โอกาสของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยบนเวทีโลก

บ่อยครั้งที่ผมจะได้ยินว่าเราอยากจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้เข้าสู่เวทีโลกเหมือนอย่างความสำเร็จของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศอย่างจีนหรืออืนเดีย แม้แต่ผมเองก็เคยคิดอย่างนั้นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นเรื่องของสติปัญญาและนวัตกรรมคนไทยน่าจะแข่งได้ และเคยผลักดันหลายๆโครงการที่อยากจะเห็นซอฟต์แวร์ไทยอยู่บนเวทีโลก เราลองมาดูข้อมูลกันหน่อยว่าวันนี้เรามีโอกาสแค่ไหนที่จะผลักดันให้ซอฟต์แวร์ไทยปักหมุดอยู่บนแผนที่ของซอฟต์แวร็โลกได้

Global 100 Software Leaders 2013

ข้อมูลที่น่าสนใจอันหนึ่งคือรายงานของ PwC เรื่อง Global 100 Software Leaders 2013  ที่ออกมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 (ดูรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://tinyurl.com/nhdx5hl  ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ของโลกที่ทาง PwC ทำต่อเนื่องเป็นปีที่สอง จากข้อมูลเราจะเห็นว่าบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่สุดคือ Microsoft  ซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ในปี 2011 ถึง $57,668.40 ล้าน ตามด้วยบริษัท IBM, Oracle และ SAP ที่น่าสนใจคือบริษัทซอฟต์แวร์ที่ติด Top 100 ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ของบริษัทเหล่านี้รวมกันถึง  $190,816 ล้าน ส่วนประเทศอื่นๆที่ทำซอฟต์แวร์ก็จะมีอย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น สวีเดน อังกฤษ และมีบริษัทในประเทศกลุ่มที่เกิดใหม่ทางอุตสาหกรรมนี้ (Emerging Country) ที่ติดอันดับโลกอยู่บ้างบางบริษัทเช่น TOTVS ของบราซิล  Kaspersky Lab ของรัสเซีย และ Neusoft ของจีน ทั้งนี้ข้อมูลนี้ระบุถึงรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายซอฟต์แวร์ไม่ใช่รายได้รวมทั้งหมดจึ่งทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google มีรายได้ในปี 2011เพียง $575.62 ล้าน จากรายได้รวม $37,905.00 ล้าน

Image

รายงานของ  PwC ยังชี้ให้อีกว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Cloud Service มากชึ้นโดยคาดการณ์ว่าในปี 2016 ธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เป็นแบบ SaaS (Software as a Service) จะขยายตัวเป็นสัดส่วนถึง 25% ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ทั้งหมด ทั้งนี้ข้อมูลรายได้บริษัทซอฟต์แวร์ที่ติด 100 อันดับแรกของโลกในปี 2011 ยังมีสัดส่วนเพียง 4.9% โดยบริษัท Salesforce เป็นบริษัทที่มีรายได้จาก SaaS สูงสุดคือ $1,848 ล้าน และมีบริษัทที่มีรายได้ด้าน SaaS สูงสุด 10 อันดับแรกดังนี้

Image

คราวนี้หากเรามามองบริษัทซอฟต์แวร์ไทยก็จะเห็นได้ว่าไม่ติดอันดับ 1-100  ของบริษัทโลก ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะบริษัทซอฟต์แวร์อย่างในประเทศอินเดียก็ไม่ติดอันดับ เราจึงต้องมาดูอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ 100 บริษัทแรกในกลุ่มประเทศ Emerging Market ซึ่งรายงานของ PwC ระบุว่ารายชื่อในประเทศอื่นๆไว้หลายบริษัทที่มีมากสุดก็คือบริษัทจากประเทศจีน ส่วนในอินเดียก็จะเป็นรายชื่อของบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์อย่าง Geodesic  หรือ  OnMobile ซึ่งจะไม่ใช่บริษัทอย่าง Infosys หรือ TCS ที่เน้นเรื่องของ IT Outsourcing Service สำหรับประเทศในเอเซียอื่นๆที่ติดอันดับก็จะมีบริษัทจากไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซีย ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าไม่มีบริษัทในประเทศไทยติดอันดับ และหากดูรายได้รวมของบริษัทซอฟต์แวร์ Emerging Market 100 บริษัท เราก็จะพบว่าบริษัทจากประเทศจีนมีรายได้รวมสูงสุด ตามด้วยอิสราเอล รัสเซีย และบราซิล ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก็คงจะเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในด้านนี้ไม่ติด 25 อันดับแรกของโลก และก็คงยากที่จะแข่งแม้แต่ในกลุ่ม Emerging Market

Image

IT Outsourcing

นอกเหนือจากการทำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์จำหน่ายแล้ว อีกด้านหนึ่งที่เราพยายามจะแข่งมาตลอดก็คือเรื่องของการพัฒนานักซอฟต์แวร์เพื่อสร้างอุตสาหกรรม  Outsourcing ซึ่งเราเห็นความสำเร็จของบริษัทในอินเดียอย่าง TCS, Infosys หรือ Wipro  ซึ่งรายงานเมื่อปี  2011 ของ AT Kearney เรื่อง “Global Services Location Index 2011” ก็ระบุว่าประเทศไทยมีความสนใจในการเป็นแหล่งในการทำ Outsourcing อันดับที่ 7 ของโลก (ทั้งนี้ประเทศเราหล่นจากที่เคยเป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2009)   โดยมีตัวชี้วัดจากสามด้านคือ  ความน่าสนใจในการลงทุน  (Financial attractiveness)  ความสามารถและความพร้อมของคน (People skills and availabilty) และ สภาวะแวดล้อมเชิงธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งในรายงานระบุว่าประเทศอินเดียมีความน่าสนใจเป็นอันดับ  1 ตามด้วยประเทศจีน และมาเลเซีย โดยมีประเทศอื่นๆใน ASEAN อย่างอินโดนีเซียอยู่อันดับ 5 เวียดนามอันดับ 8 และฟิลิปปินส์อันดับ 9 แต่เมื่อดูข้อมูลจากรายงานก็กลับพบว่า AT Kearney ระบุว่าแม้ว่าประเทศไทยจะมีความน่าสนใจสำหรับการมาทำ  Outsourcing แต่ก็ไม่มีอุตสาหกรรมทางด้านนี้เหมือนอย่างในฟิลิปปินส์หรือเวียดนาม

นอกจากนี้หากมาดูข้อมูลล่าสุดของ Tholons ได้ออกรายงานระบุเมืองที่ติด 100 อันดับในการทำ Outsourcing ทั่วโลกเมื่อปี 2013 (2013 Top 100 Outsourcing Destinations) โดยดูจากปริมาณการจ้างงาน ความน่าสนใจ และแนวโน้ม จะพบว่าแหล่งที่น่าสนใจจะอยู่ทางเอเซียใต้ โดยมีเมืองที่ติดอันดับ 1 ถึง 7 ล้วนแต่เป็นเมืองในประเทศอินเดีย โดยมีเมือง Bangalore เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Mumbai  ส่วนกรุงมะนิลาเป็นเมืองเดียวนอกประเทศอินเดียที่ติด 1 ใน  7 คือมีคะแนนมาเป็นอันดับ  3 และหากมาพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN  จะเห็นว่าเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ติดอันดับหลายเมืองมากเช่น Cebu เป็นอันดับ 8 นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเมืองในประเทศเวียดนามก็เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ Outsourcing  โดย Ho Chi Minh ติดอันดับ 16 และ Hanoi  ติดอันดับ 23 ขณะที่กรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 83 แต่เมืองอื่นๆใน ASEAN ก็มีอันดับที่สูงกว่าเราเช่น กรุงกัวลาลัมเปอร์อันดับที่ 19 สิงคโปร์อันดับที่ 31 กรุงจาการ์ต้าอันดับที่ 61 และเมีองต่างๆในเอเซียทั้งในประเทศจีน เกาหลี หรือไต้หวันก็มีอันดับสูงกว่า ซึ่งดูจากข้อมูลนี้ก็คงเห็นว่าเราคงลำบากที่จะแข่งในด้านของ Outsourcing Services

Image

ความพร้อมของบุคลากรด้านซอฟต์แวร์

สิ่งที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คือเรื่องของการพัฒนาคน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเร็วๆนี้ทาง World Economic Forum ได้มีผลการศึกษาศักยภาพการศึกษาของประเทศต่่างๆทั่วโลก และมีผลที่ระบุว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอยู่อันดับแปดในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งก็เริ่มมีคำถามว่าแล้วในสาขา Computer Science และ Information Technology ประเทศไทยเราพอจะแข่งขันได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้วโลกในสาขา Computer Science ของ QS หรือของหน่วยงานอื่นๆ จะพบว่าไม่มีมหาวิทยาลัยใดในประเทศไทยที่ติดอันดับ  Top 200 ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นๆในเอเซียทีมีมหาวิทยาลัยติดในอันดับ Top 200 เช่นประเทศ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลี อินเดีย และไต้หวัน (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://tinyurl.com/mct6os7)

ในแง่ของการสนับสนุนของรัฐบาลเราจะเห็นได้ว่าในด้านนโยบายในเรื่องการพัฒนาคนทางด้านนี้เรายังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอาทิเช่น สิงคโปร์มีแผนจะเพิ่มงานด้าน Infocomm อีก  80,000 ตำแหน่ง ฟิลิปปินส์มีแผนเพิ่มจำนวนงานของ IT/BPO ให้เป็น 900,000  ตำแหน่งในปี 2016 เวียดนามต้องการเพิ่มจำนวนแรงงานทางด้านอุตสาหกรรมไอซีทีให้เป็น  1 ล้านคนในปี 2020

นอกจากนี้เมื่อเร็วๆนี้ทาง IMC Institute ก็ได้เปิดเผยผลสำรวจ ในหัวข้อ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” เพื่อศึกษาถึงภาพรวมและความพร้อมของประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ และการพัฒนา Emerging Technology ซึ่งก็พบว่า เรามีปัญหาสำคัญคือขาดบุคลากรที่มีความเข้าใจทางด้านนี้เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าใน ไทยยังมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในด้่าน  Emerging Technology ในแต่ละองค์กรน้อยโดยเฉพาะทางด้าน Cloud Technology  โดยบางเทคโนโลยีมีนักพัฒนาน้อยกว่า 10 คนในหนึ่งองค์กร (ดูรายงานได้ที่ http://tinyurl.com/kby5s2l)

บทสรุปความพร้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยบนเวทีโลก

จากข้อมูลทั้งในด้านอันดับและรายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ ความพร้อมด้านการเป็นแหล่ง Outsourcing และการพัฒนาคน เราคงต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยคงแข่งในเวทีโลกค่อนข้างยากหรือแม้แต่แข่งกับประเทศในกลุ่ม Emerging Market  อย่างไต้หวัน รัสเซีย จีน หรือ ประเทศกลุ่มยุโรปตะวันออก หากเรามองศักยภาพของเราเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนก็คงจะแข่งลำบากเพราะเราต้องยอมรับว่าสิงคโปร์นำหน้าเราไปมาก เช่นเดียวกับมาเลเซีย ขณะที่ทางเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เด่นกว่าเรามากในแง่ของ Outsourcing

โอกาสของเราในวันนี้คงต้องพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศให้ดีที่สุด สร้างให้เกิดความต้องการการใช้ซอฟต์แวร์และไอซีทีมากขึ้น ซึ่งหากมีกระตุ้นการใช้ในประเทศส่วนหนึ่งก็จะเพียงพอกับบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆในประเทศ ส่วนโอกาสในการแข่งขันบนเวทีโลกเราอาจมีโอกาสสำหรับกลุ่ม  Start-up  หรือบางบริษัทที่มีนวัตกรรมดีๆที่สามารถจะเปิดตลาดไปต่างประเทศได้

ผมคิดว่าถ้าเราทำเรื่องอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างจริงๆจังเมื่อสิบกว่าปีก่อน และตอนนั้นถ้ารัฐบาลทุ่มเงินเป็นหมื่นล้านเราก็อาจแข่งขันบนเวทีโลกได้ในวันนี้ แต่พอมาถึงวันนี้ผมคิดว่าเราสายเกินไปแล้วครับที่จะเข้ามาแข่งในเวทีนี้ เพราะคู่แข่งเราเมื่อสิบกว่าปีก่อนนำหน้าเราไปไกล และบางประเทศเกิดใหม่ในอุตสาหกรรมนี้ที่เคยตามเราก็แซงเราไปแล้ว เราทุ่มงบประมาณและพัฒนาคนไม่เพียงพอ แต่อุตสาหกรรมนี้ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ เราอาจเน้นช่วยพัฒนาผู้ประกอบรายใหม่บางรายให้ออกไปต่างประเทศ แต่ภาพโดยรวมเราคงไม่สามารถจะแข่งได้ยกเว้นเพียงบางรายที่มีความโดดเด่นและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและนำรายได้กลับเข้ามา และข้อสำคัญในวันนี้เราต้องมาช่วยสร้างตลาดในประเทศให้กับผู้ประกอบการไทยมากกว่าจะไปตั้งเป้าว่าเป็นประเทศอันดับต้นของโลกทางอุตสาหกรรมนี้

แม้เราอาจรู้สึกว่าบริษัทหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์บางคนเราเก่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เหมือนที่เรามีเด็กไทยเราชนะเลิศวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์โอลิมปิคแต่ภาพรวมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ของเราก็ค่อนข้างแย่ เช่นเดียวกับเราก็อาจมีบริษัทซอฟต์แวร์หรือนักพัฒนาบางคนที่ขนะเลิศและแข่งบนเวทีโลกได้ เราก็ควรที่จะสนับสนุนบริษัทหรือนักพัฒนาเหล่านั้นให้ก้าวต่อไป แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เราคงไม่ใช่ครับ เราต้องดูที่ข้อมูลที่ตัวเลขซึ่งระบุชัดว่าเราไม่ใช่และต้องไม่ใช้ความรู้สึกมาวัดในการพัฒนาประเทศครับ

การกำหนดข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA) ของ Cloud Computing

Cloud Computing เริ่มเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้มากขึ้น แต่ผู้ใช้ก็ยังมีความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล มาตรฐาน และความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ Cloud ซึ่งโดยมากก็จะมีข้อแนะนำว่าขึ้นอยู่กับข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA: Service Level Agreement) ที่จะต้องนำมาพิจารณา แต่เราก็มักจะมีคำถามว่าแล้วจะเขียน SLA ของ  Cloud Computing อย่างไร

วันนี้เลยจะขอแนะนำการกำหนด SLA โดยใช้ Cloud Assessment Tool (CAT) ของ  Asia Cloud Computing Association ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://accacat.herokuapp.com/ โดย Assessment Tool จะเป็นการกำหนดข้อกำหนดในมาตรฐานของ  Cloud Computing ให้ผู้ที่ต้องการใช้ Cloud หรือผู้ให้บริการ Cloud เลือกของกำหนดในแปดกลุ่มคือ

Image

  • Security  ที่จะพิจารณาด้าน สิทธิส่วนบุคคล ความปลอดภัยของข้อมูล และกฎระเบียบ
  • Life Cycle ที่จะพิจารณาด้านการให้บริการกับลูกค้่าในระยะยาวที่มีผลกระทบกับธุรกิจ
  • Performance ที่จะพิจารณาด้านลักษณะการทำงานของ application softwareที่ติดตั้ง
  • Access ที่จะพิจารณาด้านระบบการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ Cloud
  • DC  Basic ที่จะพิจารณาด้านโครงสร้างของระบบ
  • Certification ที่จะพิจารณาด้านมาตรฐานการประกันคุณภาพาำหรับลูกค้า
  • Support ที่จะพิจารณาด้านการติดตั้ง  Application และการบำรุงรักษา
  • Interoperability ที่จะพิจารณาด้านการเชื่อมต่อระหว่าง Cloud hypervisor กับ applications

โดยในแต่ละกลุ่มจะมีหัวข้อย่อยๆเพื่อให้เราสามารถเลือกระดับ (Level) ต่างๆในการกำหนดการให้บริการได้ โดยจะมี 4 Level แต่ในบางกรณีก็อาจไม่มีให้เลือกเลย

เพื่อให้ภาพการเขียนข้อกำหนด SLA ผมจะอธิบายการใช้งาน CAT โดยจะเข้าไปที่เว็บไซต์ดังกล่าว และจะสาธิตในฐานะ Prospective Cloud User

Image

โดยผมจะกำหนดชื่อเป็น CRM Service และจะตั้งข้อกำหนดในกลุ่ม  Security, Life Cycle, Performance, Access, Certification  และ Support ดังรูป

Image

เมื่อผมกด  Next Step เมนูจะแสดงข้อกำหนดย่อยในกลุ่ม Security ให้ผมเลือก ซึ่งในที่นี้ผมไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกทุกข้อ โดยพิจารณาเลือกเฉพาะข้อกำหนดที่ผมต้องการ ซึ่งในที่นี้ผมเลือกข้อกำหนดด้าน Authenthication, User Account Logging, Protection, Data Removal และ Location Awareness ดังรูป

Image

โดยเราจะเห็นข้อความที่เป็นข้อกำหนดที่ทาง CAT แสดงมาให้ด้านล่างดังรูป

Image

ซึ่งเมื่อกด  Next Step ระบบก็จะให้เรากำหนดมาตรฐานในกลุ่ม Life Cycle ซึ่งผมเลือกข้อกำหนดต่างๆดังรูป

Image

จากนั้นก็จะเป็นข้อกำหนดในกลุ่ม Performance  ซึ่งผมเลือกข้อกำหนดต่างๆดังรูป

Image

จากนั้นก็จะเป็นข้อกำหนดในกลุ่ม Access  ซึ่งผมเลือกข้อกำหนดต่างๆดังรูป

Image

จากนั้นก็จะเป็นข้อกำหนดในกลุ่ม Certification  ซึ่งผมเลือกข้อกำหนดต่างๆดังรูป

Image

จากนั้นก็จะเป็นข้อกำหนดในกลุ่ม Support  ซึ่งผมเลือกข้อกำหนดต่างๆดังรูป

Image

ซึ่งเมื่อเราเลือกข้อกำหนดตามที่ต้องการแล้ว CAT ก็จะสรุปแล้วให้เราเลือกที่จะดูหรือส่งของกำหนดมายัง e-mail ของเราดังรูป

Image

ซึ่งเราก็จะได้ต้นแบบของ SLA เพื่อนำมาใช้เป็นข้อกำหนดที่สมบูรณ์ต่อไป ตัวอย่างของข้อกำหนดที่เหลือมาในกรณีนี้ก็จะเป็นดังนี้

Security: Privacy, information security, regulatory

Authentication: Level 1: Standard methods to authenticate the portal as well as the API access by a user.

User Account Logging: Added capability of logging management activities on requested resources and other actions.

Protection: Assurance that software, computing results, data and etc., cannot be accessed or infringed upon by other users. This includes inter-virtual machine attack prevention, storage block level isolation and hypervisor compromise protection.

Data Removal: In case a user requests his software or data to be deleted, all data/software stored in the cloud must be entirely and irretrievably removed. This requires that the appropriate techniques be employed to locate the data and all its backups, encrypted or otherwise, and to completely erase all of them into an unrecoverable state.

Location Awareness: The user receives an indication of where his data is being stored and processed. User can specify where software and data have to be stored, run and processed. Provisions are in place to ensure all data and backups are stored only in these locations agreed by contract or the service level agreement.

Life Cycle: Long-term support impacting customer business processes 

Dev. Roadmap: Ensure that the service provider has a planned way forward (process) to evolve available features and introduce new capabilities. For L2 to L4 a well-defined approach comparable to “Capability Maturity Model” is needed, e.g. L2 is CMM L2, L3 is CMM L3 and L4 is CMM L4.

Service Management: In general terms cloud services are IT services remotely offered to the customer. There are well defined and well structured methods available to determine how services are expected to be managed in an enterprise environment. One should expect the same structured approach to IT service offerings from a service provider as would be expected from an in-house IT organization. Cost, effort and rigidness increase with the ITIL level and present a natural way for mapping it into the CAT framework levels.

Reporting: L2: In addition to L1 requirements an on- line information dashboard should be made available to the user, showing the list of essential Cloud services currently being deployed and utilized. It may include real-time update of information on status of VMs, Storage usage, Storage Buckets, Data transfer and others.

Portal: “Self Service” is the cloud Web portal feature that enables customers to perform most of the essential services themselves. This includes provisioning resource, managing resources such as controlling VM status (reboot, shutdown, restart, etc.), viewing various subscribed services, downloading essential support documents (e.g. user guides and FAQ list, etc.).

Billing: L3: Service provider keeps a history of the customer’s use of chargeable resources and services.

Performance: Runtime behavior of deployed application software

Availability %: Refers to the length of time the service is offering without interruption (outside defined maintenance windows). L1: 99.95% represents standard IT hardware and software runtime uptime.

Elasticity: Addresses the how fast a deployed application can increase its performance response with increasing service requests.

Redundancy: Redundancy architectures frequently rely on a well-defined set of software components to preserve states and transactions.

Access: Connectivity between the end user and cloud service provider

Access: This parameter measures the type of access. L1: Access through public Internet.

Availability: Indicates the “guaranteed” level of uptime of the network access.

Scalability: Capability to increase and decrease user’s access bandwidth based on actual capacity demand.

Certification: Degree of quality assurance to the customer

ISO 9000: A series of standards, developed and published by the International Organization for Standardization that define, establish, and maintain an effective quality assurance system for manufacturing and service industries.

ISO 27001/2: The objective of this pair of standards is to “provide a model for establishing, implementing, operating, monitoring, reviewing, maintaining, and improving an Information Security Management System”.

Vendor Cert.: Validates the integrity of commercial software products. It indicates the competence and ability of the provider to operate or offer any third party SW.

Support: Deployment and maintenance of applications

Customer Support: Methods and capabilities available for how a user can interact with the service provider.

Service Responsiveness: Time it takes for the service provider to respond to calls or customer inquiries.

Incident Response Time (Pri1): Maximum time it takes for service provider to react and act on Priority 1 incidents (an event where a service/application is not working or accessible). L1: 30 minutes

Technology Trends 2014

ไม่ได้เขียนบล็อกมาหลายสัปดาห์ พอดีสัปดาห์นี้มาบรรยายงาน Thailand ICT Awards (TICTA) 2013 ในหัวข้อ Technology Trends 2014  จริงๆผู้จัดตอนแรกบอกว่า Trends 2013 ก็เลยบอกว่าจะสิ้นปีแล้วขอเป็น  2014 แล้วจะรวบรวมข้อมูลมาให้ ซึ่งโดยปกติสิ้นปีนักวิจัยค่ายต่างๆ และนักวิเคราะห์ก็จะต้องคาดการณ์กระแสในปีหน้าอยู่แล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยโดยมากเราก็มักจะเอา  Trends ของค่ายวิจัยอย่าง Gartner หรือ IDC มาพิจารณา ซึ่งถ้าพิจารณากันจริงๆแล้วบริบทหลายๆด้านอาจแตกต่างกัน ดังนั้นในการบรรยายของผมจึงพยายามเอาข้อมูลในประเทศไทยมาเป็นการวัดกระแสไอทีปีหน้า โดยมี Slide ตังนี้

และสามารถสรุปได้ 10 เรื่องดังนี้

1) Smartphone/Tablet Explosion:Post-PC Era

กระแสการใช้ Smartphone และ Tablet บ้านเราก็ยังแรงต่อเนื่อง และการใช้ไอทีในบ้านเราก็เข้าสู่ยุคหลังพีซีอย่างแท้จริงจากเดิมที่ผู้ใช้ไอทีจะใช้เครื่องพีซีที่มีระบบปฎิบัติการ  Windows เป็นหลัก แต่วันนี้ผู้ใช้ไอทีจะมีอุปกรณ์และระบบปฎิบัติการที่หลากหลายและ  Windows เป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือก

ข้อมูลล่าสุดจากกสทช.จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เครื่องที่ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 89.98 ล้านเลขหมาย ซึ่งคิดเป็น 131.84% ของประชากร และในจำนวนนี้คาดว่า 31% ของประชากรไทยมีการใช้งาน Smartphone [ข้อมูลจาก  Our Mobile Planet] และถ้าบริษัทวิจัย GfK ก็ระบุว่าใน 4 เดือนของปี 2013  มีเครื่อง Smartphone จำหน่ายไปแล้วกว่า 2.87 ล้านเครื่อง โดยคาดการณ์ยอดจำหน่ายทั้งปีประมาณ 7.5 ล้านเครื่องจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ 16  ล้านเครื่อง

ในด้านของอุปกรณ์เราจะเห็นว่าข้อมูลจากการสำรวจของสวทช.ระบุว่าปีที่แล้วเรามียอดจำหน่ายเครื่องเดสต์ท็อปพีซี 1.26  ล้านเครื่อง Notebook 2.1 ล้านเครื่อง และ Tablet 1.3 ล้านเครื่อง ซึ่งในปีนี้ทาง IDC คาดการณ์ว่ายอดจำหน่าย Tablet จะพุ่งขึ้นสูงถึง 3.5  ล้านเครื่องทั้งนี้จากนโยบาย OTPC  ของรัฐบาล และจะมียอดของ Notebook 2.5 ล้านเครื่อง และ เดสต์ท็อปพีซี 1.5  ล้านเครื่อง

ข้อมูลจาก Gartner เมื่อเดือนเมษายน 2013 ก็ระบุให้เห็นเช่นกันว่ายอดจำหน่ายเครื่องพีซีทั้งเดสต์ท็อปและ Notebook ทั่วโลก จะมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องคือประมาณการณ์ว่าจาก 315  ล้านเครื่องต่อปีในปี 2013  เหลือเพียง 271  ล้านเครื่องต่อปีในปี 2017 ในขณะที่ยอดจำหน่าย Tablet ทั่วโลกจะแซงหน้ายอดของเครื่องพีซีโดยจะมีจำนวน  467  ล้านเครื่องต่อปีในปี 2017

สำหรับสัดส่วนการตลาดของเครื่อง Smartphone  และ Tablet  ทาง IDC ได้เปิดเผยข้อมูลยอดจำหน่ายในไตรมาสสองปีนี้ให้เห็นว่าเครื่องที่ใช้ระบบปฎิบัติการ  Android มีสัดส่วนที่แซงหน้ารับบปฎิบัติการ iOS ของ Apple  ไปอย่างมากโดยมีสัดส่วนการตลาด Smartphone ถึง  79% เมื่อเทียบกับ   iOS  ที่ลดลงเหลือเพียง  13% และก็มีสัดส่วนการตลาดของ  Tablet  62.6% เมื่อเทียบกับ   iPad  ที่ลดลงเหลือเพียง  32.5% ทั้งๆที่ในไตรมาสสองปีที่แล้ว iPad มีสัดส่วนการตลาดนำ  Android ถึง 60% ต่อ 38%  ซึ่งแนวโน้มนี้ก็สอดคล้องกับตลาดในประเทศไทยที่ทาง GfK ระบุว่า ตลาด Smartphone ในประเทศไทยเป็นระบบ  Android  70% เมื่อเทียบกับ iOS ที่ 20%

2)  Cloud Computing: From Personal Cloud to SaaS

กระแสไอทีที่น่าจะมาแรงในปีหน้าอีกเรื่องก็คือ Software as a Service (SaaS)  ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้ไอทีในบ้านเราที่เริ่มคุ้นเคยกับการใช้ Cloud  โดยเฉพาะ  Personal Cloud  ที่เป็นการใช้  Storage as a Service  อาทิเช่น  Dropbox, iCloud  หรือ Google Drive ประกอบกับบริษัทซอฟต์แวร์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเริ่มให้บริการ  SaaS ในประเทศไทยมากขึ้น และเริ่มมีการทำตลาดในประเทศไทย อาทิเช่น   Creative Cloud  ของ Adobe ที่เลิกทำ Packaged Software แล้วมาทำตลาด SaaS อย่างเดียว ก็ทำราคาในประเทศไทยแบบรายเดือนที่เริ่มต้นตั้งแต่ 600 บาท หรือทาง ไมโครซอฟต์เองก็ประกาศจำหน่ายโปรแกรม Office 365 ที่เป็น Home Edition ในราคา 2,290 บาทต่อปีที่มาพร้อมกับพื้นที่บน SkyDrive และการใช้โทร Skype

นอกจากนี้ข้อมูลจากรายงานของ PwC  เมื่อเดือนพฤษภาคม 2013  ก็แสดงให้เห็นว่าตลาดซอฟต์แวร์ SaaS  ซึ่งในปี 2011 มีมูลค่าตลาดรวมเพียง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐและคิดเป็นสัดส่วนเพียง 7  % ของมูลค่าการตลาดซอฟต์แวร์ทั้งโลก จะโตขึ้นเป็น 24% ในปี 2016    ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่ากระแสของ SaaS  จะโตขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปและกลุ่ม SME

สุดท้ายผมได้ไปดูข้อมูลจาก  Google Trends ที่เปรียบเทียบการค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่จะเห็นได้ว่าแม้กลุ่มของ Storage as a Service  เช่น  Dropbox จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบ้านเรา แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาคำว่า  Office 365 หรือ  Google Apps ก็เริ่มเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น

trends

3)  Online Consumerization: Social Networks / 3G /Broadband

การเปิดให้บริการ  3G   อย่างเต็มรูปแบบของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยจะทำให้คนไทยใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจากข้อมูลของ TrueHits  แสดงให้เห็นว่าในป้จจุบันเรามีประชากรอินเตอร์เน็ตในประเทศจำนวน 23.86 ล้านคนหรือคิดเป็นอัตราส่วน 35.8% และเรายังมีการเชื่อมต่อ   Broadband  ตามบ้านถึง 4.55  ล้านหลัง หรือคิดเป็น 22.7%  ของจำนวนที่อยู่อาศัย นอกจากนี้คนไทยยังใช้งาน Social Networks ค่อนข้างสูง โดยได้เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารแบบเดิมมาสู่สังคมออนไลน์มากขึ้น โดยข้อมูลจาก ZocialRank ระบุว่าเรามีจำนวนผู้ใช้ Facebook 18.5 ล้านคน Line  18 ล้านคน และ Twitter 2 ล้านคน นอกจากนี้เรายังมีวิดีโอบน  YouTube  ในประเทศถึง 5.3 ล้านคลิป

คนไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่มีสี่หน้าจอต่อหนึ่งผู้ใช้ ที่เราอาจใช้อุปกรณ์อย่างมือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี หรือแทปแล็ตที่ทำงานคล้ายๆกัน และ  sync   ข้อมูลต่างๆเข้าหากัน โดยเราอาจดูทีวีหรือหนังผ่านมือถือหรือแทปเล็ต และก็เป็นไปได้ที่เราอาจเล่นอินเตอร์เน็ตทางจอทีวี ข้อมูลจาก We arre social  ระบุว่าคนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลา 16.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการเล่นอินเตอร์เน็ตขณะที่เราใช้เวลาในการดูทีวีโดยเฉลี่ยเพียง 10.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกจากนี้จากการสำรวจของ Nielsen Thailand ระบุว่า คนไทยเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือถึง 49% ขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์เพียง36%

4) Mobile Applications: Cross Platform with HTML5

เนื่องจากการใช้งานของผู้ใช้ไอทีเปลี่ยนไปสู่อุปกรณ์อย่างSmartphone หรือ  Tablet มากขึ้น การทำ Application จึงต้องเน้นกลุ่มผู้ใช้เหล่านี้มากขึ้น และจะต้องทำ  Mobile Application  หลากหลาย Platform ทั้ง  Android, iOS และ Windows ซึ่งภาษาการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ HTML5 จะช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถพัฒนาโปรแกรมเพียงครั้งเดียวแต่ใช้ได้ทุกแพลตฟอร์ม แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาโปรแกรมแบบ  Native App  จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นต่างของอุปกรณ์ได้ดีกว่าเช่น การบอกตำแหน่ง ทำให้ผู้พัฒนาก็ยังจะให้ความสำคัญอยู่

ในปีหน้าคาดว่าหน่วยงานต่างๆในบ้านเราจะมีการพัฒนา  Mobile Application มากขึ้น และข้อมูลจาก Distimo เริ่มแสดงให้เห็นว่าตลาด Google Play  ประเทศไทยเริ่มโตขึ้นทั้งในด้านรายได้และจำนวนการดาวน์โหลด ซึ่งทาง Our Mobile Planet ระบุว่าโดยเฉลี่ยคนไทยจะมี Application อยู่ใน smartphone ประมาณ  21 App แต่ใช้ประจำเพียง 8 App และมีเพียง 4  App ที่จ่ายเงิน

Screen Shot 2556-09-06 at 1.28.50 PM

 5) Bring Your Own Devices: Flexible Office/Workers

กระแสการใช้อุปกรณ์ smartphone และ Tablet  แทนที่การใช้เครื่องพีซี ประกอบกับการใช้ 3G และ  Broadband ทีมีอย่างกว้างขวางขึ้นทำให้วิถีการทำงานของคนเปลี่ยนไป พนักงานในองค์กรก็ต้องการที่จะใช้อุปกรณ์ที่สามารถทำงานได้ทั้งงานขององค์กรและเรื่องส่วนตัว ทำให้องค์กรต่างๆเริ่มอนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น

กระแส   BYOD กำลังเข้ามาในบ้านเรา ซึ่งจากการสำรวจของ VMware  พบว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทที่ทำการสำรวจอนุญาตให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในที่ทำงานได้ ดังนั้นองค์กรต่างๆต้องเริ่มปรับนโยบายในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลขององค์กร สิ่งที่องค์กรต่างๆจะลงทุนมากขึ่นในปีหน้าทางด้านนี้ก็คือเรื่องการวางนโยบายตลอดจนการหาเครื่องมือด้านความปลอดภัยเพือรองรับ BYOD มาใช้ในองค์กร

6) IaaS: Migrate Servers to Cloud

การใช้ Cloud Service  ที่เป็น Infrastructure as a Service (IaaS) ในประเทศจะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ผู้ให้บริการ Data Center หรือแม้แต่ Telecom Operator ในประเทศจะให้บริการ IaaS มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการส่วนหนึ่งจะมาจากกลุ่ม SME ในฝั่งของภาครัฐบาลก็จะเห็นการให้บริการ  G-Cloud  ที่ดีขึ้น การใช้  Cloud ก็จะแพร่หลายมากขึ้น องค์กรต่างๆก็จะสนใจใช้ Cloud ทั้งๆที่มาจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการใช้เป็น DR site

นอกจากนี้องค์กรใหญ่ๆก็จะเริ่มมีการติดตั้ง  Private Cloud มากขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของ VMWare เมื่อปัี 2012 พบว่าองค์กรต่างๆในประเทศไทยถึง 83% มีการติดตั้งหรือมีแผนที่จะทำ  Private Cloud  และจากการสำรวจข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการว่าตลาด  Cloud Computing ของประเทศไทยในปี  2013 จะโต 16.7%-22.1% คือมีมูลค่าระหว่าง 2,220  – 2,330 ล้านบาท

7) Internet of things: Connected Anywhere, Anytime and Anydevices

นอกเหนือจาก  Mobile Technology  กระแสอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะมาแรงคือ อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทั้ง Smart TV หรือ Wearable Technology ซึ่งในปัจจุบัน 50% ของอุปกรณ์ที่ต่ออินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งของต่างๆ โดยในปี2010 เรามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในโลก 5 พันล้านชึิ้นและมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น  50,000 ล้านชิ้นในปี 2020

อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอาจเป็นการเชื่อมต่อผ่าน NFC, Bluetooth, 3G หรือ WiFi  โดยอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่กำลังกล่าวถึงอย่างมากคือ Google Glass ที่คาดว่าจะวางตลาดในปีหน้า และยังมีอุปกรณ์อย่าง Jawbone UP หรือนาฬิกาที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าตลาดของ  Internet of Things และ Machine to Manchine (M2M) จะโตขึ้นเป็น 290 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017

8) M-Commerce: From e-Commerce to mobile payment

คนไทยเริ่มยอมรับการซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณตลาด  e-commerce ในบ้านเราไว้ที่ 340,903 ล้านบาทในปี 2011 ซึ่งน่าจะรวมถึงตลาดการซื้อขายออนไลน์ของภาครัฐด้วย ขณะที่ Paypal ประมาณการว่าตลาด e-coomerce ในประเทศไทยจะโตสูงขึ้นถึง 15 พันล้านบาท ในปี 2013

นอกจากนี้ก็มีผลสำรวจของทาง  Mastercard ที่สำรวจพฤติกรรมการซื้อของทาง e-commerce ของคนไทย พบว่า 67% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามเคยซื้อของทาง e-commerce และ 37% เคยใช้  M-Commerce ซึ่งถือว่าเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียที่มีการซื้อของทาง smartphone ค่อนข้างสูง ซึ่งก็สอดคล้องกับผลสำรวจของ OurMobilePlanet  ที่คนไทยเคยซื้อของผ่าน smartphone สูงถึง 51% มากกว่าประเทศอื่นๆอย่าง สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ หรือไต้หวัน

Screen Shot 2556-09-06 at 1.33.06 PM

ข้อมูลทางด้านการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยยังแสดงให้เห็นว่าเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ประเทศไทยมีบัญชี Internet Banking ถึง 7 ล้านบัญชี และมีบัญชี  Mobile Banking  969,977 บัญชี ซึ่งจากข้อมูลต่างๆ สนับสนุนให้เห็นว่าตลาด M-commerce ในปีหน้าในประเทศไทยน่าจะโตขึ้นอย่างมาก

9) Big Data: BI in a Big Data World

การโตขึ้นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และการใช้อุปกรณืเชื่อมต่อต่างๆ ทำให้ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งในรูปของข้อมูลแบบ  structure และ unstructure รวมถึงมีข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งที่อยู่ใน social networks และข้อมูลบริษัท ทำให้องค์กรต่างๆอยากใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้มากขึ้น

กระแสของการหาเครื่องมือใหม่เพื่อมาวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จึงมีมากขึ้น อาทิเช่นการใช้เทคโนโลยีอย่าง Hadoop ทำให้องค์กรต่างๆจะต้องลงทุนในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดด้าน   Big Data จะโตเป็น 16.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะมีความต้องการบุคลากรด้านนี้ถึง  4.4 ล้านตำแหน่งในปี 2015

10)Augmented Reality:Changing our daily life

เทคโนโลยีเสมือนจริง ( AR: Augmented Reality) เริ่มเป็นทีแพร่หลายมากขึ้น ในบ้านเรา มีการนำมาใช้ในด้านการศึกษาและการตลาด เราน่าจะเห็นตลาดทางด้่านนี้โตขึ้นมาก โดยทาง Research and Market คาดการณ์ว่าตลาดด้านนี้ทั่วโลกจะโตขึ้นถึง 5.155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2016 และในปัจจุบันเราก็เริ่มเห็นบริษัทไทยหลายๆบริษัทมาทำงานทางด้านนี้มากขึ้น

ธนชาติ นุ่มนนท์

5 กันยายน 2013