์นำเสนอ หรือสเปรดชีดต่างๆ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ควรเป็นแบบทำงานร่วมกันได้ กล่าวคือแก้ไขพร้อมกันได้ ทำงานบนระบบคลาวด์ โดยมีโปรแกรมที่นิยมใช้คือ Google G-Suite และ Microsoft Office 365
  • ระบบรวบรวมไฟล์หรือเอกสาร ซึ่งเมื่อพนักงานในองค์กรทำงานกันคนละที่ จำเป็นต้องมีการใช้ไฟล์ส่วนใหญ่ร่วมกัน ที่จะต้องสามารถเข้าถึงได้โดยมักจะใช้ระบบคลาวด์อย่าง Google Drive, Dropbox, Onedrive หรือ iCloud
  • โปรแกรมการบริหารจัดการโครงการ เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการการทำงานของพนักงานได้ ทราบความคืบหน้า งานคงค้าง หรืองานที่วางแผนเพิ่มเติม ซึ่งจะมีโปรแกรมที่นาสนใจอาทิเช่น Trello, Microsft Team หรือ Asana

อีกด้านที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือองค์กรจะต้องมีนโยบายที่จะกำหนดวิธีการในการทำงานจากที่บ้านของพนักงานเพื่อกำหนดเป็นแนวทางปฎิบัติ ซึ่งในกรณีของสถาบันไอเอ็มซี เราได้กำหนดนโยบายที่สำคัญดังนี้

  • มีการกำหนดตำแหน่งงานของพนักงานที่มีสิทธิ์ทำงานนอกสถานที่ โดยจะต้องวิเคราะห์จากลักษณะงานของพนักงานว่าตำแหน่งใดสามารถจะปฏิบัติงานนอกที่ทำงานได้ ซึ่งบางตำแหน่งอาจไม่สามารถทำงานนอกสถานที่ได้ แต่กรณีของวิกฤติโควิด-19 ได้พิจารณาอนุโลมและกำหนดลักษณะงานให้กับพนักงานทุกคนตามความเหมาะสมเพื่อสามารถทำงานจากที่บ้านได้
  • มีนโยบายกำหนดเวลาในการทำงานอาทิเช่น 9.00 – 17.00 น. หรืออาจอนุญาตพนักงานเลือกเวลาทำงานได้เองในบางคนแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า เพื่อทางบริษัทสามารถจะตรวจสอบได้
  • มีการกำหนดวิธีการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน ซึ่งวิธีการประเมินอาจมีได้หลายรูปแบบตั้งแต่ประเมินเวลาในการทำงาน ประเมินจำนวนชิ้นงานที่ทำได้ ประเมินรายได้ของหน่วยงาน หรือประเมินจำนวนลูกค้าที่พนักงานติดต่อ
  • มีนโยบายในการที่จะให้พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาตลอดจนลูกค้า ว่าควรจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไรในการสื่อสาร ซึ่งถ้าเป็นเวลาทำงานก็ควรตอบกันอย่างทันทีทันใด ตลอดจนต้องกำหนดวิธีการหรือเครื่องมือที่จะใช้ในการสื่อสารด้วย
  • ทางบริษัทได้จัดหาเครื่องมือที่สามารถใช้ในการทำงานได้อาทิเช่นมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอาจจะต้องมีซอฟต์แวร์ต่างๆในการทำงาน แต่ทั้งนี้พนักงานจะฝ่ายจัดหาระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดีเอง ซึ่งอาจจากการใช้อินเตอร์เน็ตบ้่านหรือผ่านมือถือ
  • บริษัทได้จัดทีมงานด้านเทคนิคที่จะให้การสนับสนุนกับพนักงานที่ทำงานที่บ้านที่อาจต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาทางด้านไอทีต่างๆ
  • บริษัทเห็นความสำคัญของการทำงานทางไกลและในกฎระเบียบของบริษัทจะต้องระบุอย่างชัดเจนว่าการทำงานทางไกลโดยไม่เข้ามาในที่ทำงาน ถือว่าเป็นการมาทำงานตามปกติ หากพนักงานปฎิบัตืถูกต้องตามข้อบังคับ
  • มีนโยบายในการพิจารณาอนุมัติสถานที่ซึ่งพนักงานจะต้องการใช้ในการทำงานจากที่บ้านว่ามีความเหมาะสมและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • การทำงานทางไกลบางครั้งอาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางด้านไอที จึงมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการใช้ข้อมูลของบริษัท การส่งข้อมูลและเอกสารของบริษัท ตลอดจนการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆต้องมีระบบความปลอดภัยด้านไอทีที่ดี
  • บริษัทมีนโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการว่าการทำงานจากที่บ้านของพนักงานจะทำให้ได้รับการบริการที่ดีเช่นเดิม ตลอดจนข้อมูลต่างๆของลูกค้าและบริษัทมีความปลอดภัยไม่รั่วไหลออกไปภายนอก

อย่างไรก็ตามแม้ทางสถาบันไอเอ็มซีจะมีความพร้อมในการทำงานทางไกลพอสมควร แต่ในสัปดาห์แรกของการทำงานจากที่บ้านของพนักงานทุกคนแบบเต็มรูปแบบก็ยังมีข้อติดจัดบ้าง อาทิเช่นมีพนักงานบางคนอยากกลับมาที่ทำงานเพื่อเจอเพื่อน หรือบางครั้งก็พบว่าอินเตอร์เน็ตของพนักงานของบางคนมีความล่าช้า และยิ่งพนักงานหลายๆองค์กรต่างเริ่มทำงานจากที่บ้านก็ยิ่งมีการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้นก็ยิ่งทำให้เริ่มล่าช้าขึ้น และสำคัญคือต้องกวดขันวินัยในการทำงานของพนักงานทุกคน เพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานจากที่บ้านจะสามารถได้ประสิทธิภาพของการทำงานที่เทียบเท่าหรือมากกว่าการทำงานในรูปปกติ ซึ่งสุดท้ายเมื่อค่อยๆปรับปรุงไปเราก็พบว่าการทำงานที่บ้านของพนักงานทุกคนเริ่มทำให้ทุกคนสนุกกับการทำงาน มีความสุขในการลดเวลาการเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 และสุดท้ายงานส่วนรวมก็มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

ธนชาติ นุ่มมนท์

สถาบันไอเอ็มซี

(บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  Business Today ฉบับวันที่ 29 มีนาคม 2563)

มอง 10 เทคโนโลยีเด่นปีหน้า และแนวทางที่องค์กรต่างๆต้องปรับตัว

Screenshot 2019-12-31 14.38.39

ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นองค์กรต่างๆให้ความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น มีการพูดถึง Digital Disruption และการทำ Digital Transformation ในแง่ของเทคโนโลยีถ้าดูผิวเผินก็อาจไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก เทคโนโลยีหลักๆก็ยังพูดถึงเรื่องของ Cloud, Mobile, Big Data, AI หรือ IoT แต่จริงๆแล้วเราเริ่มให้การเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจากความต้องการของผู้ใช้งาน ทั้งในแง่ของคว่ามรวดเร็วในการประมวลผล ความปลอดภัยในการใช้งาน และความง่ายต่อการใช้งาน ทำให้มีมุมมองในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์อย่างต่อเนื่อง

สำหรับแนวโน้มเทคโนโลยีปี 2020 ผมได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆและกล่าวบรรยายในงานสัมมนา Digital Trends 2020 ว่าเราจะเห็นเรื่องหลักๆอยู่ 10 ด้าน และสำหรับในปีหน้าองค์กรควรจะต้องตระหนักถึงเรื่องต่างเหล่านี้ และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ดังนี้

1. การเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยีชุดใหม่ DARQ

โลกในปัจจุบันกำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากยุคดิจิทัล (Digital Era) ไปสู่ยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital Era) โดยยุคดิจิทัลองค์กรที่จะแข่งขันได้ ต้องลงทุนเน้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เรียกว่า SMAC กล่าวคือ โซเชียล โมบาย อนาไลติกส์ และคลาวด์ เพื่อสร้างความแตกต่าง ขณะที่ยุคหลังดิจิทัลกลุ่มของเทคโนโลยีที่จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และช่วยผลักดันให้องค์กรเกิดขีดความสามารถใหม่ๆ ในการแข่งขันจะกลายเป็นกลุ่มที่เรียกว่า DARQ ซึ่งย่อมาจากเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้

  • Distributed ledger technology เทคโนโลยีบัญชีบันทึกข้อมูลอย่าง Blockchain ที่จะช่วยให้องค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำธุรกรรมและเชื่อมโยงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง
  • Artificial Intelligence (AI) การนำปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาจากข้อมูลมหาศาลมาใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆ
  • Extended Reality เทคโนโลยีจำลองภาพบรรยากาศจริง อย่าง Virtual Reality หรือ Augmented Reality
  • Quantum Computing ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ที่จะสามารถเพิ่มความเร็วในการประมวลผลได้มหาศาล

ดังนั้นในช่วง 3 ปีข้างหน้าสถานการณ์จะไม่เป็นเช่นเดิม องค์กรจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีกลุ่ม DARQ ต้องตระหนักถึงความพร้อมขององค์กร ประเมินศักยภาพในการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องพัฒนาทักษะของบุคลากรเพื่ิอรองรับเทคโนโลยีดังกล่าว และวางแนวทางในการนำเทคโนโลยี DARQ มาใช้เพื่อปรับโฉมอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนไป

2. 5G Network

เทคโนโลยี 5G ไม่เพียงแต่จะทำให้ความเร็วของการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ยังจะทำให้มีจำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อได้มากขึ้นและจะช่วยลด Latency ในการส่งข้อมูล การเข้ามาของ 5G จะทำให้ธุรกิจต่างๆมีช่องทางการให้บริการที่แตกต่างจากเดิมได้มากขึ้น และจะเปิดโอกาสให้มีการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ อย่างเช่นสมัย 4G เข้ามา ก็สามารถสร้างบริการใหม่ๆอย่าง Mobile banking, Mobile commerce หรือ Food delivery ได้ ทั้งนี้อุตสาหกรรมด้านต่างๆจะเติบโตขึ้น แต่อาจไม่ใช่รูปแบบเดิมๆเช่น สื่อทีวีก็อาจกลายเป็น Streaming TV หรือ ค้าปลีกก็อาจเป็น M-Commerce

ในปัจจุบันมี Telecom Operator กว่า 102 รายทั่วโลกที่ให้บริการ 5G ใน 6,619 เมือง และต้นปีหน้าเราจะเห็นการประมูลสัมปทานคลื่นความถี่ 5G และอาจเรื่มมีการให้บริการ 5G ในบ้านเรา ดังนั้นองค์กรต่างๆควรจะต้องศึกษาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากความเร็วอินเตอร์เน็ตที่สูงขึ้น หรือการที่จะมีอุปกรณ์อย่าง IoT  ที่มาเชื่อมต่อเครือข่าย 5G ได้มากขึ้น เพื่อหารูปแบบธุรกิจและบริการใหม่ๆเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไป

3. The Empowered Edge

Edge ในที่นี้หมายถึงเทคโนโลยีอย่าง IoT ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2023 จะมีอุปกรณ์แบบนี้จำนวนเพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า การทำงานของ IoT Platform จะมีองค์ประกอบหลักๆอยู่ 4 ส่วนคือ

  • IoT Devices: ตัวอุปกรณ์เชื่อมต่อ
  • Connectivity: ระบบสัญญาณการเชื่อมต่อเช่น WiFi, 5G
  • Data processing: ระบบการประมวลผลข้อมูล
  • User interface: ส่วนของการใช้งานของผู้ใช้ เช่น App ต่างๆ

ปัจจุบันการทำงานของ IoT จะต้องส่งข้อมูลไปประมวลผลบนระบบคลาวด์  ซึ่งก็จะมีปัญหาเรื่องความล่าช้า ในการส่งข้อมูลและเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ที่บางครั้งเป็นการส่งข้อมูลส่วนตัวไปเก็บไว้บน Server ของผู้ให้บริการ IoT Platform

Empowered Edge ก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่สามารถดึงข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ภายในอุปกรณ์ และประมวลผลที่ปลายทางหรือที่อุปกรณ์์เลย เช่น ระบบลำโพงอัจฉริยะสามารถประมวลผลบางส่วนได้ที่ตัวอุปกรณ์ หรือการพัฒนาระบบอย่างเช่น หุ่นยนต์ หรือโดรน ให้มีทรัพยากรในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าสู่ Edge Computing

ดังนั้นองค์กรต่างๆควรจะต้องเริ่มวางแผนและศึกษาในเรื่องของอุปกรณ์ IoT ที่จะนำมาประยุกต์ใช้และพิจารณาเรื่องของ Edge Computing ซึ่งจะตรงใจกับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่นระบบ Smart Home ที่เก็บข้อมูลและประมวลผลอยู่ภายในอุปกรณ์

4. Distributed Cloud

แนวโน้มของ Cloud Computing คือเน้นการใช้บริการใหม่ๆที่ทำให้องค์กรต่างๆสามารถสร้างสินค้า บริการ และนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น ผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่ๆในยุคปัจจุบันกำลังแข่งขันกันพัฒนาบริการใหม่ๆอย่าง Serverless Computing, Kubernetes, AI / Machine Learning services หรือ
Big data services แต่การใช้บริการ Public cloud ยังมีปัญหาเรื่องของ Latency จากการส่งข้อมูลไปยัง Server ไกลๆ เช่น การส่งข้อมูล IoT เป็นต้น และบางครั้งติดที่กฎระเบียบที่ต้องการให้เก็บข้อมูลอยู่ในประเทศ

Distributed Cloud คือบริการของ Public cloud ที่จะเปลี่ยนระบบคลาวด์จากการรวมศูนย์ข้อมูลอยู่ที่เซิฟเวอร์ภายนอกแต่จะกระจายไปยัง Data Center หลายๆ แห่งเพื่อตอบโจทย์เรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ต้องการให้ข้อมูลและการประมวลผลอยู่ในบริเวณที่ต้องการ และจะช่วยทำให้องค์กรต่างๆสามารถพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลอาทิเช่น AI หรือ Big Data ได้รวดเร็วขึ้น

องค์กรต่างๆจะแข่งขันได้จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมอย่างเร็วผ่านบริการ Public Cloud แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงกฎระเบียบต่างๆ ดังนั้นควรจะต้องศึกษาและหาแนวทางพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้ผ่าน Distributed Cloud

5. AI Products 

ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ AI ต่างๆที่ผู้คนใช้ในชีวิตประจำวันและธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นอาทิเช่น Google Map, Home Assistant, Smart Home, Translator, Chatbot หรือ Product Recommendation ทำให้เริ่มเห็นว่าอุปกรณ์ AI กลายเป็นเรื่องปกติเสียแล้ว

นอกจากนี้อุปกรณ์เอไอก็เริ่มเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดี่ยวๆ (Stand alone) มาเป็นการทำงานร่วมกันเช่น อุปกรณ์ Smart Home ก็สามารถสั่งงานผ่านอุปกรณ์ Home Assistant ได้ หรืออุปกรณ์หนึ่งสามารถควบคุมอีกอุปกรณ์หนึ่งได้ หรือเราอาจเคยเห็นตัวอย่างของ Drone Swarms ที่สั่งงานอุปกรณ์ Drone พร้อมกันนับเป็นพันตัว

องค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องเร่งศึกษาและนำอุปกรณ์เอไอต่างๆเหล่านี้เข้ามาใช้ในการทำงาน และหาช่องทางในการใช้ประโยชน์เพื่อให้บริการลูกค้า และสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

Screenshot 2019-12-31 14.58.20

6. Hyperautomation

ข้อมูลจาก PwC ระบุว่าในปี 2030 ระบบงาน Automation ต่างๆรวมทั้งหุ่นยนต์และเอไอจะสร้างมูลค่า GDP ของโลกถึง 15 ล้านล้านเหรียญ และงานกว่า 44% ในปัจจุบันจะมีความเสี่ยงที่ถูกแทนที่ด้วยระบบ Automation

การทำ Hyperautomation จะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง Machine Learning, Packaged Software และ Automation Tools เพื่อทำให้เกิดระบบงานอัตโนมัติ โดยในปีหน้าจะเห็นเรื่องสำคัญสองด้านคือ

  • การทำระบบอัตโนมัติของงานต่างๆจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • จะมีการทำ AI-based Process Automation โดยจะมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้ง Robot Process Automation (RPA) และเครื่องมืออื่นๆ ผสมกัน

องค์กรต่างๆควรที่จะต้องเริ่มวางแผนการทำ Automation สำหรับงานต่างๆในองค์กรและมีการผสมผสานกับการประบุกต์ใช้ AI มากขึ้น

7. Multi-experience

Multi-experience เป็นหนึ่งในแนวโน้มเทคโนโลยี 2020 ของ Gartner ซึ่งระบุว่าในปัจจุบันเราสามารถใช้ระบบดิจิทัลด้วยอุปกรณ์ใดๆก็ได้ หรือโลกก็คือคอมพิวเตอร์ (The World is your computer) ดังนั้นการที่คนจะโต้ตอบ รับรู้ ควบคุมโลกดิจิทัลและแอปพลิเคชันต่างๆ จึงเปลี่ยนจาก Technology-literate People มาเป็น People-literate Technology กล่าวคือ กำลังเปลี่ยนจากการที่ผู้คนจะโต้ตอบคอมพิวเตอร์ที่จุดสัมผัสบริการจุดใดจุดหนึ่ง (Single Touchpoint) กลายเป็นว่าโลกก็คือคอมพิวเตอร์ที่ผู้คนจะมีจุดสัมผัสบริการที่หลากหลาย (Multi Touchpoint) ที่ระบบอินเตอร์เฟสอาจเป็นทั้งระบบเสียง, Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR) หรือมีรูปแบบใหม่ๆ

ตัวอย่างเช่น Domino Pizza ได้พัฒนา Customer Experience ที่ใช้แอปในการสั่งอาหาร การสั่งงานด้วยเสียงผ่านลำโพงอัจฉริยะ ระบบติดตามพิซซ่า ระบบ ChatBot รถยนต์ไร้คนขับหรือโดรนในการส่งพิซซ่า ดังนั้นองค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบดิจิทัลให้กับผู้ใช้ในทุกๆช่องทางโดยการสร้าง Multi Touchpoint เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่จะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่หลากหลาย

8. Democratization of Technology

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานในเรื่องยากๆได้จากระบบอัตโนมัติโดยแทบไม่ต้องเรียนรู้วิธีใช้งานหรือทฤษฎีมากนัก อาทิเช่น คนทั่วไปสามารถเป็นนักลงทุนได้โดยใช้โปรแกรมการลงทุนอัตโนมัติอย่าง RoboTrading  หรือ คนทั่วไปอาจใช้เครื่องมือที่มีระบบ AIในการวิเคราะห์หรือสร้างโมเดลข้อมูล (Data Model) โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมหรือมีทักษะทางด้าน Data Science ซึ่งเรียกว่า Citizen Data Scientist

หลักการของ Democratization of Technology จะช่วยทำให้เกิด Citizen Access คือใครๆก็สามารถจะใช้เทคโนโลยีได้ โดยแบ่งเป็น 4 ด้านคือ

  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ได้โดยอัตโนมัติ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
  • การออกแบบได้โดยอัตโนมัติ  
  • การเข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยอัตโนมัติ  

ตัวอย่างของแอปพลิเคชั่นแบบ Democratization ตัวหนึ่งที่ผมใช้เมื่อต้นปีนี้คือ Google AutoML Table ที่ช่วยให้ผมสามารถทำ Data Science โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมแม้แต่บรรทัดเดียว ซึ่งเครื่องมือแบบนี้นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นองค์กรต่างๆอาจต้องศึกษาเรียนรู้การใช้โปรแกรมเหล่านี้ เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในอนาคต

9. Human Augmentation

การเชื่อมต่อกับผู้ใช้ในโลกดิจิทัลกำลังเปลี่ยนไป จากเดิมที่เราเคยเน้นการใช้แค่ Mouse หรือ keyboard กำลังจะกลายเป็นการติตต่อจากร่างกายเราหรือแม้กระทั่งคลื่นสมองไปยังระบบดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Human Augmentation ซึ่งที่ผ่านมาเราก็เริ่มเห็นอุปกรณ์อย่าง Augmented Reality ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นระบบเสมือนจริงแล้ว

นอกจากนี้ก็เริ่มมีอุปกรณ์์ต่างที่มาเชื่อมโยงรับข้อมูลทางกายภาพ (Physical Experience) ของคนเช่น Wearable Device ที่มาวัดการออกกำลังกาย การพักผ่อนของผู้คน หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่เป็น Cognitive Augmentation ที่มาใช้วัดคลื่นสมองเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive)และความนึกคิดของผู้คน

ดังนั้นองค์กรต่างๆอาจต้องเริ่มใช้ประโยชน์จากทำ Human Augmentation  เพื่อเชื่อมโยงและทำความเข้าใจกับผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น

10. Transparency and Traceability

ในปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบ AI และมีการใช้ข้อมูลทั้งขององค์กรและลูกค้ามาเพื่อพัฒนาระบบและวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ซึ่งการใช้ข้อมูลกำลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) และวิธีการที่องค์กรต่างๆ นำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ ทำให้ทุกคนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและความเสี่ยงจากการถูกใช้ข้อมูลเหล่านี้ จึงต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นโดยต้องมีความโปร่งใสในเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และต้องมีจริยธรรมดิจิทัล (Digital Ethics) ที่ดี นอกจากนี้ยังมีความกังวลต่อการพัฒนาระบบ AI ที่ต้องสามารถอธิบายได้ โดยจะต้องบอกได้ว่านำข้อมูลใดมาใช้ มีการพัฒนาและสอน AI อย่างไร ระบบ AI ที่ได้มาต้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานอย่างไร

สำหรับในบ้าน พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลใช้บังคับในเดือนพฤษภาคมปีหน้า ดังนั้นองค์กรต่างๆควรจะต้องมีการเตรียมการในเรื่องนี้

สุดท้ายผมได้แนบ Slides การบรรยายมาไว้ในบทความนี้ ซึ่งจะมีทั้งบทสรุปสั้นๆในเรื่องเทคโนโลยีเด่นต่างๆ และวิดีโอประกอบที่น่าสนใจ

ธนชาติ นุ่มนนท์

สถาบันไอเอ็มซี

สรุป Strategic Technology Trends 2020 ของ Gartner

73251706_1522920721188596_4970794027956830208_n

Gartner เพิ่งประกาศ  Strategic Technology Trends 2020  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งค่อนข้างมีความแตกต่างกับปี 2-3 ที่ผ่านมามากพอควร เพราะมีการพูดถึงเรื่องใหม่ๆในหลายด้าน และก็จะแบ่งแนวโน้มเทคโนโลยีของปีหน้าทั้ง 10 เรื่องออกเป็นสองกลุ่มคือ People centric และ Smart space ซึ่งจะแตกต่างกับปีก่อนๆที่แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ Intelligent, Digital และ Mesh ทั้งนี้เราสามารถจะเปรียบเทียบแนวโน้มเทคโนโลยีต่างๆที่ Gartner ระบุไว้ในช่วง 4  ปีที่ผ่านมาได้ดังตาราง

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบ Gartner Strategic Technology Trends 2017-2020Screenshot 2019-10-26 18.08.58

สำหรับเทคโนโลยีทั้ง 10 ที่ Gartner ระบุไว้สำหรับปี 2020 สามารถสรุปได้ดังนี้

กลุ่ม People centric 

  • Hyperautomation

เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Machine Learning, Packaged software และ Automation tools เพื่อทำให้เกิดระบบงานอัตโนมัติ โดยจะมีสองส่วนคือ 1) จะมีการทำระบบอัตโนมัติของงานต่างๆที่สามารถจะ automate ได้เพิ่มมากขึ้น และ  2) จะมีการทำ  AI-based process automation โดยจะต้องมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายทั้ง Robot Process Automation (RPA) และเครื่องมืออื่นๆผสมกัน ที่จะเป็นการสร้าง Digital Twin ขององค์กร

  • Muliexperience

คือการที่คนจะโต้ตอบ รับรู้ และควบคุมโลกดิจิทัลและ Applicaiton ต่างๆ โดยจะเปลี่ยนจาก Technology-literate people เป็น People-literate techonology กล่าวคือกำลังเปลี่ยนจาก การที่ผู้คนจะโด้ตอบคอมพิวเตอร์ที่จุดสัมผัสบริการจุดใดจุดหนึ่ง (Single touchpoint) กลายเป็นว่าโลกก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ผู้คนจะมีจุดสัมผัสบริการที่หลากหลาย ( Multi touchpoint) ที่ระบบอินเตอร์เฟสอาจเป็นทั้งระบบเสียง, augmented reality (AR), virtual reality (VR) หรือมีรูปแบบใหม่ๆ

ตัวอย่างเช่น Domino Pizza ได้พัฒนา customer experience ที่ใช้ App ในการสั่งอาหาร, การสั่งงานด้วยเสียงผ่านลำโพงอัจฉริยะ, ระบบติดตาม pizza, รถยนต์ไร้คนขับหรือโดรนในการส่ง pizza

  • Democratization

คือการที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้นด้วยระบบอินเตอร์เฟสที่ดีขึ้นหรืออาจมีระบบเอไอฝั่งอยู่  ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบยากๆที่น่าจะมีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้นโดยแทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากนัก โดยจะแบ่งระบบที่ว่าเป็นสี่ด้านคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์ข้อมูล, การออกแบบ  และ การเข้าถึงองค์ความรู้ ตัวอย่างของ  Democratization ก็คือผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้เครื่องมือที่มีระบบเอไอ ในการวิเคราะห์หรือสร้างโมเดลของข้อมูล  (data model)  โดยอาจไม่ต้องเขียนโปรแกรมหรือมีทักษะทางด้าน Data Science เลยก็ได้ หรือที่เรียกว่า Citizen Data Scientist

  • Human augmentation

คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อที่เพิ่มความรู้ความเข้าใจ (cognitive) และประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experience) ของคน ซึ่งในด้านของ Cognitive augmentation จะเป็นการเข้าถึงองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชั่นของระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจากการเข้ามาของ multiexperience interface ในโลกของ smart space เช่นการใช้ digital assistant อย่าง Google home ส่วน  Physical augmentation ก็คือการทีนำเทคโนโลยีให้มาเชื่อมโยงกับอวัยวะการรับรู้ของคนเช่น wearable device หรืออุปกรณ์ AR

  • Transparency and Traceability

เรื่องของการใช้ข้อมูลกำลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data privacy) และการที่องค์กรต่างๆนำข้อมูลของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ ทำให้ทุกคนมีความกังวลต่อความปลอดภัยและความเสี่ยงจากการถูกใช้ข้อมูลเหล่านี้ จึงต้องมีการสร้างความความเชื่อมั่นโดยต้องมีความโปร่งใสในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และต้องมีจริยธรรมดิจิทัล (Digital Ethics)  ทีดี นอกจากนี้ก็ยังมีความกังวลในเรื่องของการพัฒนาระบบเอไอที่ต้องสามารถอธิบายได้ โดยจะต้องบอกได้ว่านำข้อมูลใดมาใช้ มีการพัฒนาและสอนระบบเอไออย่างไร ระบบเอไอที่ได้มาต้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่ามีการใช้งานอย่างไร

กลุ่ม Smart space

  • Empowered Edge

Edge หมายถึงเทคโนโลยีอย่าง IoT หรืออุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา Empowered Edge คือการที่เทคโนโลยีเหล่านี้ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สามารถที่จะดึงข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ และแทนที่จะส่งข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลที่ระบบคลาวด์ แต่จะเป็นการประมวลผลที่อุปกรณ์นั้นเลยเพื่อที่จะลด Latency ของการส่งข้อมูลไปมา อาทิเช่นการทำให้ระบบลำโพงอัจฉริยะสามารถประมวลผลบางส่วนได้ที่อุปกรณ์นั้นเลย หรือการพัฒนาระบบอย่างเช่น หุ่นยนต์ หรือโดรน ให้มีทรัพยากรในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าสู่ Edge Computing

  • Distributed Cloud

คือระบบคลาวด์ยุคต่อไป (Next era of Cloud) กล่าวคือแทนที่ระบบคลาวด์จะรวมศูนย์อยู่ที่เครื่องเซิฟเวอร์ภายนอกแต่อาจจะกระจายไปยัง Data Center หลายๆที่ เพื่อที่จะตอบโจทย์เรื่องของกฎระเบียบต่างๆที่อาจต้องการให้ข้อมูลและการประมวลผลอยู่ในบริเวณที่ต้องการ หรืออาจต้องการลด Latency  จากการส่งข้อมูลไปยัง เครื่องเซิฟเวอร์ไกลๆ เช่นการส่งข้อมูล IoT

  • Autonomous Things

ก็เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่ Gartner ระบุมาต่อเนื่องหลายปี โดยระบุถึงการนำระบบเอไอมาประยุกต์ใช้กับงานที่มนุษย์เคยทำเช่นใช้ในระบบหุ่นยนต์ โดรน หรือรถยนต์ไร้คนขับ แต่ระบบเหล่านี้กำลังเปลี่ยนจากการทำงานตามลำพังเป็นการส่งข้อมูลเชื่อมโยงกันทำให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น

  • Practical Blockchain

Gartner ระบุว่าแม้ Completed Blockchain จะมีองค์ประกอบ 5  อย่างที่ทำให้น่าสนใจคือ Shared and distributed ledger, immutable and traceable ledger, encryption, tokenization และ distributed public consensus mechanism แต่ก็อาจยังไม่สามารถทำให้องค์กรต่างๆนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมดเพราะปัญหาทางเทคนิคโดยเฉพาะในแง่ของ Scaability และมาตรฐานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในปีนี้ Gartner จึงเน้นเรื่องการนำไปปฎิบัติโดยเน้นในสององค์ประกอบก่อนคือในด้าน Share ledger และเรื่องของ distributed  โดยยกตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้ในด้าน Supply chain management

  • AI Security

ปัจจุบันมีการนำ AI และ Machine Learning  มาประยุกต์ใช้งานที่มากขึ้น ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน AI จึงเป็นเรื่องสำคัญโดยสามารถแบ่งออกเป็นสามด้านคือ  1) การป้องกันระบบ AI ที่พัฒนาขึ้นมา จากความเสี่ยงของการคุกคามข้อมูลหรือโมเดลที่อยู่ในระบบ 2)  การนำ AI มาใช้ในการพัฒนาระบบCyber security ให้มีความชาญฉลาดขึ้น และ 3) การป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber แบบใหม่ๆ ที่ผู้ร้ายใช้ AI มาทำการพัฒนา

สำหรับผู้ที่สนใจในหัวข้อของ Digital Trends 2020 ทาง IMC Institute และ Optimus (Thailand) จะจัดให้มีงาน Digital Trends 2020 :The 7 Elements of Digital Transformation ขึ้นในวันที่ 17-18 ธันวาคม 2562 ที่ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่  www.imcincstitute.com/Digital_Trends2020

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC institute

 

การใช้งาน Digital Assistant สำหรับเมืองไทย (ตอนที่ 2 ทักษะที่เรียกใช้ประจำ)

72784977_1513301902150478_4135460826330955776_o

เมื่อตอนที่แล้ว ได้เล่าให้ฟังว่าปกติผมใช้อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ตัวใดเป็น Digital Assistant ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้บอกไว้ว่าส่วนใหญ่ก็จะใช้แพลตฟอร์ม Google Assistant แต่ก็มีการใช้ Amazon Alexa บ้าง ตอนนี้ผมจะมาเล่าต่อว่าแล้วปกติผมใช้เพื่อทำอะไร

  • ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ เสมือนเป็น Encyclopedia ส่วนตัว แต่ก่อนผมมักจะสอบถาม Google Home เมื่ออยากรู้ข้อมูลอะไรเป็นภาษาอังกฤษ เช่น “Hey Google, Who is a prime minister of Japan?” แต่ระยะหลังพอเล่น Google Assistant App บนมือถือที่สามารถสั่งงานภาษาไทยได้ ผมก็มักจะใช้มือถือมากกว่าเช่น “OK Google แชมป์ฟุตบอลโลกปีที่แล้ว” อุปกรณ์สองอย่างนี้ต่างกัน ความสะดวกสบายของ Google Home หรือ Amazon Echo ก็คือมันตั้งอยู่ในบ้าน จะพูดกับเขาตอนไหนก็ได้ และได้คำตอบเป็นเสียงที่แม่นยำกว่าถ้าสั่งเป็นภาษาอังกฤษ แต่ Google Assistant App มีจุดเด่นคือรู้จักภาษาไทย พกพาได้ ให้คำตอบเป็นเสียงภาษาไทยและแสดงผลบนหน้าจอมือถือด้วย แต่บางครั้งถ้าสั่งงานเป็นภาษาไทยก็อาจไม่เก่งเท่าภาษาอังกฤษ

72619809_708613136316328_3553853560745623552_n

  • ใช้ในการสอบถามข้อมูลต่างๆ สอบถามข่าวสาร ผลกีฬา บางครั้งตื่นเช้ามาผมก็อาจจะถาม “OK Google, what’s the news today?” เจ้า Google Home ก็จะอ่านข่าวหัวข้อข่าวที่ผมน่าจะสนใจมาให้ฟังเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งโดยมากก็จะเป็นข่าวของ CNA (Channel News Asia) ตามที่ผมชอบฟัง หรือบางทีผมก็จะถามผลกีฬาเมื่อคืนนี้เช่น “OK Google, What is Premier League score?” หรือหลังๆผมก็อาจถามข้อมูลบางอย่างเป็นภาษาไทย ผ่าน Google Assistant App อาทิเช่น “OK Google ราคาหุ้นทุนธนชาต” หรือ “OK Google อากาศวันนี้” ซึ่งก็จะแสดงราคาหุ้นล่าสุด และถ้าอยู่ในระหว่างเวลาทำการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ก็จะแสดงราคาในช่วงนั้น ส่วนการพยากรณ์อากาศก็จะแจ้งในบริเวณที่เราอยู่
  • ใช้ในการสอบถามเส้นทาง หรือค้นหาสถานที่ต่างๆ โปรแกรม Google Assistant จะเชื่อมโยงกับ Google Map ทำให้เราสามารถสอบถามเส้นทางและระยะเวลาการเดินทางได้ เช่น “OK Google, เส้นทางไปสยามพารากอน”  หรือใช้ค้นหาข้อมูลร้านค้าต่างๆเช่น “OK Google ร้านอาหารญี่ปุ่นบริเวณนี้” ซึ่งจากรูปจะเห็นว่าผมกำลังอยู่แถว Central EastVille โปรแกรมก็จะแจ้งร้านอาหารใกล้ๆมาให้ผมทราบ หรือมีครั้งหนึ่งผมกำลังเดินทางและอยากทราบเบอร์ร้านตัดผมที่ผมเคยไปที่ The Nine ผมก็เลยสั่งงานว่า “OK Google ร้านตัดผมที่ The Nine” โปรแกรมก็จะแจ้งรายชื่อร้านตัดผมที่อาจมีเบอร์โทรขึ้นมาดังรูป
  • ใช้ในการสอบถามนัดหมาย อีกสิ่งหนึ่งใช้เป็นประจำก็คือการสอบถามนัดหมายที่บันทึกไว้ใน Google Calendar ที่เราสามารถจะตั้งให้เชื่อมโยงกับ account ของ Google Home ได้ โดยใช้คำสั่งง่ายๆได้อาทิเช่น “OK Google ปฎิทินของฉันในวันศุกร์” นอกจากนี้ยังสามารถที่จะสั่งด้วยเสียงเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงนัดใหม่ได้ โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า “OK Google add on my calendar” จากนั้นโปรแกรมก็จะสนทนาถามคำถามกับเราเพื่อได้ข้อมูลต่างๆก่อนใส่เข้าไปใน Google Calendar
  • สอบถามโปรแกรมหนัง หรือรายการต่างๆ เมื่อเร็วๆนี้ ผมต้องการไปชมภาพยนตร์ ซึ่งแต่ก่อนถ้าเราอยากจะทราบว่ามีหนังเรื่องใดฉาย หรือหนังที่ต้องการดูฉายโรงไหนเวลาใด เราก็อาจจะต้องใช้แอปพิเคชั่นของโรงหนังในโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการค้นหา ซึ่งบางครั้งก็ต้องเลือกเมนูต่างๆกว่าจะได้คำตอบอาจใช้เวลานาน แต่ในทุกวันนี้โปรแกรม Google Assistant จะมีความฉลาดพอที่จะให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงเพื่อหาคำตอบได้อย่างเร็ว ซึ่งผมสามารถเปิดโปรแกรมอย่าง Google Assistant แล้วสั่งงานเป็นภาษาไทยว่า “OK Google วันนี้มีหนังอะไรฉายบ้าง” หรือ “OK Google  หนังขุนแผนฟ้าฟื้นฉายกี่โมง” ซึ่งโปรแกรมก็จะตอบมาด้วยเสียงเลือกข้อมูลของโรงภาพยนตร์ใกล้ตำแหน่งที่ผมในขณะนั้น และแสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ
  • ค้นหารูปภาพ หรือเปิดโปรแกรมต่างในมือถือ โปรแกรม Google Assistant สามารถจะช่วยค้นหารูปถ่ายต่างๆที่อยู่ในมือถือหรือ Cloud storage ได้อย่างกรณีของผมใช้ iPhone อยู่สามารถที่จะสั่งให้ค้นหารูปได้อาทิเช่น “OK Google แสดงรูปภาพของฉันที่บาร์เซโลน่า” นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการเปิดโปรแกรมต่างๆได้อาทิเช่น “OK Google เปิดโปรแกรม Google Drive
  • ใช้ในการแปลภาษาต่างๆ โปรแกรม Google Assistant จะเชื่อมโยงกับ Google Translator ทำให้สั่งให้แปลภาษาต่างๆได้ เช่นถ้าเป็นการใช้กับ Google Home ก็อาจสั่งเป็นภาษาอังกฤษว่า  “OK Google, say ‘I love you’ in French” หรือถ้าใช้ Google Assistant App บนมือถือก็อาจสั่งให้แปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างๆได้เช่น  “OK Google, แปลฉันรักเธอภาษาจีน

74495404_522665828570472_7081291925864579072_n

  • สั่งให้เล่นเพลงใน  Spotify หรือเลือกเล่นหนังใน NetFlix หรือ  YouTube ตัว Google Home หรือ  Amazon Alexa สามารถตั้งให้เชื่อมต่อกับ Account  ของ Spotify หรือ NetFlix ได้ ทักษะหนึ่งที่ผมมักจะใช้บ่อยคือการสั่งให้ Google Home หรือ Amazon Echo ที่บ้านเล่นเพลงของ Spotify โดยให้เลือกเพลงอัตโนมัติด้วยคำสั่ง  “OK Google, play Spotify” หรือ   “Alexa, play Spotify” นอกจากนี้ถ้าใช้ Google Assistant Appllication”ก็สามารถสั่งให้เลือกเพลงภาษาไทยได้เช่น “OK Google เล่นเพลงแสดงสุดท้าย ใน Spotify” หรือสามารถเปิดหนังใน NetFlix หรือ  YouTube ได้ อาทิเช่น “OK Google เล่นหนัง Toy Storyใน  NetFlix” หรือ “OK Google ดูรายการ เจาะลึกทั่วไทย ใน  YouTube” นอกจากนี้ผมยังสามารถสั่งให้เปิดมายังทีวีที่บ้่านได้ด้วยคำสั่ง “OK Google, play Toy Story from NetFlix on my TV” ที่น่าสนใจอีกอย่างคือผมมี True ID TVbox  ซึ่งมี Google Assistant ฝั่งอยู่ ก็จะสามารถใช้เสียงสั่งค้นหารายการจาก  YouTube เป็นภาษาไทยได้
  • สั่งควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ผมยังสามารถที่จะใช้ Google Home ที่บ้านเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆด้วยเสียง ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้นสนับสนุนการใช้งานกับ Google Assistant แล้วผมก็ตั้งชื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้จำได้ง่ายแล้วใช้คำสั่งอาทิเช่น “OK Google, turn on my living room TV” หรือผมมี Smart plug ต่ออยู่ผมก็สามารถสั่งงานได้ว่า “OK Google, turn Fan on” หรือ “OK Google, turn Fan off
  • เปิดอ่านหนังสือใน Amazon Kindle สุดท้ายผมมีหนังสือจำนวนมากที่ซื้อจาก Amazon Kindle หนังสือบางเล่มมีไฟล์เสียง ผมสามารถจะสอบถามข้อมูลจาก Amazon Echo Dot ให้ดูรายการในคลังหนังสือ Kindle ของผมได้ หรือสั่งให้อ่านหนังสือให้ผมได้ด้วยคำสั่ง  “Alexa, play the Kindle book Big data

72974390_1812814482195414_2960264328541896704_n

  • ใช้ในการตั้งเวลา หรือเป็นนาฬิกาปลุก  ทักษะง่ายๆอีกอันที่สามารถทำได้ก็คือการตั้งเวลาปลุกหรือจับเวลา อาทิเช่น “OK Google, set timer for 4 minutes” หรือ “OK Google, ตั้งเวลา 4 นาที”

ทั้งหมดนี้ก็คือตัวอย่างการใช้งาน Digital Assistant ที่ผมใช้ประจำ แต่จริงๆแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีคำสั่งอัจฉริยะต่างๆอีกมากมาย ที่ผู้ใช้แต่ละคนอาจเลือกใช้แตกต่างกัน

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

การใช้งาน Digital Assistant สำหรับเมืองไทย (ตอนที่ 1 อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ใช้)

72784977_1513301902150478_4135460826330955776_o

ในปัจจุบันผู้ผลิตเทคโนโลยีรายใหญ่ต่างพยายามนำระบบ AI เข้ามาอยู่ในชีวืตประจำวันของผู้คนด้วยการการพัฒนาแพลตฟอร์ม Digital Assisstant เข้ามาฝั่งอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆทั้ง ระบบ Digital Assistant นอกจากเป็นโมบายแอปที่อยู่บนโทรศัพท์มือถืออย่าง Apple Siri, Google Assitant, Microsoft Cortana หรือ Amazon Alexa แล้วยังมีฝั่งอยู่ในลำโพงอัจฉริยะต่างๆอย่าง Google Home, Amazon Echo หรือ Apple Homepod หรือมีอยู่ในสมาร์ททีวี รถยนต์ หรืออุปกรณ์ IoT ต่างๆมากมาย

โดยอุปกรณ์ที่ผู้ใช้นิยมกันมากก็คือการใช้ลำโพงอัจฉริยะ ที่ทาง Amazon ได้เริ่มทำก่อนคือ Amazon Echo และ Amazon Echo Dot แล้วหลังจากนั้นทาง Google ก็ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Google Home และ Google Mini เข้ามาแข่ง นอกจากนี้ในปัจจุปันลำโพงต่างๆที่มีขายตามท้องตลอดก็เริ่มที่จะพัฒนาติดตั้ง Digital Assistant ของค่ายเทคโนโลยีเหล่านี้มาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกเหนือจากการใช้ฟังเพลงตามปกติ

ระบบ Digital Assistant โดยมากจะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง และจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่เชื่อมโยงกันหมด และก็จะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้มาตลอดเวลา ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้มากขึ้น รู้จักผู้ใช้ได้ดีขึ้นและมีความชาญฉลาดในหลายเรื่อง อาทิเช่นการให้ข้อมูลต่างๆ การทราบตำแหน่งของผู้ใช้ การเข้าปฎิทินของผู้ใช้ การสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน หรือการสั่งสินค้าต่างๆ นอกจากนี้ระบบเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับบริการอินเตอร์เน็ตต่างๆเชื่อ Google Map, NetFlix, Spotify หรือ Lyft เพื่อสั่งงานด้วยเสียงได้ หรือแม้แต่มีบริการในการจองร้านอาหารด้วยเสียงอย่างเช่น Google Duplex ที่เปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา

Screenshot 2019-10-19 17.05.02

รูปที่  1 อุปกรณ์ /โปรแกรม  Digital Assistant ที่ผมใช้ในชีวิตประจำวัน

สำหรับผมเองใช้ Digital Assistant อยู่สองค่าย คือ Google Assistant และ Amazon Alexa แต่ส่วนใหญ่จะใช้ Google Assistant มากกว่า โดยจะมีอุปกรณ์ที่มี Google Assistant อยู่สี่ตัวคือ

  • Google Home ตั้งแต่รุ่นแรก
  • Google Home Mini
  • True ID TV Box
  • โมบายแอป Google Assistant ที่อยู่ในมือถือ iPhone

นอกจากนี้ที่บ้านมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างที่สามารถเชื่อมต่อกับ Google Assistant ได้ทำให้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ อาทิเช่น Google Chromecast ที่เชื่อมต่อทีวี, BroadLink RM Mini 3  ที่ทำหน้าที่เป็นรีโมทควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ, Xenon Smart Plug ที่เป็นปลั๊กไฟที่สามารถเชื่อมต่อ WiFi ได้ และ อุปกรณ์อัจฉริยะของ Xiaomi หลายๆอย่างเช่น Smart Bedside Lamp หรือ Air Purifier ส่วนตัวอุปกรณ์ Google Home ผมก็จะเชื่อมต่ออยู่กับเครื่องเสียงที่บ้าน เพื่อทำให้ได้เสียงที่ไพเราะขึ้น โดยเฉพาะเวลาให้เล่นเพลงจาก Spotify  โดยเลือกการตั้งค่าในโปรแกรม Google Home ให้ Default speaker เป็นลำโพงที่ต้องการ

Screenshot 2019-10-19 19.28.27

รูปที่  2 การเชื่อมโยง Google Home แล้วกำหนดให้เครื่องเสียงคุณภาพดีเป็น Default Speaker

รูปที่  3 ขั้นตอนการกำหนด  Default Speaker โดยใช้โปรแกรม Google Home

อุปกรณ์ Google Assistant ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนการสั่งงานด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะตัวลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home ส่วนตัว True ID TV Box จะรู้จักคำสั่งภาษาไทย แต่ตัวโมบายแอป Google Assistant โดยปกติจะไม่รู้จักภาษาไทย แต่เราสามารถติดตั้งให้เข้าใจคำสั่งภาษาไทยได้ (ดูรายละเอียดการติดตั้งจากบทความ “การติดตั้ง Google Assistant ลงบนมือถือเพื่อให้สั่งงานเป็นภาษาไทยได้“)  เลยทำให้ระยะหลังผมจะใช้ Digital Assistant จากโมบายแอป Google Assistant เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอยู่บนมือถือที่พกติดตัวตลอดเวลาและสามารถสั่งงานเป็นภาษาไทยได้

 

นอกเหนือจาก Google Assistant ผมยังมีอุปกรณ์ Amazon Echo Dot เพื่อใช้สั่งงานกับบริการต่างของ Amazon อย่างการอ่านหนังสือใน  Amazon Kindle หรือการฟังเพลงจาก Spoitfy รวมถึงการใช้สั่งงานในเรื่องต่างๆ

ในตอนหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ผมใช้ Digital Assistant เหล่านี้ทำอะไรบ้่าง ตั้งแต่การค้นหาหนังตามโรงภาพยนต์ การดูทีวี การแปลภาษา การสั่งเปิดปิดเครื่องไฟฟ้า หรือการฟังเพลง ซึ่งจะมาอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆที่ผมใช่้ประจำ

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

 

 

เมื่อเทคโนโลยีทำให้คนชอบอ่านหนังสือ Gen X เปลี่ยนไป แต่เนื้อหา (Content) ดีๆยังไม่มีวันตาย

IT Trend2020

สมัยเรียนชั้นประถมต้นทุกเช้าผมจะตั้งหน้าตั้งตารอรถมอเตอร์ไซค์มาส่งหนังสิอพิมพ์ที่บ้าน และวิ่งไปรับด้วยความดีใจเมื่อหนังสือพิมพ์มาถึง ผมชอบตามข่าวฟุดบอลอังกฤษแต่สมัยนั้นไม่มีการถ่ายทอดกีฬาฟุตบอลสดๆไม่มีอินเตอร์เน็ตและคนไทยก็ยังไม่นิยมดูฟุตบอลต่างประเทศเหมือนในปัจจุบัน เมื่อได้หนังสิอพิมพ์มาผมก็จะต้องรีบเปิดดูข่าวกีฬาในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ที่อยู่หน้าสุดท้ายเป็นอย่างแรก เพื่อจะลุ้นดูผลบอลอังกฤษด้วยความตื่นเต้นว่าเมื่อคืนใครชนะ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางหลักที่สำคัญในยุคนั้นที่ทำให้เราทราบและติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆในแต่ละวัน มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ได้อ่านในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็น ไทยรัฐ บ้านเมือง เดลินิวส์ สยามรัฐ หรือ Bangkok Post

พอผมย้ายมาอยู่นครปฐมตั้งแต่ช้นประถมปลายที่บ้านเปิดร้านขายหนังสือ คุณพ่อและแม่ก็จะมีการบ้านให้เอาหนังสือมาอ่านในแต่ละสัปดาห์และต้องสรุปส่งให้ บางทีก็อ่านหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองต่างๆทำให้เป็นคนชื่นชอบกับการอ่านหนังสือมากขึ้น เมื่อขึ้นสู่ชั้นมัธยมศึกษาความสุขเล็กๆน้อยๆของนักเรียนอย่างผมก็เริ่มต้นจากที่ตามคุณแม่ที่ไปค้นเอกสารที่ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ทำให้เรามีโอกาสเข้าไปอ่านและค้นหนังสือที่ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ตอนหลังก็เริ่มนั่งรถเมล์ไปเองจากนครปฐมเพื่อไปอ่านหนังสือพิมพ์เก่าๆย้อนหลังเป็นสิบๆปี บางทีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติได้ทั้งวัน หรือบางครั้งก็ไปเดินดูหนังสือที่ ร้านดวงกมล ตรงสยามสแควร์ ไปยืนเลือกดูหนังสือได้เป็นชั่วโมง อุปนิสัยนี้ที่ได้มาก็เพราะพ่อกับแม่ชอบพาไปร้านหนังสือตามที่ต่างๆ

 

50102461

รูปที่  1 Encyclopedia Britannica ปี 1967

ความสุขอีกอย่างหนึ่งของเด็กนักเรียนอย่างผมก็คือการได้อ่าน Encyclopedia Britannica ที่พ่อซื้อมาชุดใหญ่ตั้งแต่สมัยทำงาน BBC ที่อังกฤษ แม้จะเป็นรุ่นตั้งแต่ปี 1967 แต่มันก็เป็นคลังความรู้ชั้นดีของผม และมันก็ทำให้ผมสนใจดูข้อมูลสถิติต่างๆ อยากเห็นตัวเลขอะไรสารพัดโดยเฉพาะสถิติกีฬาต่างๆในอดีต เวลาเข้าห้องสมุดหรือร้านหนังสือบางทีผมก็จะรีบไปดูหนังสือภาษาอังกฤษที่เป็น World Almanac สรุปสถิติต่างๆ จำได้ว่าแม้แต่พี่ชายตอนกลับมาจากต่างประเทศในสมัยนั้นยังซื้อหนังสือ Sport Almanac มาฝากแทนที่จะซื้ออย่างอื่น

ตอนเข้าเรียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เริ่มสนใจอ่านอ่านนิตยสารวิเคราะห์การเมืองอย่าง อาทิตย์รายสัปดาห์  และหนังสือการเมืองต่างๆ นอกจากนี้ผมก็ยังชอบเข้าไปยืมและหาหนังสืออ่านในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ยุคนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์และการอ่านข่าวก็ต้องพึ่งจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่อยู่ในห้องสมุด และก็ชอบเมื่อมีโอกาสเข้าเมืองก็จะไปดูหนังสือที่ ร้านหนังสืออาเข่ง แถวตลาดโต้รุ่ง ที่สมัยนั้นมีหนังสือให้เลือกมากมาย และเมื่อมีโอกาสกลับเข้ากรุงเทพ สถานที่ซึ่งเลือกจะไปเยี่ยมก็คือร้านหนังสือต่างๆ ไม่ใช่ศูนย์การค้าหรือร้านกาแฟ โดยเฉพาะร้านหนังสือต่างๆบริเวณสยามสแควร์ หรือแม้แต่แว๊บนั่งรถเมล์เข้าไปค้นหนังสือเก่าๆในหอสมุดแห่งชาติ

อุปนิสัยนี้ติดตัวมาจนเข้าทำงานและเรียนต่อประเทศ ผมก็จะเลือกไปดูหนังสือตามห้องสมุด ตามร้านหนังสือ ในต่างประเทศ จำได้ว่าตอนเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่  University of Auckland  ประเทศนิวซีแลนด์ ผมก็ไปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยหาหนังสือพิมพ์ไทยอ่านที่อาจเป็นหนังสือพิมพ์เก่าย้อนหลัง 2-3 สัปดาห์อ่าน เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะทราบข่าวเมืองไทยในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ต แม้แต่ตอนไปทำงานในต่างประเทศบางครั้งมีเวลาว่างผมยังเลือกที่จะไปร้านหนังสือมากกว่าทีอื่น จำได้ว่าครั้งหนึ่งมีเวลาแค่วันเดียวในเมือง Toronto ประเทศแคนาดา ผมเลือกที่ไปดูหนังสือที่ร้าน Barnes and Nobles และอยู่ที่นั้น 4-5 ชั่วโมง มากกว่าที่จะไปเที่ยวที่อื่นๆ หรือแม้แต่ตอนทำงาน Sun Microsystems ที่ช่วงหนึ่งต้องไปประชุมที่สิงคโปร์บ่อยๆผมก็จะต้องแวะไปดูหนังสือที่ร้าน Computer Book Center ในห้าง Funan Digital IT Mall  ทุกครั้งที่มีโอกาส ซึ่งร้านมีหนังสือคอมพิวเตอร์ให้ผมเลือกมากมาย ยืนดูได้เป็นชั่วโมง

แต่ทุกวันนี้ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ได้ตายจากผมไปแล้ว ผมไม่เคยตื่นเต้นต้องมารอคนมาส่งหนังสือพิมพ์เหมือนเดิมแล้ว โลกโซเชียลทำให้ผมทราบข่าวตรงจากผู้สื่อข่าวจากสนามข่าวผ่าน Tweeter หรือออนไลน์ต่างๆ ข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เป็นข่าวที่ทราบมาก่อนแล้ว หนังสือพิมพ์วันนี้ผมเน้นที่จะอ่านบทความ บทวิเคราะห์  ผมยังซื้อหนังสือพิมพ์อยู่แต่ไม่ใช่เป็นกระดาษแบบเดิมแล้ว เลิกรับแบบเดิมมานับสิบปีแล้ว เมื่อสิบปีก่อนผมก็เริ่มซื้อหนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ โดยตรงจาก App Store ฉบับที่เป็น e-Book ทุกวัน (แต่จ่ายเป็นรายเดือน) หลังจากนั้นก็มารับหนังสือพิมพ์และนิตยสารแบบบุฟเฟ่ต์ของ OokBee อ่านในรูปแบบของ e-Book อยู่หลายปี จนหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เคยอ่านในนั้นทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆ จากที่เคยได้อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 4-5 ฉบับทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆจนกระทั่งไม่มีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่ผมอยากอ่านเหลืออยู่เลย จนสุดท้ายก็ต้องหันกลับมารับฉบับออนไลน์โดยตรงกับเจ้าของสำนักพิมพ์คือ กรุงเทพธุรกิจ และล่าสุดก็สมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ Business Today  ใช่ครับคนกลางที่เป็นแผงหนังสือหรือคนส่งหนังสือพิมพ์กำลังหายไปแล้ว

ร้านหนังสือที่เคยไปยืนเลือกดูหนังสือเป็นชั่วโมงๆ ก็เริ่มหายไปแล้ว หนังสือดีๆที่น่าอ่านก็มีให้เลือกน้อยลง ไปร้านหนังสือวันนี้แทบไม่มีนิตยสารให้เลือก หนังสือตามชั้นก็เน้นเรื่องธุรกิจ การเล่นหุ้น หรือวิธีการรวยทางลัด นอกนั้นก็อาจเป็นหนังสือท่องเที่ยว ส่วนหนังสือคอมพิวเตอร์ ประวัติศาสตร์ สังคมก็น้อยลงไปเรื่อยๆ ผมยังไปนั่งทานกาแฟแถวร้านหนังสือที่ Think Space B2S ซึ่งเป็นร้านขนาดใหญ่ตรง Central EastVille และก็ไปทานกาแฟที่ร้านหนังสือบริเวณ Open House ตรง Central Embassy แต่ก็มีหนังสือน้อยเล่มที่ให้เลือกซื้อ

72698843_394940214791098_7983564778368925696_n

รูปที่  2 ตัวอย่างหนังสือใน Kindle App ของผม

ร้านหนังสือผมกลายเป็นว่ามาอยู่ในโลกออนไลน์ ถ้าอยากจะได้หนังสือดีๆก็ต้องซื้อตรงจาก Amazon.com  อ่านผ่าน Kindle App แถมบางเล่มยังสามารถซื้อไฟล์เสียงได้ แล้วก็สั่งด้วยเสียงของเราเปิดฟังอัตโนมัติผ่าน Amazon Echo ในยามที่ต้องการได้ หนังสือก็มีให้เลือกมากมายไม่จำกัด แถมยังมีเนื้อหายังใหม่ๆตลอดเวลา ส่วนร้านหนังสือคอมพิวเตอร์ของผมก็ย้ายมาอยู่ที่ Safari Book Online มีหนังสือด้านเทคโนโลยีให้ผมเลือกอ่านเป็นพันๆเล่ม ผมจ่ายเป็นรายปีอ่านแบบไม่จำกัด แถมยังมีวิดีโอหลักสูตรคอมพิวเตอร์ต่างๆให้ผมเรียน ที่สำคัญสุดหนังสือเทคโนโลยีเหล่านี้ใหม่มากๆบางทีผู้เขียนยังเขียนเสร็จไม่ครบทุกบทยังไม่ตีพิมพ์เป็นเล่มขายแต่ผมก็ได้อ่าน E-Book ที่เป็น Early Edition หรือ Pre-Print แล้ว

72578371_2459527324155471_8548084280343920640_n

รูปที่  3 ตัวอย่างหนังสือที่ผมอ่านใน Safari Book Online

Encyclopedia ก็กลายเป็น Wikipedia หรือ Google แม้อินเตอร์เน็ตจะมีข้อมูลมากมาย หลายแหล่งอาจไม่ถูกต้อง แต่ด้วยความโชคดีที่ได้ฝึกทักษะในการอ่าน ในการค้นข้อมูล สรุปย่อความและคิดวิเคราะห์ตั้งแต่เด็ก ก็เลยพอมั่นใจตัวเองได้ในระดับหนึ่งว่ามีหลักการในการหาข้อมูลที่พอเชื่อถือได้ จากทักษะตั้งแต่ในยุคอนาล็อกนั้นละครับ ไม่ใช่ประเภทตามกระแสโซเชียลที่กด Click, Like และ Share

ล่าสุดผมเห็นข่าวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในปีนี้ คนเริ่มเงียบเหงาลง มีคำถามว่าหนังสือก็ตายแล้วหรอ สำหรับผมเนื้อหา (Content) ยังไม่มีวันตาย เผลอๆในโลกยุคปัจจุบันผู้คนต้องการบริโภคเนื้อหาทีถูกต้องและแม่นยำกว่าเดิม คนที่ต้องการเนื้อหาดีๆยังต้องจ่ายเงินแต่ช่องทางอาจเปลี่ยนไปแล้ว อาจไม่ใช่เป็นกระดาษเป็นเล่มแบบเดิม แต่อาจเป็นการซื้อบนโลกออนไลน์ แบบทันทีทันใด อ่านจากอุปกรณ์ไหนก็ได้ และเนื้อหาต้องทันสมัย สำคัญสุดวันนี้ถ้าเราอยากให้ลูกหลานเราอ่านเนื้อหาดีๆ ภาษาอังกฤษพวกเขาต้องเก่ง เพราะมีเนื้อหามากมายในโลกออนไลน์ ที่จะรอแปลมาเป็นไทยก็อาจไม่ทันโลกแล้ว และสำคัญสุดในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเราต้องสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ค้นข้อมูล และคิดเชิงวิเคราะห์ให้ได้ว่าข้อมูลไหนถูกต้อง ไม่ใช่แค่สอนการใช้กูเกิ้ล

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

เมื่อคนเจนเอ็กซ์อย่างผมต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนเจนวาย เมื่อเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงโลก

Screenshot 2019-09-29 14.55.10

ผมเป็นคนรุ่นต้นสุดของเจนเอ็กซ์ก็คือห่างกับรุ่นเบบี้บูมเมอร์แค่ปีเดียว และด้วยความที่เรียนพาสชั้นมาทำให้ตอนเรียนปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็เป็นคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์และก็ต้องใช้ชีวิตแบบคนยุคเบบี้บูมเมอร์  วิถีชีวิตของคนในรุ่นผมก็ยังห่างเทคโนโลยีอยู่มาก ยังเรียนหนังสือโดยใช้ชอล์กกระดานดำ ยังต้องทำโปรเจ็คและรายงานโดยใช้พิมพ์ดีด ไม่มีโทรศัพท์มือถือ แม้แต่ที่บ้านก็ไม่มีโทรศัพท์ที่มีสาย ต้องติดต่อกันทางจดหมาย ถ้ามีเรื่องด่วนก็ต้องใช้โทรเลข สมัยเรียนปริญญาตรีก็ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้ใช้ เรียนหนังสือกับเครื่องเมนเฟรม เขียนโปรแกรมโดยการเจาะบัตร กว่าจะเริ่มสัมผัสเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ก็ตอนที่จบมาแล้ว และกว่าจะเริ่มเล่นอินเตอร์เน็ตครั้งแรกก็ปี 1993 ตอนสมัยเรียนอยู่ต่างประเทศ

ความโชคดีของผมคือการได้ไปเรียนในต่างจังหวัด ที่สมัยนั้นยังไม่ได้เจริญเท่าปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศในยุคนั้นก็ไม่ได้ดีนัก บ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันในต่างประเทศถีบตัวสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินตกต่ำ อัตราดอกเบี้ยสูง รัฐบาลต้องปิดทีวีช่วงหกโมงเย็นถึงสองทุ่มและทุกรายการก็เลิกหลังเที่ยงคืน ปั้มน้ำมันทุกแห่งก็ปิดตอนสี่ทุ่มถึงตีห้า ชีวิตการเรียนยุคนั้นต้องมีความอดทน นักศึกษามหาวิทยาลัยก็ต้องนั่งรถสองแถวกัน ใช้จักรยาน ไม่มีรถมอเตอร์ไซค์และไม่มีเงินมาทานกาแฟหรือร้านอาหารหรูๆแบบยุคนี้ สมัยเรียนไฟฟ้าติดๆดับๆอยู่บ่อยๆ แถมน้ำแถวหอพักก็หยุดไหลบ่อยๆ

เราเข้าศึกษากันในยุคที่พวกรุ่นพี่ที่เข้าป่าไปหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กำลังทยอยกลับเข้ามาเรียน ทำให้เรายังได้กลิ่นอายของการทำกิจกรรมรุ่นพี่ในสมัยนั้นที่ต่อสู้เพื่อสังคม พวกเราชอบทำกิจกรรมออกค่ายพัฒนาชนบท ฟังเพลงเพื่อชีวิตที่ค่อนข้างรุนแรงอย่างเพลง คนกับควาย สู้ไม่ถอย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีกระแสของทุนนิยมเข้ามาในเมืองมากขึ้น ฟังเพลงสตริงอย่างวงชาตรี หรือวงแกรนด์เอ็กซ์ พวกเราโตขึ้นมาท่ามกลางการต่อสู้ด้านการเมือง วัฒนธรรมและสังคมของสองขั้วที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลง

การสัมผัสกับชนบทและความยากลำบากทำให้พวกเราเข้าใจสังคม อาจารย์และรุ่นพี่ก็เป็นแบบอย่างเป้าหลอมให้พวกเราคิดถึงส่วนรวม อยากเห็นสังคมและชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคคลที่เป็นต้นแบบของพวกเราบางคนก็คือนักต่อสู้เพื่อสังคมที่สอนให้เราเสียสละเพื่อคนอื่น ไม่ใช่เศรษฐีพันล้านหรือนักเทคโนโลยีชั้นนำของโลกแบบยุคนี้ เป้าหมายชีวิตหลายคนของพวกเราก็คือจบออกมาทำงานอาชีพที่มั่นคงเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ หลายๆคนภูมิใจกับการได้ทำงานเป็นข้าราชการเพื่อรับใช้สังคมจนทุกวันนี้

Screenshot 2019-09-29 19.18.47

จากคนเจนเอ็กซ์อย่างผมที่จบจากมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ได้สัมผัสกับสังคมที่มีช่องว่างกับสังคมกรุงเทพอย่างมาก และก็มีโอกาสได้ไปเรียนต่อ ได้เข้ามาทำงานในแวดวงเทคโนโลยี ประกอบกับเป็นคนที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปรับพฤติกรรมไปตามคนเจนวายไปค่อนข้างมาก ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตตัวเองหลายๆอย่างอาทิเช่น

สมัยผมเรียนที่บ้านส่งเงินมาทางธนาณัติจะไปรับเงินก็ต้องไปที่ไปรษณีย์ และมีธนาคารก็อยู่สาขาเดียวแถมไม่มีตู้เอทีเอ็มจะฝากจะถอนเงินก็ไปยืนรอนั่งรอกันอยู่ที่สาขา ความสัมพันธ์ของลูกค้ากับพนักงานธนาคารก็มีส่วนทำให้ลูกค้าอยากมาทำธุรกรรมด้วย หลังจากที่จบมาพักใหญ่ถึงจะเริ่มเห็นตู้เอทีเอ็มมากขึ้นการทำธุรกรรมก็อาจเริ่มเปลี่ยนไป แต่วันนี้ชีวิตทางธุรกรรมการเงินของผมต้องปรับพฤติกรรมตามคนเจนวายหรือมิลเลนเนียลส์ไปแล้ว ทุกวันนี้นอกจากจะต้องใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต ยังต้องมีการจ่ายเงินผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์หลากหลายทั้งใช้ PayPal, True Wallet, Rabbit Line Pay, Lazada Wallet และอีกสารพัดวิธีที่จะต้องเอาเงินไปฝากไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัลมากมาย คนเจนเอ็กซ์อย่างผมแทบไมได้ไปสาขาธนาคารมานานมาก ใช้ Internet Banking มามากกว่า 15 ปี แถมตัวเองมี Mobile Banking ของแทบทุกธนาคารจะโอนเงิน ชำระเงินค่าบริการต่างๆก็ต้องมาทำออนไลน์ แม้แต่การลงทุนก็ซื้อกองทุน หุ้นผ่านมือถือ ใช้บริการของ FinTech ต่างๆทั้ง  Finnomena, WealthMagik ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับพนักงานธนาคารก็เริ่มหายไป จากที่เคยอดทนยืนรอการทำธุรกรรมการเงินวันนี้กลายเป็นต้องทำได้ทันทีทันใด ทุกที่ ทุกเวลา

Screenshot 2019-09-29 19.18.10

สมัยก่อนมีความสุขกับการหาหนังสืออ่าน หาซื้อหนังสือจำนวนมากสะสมไว้ ตอนเล็กๆทีีบ้านขายหนังสือ ชอบเดินทางไปค้นหาหนังสืออ่านนั่งรถจากนครปฐมเข้าไปหอสมุดแห่งชาติ ชอบไปเดินดูหนังสือตามร้านหนังสือดวงกมล หรือร้านอื่นๆ นั่งรอหนังสือพิมพ์มาส่งที่บ้านด้วยความตื่นเต้นแทบทุกเช้า บางวันก็อ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ ชีวิตวันนี้ของคนเจนเอ็กซ์อย่างผมถูกกลืนไปด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัล ผมไม่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์เป็นเล่มมาสิบกว่าปีแล้ว แต่ก็ยังซื้อแบบเป็นสมาชิกออนไลน์เริ่มต้นตั้งแต่ซื้อ โพสต์ทูเดย์ มาเป็น OokBee ที่เป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสารแบบบุฟเฟ่ต์ จนล่าสุดมาซื้อกรุงเทพธุรกิจในรูปแบบของไฟล์ PDF  จากคนที่เคยชอบไปร้านหนังสือบางทีไปยืนเลือกหนังสือที่ร้านได้เป็นชั่วโมง ทุกวันนี้กลายเป็นว่าสมัครเป็นสมาชิก SafariBook online อยากจะหาหนังสือเล่มใดอ่านก็ได้ผ่านทุกอุปกรณ์ แถมบางทีได้มาก่อนที่ผู้เขียนจะส่งจัดพิมพ์เสียอีก นอกจากนี้ยังซื้อหนังสือจาก Amazon และช่องทางออนไลน์อื่นๆ แถมบางเล่มมีไฟล์เสียงมาพร้อม บางคืนก่อนนอนยังสั่งให้เจ้า Amazon Echo ให้อ่านหนังสือที่เก็บไว้ใน Amazon Kindle ให้ฟัง วันนี้น้อยครั้งที่จะไปร้านหนังสือ ห้องสมุดผมก็ย้ายมาอยู่ที่ร้านกาแฟ โดยมีคลังหนังสืออยู่ในอุปกรณ์ iPad ที่มีหนังสือมากกว่าห้องสมุดแบบเดิมๆ

Screenshot 2019-09-29 19.17.37

ตอนเล็กๆมีทีวีอยู่ไม่กี่ช่อง มึความสุขอยู่กับการดูละครโทรทัศน์ หุ่นไล่กา หรือ พิภพมัจจุราช กับรายการนาทีทองที่แสนสนุกในวันอาทิตย์ แถมทีวีที่ดูเป็นทีวีขาวดำไม่มีรีโมทจะเปลี่ยนช่องต้องเดินไปหมุนปุ่ม มาเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นใหม่ๆก็มีทีวีเพียงสองช่องคือ ช่อง 4 กรมประชาสัมพันธ์และทีวีช่อง 7 ทีีเพิ่งเริ่มมาฉาย ทั้งหอมีทีวีอยู่เครื่องเดียวต้องมามุงกันดูพร้อมกัน ตอนท้ายๆก่อนเรียนจบก็เริ่มมีวิดีโอมาฉาย หลังจากนั้นจบมาก็มีความสุขกับการดูวิดีโอ และไปเช่าวิดีโอตามร้าน มีร้านให้เช่าเกิดขึ้นมากมาย เลือกหนังกันเป็นชั่วโมงและเมื่อครบกำหนดก็รีบนำมาคืนกัน พอมายุคซีดี ดีวีดี ก็เริ่มมีความสุขกับการดูหนังที่คมชัดขึ้น สะสมแผ่นหนังกัน จนกระทั่งมาถึงยุคของเคเบิ้ลทีวี ก็ต้องตกใจที่ทีวีมีเพื่มมามากมายหลายช่อง มีความสุขกับการอ่านหนังสือโปรแกรมรายการทีวีที่เขาส่งมาให้ และต้องคอยเลือกว่าวันไหนจะดูรายการไหน วันนี้ชีวิตคนวัยต้นเจนเอ็กซ์อย่างผม กลายเป็นเสมือนเด็กเจนอัลฟ่า ไม่รู้จักแล้วครับว่า วิดีโอ ดิวีดี เป็นอย่างไร ทุกอย่างดู Streaming TV อย่าง NetFlix หรือ YouTube ไม่รู้จักละครช่วงเวลา PrimeTime ไม่ได้ดูข่าวทีวีในช่วงปกติ อยากจะดูตอนไหนก็ดู ผ่านอุปกรณ์ใดๆก็ได้ แม้แต่ทีวีช่องปกติบางรายการทั้งของในประเทศ เช่นรายการสนทนาข่าว หรือรายการทีวีต่างประเทศอย่างช่อง  CNA, CNN ก็เปิดดูผ่าน YouTube แถมที่หนักไปกว่านั้น บางทีก็ไม่ใช้รีโมททีวีแต่สั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant

ผมเป็นแฟนกีฬาชอบดูรายการถ่ายทอดสด ตอนเล็กๆการถ่ายทอดกีฬาจะเป็นเรื่องใหญ่มาก จำได้ว่ามวยหรือฟุตบอลบางคู่เราต้องแทบหยุดเรียน หยุดทำงานกันมาดู นานๆจะมีการถ่ายทอดกีฬาต่างประเทศสดทางทีวีเพราะค่าใช้จ่ายสูงและมีความซับซ้อนมาก เวลาเราดูกันทีก็จะมาเชียร์พร้อมๆกันจำนวนมาก วันนี้โลกของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแล้วช่่องการถ่ายทอดมีมากมาย แม้แต่ล่าสุดผมจะดูรักบี้ชิงแชมป์โลก ผมก็ยังเลือกซื้อบริการโดยตรงจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ผ่าน Bein Sports connect แล้วชำระเงินผ่าน App Store ทำให้ผมสามารถเรียกดูจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ที่ไหนก็ได้ ในบางครั้งผมก็ดูผ่านสมาร์ทโฟน บางครั้งก็ดูผ่านแท็บเล็ต และบางครั้งก็สามารถเชื่อมสัญญาณภาพจากสมาร์ทโฟนเข้าสู่ทีวีจอใหญ่และภาพที่ได้รับก็คมชัดเพราะเป็นสัญญาณ HD

ตอนเล็กๆผมต้องไปซื้อของที่ตลาด การเดินห้างเป็นเรื่องใหญ่ ร้านค้าใหญ่สมัยนั้นมีน้อยมาก พอเรียนจบปริญญาเอกมามีการคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ที่ๆอยากไปซื้อของมากๆในสมัยนั้นก็คือห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า โดยมีความสุขกับการเลือกดูอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตอนหลังก็ขึ้นไปตามห้างต่างๆทั้ง MBK และห้างเซ็นจูรี เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์มือถือและ Gadget ต่างๆ วันนี้ชีวิตคนเจนเอ็กซ์อย่างผมกลายเป็นคนเจนวาย ไม่อยากออกไปซื้อของแบบเดิม แต่เลือกช็อปออนไลน์เพราะสะดวกกว่าและราคาถูกกว่า ผมซื้อออนไลน์แทบทุกเจ้าทั้ง  Lazada, JD หรือแม้แต่ของในซูปเปอร์มาร์เก็ตก็สั่งผ่าน Top Supermarket Online ยังไม่ต้องพูดถึงอีคอมเมิร์ซ์ในต่างประเทศที่ผมใช้ทั้ง AliExpress, Amazon และ EBay ผมเลยไม่แปลกใจว่าทำไมร้านค้าปลีกจึงเงียบเหงา แม้แต่การทานอาหารคนเจนเอ็กซ์อย่างผม จากที่ชอบทานอาหารนอกบ้านก็กลายเป็นว่าเลือกสั่งอาหารส่งมาทานที่บ้านเป็นประจำ บางวันแทบทุกมื้อ สั่งผ่านทั้ง LineMan, Get, GrabFood หรือ Food Panda แล้วบางทีก็ชำระเงินผ่านไปทางบัตรเครดิตหรือ Wallet  ของเขา

ยังมีอีกหลายๆอย่างที่เทคโนโลยีมาเปลี่ยนชีวิตผมทั้งเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือแม้แต่การเรียน โลกได้เปลี่ยนไปมากแล้วและสิ่งหนี่งผมคิดเสมอก็คือ ถ้าคนเจนเอ็กซ์สามารถมาใช้เทคโนโลยีแบบคนเจนวาย ก็จะช่วยทำให้เราเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น เผลอๆด้วยประสบการณ์ของอดีตที่ผ่านมาในเจนเอ็กซ์หรือเบบี้บูมเมอร์ก็จะยิ่งทำให้เราทำบางเรื่องได้ดีกว่าคนในยุคใหม่ด้วยซ้ำไป และประสบการณ์ชีวืตของคนเจนเอ็กซ์จำนวนมากก็ยังผ่านยุคของความยากลำบาก ก็ยิ่งจะช่วยทำให้เห็นได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยมาเปลี่ยนแปลงและลดช่องว่างของสังคมได้อย่างไร ทำอย่างไรจะให้คนในสังคมทุกคนยืนอยู่ได้ในโลกที่เปลี่ยนไป ด้วยความเข้าใจสังคมทั้งชนบทและในเมืองที่ดี

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute