ตลาดชุมชนออนไลน์ (Community E-commerce) ช่วยให้ผู้คนในสังคมยังอยู่รอด

92830119_1694949837319016_112408627100254208_n

ผมเป็นคนที่ซื้อของออนไลน์ ใช้บริการ Food delivery และบริการชำระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile wallet มาตลอด ใช้เป็นประจำและแทบทุกแพลตฟอร์มเป็นเวลามานานแล้ว ซึ่งวิกฤติโควิด-19 ทำให้การซื้อออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล เพราะผู้บริโภคถูกบังคับให้จำเป็นต้องมาใช้บริการออนไลน์เหล่านี้ ดังนั้นพอผมต้องทำงานจากที่บ้าน และอยู่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลานานๆก็เลยไม่ค่อยมีปัญหากับการปรับตัวใช้เทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้

นอกจากนี้วิกฤติครั้งนี้ทำให้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะมาทำลาย (disrupt) รูปแบบธุรกิจเดิมๆหรือที่เราเรียกว่า Digital disruption มาถึงเร็วขึ้นกว่าที่คิดมาก ซึ่งจะมีผลทำใหเกิดการลดคนงานจำนวนมากและถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี และธุรกิจจำนวนมากจะล้มหายตายจากไป โดยอาจถูกแทนที่ด้วยธุรกิจแพลตฟอร์มต่างๆแบบ Grab, Alibaba หรือ Lazada

ในทฤษฎีของธุรกิจแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง จะมีแนวคิดที่ว่า Winner take all กล่าวคือรายใหญ่จะเป็นผู้ครองตลาดเกือบหมด ด้วยความที่มีข้อมูลของลูกค้าและพาร์ทเนอร์จำนวนมาก จึงมีความสามารถในการทำ Data analytics และมีระบบเทคโนโลยีต่างๆที่อยู่เหนือคู่แข่ง ดังนั้นในธุรกิจแบบนี้เรามักจะเห็นการเข้าสู่ตลาดของแพลตฟอร์มต่างๆด้วยการทุ่มเงินมหาศาลในการซื้อลูกค้าหรือซื้อพาร์ทเนอร์ ทั้งใช้วิธีลดแลกแจกแถม ยอมขาดทุน แล้วทำให้รายเล็กอื่นๆ ตลอดจนธุรกิจในรูปแบบเดิมๆล่มสลายไป จากนั้นเมื่อตัวเองเป็นผู้ชนะแล้ว ก๋อาจจะใช้การผูกขาดทางการค้ามาเอาเปรียบพาร์ทเนอร์หรือลูกค้าได้ในอนาคต

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นบริษัทใหญ่หลายๆรายที่มีเงินทุนจำนวนมากจะเข้ามาทำธุรกิจแพลตฟอร์ม จะแสดงงบการเงินที่รายงานไปย้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่เป็นตัวเลขขาดทุนอย่างต่อเนื่องกันมาหลายปี บางรายปีละเป็นพันล้านบาท การทำธุรกิจไม่ได้สร้างเงินภาษีให้กับประเทศไทย บางรายก็แทบไม่ได้สร้างงานอะไรให้กับสังคมไทย แถมยังไปเอาเปรียบรายย่อยเมื่อแพลตฟอร์มตัวเองเริ่มผูกขาด หลักการของแพลตฟอร์มต่างก็เน้นที่การผูกขาดทางการค้า คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่จะร่ำรวยขึ้นมา แต่ร้านค้าและบริษัทเล็กๆจำนวนมากก็อาจล่มสลาย และเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

ดังจะเห็นได้ว่าช่วงนี้แพลตฟอร์มส่งอาหารหลายรายก็เริ่มขึ้นราคากับคู่ค้า และเป็นโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจโตขึ้น แม้ทางบริษัทยังจะบ่นว่าขาดทุนต่อ แต่คนที่น่าสงสารก็คือร้านค้าที่อาจต้องปิดไปเพราะอยู่ไม่ได้จากต้นทุนที่ถูกสูงขึ้นเพราะแพลตฟอร์มขึ้นราคาค่าบริการ และลูกจ้างอีกจำนวนมากที่อาจต้องตกงาน  รวมถึงผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อแพลตฟอร์มผูกขาดตลาดสามารถขึ้นราคาตามใจชอบได้

ผมอยู่ในอนุกรรมาธิการการพาณิชย์วุฒิสภาซึ่งได้ปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ เรื่องการผูกขาดและการเอาเปรียบทางการค้าของแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ใช่แค่ร้านค้าเริ่มอยู่ไม่ได้ แต่ยังมีผลมาถึงธุรกิจ logistic ในประเทศที่ถูกเอาเปรียบ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไข ซึ่งผมได้เรียนคณะกรรมาธิการว่าเราควรเริ่มศึกษาแนวทางที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงนี้คือเรื่องของตลาดชุมชนออนไลน์ (Community E-commerce) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภตในอนาคต

Screenshot 2020-04-26 13.26.12

Screenshot 2020-04-26 13.25.38

เราเริ่มต้นเห็นจากศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งมาทำตลาดออนไลน์ทั้ง จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ด้วยการสร้างกลุ่ม Facebookให้ฝากประชาสัมพันธ์สินค้าตัวเอง  ซึ่งก็เริ่มขยายผลไปอีกหลายแห่ง ผมเองก๋ร่วมกลุ่มย่อยอย่างศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น และ ตลาดออนไลน์ชาวกันเกราของม.อุบลราชธานี และก็เห็นเพื่อนๆหลายคนก็ไปสั่งสินค้าเช่นมังคุดมาจากศิษย์เก่าที่ส่งมาทาง EMS จนผู้ขายสามารถขาได้หมดด้วยเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังมี อบจ. และเทศบาลอีกหลายๆแห่งที่ทำ Facebook หรือ Line แบบง่ายๆในการซื้อขายสินค้า ซึ่งเรากำลังเริ่มเห็นว่า เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังจะเชื่อมให้ผู้ผลิตต้นทางสามารถติดต่อได้โดยตรงกับผู้ซื้อปลายทาง โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือใช้แพลตฟอร์มใหญ่ๆในรูปแบบเดิมๆ

ตัวอย่างสินค้าที่ขายในตลาดออนไลน์ชุมชนในต่างจังหวัด

94841920_224351672336274_5512710731960680448_n

Line กลุ่มตลาดออนไลน์์ในหมู่บ้าน

ตัวผมเองช่วงนี้ก็เน้นใช้ Line กลุ่มของหมู่บ้านและบริเวณใกล้ๆ 3-4 กลุ่มในการสั่งอาหารและสินค้า ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีสมาชิกกันประมาณไม่เกิน 500 คนเราสามารถสั่งอาหารจากร้านในชุมชน บางทีตามบ้านก็ทำขายเป็นรายได้เสริม บางคนก็ไปสั่งสินค้าอื่นๆและผลไม้มาขาย บ้างก็รับไปซื้ออาหารอร่อยๆมาให้ทานโดยขอเพิ่มค่ารถเล็กน้อย มันคือระบบอีคอมเมิร์ซชุมชน ทำกันง่ายๆ ผู้ขายก็มาโพสต์ข้อความสั้นๆทุกวัน พวกเราในชุมชนก็มาซื้อในราคาที่ย่อมเยา ไม่ต้องไปเสียค่าบริการมากมายให้กับแพลตฟอร์มใหญ่ๆ ไม่ต้องมีการทำ Data analytics มากมายเพราะมันเป็นเพียงตลาดชุมชนเล็กๆของแต่ละชุมชม สุดท้ายก็กลับมาเป็นวัฒนธรรมแบบเดิมของสังคมชุมชนในที่ต่างๆ

การเกิดของตลาดชุมชนออนไลน์เป็นไปตามธรรมชาติ เกิดมาจากการที่ชุมชนและสังคมต้องการจะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สุดท้ายถ้าเราให้การสนับสนุนเรื่องนี้ดีพอ เราอาจเห็นตลาดชุมชนออนไลน์ต่างๆมากมายเป็นหมื่นๆเป็นแสนๆแห่ง เป็นเสมือนตลาดนัดตลาดสดแบบเดิมที่เราเคยทำแบบ Physical  แม้จะไม่ใช่แฟลตฟอร์มใหญ่โต แม้จะไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน และอาจไม่เกิดหลักการ Winner take all แต่สำคัญที่สุดทุกๆคนอยู่ได้ ธุรกิจไม่เกิดการล่มสลาย หลายๆคนยังมีงานมีรายได้ จากการเกื้อกูลกันของคนในสังคม

ใช่ครับวันนี้มาช่วยๆกันสนับสนุนตลาดชุมชนออนไลน์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ทุกคนในสังคมไทยอยู่ได้

ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC institute

 

 

การประชุมออนไลน์กำลังกลายเป็น New Normal แต่วิธีบริหารการประชุมยังเป็นสิ่งสำคัญสุดไม่ได้อยู่ที่ซอฟต์แวร์

92830119_1694949837319016_112408627100254208_n

แม้ผมจะทำงานในหลายๆแห่งทั้งที่สถาบันไอเอ็มซีและเป็นกรรมการในหน่วยงานต่างๆหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ผมเป็นคนที่ไม่มีโต๊ะทำงานประจำและคุ้นเคยกับการทำงานที่ไหนก็ได้ ผ่านคอมพิวเตอร์หรือแทปเล็ต รวมถึงการประชุมออนไลน์บ่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากเคยทำงานบริษัทต่างชาติก็เลยคุ้นเคยกับการทำ Conference Call หรือ Video Call ผ่านระบบต่างๆทั้ง WebEx, Google Hangout, Facebook หรือแม้แต่ Zoom ก็เริ่มใช้เมื่อต้องคุยกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติมาหลายปีแล้ว

ดังนั้นเมื่อผมต้องทำงานจากที่บ้าน WFH จึงไม่ได้เป็นปัญหาและอุปสรรคอะไรเลย เพราะผมคุ้นเคยกับเครื่องมือต่างๆเหล่านี้ตลอด และข้อสำคัญเป็นคนที่ไม่ยึดติดอยู่กับกระดาษ เอกสารต่างๆนิยมที่จะเก็บไว้บนระบบคลาวด์เนื่องจากไม่มีออฟฟิศประจำจึงจำเป็นจะต้องสามารถค้นหาเอกสารจากที่ไหนก็ได้ หรือจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงและดีใจกับการทำงานแบบ WFH รอบนี้คือ หน่วยงานต่างๆและผู้คนก็หันมาทำงานในรูปแบบเดียวกันกับผม มีการประชุม e-Meeting เพื่อหารือแลกเปลี่ยนในเรื่องต่างๆ การทำเอกสารบนระบบคลาวด์ ทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นและได้งานมากขึ้น

ในช่วงเดือนที่ผ่านมาผมได้มีการเข้าประชุม e-Meeting กับหลายๆหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีตั้งแต่การประชุมในหน่วยงานที่ผมเป็นกรรมการอยู่อาทิเช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อนุกรรมาธิการวุฒิสภา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)  สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) รวมถึงการประชุมบอร์ดบริษัทมหาชนต่างๆอาทิเช่น บริษัททุนธนชาต (TCAP) รวมถึงการประชุมในการทำโครงการต่างๆกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของสถาบันไอเอ็มซีในการทำโปรเจ็คด้าน Big Data ซึ่งในการประชุมในแต่ละหน่วยงานก็มีการใช้เครื่องมือที่ต่างกันทั้ง Zoom, Microsoft Team และ WebEx

วิกฤติโควิด-19 ทำให้ทุกคนมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น การประชุม e-Meeting เริ่มกลายเป็น New Normal จากที่เราเคยคิดว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ก็กลับพบว่าผู้ใหญ่หลายท่านมีความสามารถในการใช้เครื่องมือในการประชุมเป็นอย่างดี ทำให้การทำงานที่ต้องมีการประชุมที่สำคัญต่างๆไม่หยุดชะงัก และสามารถเปลี่ยนการประชุมจากรูปแบบเดิมมาเป็นออนไลน์ บางครั้งเป็นการประชุมบอร์ดที่ต้องมีการอนุมัติงบประมาณ การแต่งตั้งผู้บริหารหรือพนักงานต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องยึดประกาศการประชุม e-Meeting ของ คสช. เพื่อให้การประชุมมีผลถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งฝ่ายเลขานุการและผู้เข้าร่วมประชุมก็สามารถปฎิบัติได้เป็นอย่างดี

จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกประการในแง่ของกฎหมายคือเมื่อวันที่ 19เมษายนที่ผ่านมาทางรัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุม e-Meeting ใหม่โดยยกเลิกประกาศ คสช.เดิมแลัวก็ได้ปลดล็อกข้อกำหนดบางอย่างที่เดิมเคยเป็นอุปสรรคต่อการประชุมออนไลน์อาทิเช่น องค์ประชุม 1 ใน 3 ต้องอยู่ในที่เดียวกัน หรือการที่เดิมกำหนดว่าผู้เข้าประชุมออนไลน์ต้องอยู่ในประเทศไทย จากการออกกฎหมายใหม่นี้ทำให้การประชุมเป็นทางการของหน่วยราชการ การประชุมบอร์ดบริษัทต่างๆ หรือการประชุมที่จะมีผลผูกพันทางกฎหมายสามารถทำได้ง่ายขึ้น ผู้เข้าประชุมทุกคนสามารถจะอยู่ที่ไหนก็ได้แล้ว และก็สามารถที่จะจัดการประชุมออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆที่สามารถบันทึกการประชุมได้โดยง่ายขึ้น

แต่กระนั้นก็ตามหลายๆคนก็ยังกังวลกับเทคโนโลยีที่จะใช้ในการประชุม ยิ่งมีข่าวว่าระบบการประชุมอย่าง Zoom ขาดตามปลอดภัยอาจถูกแฮก ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูลผู้ใช้งานให้ Facebook หรือแม้แต่ข่าวเรื่อง Zoom มี bugs ที่ทำให้ถูกขโมยรหัสผ่าน Windows ได้ และ การถูกแฮกเกอร์เข้ามาป่วนการประชุม (Zoombombing) ก็ทำให้คนกังวลในการเลือกหาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการประชุม บ้างก็พยายามเปรียบเทียบว่าเทคโนโลยีใดจะเหมาะสมกว่ากัน

93124204_10222640155580922_2967274071651254272_n

สถานการณ์โควิดทำให้เทคโนโลยี e-Meeting โดยเฉพาะ Zoom ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่ง Zoom ออกมาเมื่อหลายปีก่อนเพื่อการประชุมแบบสาธารณะตั้งใจให้ใช้ง่าย มีการแชร์หมายเลขประชุมง่าย ซึ่ง Zoom ก็อาจจะมองข้ามไปในเรื่องความปลอดภัยจึงทำให้ระบบมีช่องว่าง การโตขึ้นอย่างกระทันหัรทำให้ช่วงแรก Zoom ปรับตัวให้ใช้กับองค์กรไม่ทัน แต่ล่าสุด Zoom ก็ได้แก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้หมดไป ทั้งการตัด Feature ด้านการปล่อยให้เข้าประชุมได้โดยง่าย การไม่ได้เข้ารหัส Encryption แบบ 100% การส่งข้อมูลผู้ใช้งานให้ Facebook การมี bugs ที่ทำให้ถูกขโมยรหัสผ่าน Windows และการถูกแฮกเกอร์เข้ามาป่วนการประชุม ประกอบกับการที่ Zoom สร้างนโยบายความเป็นส่วนตัว (privacy data) ให้ชัดเจนมากขึ้น จึงทำให้ผู้ที่มีความเข้าใจด้านการใช้โปรแกรม Zoom  คลายความกังวลไปได้ และก็พบว่าซอฟต์แวร์การประชุม e-Meeting ที่มีอยู่ทั่วไปก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก

จริงๆแล้วจากประสบการณ์ผมปัจจัยที่สำคัญสุดในการประชุมออนไลน์ที่ดีคือ การบริหารการประชุม การมีวินัยและมีมารยาทของผู้ร่วมประชุม มากกว่าเรื่องของเทคโนโลยีเสียด้วยซ้ำไป เลขานุการในที่ประชุมต้องเข้าใจการบริหารการประชุมที่ดีเช่น การให้ผู้เข้าประชุมแสดงตัวตน ประธานในที่ประชุมก็ต้องควบคุมผู้เข้าประชุมพูดอยู่ในประเด็นและทำให้การประชุมเข้าประเด็นมีความกระชับไม่เนิ่นนานเกินไป ผู้เข้าประชุมก็ต้องแสดงตัวตน มีการเห็นหน้าเปิดกล้องของผู้เข้าประชุมชัดเจนตลอดเวลาประชุม มีการแสดงตัวชัดเจน มีการนำเสนอประเด็นที่ดีให้ได้ใจความ ไม่พูดออกนอกประเด็นและมีมารยาทในการประชุมทีดี

หลายๆองค์กรห่วงแต่เรื่องเทคโนโลยี ห่วงว่าจะการประชุมขาดความปลอดภัย ต้องหาซอฟต์แวร์ e-Meeting ที่เป็น End-to-end encryption มาใช้ ทั้งๆที่ซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวที่มีอยู่ในปัจจุบันก็อาจไม่มีตัวใดที่ราคาถูก และถ้าเราจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆที่มีอยู่ก็จะมีจุดอ่อนพอๆกัน สำคัญสุดอย่าใช้ประชุมเรื่องที่มีความลับแนะนำว่าถ้าลับ ก็ควรปิดห้องประชุมและ Face to face เท่านั้น (แบบนั้นบางทีก็ยังรั่วออกมา) จากประสบการณ์ที่ผมการประชุม e-Meeting ส่วนใหญ่ไม่มีอะไรเป็นความลับมากหรอกครับ ยิ่งถ้าใช้การเรียนการสอนแทบไม่ต้องมีข้อกังวลใช้ได้ทุกตัวละครับทีคิดว่าเหมาะสม อุดหนุนระบบของคนไทยได้ยิ่งก็ดี

บางองค์กรถกเถียงกันใหญ่โตว่าจะใช้เครื่องมืออะไรดี แต่สุดท้ายโน๊ตบุ้คหรือมือถือพนักงานทั้งใช้เล่น Facebook, Social media หรือลงโปรแกรมอื่นๆ ท่องเว็บดูหนังฟังเพลง เล่นเกมส์ เต็มไปหมด แต่กลับมาห่วงเรื่องนี้ ทั้งๆที่องค์กรไม่เคยมีนโยบายป้องกันหรือห้ามการลงซอฟต์แวร์ใดๆในเครื่อง วันนี้สำคัญสุดคือให้งานเริ่มเดินต่อเนื่องให้ได้ก่อนครับ อะไรที่เป็นความลับมากก็ยังต้องไปประชุมร่วมกันแบบปกติ

สุดท้ายสำคัญสุดการประชุมที่ดีไม่ว่าจะประชุมแบบปกติหรือออนไลน์ ไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือแต่อยู่ที่คนและการบริหารจัดการประชุม มากกว่า เทคโนโลยีคือประเด็นรองลงมาก และสำคัญสุดก็คือมารยาทและวินัยของผู้ร่วมประชุม

ธนชาติ นุ่มนนท์

สถาบันไอเอ็มซี

การคัดกรองเงินเยียวยา 5,000 บาท อย่าโยนความผิดให้เอไอ

92647706_1688579801289353_3995388160258342912_n

การคัดกรองเงินเยียวยา 5,000 บาท ไม่ว่าจะใช้ระบบอะไรก็ตาม จะเป็น AI หรือ rule-based ก็ต้องใช้ข้อมูล ถ้าจะทำระบบได้ดีต้องมี Big Data จริง และที่สำคัญยิ่งต้องมีข้อมูลของแต่ละคนที่เป็น Velocity ที่ไหลต่อเนื่องเข้ามา ต้องมีข้อมูลของแต่ละคนที่ update ตลอดเวลา ดังนั้นการพิจารณากลั่นกรองโดยใช้คอมพิวเตอร์สำคัญสุดคือต้องมีข้อมูลของแต่ละรายจำนวนพอควร

ซึ่งระบบคัดกรองก็คงต้องไปเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลต่างๆ ทั้งข้อมูลกรมสรรพากร ข้อมูลบัตรประชารัฐ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลประกันสังคม ข้อมูลกยศ. ข้อมูลสถาบันการศึกษา ข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ข้อมูลกรมขนส่งทางบก คำถามที่น่าสนใจคือรัฐบาลมีการเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้หมดไหม หรือข้อมูลของแต่ละคน update แค่ไหน มี velocity มาบ่อยไหม

ในฐานะที่ผมมีโอกาสทำงานพัฒนาระบบข้อมูลให้หลายหน่วยงาน เคยเห็นข้อมูลสำมะโนอุตสาหกรรม ข้อมูลกรมพัฒนาการค้า ข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ ข้อมูลประกันสังคม ข้อมูลศุลกากร และอีกหลายอย่าง ต้องยอมรับว่าบ้านเราเชื่อมโยงข้อมูลยาก แต่ก็มี Linkage center อยู่ ที่สำคัญสุดคือข้อมูลส่วนใหญ่ขาด Velocity ไม่ค่อยมีข้อมูลเข้าบ่อยนัก จึงไม่ค่อยแปลกใจเรื่องการจะได้ข้อมูลทีสมบูรณ์จริงๆว่าทำได้ยากพอควร

กรณีที่ผู้ยื่นขอเงินเยียวยาถูกปฏิเสธแล้วระบุว่า มีอาชีพอย่างอื่น ก็อาจต้องไปย้อนคิดดูว่าเขาเคยมีข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเหล่านั้นไหม ครอบครัวเคยลงทะเบียนเกษตรกรไหม เคยใช้สวัสดิการอย่างอื่นไหม หรือเคยขอเงินสวัสดิการบัตรประชารัฐแล้วกรอกอาชีพอย่างไร ก็ในเมื่อข้อมูลเก่ายังอยู่ในระบบก็ไม่แปลกที่ถูกปฎิเสธในเบื้องต้น

1__dqj-clbsydd4jfdhEWOig

ระบบคอมพิวเตอร์มันไม่ได้วิเศษอะไรมากมายหรอกครับถ้าไม่มีข้อมูล  มันทำงานตามข้อมูลที่มีอยู่ ข้อมูลที่เราไปกรอกหรือข้อมูลที่เราอัพเดท อย่าไปโทษว่าระบบเอไอคัดกรองข้อมูลแย่อย่างเดียว โปรแกรมมันก็ทำงานตามคำสั่งมนุษย์ คนต่างจังหวัดจำนวนมากเมื่อเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ทะเบียนก็ยังอยู่ต่างจังหวัดไม่เคยให้ข้อมูลใดๆว่าตอนนี้ทำอะไร บางคนญาติที่ต่างจังหวัดยังไปลงทะเบียนรับสิทธิ์อื่นๆเต็มไปหมด ทั้งเงินช่วยเกษตรกร เงินบัตรสวัสดิการประชารัฐ ทำให้ข้อมูลตัวเองไปอยู่ในฐานข้อมูลระบบอื่นๆ

หลายๆคนอาจประกอบอาชีพอิสระแต่ที่ผ่านมาก็อาจไม่เคยมีข้อมูลใดเข้าสู่ระบบของรัฐ ไม่เคยจดทะเบียนการค้า ไม่ลงทะเบียนพาณิชย์ ไม่เคยใช้ระบบออนไลน์ในการชำระเงิน บ้างก็กลัวเรื่องการจ่ายภาษี บ้างก็อาจติดปัญหาส่วนตัว สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่มีข้อมูลคนเหล่านั้นอยู่ในระบบเลย

ยิ่งถ้าเขาไม่มีข้อมูลอื่นๆในระบบเลย ก็ไม่น่าแปลกใจ ที่ระบบจะตอบกลับมาว่าไม่มีข้อมูล จะให้พิจารณาเฉพาะเอกสารที่กรอกคงไม่พอ ต้องหาข้อมูลในระบบอื่นมายืนยัน เพื่อความถูกต้อง ต้องเห็นใจระบบของรัฐที่ไม่มีข้อมูลของกลุ่มคนอาชีพอิสระจำนวนมากที่ต้องการเยียวยา หลายคนไม่เคยอยู่ในระบบภาษี ไม่เคยอยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบสวัสดิการอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่ได้คำตอบว่าไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ดังนั้นอย่าโยนความผิดให้เอไอเลยครับ บางครั้งก็เป็นความผิดที่คนละครับ อาจผิดพลาดทั้งภาครัฐและตัวเราเอง ถ้าสังคมโปร่งใส มีข้อมูลทุกอย่างถูกต้องมาตลอด เราเองเข้าระบบเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลภาครัฐก็จะแม่นยำ ภาครัฐเองก็อาจต้องรวบรวมข้อมูลบ่อยๆอย่างต่อเนื่อง

เมื่อไม่มีข้อมูล สุดท้ายแล้วการตรวจสอบที่ถูกต้องก็ต้องเปลี่ยนจากระบบคอมพิวเตอร์มาเป็น manual ใช้คนเข้ามาตรวจสอบ สัมภาษณ์ ดูสถานที่จริง เหมือนเวลาธนาคารที่จะปล่อยสินเชื่อคนบางกลุ่มก็ต้องใช้วิธีนี้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะต้องการช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนจริงๆแค่ไหน สุดท้ายแล้วเราก็สามารถช่วยคนเดือดร้อนจริงที่ถูกปฏิเสธถ้าเปลี่ยนระบบเอไอตามที่เลือกมาใช้คนประเมินแทน

สุดท้ายหลังจากงานนี้ เมื่อเรามีรายได้ กลับเข้าทำงาน ทุกคนก็ต้องควรเข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง ลงทะเบียนตามอาชีพจริง ชำระภาษีให้กับรัฐบาลให้ครบถ้วน ถ้าเราหวังว่าจะให้ประเทศช่วยเรา เราก็ต้องทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศเช่นกัน อย่าเพียงแต่หวังให้ประเทศช่วยเรายามที่เราเดือดร้อน

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

วิกฤติโควิด-19: อย่าตกอยู่ใน Fear Zone แต่ควรก้าวเข้าสู่ Learning Zone และ Growth Zone

91982025_1687796244701042_140202412739657728_n (1)

ผมเห็นรูปนี้ที่แชร์กันมาซึ่งตั้งคำถามว่าเราจะเลือกอยู่ในกลุ่มใดในสถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้ ผมเชื่อว่าคนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะอยู่ในกลุ่ม Fear Zone อยู่ด้วยความกลัว กล่าวคือตื่นตระหนักในเรื่องต่างๆไปหมด ค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการระบาดและเชื้อโรค COVID-19 ติดตามข่าวสารต่างๆโดยเฉพาะจากสังคมโซเชียลปราศจากการกรองข้อมูลและเห็นข่าวก็รีบไปแชร์ กักตุนสินค้าอาหาร มองหาคนที่จะตำหนิด่าว่าทั้งรัฐบาลหรือทุกภาคส่วนว่าไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้

91839973_10215761889511472_7893494138736214016_o

กลุ่มที่สองคือพวก Learning Zone คือกลุ่มคนที่จะเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน เลิกที่จะบริโภคข่าวสารที่ทำให้เกิดอาการจิตตก ให้กำลังใจกับคนทำงานและยอมรับสถานการณ์ที่อาจทำให้ชีวิตอยากลำบากขึ้น ไม่ใช้ชีวิตให้ว่างเปล่ารวมถึงมองหาโอกาสใหม่ๆในการทำงาน

กลุ่มที่สามคือพวก Growth Zone คือกลุ่มคนที่เห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะช่วยผู้อื่นจากทักษะที่ตัวเองมีอยู่ ใช้ชีวิตในวันนี้โดยมีภาพอนาคตข้างหน้าที่ชัดเจน ไม่ได้อยู่รอคอยความหวังแค่วันนี้ให้หมดไปแต่มองโลกในแง่บวก ถามตัวเองเสมอว่าจะทำให้วันนี้ให้เป็นอย่างไรเพื่อวันข้างหน้า สุดท้ายมองทุกอย่างด้วยความหวังและมีความคิดสร้างสรรและผมที่จะเผชิญปัญหาต่างๆด้วยความท้าทาย

แม้วิกฤติโควิดนี้จะกระทบต่อสถาบันไอเอ็มซีอย่างมากจากการที่เราต้องงดงานอบรมและสัมมนาแทบทั้งหมด แต่ผมบอกกับน้องๆทุกคนว่า จากวิกฤตินี่ละครับคือจุดที่ทำให้เราต้องเปลี่ยน เราเคยคิดว่าจะต้องปรับองค์กรในหลายๆเรื่องเพื่อที่ไปสู่บริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ วิกฤตินี้คือตัวเร่งที่ทำให้เราต้องไปโดยทันทีเรายังมีโอกาสเรามีหวัง วางแผนไปข้างหน้า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ใช้เวลาในวันนี้ให้มีค่า แต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว วันนี้เป็นการสอนบทเรียนให้ทุกคนเข้มแข็งและอยู่กับมันครับ

เราปรับองค์กรหลายๆอย่างเน้นโดยตอนนี้ไปงานโปรเจ็ค Big Data ที่เราทำให้องค์กรต่างๆมากขึ้น เน้นโครงการวิจัยการตลาดไอที รวมถึงปรับทักษะน้องๆให้มีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น เราปรับการอบรมและการสัมมนามาอยู่ในรูปออนไลน์สอนกันสด โดยเรียกว่า Interactive Online Training  หลายๆวิชา ผู้เข้าอบรมอยู่ที่ไหนก็ได้ เริ่มเปิดหลักสูตรออนไลน์ แต่ขณะเดียวกันเราก็ใช้โอกาสเหล่านี้จัด Free Webinar หลายๆครั้งเพื่อให้ผู้คนสามารถที่จะต่อสู้และปรับตัวกับวิกฤติครั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

สุดท้ายนี้ผมเชื่อครับว่าถ้าเราพยายามทำตัวอยู่ใน Growth Zone ทุกคนจะฝ่าฟันวิกฤตินี้แล้วเราจะโตขึ้นอย่างแข่งแกร่งขึ้นจากบทเรียนในวันนี้

ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC Institute

92647706_1688579801289353_3995388160258342912_n91594059_1684015278412472_5480682666913169408_o

โลกหลังยุคโควิด (Post-COVID era) จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

91618641_1684893861657947_6150479015678312448_n

ในตอนที่แล้วผมเขียนไว้ว่า โลกยุคหลังโควิด (Post-COVID era) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ดังนั้นธุรกิจและผู้คนในวันนี้จะคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะมาคิดเพียงว่า รอให้หลังสิ้นสุดการระบาดของโควิด-19 ก่อน แล้วค่อยว่ากัน จะคิดแค่ว่าวันนี้แค่ประคองทำธุรกิจและการทำงานแบบเดิมเอาตัวให้รอดก่อนคงไม่พอแล้ว หรือจะคิดเพียงว่าวันนี้การพักผ่อนไม่มีงานทำอยู่บ้านก็ดป็นการช่วยชาติแล้วก็อาจไม่ได้แล้ว เพราะถ้าวิกฤตินี้ลากยาวไปเราคงเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่เราต้องเริ่มปรับตัวในวันนี้ี โดยถ้ามองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบมาจากด้านเทคโนโลยีจะพอเห็นประเด็นที่สำคัญดังนี้

ออฟฟิศที่ทำงานจะไม่เหมือนเดิม

ในอดีตองค์กรต่างๆจะเน้นการทำงานแบบ Physical office ที่ทำงานมีพื้นที่ใหญ่โต ต้องเช่าตึก เช่าห้องทำงาน ห้องผู้บริหารกว้างขวาง ต้องมีสถานที่ให้ผู้คนมาติดต่อ แต่เมื่อเราเขาสู่ยุคโควิดจะเห็นได้ชัดว่า ที่ทำงานของทุกคนเปลี่ยนไปกลายเป็น Virtual office เราไม่ต้องการที่ทำงานใหญ่โต แต่ทุกคนทำงานจากที่ไหนก็ได้โดยเฉพาะจากที่บ้าน คนจะเข้ามาติดต่อออฟฟิศก็น้อยลง เราไม่ต้องการห้องประชุมแต่เราสามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการประชุมออนไลน์เห็นหน้ากัน เราไม่จำเป็นจะต้องมีการใช้เอกสารมากมายแบบเดิม เราไม่สามารถที่จะส่งกระดาษกันได้ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัล  ซึ่งการทำงานในยุคโควิดจะทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการทำงานในรูปแบบนี้

หลังจากยุคโควิดเราอาจเริ่มเห็นหน่วยงานต่างๆลดขนาดออฟฟิศลง ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากเท่าเดิม ผู้บริหารไม่จำเป็นจะต้องมีห้องทำงานใหญ่โต คนในที่ทำงานสามารถประชุมและติดต่อกับลูกค้าผ่านระบบออนไลน์ได้โดยง่าย การเดินทางก็จะน้อยลง พนักงานบริษัทก็จะมีเวลาในการทำงานมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการเช่าออฟฟิศ การเดินทางของพนักงาน การทำเอกสาร ก็จะเปลี่ยนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าระบบซอฟต์แวร์ ระบบคลาวด์ต่างๆทั้งการเก็บข้อมูล เช่าระบบการประชุมออนไลน์ การจะจัดสัมมนาหรือจัดประชุมใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องไปเช่าห้องประชุมหรือโรงแรม แต่ก็สามารถจัดผ่านระบบออนไลน์

คนทำงานจะต้องมีทักษะและวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป

ในอดีตคนทำงานจะเน้นเลือกทำงานในหน่วยงานที่มีความมั่นคง และอาจทำงานให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไปตลอดชีวิตของการทำงาน โลกของการทำงานหลังจากยุคโควิดจะกลายเป็นว่า ผู้คนจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ เพื่อนร่วมงานอาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก และหน่วยงานอาจไม่ได้สนใจว่าเขาทำงานในลักษณะใดตราบใดที่ยังสามารถทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ องค์กรต่างๆก็อาจจะจ้างคนเป็นการชั่วคราวขึ้นอยู่กับความต้องการในช่วงนั้น

คนทำงานเองก็สามารถทำงานให้กับหลายองค์กรได้ในช่วงเวลาพร้อมกันตราบใดที่สามารถส่งงานให้กับผู้ว่าจ้างได้ตามเป้าหมาย โดยคนทำงานต้องมีทักษะในการด้านดิจิทัลที่ดี มีความสามารถในการทำงานออนไลน์ สามารถทำงานออนไลน์ร่วมกันกับผู้ร่วมงานได้ มีทักษะการค้นข้อมูล และการสื่อสารออนไลน์ที่ดี ตลอดจนมีความสามารถเฉพาะในบางด้าน แม้แต่การสัมภาษณ์เข้าทำงานในอนาคตก็อาจเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำ Video conference  และไม่แน่ว่าต่อไปลูกจ้างกับนายจ้างบางบริษัทอาจไม่เคยเจอหน้ากันจริงๆเลยตลอดระยะเวลาที่ทำงานร่วมกัน

Screenshot 2020-04-05 15.29.38

(รูปภาพจาก https://allwork.space/)

อาชีพบางอย่างอาจจะหายไป

วิกฤติโควิดเป็นตัวเร่งทำให้เกิด Digital disruption ทำให้ผู้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ต้องสร้างระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทำให้ธุรกิจหลายอย่างที่ดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงักในเวลานี้ ยิ่งสิ่งที่ไม่จำเป็นและสามารถทดแทนด้วยระบบดิจิทัลก็อาจส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในยุคหลังโควิด ตัวอย่างเช่นธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ ซึ่งก็จะมีผลทำให้อาชีพบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเหล่านี้ลดหายไปด้วยเช่น แผงขายหนังสือพิมพ์ คนส่งหนังสือพิมพ์

ยังมีอีกหลายๆอาชีพที่อาจส่งผลกระทบ เช่นธุรกิจจากการท่องเที่ยวที่คนชะลอการเดินทาง และเมื่อพ้นวิกฤติคนก็อาจจะคุ้นเคยกับการจองตั๋วหรือที่พักเอง อาชีพไกด์ เอเจนท์บางด้านก็อาจจะลดลงไป งานด้านเอกสารก็เช่นกัน งานถ่ายเอกสาร งานพิมพ์เอกสารต่างๆก็จะลดลงไป โดยเฉพาะอาชีพใดก็ตามที่ให้คนต้องมาเจอกันสัมผัสกันก็อาจหายไป ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะรวมถึงอาชีพของคนขายล็อตเตอรี่ไหมถ้าเกิดระบบล็อตเตอรี่ออนไลน์ขึ้นมาเนื่องด้วยผู้คนไม่อยากจับกระดาษ ตลอดจนอาชีพบริการอีกหลายๆอย่างที่อาจสูญหายไป

การเรียนการสัมมนาจะมุ่งสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น

ภาคการศึกษาจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูก Disrupt ไปมากที่สุดจากวิกฤติของโควิด ผู้คนจะคุ้นเคยกับการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนอาจไม่จำเป็นจะต้องพึ่งสถานศึกษาหรือผู้สอนแบบเดิมๆ แต่สามารถจะเรียนกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ตราบใดที่ผู้เรียนมีความรู้จริงๆ การวัดผลก็อาจเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นการสอบออนไลน์ที่อาจต้องเน้นวิธีวัดผลอย่างต่อเนื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่ข้อสอบปรนัยแบบง่ายๆเพียงแค่ครั้งหรือสองครั้ง และเมื่อวิธีการทำงานในอนาคตเปลี่ยนไป องค์กรต่างๆก็อาจไม่คาดหวังในปริญญาบัตรจากผู้สมัครเข้าทำงานในรูปแบบเดิมๆ แต่อาจสนใจที่จะแสวงหาคนทำงานที่มีสามารถจริงเข้ามาทำงานเป็นครั้งคราวโดยคนนั้นอาจเรียนผ่านระบบออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ ที่องค์กรมีความมั่นใจ

แม้แต่การจัดสัมมนาหรือการจัดงานต่างๆที่เคยต้องหาสถานที่ใหญ่โตในการจัด ต้องมีพิธีเปิดปิดก็อาจเปลี่ยนมาสู่การจัดออนไลน์ มีการทำ Webinar แทนและผู้คนสามารถร่วมงานได้หลายพันคน รวมถึงอาจมีการใช้เทคโนโลยีอย่าง AR/VR เข้ามาช่วยในการสัมมนาและการเรียนการสอนมากขึ้น คนทำงานเองก็สามารถที่จะเพิ่มทักษะตัวเองได้ตลอดเวลาผ่านการเรียนระบบออนไลน์

ระบบการชำระเงินออนไลน์จะกลายเป็น New normal

ที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามผลักดันให้มีการใช้ระบบการชำระเงินออนไลน์ในรูปแบบทั้ง PromtPay, Mobile banking, Internet banking หรือ Mobile payment แต่การใช้งานก็ยังอยู่ในวงจำกัดกันแค่คนบางกลุ่มหรือคนรุ่นใหม่ แต่การเกิดวิกฤติโควิดครั้งนี้ ทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์มากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะไม่อยากที่จะสัมผัสเงินสด ยิ่งมีการให้คนจำนวนมากมาลงทะเบียบรับเงินเยียวยาและจ่ายเงินผ่านระบบ PromptPay ของภาครัฐ ก็ยิ่งจะทำให้การทำธุรกรรมชำระเงินออนไลน์กลายเป็น New normalในสังคมไทย

ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและบริการด้านดิจิทัลจะเติบโตขึ้น

วิกฤติโควิดทำให้ผู้คนไม่อยากออกจากบ้าน ผู้คนหันมาใช้บริการออนไลน์มากขึ้นทั้งในด้าน Food delivery, Online shopping หรือ Content streaming ซึ่งผู้คนก็จะคุ้นเคยกับการใช้งานบริการต่างๆเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลทำให้คนที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้มีโอกาสที่ดีขึ้น รวมถึงพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น พนักงานส่งสินค้า คนทำระบบไอที คนทำ Content

นอกจากนี้จะมีความต้องการใช้เทคโนโลยีไอทีมากขึ้น ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง 5G ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจทางด้านนี้มีการเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต

การใช้เทคโนโลยีเอไอจะมีความแพร่หลายมากขึ้น

วิกฤติโควิดทำให้ผู้คนในอนาคตตระหนักเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาด และ Social distancing ซึ่งจะทำให้มีการใช้ระบบเอไอเข้ามามากขึ้น ทั้งในการทำ Big data เพื่อคาดการณ์การแพร่ระบาด การติดตามการเดินทางของผู้คน การใช้ระบบ Facial recognition เพื่อลดการสัมผัส ทั้งในเรื่องของการเข้าสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อการทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนใช้ในการใช้เอไอเพื่อตัดสินใจการทำงานหลายด้านๆเช่น ด้าน HR หรือการมาใช้ในงาน Workflow ต่างๆเช่นระบบ RPA (Robot Process Automation) ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบออฟฟิศการทำงานไม่เหมือนเดิม จึงทำให้ต้องมีระบบออโตเมชั่นต่างๆมาช่วยในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหารออฟฟิศในรูปแบบเดิมๆก็จะถูกย้ายโอนสู่การลงทุนเทคโนโลยีมากขึ้น

ผู้คนจะยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น

วิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเราจะเห็นว่าในประเทศจีนมีระบบการติดตามข้อมูลการเดินทางและข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรจำนวนมากได้อย่างถูกต้องทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี แม้ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยจะพยายามเน้นการใช้บังคับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล แต่ด้วยวิกฤติของโรคระบาดทั้งในปัจจุบันและในอนาคตก็อาจจำเป็นที่จะต้องได้ข้อมูลของประชาชนเข้ามาในแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้แนวคิดเดิมๆในด้านนี้ต้องเปลี่ยนไป

จากที่กล่าวมาทังหมดนี้จะเห็นได้ว่า วันนี้แล้วถึงเวลาที่ทุกธุรกิจและผู้คนจะต้องเริืยนรู้และปรับตัวเข้าสู่ยุคโควิดและต้องเข้าใจว่าเมื่อหลังจากนี้ไปโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  1. สุดท้ายเราจะเห็นคำว่าโลก ‘ยุคก่อนโควิด’ และ’ยุคหลังโควิด’
  2. โลกยุคหลังโควิด กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดการณ์ได้

 

 

เทคโนโลยีเอไอและบิ๊กดาต้ากับวิกฤติไวรัสโคโรนา

83659568_1621204618026872_7301630267909734400_o

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไวรัสโคโรนา( 2019-nCoV) ได้ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วขึ้นก็เพราะทุกวันนี้โลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น คนเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับในปี 2003 ที่มีการระบาดของโรคซาร์สที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะกระจายไปในหลายสิบประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ในปัจจุบันผู้คนก็ยังมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันอย่างแพร่หลายทำให้ได้ข้อมูลต่างๆมาอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับในปี 2003 กว่าที่ทางองค์การอนามัยโลกจะทราบจำนวนผู้ติดเชื่อก็จะมีระยะเวลาในการส่งข้อมูลที่นานกว่านี้ และไม่มีข้อมูลที่สามารถเห็นการแพร่ระบาดได้เท่ากับในปัจจุบัน

ไวรัสโคโรนามีการระบาดอย่างหนักในประเทศจีน ซึ่งปกติจะถูกระบุว่าเป็นประเทศที่มีการเก็บข้อมูลของประชากรอยู่จำนวนมาก และเป็นประเทศที่มีนักวิจัยและคนวงการไอทีที่มีดวามสามารถในด้านเอไออยู่มาก จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะทางด้าน บิ๊กดาต้า และเอไอมาใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสในครั้งนี้

ข้อมูลการเดินทางของประชาชนในประเทศจีนถูกเก็บไว้หมด จึงทำให้รัฐบาลสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเดินทางไปไหนโดยเฉพาะเมืองที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของโรค มีข่าวว่าประชาชนบางคนที่เดินทางไปยังอู่ฮั่น ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของไวรัสโคโรนาในช่วงแรกๆ แล้วกลับมายังถิ่นฐานเดิมของตัวเองจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐมาหาถึงที่บ้านแล้วขอตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ทั้งๆที่หลายคนก็ไม่ได้แจ้งคนอื่นเลยเกี่ยวกับการเดินทางไปอู่ฮั่น แต่ทางรัฐบาลก็สามารถทราบได้จากข้อมูลบิ๊กดาต้า

how-to-track-the-coronavirus-dashboard-d-5e31b17040e6150001e37e08-1-jan-31-2020-13-40-40-poster

นอกจากนี้ในการระบาดของไวรัสครั้งนี้ บริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีนหลายบริษัทก็ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาในการแสดงข้อมูลต่างๆให้กับประชาชน เช่น Wechat ได้จัดทำแผนที่การระบาดแบบเรียลไทม์ รวมถึงข้อมูลของโรงพยาบาลและคลีนิคสุขภาพให้กับประชาชน หรือบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง China Mobile และ China Unicom ก็ช่วยส่งข้อความมากกว่า 4 พันล้านข้อความให้กับประชาชนเพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลการแพร่ระบาดที่ถูกต้องและช่วยควบคุม ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่หลายของข่าวลือ หรือข่าวลวงโดยเฉพาะจากสื่อสังคมออนไลน์ที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจข้อมูลที่คาดเคลื่อนหรือตื่นตระหนกจนเกินเหตุ มีการเปิดบริการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ให้กับประชาชนที่มีเหตุฉุกเฉินหรือต้องการคำปรึกษาใช้ฟรี และมีหลายบริษัทที่ทำแอปพลิเคชั่นให้คนตรวจสอบได้ว่าเดินทางมาทางเที่ยวบินหรือรถไฟขบวนเดียวกับคนไข้ที่ติดไวรัสหรือไม่

บริษัทหลายแห่งในจีนมีการนำเทคโนโลยีเอไอมาช่วยในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส อาทิเช่น Baidu ได้พัฒนาระบบเอไอที่ตรวจสอบอุณหภูมิโดยใช้ระบบอินฟาเรดและระบบจดจำใบหน้าที่นำไปใช้บริเวณสถานีรถไฟเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิและจดจำใบหน้าของผู้โดยสารที่มีอุณหูมิสูงกว่า 37.3 องศา หรือบริษัท Megvii ที่เป็นบริษัท Start-up ที่มีความเชียวชาญด้านระบบจดจำใบหน้าก็ได้พัฒนาระบบเอไอที่จะคัดกรองผู้ที่มีอุณหภูมิสูงจากฝูงชนแม้คนนั้นจะสวมหน้ากากก็ตาม หรือที่เมืองกว่างโจวมีหุ่นยนต์ในห้างสรรพสินค้าบางแห่งที่สามารถตรวจสอบคนที่ไม่สวมหน้ากากเดินผ่านไปมาได้

นอกจากนี้บริษัท Baidu และ Alibaba ยังได้พัฒนาระบบเอไอที่จัดเก็บข้อมูลของประชาชนที่มาโทรศัพท์มาติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆเกี่ยวไวรัสนี้เพื่อจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเฝ้าระวังให้ดีขึ้น ที่สำคัญสุดคือระบบเอไอยังถูกนำไปใช้ในการแพทย์เพื่อช่วยวิเคราะห์ จีโนม (Genome) ของไวรัสโคโรนา เพื่อที่จะหาแนวทางในการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัส ซึ่งเทคโนโลยีก็จะทำให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งบริษัท Alibaba ได้ให้หน่วยงานวิจัยต่างๆสามารถใช้ระบบเอไอขนาดใหญ่ของบริษัทเพื่อการวิจัยวัคซีนและยาตัวใหม่นี้ได้

บริษัทเทคโนโลยีของจีนหลายบริษัทต่างบริจาคเงินมาช่วยสนับสนุนทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันการระบาด และการวิจัยเพื่อแก้วิกฤติไวรัสโคโรนา เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น Alibaba บริจาค 1 พันล้านหยวนและให้การสนับสนุนทั้งระบบออนไลน์หรือการช่วยด้านอาหารและการอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริษัท Tencent บริจาค 300 ล้านหยวนในการจัดตั้งกองทุนป้องกันและควบคุมโรคระบาด หรือบริษัท Baidu บริจาค 300 ล้านหยวนในการจัดตั้งกองทุนวิจัยด้านยา นอกจากนี้บริษัททางด้านโทรคมนาคมอย่าง China Mobile, China Telecom, China Unicom และ Huawei ต่างก็จัดหาอุปกรณ์ 5G มาให้กับโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่สร้างขึ้นในเมืองฮูอั่น รวมถึง Lenovo ที่บริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับโรงพยาบาล

ความร่วมมือร่วมใจของบริษัทเทคโนโลยีในจีน นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือประชาชน และรัฐบาลจีนในการป้องกันการระบาดของไวรัสแล้ว ยังทำให้เห็นว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในจีน โดยเฉพาะด้านเอไอ อาจมีส่วนที่ทำให้วิกฤติไวรัสครั้งนี้สามารถแก้ไขได้เร็วขึ้นก็เป็นได้

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

สร้างภูมิคุ้มกัน สกัด Fake News

84015187_1620190491461618_2111547772598484992_o

สมัยผมเป็นเด็กยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตการรับข้อมูลข่าวสาร ยังมีช่องทางในวงจำกัด สื่อมีเพียงไม่กี่ประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ โดยไม่สามารถเลือกได้ตามชอบใจ แต่สิ่งสำคัญ คือ ข่าวต่างๆ จะถูกกลั่นกรองมาจากคนทำหน้าที่สื่อมวลชน มีจรรยาบรรณและมีความรับผิดชอบในวิชาชีพ บางครั้งเมื่อการลงข่าวผิดพลาดแม้แต่พิมพ์ชื่อคนผิดเราก็อาจเห็นการตีพิมพ์ข้อความขออภัย หรือหากเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงก็อาจเห็นนักข่าวถูกปลดออกหรือถูกทำโทษ

ข้อมูลที่เผยแพร่ในวงจำกัด ต้องอ่านในหนังสือ ต้องเข้าห้องสมุดไปค้น และบางครั้งก็อาจไม่สามารถหาข้อมูลได้หากไม่มีหนังสือหรือเอกสารใดๆ ที่ตีพิมพ์ออกมา แม้ข้อมูลจะมีจำกัดแต่หนังสือเหล่านั้นส่วนใหญ่มีคุณภาพ มีกองบรรณาธิการทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูล มีสำนักพิมพ์รับผิดชอบในการตีพิมพ์ เราจึงมักได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

ต่างจากปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต เราบอกว่าถ้าไม่รู้อะไรก็แค่กดถามอากู๋ (Google) เพียงเท่านั้นข้อมูลข่าวสารก็จะหลั่งไหลเข้ามามหาศาล เราอยู่ในยุคที่ข้อมูลล้นทะลัก มีให้เลือกอ่าน เลือกดู เลือกฟัง ได้มากมาย ใครๆ ก็สามารถสร้างข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ตได้ ยุคแรกๆ ก็อาจเป็นแค่การสร้างเว็บไซต์ หรือเขียนบล็อกต่างๆ แต่ในปัจจุบันเป็นโลกของโซเชียลมีเดียยุคของ เฟซบุ๊ค, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์ และยูทูบ ใครๆ ต่างก็มีช่องทางสื่อสารของตัวเอง จนทุกคนสามารถที่จะเป็นผู้สื่อข่าวหรือนักเขียนเองได้

ถ้าคนทุกคนมีความคิดดี มีความเป็นนักวิชาการ มีความเป็นสื่อมวลชนที่ดี เนื้อหาและข่าวสารที่ถูกสร้างขึ้นย่อมมีความถูกต้องแม่นยำ และมีประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในโลกความเป็นจริงแล้ว แต่ละวิชาชีพจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ ต้องมีจรรยาบรรณ และต้องมีความรับผิดชอบ การสื่อสารและสร้างข่าวผิดพลาด แม้แต่เนื้อหาวิชาการที่ผิดพลาด หากทำขึ้นมาโดยขาดความรู้ที่ถูกต้องก็จะทำให้สังคมเข้าใจผิด และสุดท้ายก็อาจเกิดความเสียหายในสังคม

image

ยิ่งการที่มีคนบางกลุ่มพยายามสร้างข่าวลวง ซึ่งอาจเป็นเพราะความสนุก คึกคะนอง ความเกลียดชัง หรือหวังผลทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้น ทุกวันนี้เราเห็นข่าวสารต่างๆ ถูกแชร์ออกมามากมายผ่านทางโซเชียลมีเดียล บ้างก็เป็นภาพที่บรรจงแต่งขึ้นมา บ้างก็เป็นข้อความ และเนื้อหาแนะนำเรื่องราวต่างๆ มากมายไปจนถึงทางด้านการแพทย์ ซึ่งส่วนมากไม่มีการระบุแหล่งที่มา หรืออ้างแหล่งที่ผิดๆ จนหลายคนไม่รู้ว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่

ยิ่งล่าสุดในสถานการณ์ของการระบาดไข้หวัดโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 เราจะเห็นข้อความถูกแชร์มาสารพัด บ้างก็ให้ความรู้ที่ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ บ้างก็สร้างข่าวให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกินเหตุ บ้างก็เจตนาหวังผลทางการเมือง จนรัฐบาลในหลายๆ ประเทศเริ่มมีความกังวลต่อการสร้างข่าวลวงเหล่านี้

เราอยู่ในสังคมของการ Click, Like และ Share ผู้คนจำนวนมากเลือกคลิกข้อมูลต่างๆ ขึ้นมาอ่านอย่างผิวเผิน มีการกด Like ด้วยความชื่นชม และบางครั้งก็ส่งข้อมูลที่อ่านคร่าวๆ เหล่านั้นแชร์ให้กระจายออกไป ในโลกออนไลน์การสร้างเนื้อหาต่างๆ เป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือ ผู้คนที่จะใช้โลกออนไลน์ได้มีประโยชน์ต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับข้อมูลข่าวสารที่ดี และเลือกรับให้เป็น ถ้าสังคมมีความอ่อนแอขาดภุมิคุ้มกัน การมีข้อมูลมหาศาลจะกลายเป็นผลร้ายต่อสังคม ผู้คนเลือกบริโภคข้อมูลผิดๆ เกิดความผิดพลาด บางครั้งอาจทำให้ความเข้าใจองค์ความรู้บางอย่างผิดเพี้ยนไป

ดังนั้นหนึ่งในทักษะเชิงดิจิทัลที่ผู้คนควรมี คือทักษะด้านความสามารถการค้นหาและใช้ข้อมูล ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การค้นข้อมูลจาก กูเกิล หรือ เสิร์ช เอ็นจิ้น ต่างๆ เท่านั้น แต่ควรจะรวมไปถึงความสามารถในการวิเคราะห์และตัดสินจากข้อมูลที่มีคุณภาพในโลกอินเทอร์เน็ต รวมถึงทักษะในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ และเข้าใจถึงลิขสิทธิ์ของข้อมูลและการนำไปใช้

ยิ่งในโลกปัจจุบันที่มีข้อมูลอยู่มากมาย เราจะสอนผู้คนให้ทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลใดถูกต้อง ดังนั้นทักษะเหล่านี้จะต้องถูกปูพื้นฐานตั้งแต่เด็กให้เข้าใจในเชิงเปรียบเทียบ วิเคราะห์แหล่งที่มาของข้อมูล หาแหล่งข้อมูลอ้างอิง การเรียนการสอนตั้งแต่ในระดับประถมศึกษาจึงจำเป็นต้องสอนให้เด็กสืบค้นข้อมูลออนไลน์อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่สอนแค่ให้ค้นได้แล้วเอามาตัดปะมาส่ง แต่จะต้องฝึกเด็กให้คิดเชิงวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลที่ถูกผิดได้ ซึ่งถ้าเราสามารถสอนคนให้รู้จักใช้ข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพ ความกังวลเรื่องข่าวลวงต่างๆ ก็จะน้อยลงไป และสังคมออนไลน์ที่กด Click, Like และ Share ก็จะมีข้อมูลที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วย

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

(บทความนี้ปรับปรุงจากคอลัมน์ประจำทุกวันศุกร์ที่ผมเขียนในกรุงเทพธุรกิจhttps://tinyurl.com/bkk-biznews)

มูลค่า Internet Economy ของประเทศต่างๆใน ASEAN จากรายงาน e-Conomy SEA 2019

IT Trend2020

ผมได้มีโอกาสอ่านรายงาน e-Conomy SEA 2019 ซึ่งเป็นการสรุปผลวิจัยด้าน Internet Economy ของประเทศต่างๆใน ASEAN ที่ทางบริษัท Google และ Temasek ได้จัดทำมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2016 โดยในปีนี้มีบริษัท Bain & Company ได้เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรหลักอีกหนึ่งราย โดยงานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจาก Bain analysis, Google Trends, Temasek, แหล่งข้อมูลอุตสาหกรรมต่างๆและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมาในการสรุปตัวเลขต่างๆ

ทั้งนี้รายงานนี้มีการสำรวจมูลค่า Internet Economy ของประเทศต่างๆ 6 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ โดยเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตทั้ง 6  ประเทศเคยมีมูลค่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2015 ด้เพิ่มขึ้นเป็น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 38.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 34.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้คาดการณ์ว่ามูลค่า Internet Economy จะเพิ่มสูงถึง 300 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 โดยแบ่งออกได้เป็น E-commerce 153 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  (แบ่งย่อยเป็น Online Gaming 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Advertising 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Subscription Music & Video 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) Online Travel 78 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (แบ่งย่อยเป็น Online Hotels 36 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online Flights 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online vacation rental 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และ Ride haling 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ (แบ่งย่อยเป็น Online Food Delivery 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Online Transport 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

Screenshot 2019-10-10 16.20.19รูปที่ 1 SEA Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

เมื่อเทียบกันระหว่างประเทศต่างๆใน ASEAN ในปี 2019 จะพบว่าอินโดนีเซียจะมีมูลค่าสูงสุดคือที่ 40 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยประเทศไทยที่ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยอัตราเจริญเติบโดของแต่ละประเทศในช่วงตั้งแต่ปี 2015 อยู่ที่ค่าเฉลี่ยระหว่าง 20-30% ต่อปี ยกเว้นอินโดนีเซียและเวียดนามที่มีอัตราเติบโดแบบก้าวกระโดดที่เกิน 40% ต่อปี และคาดว่าในปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตของอินโดนีเซียจะเพิ่มเป็น 133 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเวียดนามจะเพิ่มเป็น 43 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 50 พันล้านเหรียญสหรัฐนปี 2025 โดยคาดว่าจะแบ่งเป็น E-commerce18 พันล้านเหรียญสหรัฐ, Online media 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ,  Online Travel 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Ride haling 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุว่าใน  ASEAN มีผู้ใช้ Internet อยู่  360 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้ในประเทศไทย 47 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจากปี 2015 ที่มีอยู่ 38 ล้านคน และถ้าพิจารณาจำนวนผู้ใช้ตามประเภทของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่ามีผู้ใช้ e-Commerce อยู่ 150 ล้านราย, Online Gaming 180 ล้านราย, Ride Haling 40 ล้านราย และ Online Booking มีปริมาณ 43% ของจำนวนการจองทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาการเจริญเติบโดของ Internet Economy ใน ASEAN จะพบว่าจะกระจุกกันอยู่ในเมืองหลวงของแต่ละปรเทศที่มีปริมาณมากกว่าต่างจังหวัดสูงถึง 3-4 เท่าเช่นมีการคำนวณ GMV (Gross Merchandise Value) สำหรับ Internet Economy ต่อหัวในกรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ $549 ขณะที่ต่างจังหวัดจะอยู่ที่เพียง $152

Screenshot 2019-10-10 16.20.07รูปที่ 2 Thailand Internet economy [จาก รายงาน E-conomy SEA 2019; Google, Temasak, Bain]

สุดท้ายรายงานก็ได้ระบุถึงบริการทางด้านการเงินดิจิทัล 5 ด้านคือ Payments, Remittance, Lending, Investment และ Insurance  โดยพบว่าในกลุ่ม Digital Payments ที่รวมถึงการใช้การ์ด การโอนเงินระหว่างบัญชี และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ในจำนวนนี้เป็น e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับมูลค่าการชำระเงินทั้งหมดคือ 1,400 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าในปี 2025 มูลค่าการชำระเงินทั้งหมดจะโตเป็น 2,200 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเป็นส่วนของ Digital Payments ที่ 1,100 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ e-Wallets มีมูลค่าประมาณ 114 พันล้านเหรียญ หรือคิดว่า 50% จะเป็น Cashless นอกจากนี้ในปี 2019 ยังมีพบว่า Digital Remittance มีมูลค่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 13% ของสัดส่วน Remittance ทั้งหมด, Digital Lending มีมูลค่า 23 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมด, Digital Investment มีมูลค่า 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 3% ของสัดส่วนทั้งหมดและ Digital Insurance มีมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่ากับ 4% ของสัดส่วนทั้งหมด

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

บริการออนไลน์และสิทธิพิเศษของสมาชิกที่แลกมาด้วยข้อมูลส่วนตัว

Screenshot 2019-10-01 10.27.57

“มี All member ไหมครับ”  คือคำถามที่พนักงาน 7-11  จะถามผมทุกครั้งที่ผมจะจ่ายค่าสินค้า

การเป็นสมาชิกของร้านค้าต่างๆเช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ สถานีบริการเติมน้ำมัน หรือแม้แต่บริการออนไลน์ต่างๆอย่าง Grab, Rabbit Line  ก็อาจมีข้อดีในการที่จะได้บริการหรือสิทธิพิเศษที่ได้มากขึ้น เช่นอาจได้ของแถม อาจได้ส่วนลด แต่ทั้งหมดนี้อาจต้องแลกมาด้วยความเป็นส่วนตัวที่จะต้องถูกผู้ให้บริการเหล่านั้นสามารถนำข้อมูลของเราไปวิเคราะห์ได้

ทุกวันนี้ผมเป็นสมาชิกของร้านค้าและบริการต่างๆนี้มากพอแล้ว ทั้งการใช้ IoT, Mobile App หรือการใช้บัตรสมาชิก ผมรู้ว่าวันนี้ความเป็นส่วนตัวผมได้หายไปเยอะมาก จนน่ากลัว

  • ผมทานกาแฟ และสมาชิก Starbucks เวลาไปเปิดดู ข้อมูลของผมที่แสดงในเว็บไซต์ จะเห็นเลยว่า แต่ละวันมียอดค่าใช้จ่ายอย่างไร ผมเองเชื่อว่า ข้อมูลนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เขาเอามาแสดงให้ผู้บริโภคเห็น แต่จริงๆแล้วข้อมูลในฐานข้อมูลน่าจะเก็บรายละเอียดมากกว่านี้ โดย Starbucks ก็คงทราบว่าผมไปทานกาแฟร้านไหน และสั่งอาหารอะไร

Screenshot 2019-09-12 11.10.08

รูปที่  1 ตัวอย่างข้อมูลการใช้บัตร Starbucks  ที่แสดงให้ผู้ใช้ดู

  • ผมเป็นสมาชิกของ NetFlix มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เวลาผมเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ ก็จะเห็นว่า NetFlix จะแสดงรายชื่อหนังที่ผมดู แต่พอไปค้นข้อมูลด้านการทำ Big Data Analytic ของ  NetFlix ทำให้ทราบว่าเขาเก็บข้อมูลผมมากกว่านี้ มีทั้งรู้ว่าผมเลือกหนังอะไร แลัวดูจริงไหม มีการ Pause ไหม มีการ Fast Forward ไหม

Screenshot 2019-09-12 11.11.04

รูปที่  2 ตัวอย่างข้อมูลการดูหนังของ  NetFlix ที่แสดงให้ผู้ใช้ดู

  • ผมซื้อของจาก E-commerce  หลายเจ้าท้้ง Lazada, AliExpress, Amazon.com ผมสามารถเห็นข้อมูลการสั่งซื้อในอดีตของผมได้ และเชื่อว่าผู้ให้บริการเหล่านี้เก็บข้อมูลไปมากกว่านี้ คงรู้ว่าผมไป Click  รายการสินค้าอะไรบ้าง Review  อะไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ก็คงเกิดขึ้นกับบริการออนไลน์อื่นๆที่ผมใช้ทั้ง  LineMan, Grab, Agoda, Kayak
  • ผมใช้บัตรทางด่วน EasyPass ซึ่งจัดว่าเป็น IoT เวลาเปิดดูข้อมูลใน App  ก็จะเห็นรายละเอียดว่า ผมผ่านทางด่วนด่านไหนบ้าง เวลาไหน
  • ผมมีอุปกรณ์ Smart Home ของ Xiaomi เต็มบ้าน เวลาเข้ามาดู Log  ก็จะเห็นได้ว่า ประตูบ้านเปิดปิดตอนไหน   มี Motion sensor ที่มี Log ให้เห็นการเครื่องไหวในบ้าน มีเครื่องไฟฟ้าที่ต่ออินเตอร์เน็ต หรือมีกล้อง ทำให้รู้เลยว่าผู้ให้บริการเก็บข้อมูลไว้หมด จนบางครั้งนี่ก็อาจต้องระมัดระวังว่า กล้องที่ใช้อยู่จะมีการเก็บภาพไปไว้ที่ระบบของผู้ให้บริการ

รูปที่  3 ตัวอย่างข้อมูล IoT ของ  Xiaomi และ EasyPass ที่แสดงให้ผู้ใช้ดู

  • ผมใช้อุปกรณ์ Wearable เพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพหลายอย่าง ทั้งการออกกำลังกาย การเดิน มีเครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก ข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้บน  Cloud ผมสามารถมาตรวจสอบดูได้ และก็คิดว่าผู้ให้บริการก็อาจเอาข้อมูลผมไปวิเคราะห์ได้
  • ผมใช้บริการการเงินสารพัดอย่างตั้งแต่ บัตรเครดิต, Mobile Banking, True Wallet, PayPal, Lazada Wallet, Rabbit LinePay ทุกครั้งที่ชำระเงิน ผู้ให้บริการก็เก็บข้อมูลไป ซึ่งผมสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างไรผ่านระบบ App หรือเว็บไซต์จึงไม่แปลกใจว่าทำให้พวกเขาถึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผมได้
  • ยังมีบริการออนไลน์หรือ  IoT อีกหลายอย่างที่ผมใช้ทั้ง  Google Home, Google Assitant, Amazon Echo, Spotify  ซึ่งบริการเหล่านี้ก็คงเก็บข้อมูลของผมไปมากมายเช่นเดียวกัน

ใช่ครับวันนี้เราคงต้องคิดให้ดีกับการจะสมัครเป็นสมาชิกหรือการใช้บริการเหล่านี้ เพราะความเป็นส่วนตัวเราจะหายไป เราจะถูกติดตามและตรวจสอบได้หมด ยิ่งถ้าบริการนั้นมาผูกกับบัตรประชาชนเราหรือข้อมูลใดที่สามารถระบุตัวตนเราได้ก็ยิ่งมีความเสี่ยง บางทีเราอาจดีใจที่ได้ส่วนลดหรือบริการที่ดีขึ้นแต่คงต้องระวังกันพอควรละครับ บางทีผมก็นึกถึงหนัง  The Net หรือ Enemy of the State ที่แม้จะสร้างมาเมื่อ 20 ปีก่อน แต่มันก็กำลังเป็นเรื่องจริงแล้วในยุคปัจจุบัน

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Digital Trends 2020 & Education Transformation

edm_sep

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาผมได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปบรรยายในงาน KKU Digital Transformation ในหัวข้อ Digital Trends 2020 & Education Transformation ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผมเองก็เป็นกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางด้านนี้ของมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้กรุณาอัดวิดีโอการบรรยายของผม เผยแพร่ใน YouTube Channel ของมหาวิทยาลัย และสไลด์ในการบรรยายก็ได้อัพโหลดขึ้น Facebook  โดยมีเนื้อหาทังสองส่วนดังนี้

สำหรับการบรรยายในวันนั้นสามารถสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

  • ผมเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเข้าเรียนในปี 2525 ซึ่งตอนแรกตั้งหวังไว้ว่าจะมาเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่หลังจากที่จะจบออกมา ก็เจอการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่สำคัญคือการเข้ามาของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้ชีวิตการทำงานของผมเปลี่ยนไปและทำงานในหลายๆอาชีพหลังจากจบมาจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เคยได้เป็นวิศวกรไฟฟ้าอย่างที่เคยตั้งใจ
  • ความรู้ที่เรียนมา 4 ปี แม้เมื่อ 30 กว่าปีก่อนก็พบว่าเก่าเกินไปแล้ว ทันทีที่จบออกมา แม้ช่วงนั้นเทคโนโลยีจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขนาดนี้ แต่สิ่งที่พบก็คือความรู้มีระยะเวลาที่สั้น ยิ่งในปัจจุบัน ความรู้ยิ่งสั้นลงกว่าเดิมเข้าไปอีก
  • ชีวิตการเป็นอาจารย์ของผมเห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีจากแต่เดิมใช้ชอล์กกระดาน และการสอนอาจใช้เนื้อซ้ำเดิมๆได้ มาสู่ยุคปัจจุบันที่เป็นออนไลน์ สอนนักเรียนจากอุปกรณ์ใดก็ได้ ก็ทำให้ต้องทำเอกสารการสอนแบบทันทีทันใดเช่นกัน ต้องสอนและมีความรู้แบบ Realtime
  • เทคโนโลยีที่เป็น  Mega Trend ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีหลายด้าน ตั้งแต่ IoT, Big Data Cloud computing, AI หรือแม้กระทั่ง User Interface ที่กำลังกลายเป็นเรื่องของ Voice, AR, VR
  • ความสามารถของ AI  ในปัจจุบันหลายๆด้านทำได้ดีเช่น การมองเห็น การฟัง หรือ การเคลื่อนไหว ทำให้เห็นว่างานหลายๆด้านในอนาคตอาจถูกแทนที่ด้วยการใช้ AI
  • Digital Disruption เข้ามา ทำให้อาชีพคนในอนาคตคงจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก เราคาดการณ์ได้ยากว่า คนในอนาคตจะประกอบอาชีพอะไร เราอาจจะเห็นอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างมากมายอาทิเช่น  YouTuber, Driverless car Engineer
  • สถานที่ทำงานของคนในอนาคตก็คงไม่ใช่อยู่ในรูปแบบเดิม คนคงไม่มีอาชีพใดที่ทำยาวไปจนตลอดชีวิต และคงจะเห็นสภาพของการเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ คนในยุคใหม่ทำงานที่ไหนก็ได้ เพื่อนร่วมงานก็จะอยู่ได้ทุกมุมโลก และทำงานให้ใครก็ได้ เวลาไหนก็ได้
  • Professor Henry Mintzberg จาก McGill University กล่าวไว้ว่า
    “เมื่อโลกพยากรณ์ได้ เราต้องการคนฉลาด แต่เมื่อโลกพยากรณ์ไม่ได้ เราต้องการคนที่ปรับตัวได้”
  • มหาวิทยาลัยคืออุตสาหกรรมหนึ่งที่ถูก Digital Disruption จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะห่วงโซ่อุปทานการศึกษาได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว

Screenshot 2019-08-05 21.04.12

  • สถาบันการศึกษาในรูปแบบเดิมๆมากกว่าครึ่งจะล้มหายไปจะเกิดสถาบันการศึกษาเล็กๆ ที่อบรมคนระยะสั้น 6 เดือนให้เปลี่ยนอาชีพได้อาทิเช่น โรงเรียนสอนนักบินโดรน,  โรงเรียนสอนวิเคราะห์ข้อมูล
  • การสอนคนในปัจจุบัน ต้องเน้นเน้นให้เข้ามีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือ Attitiude, Skill, Knowledge
  • การศึกษาในปัจจุบันจะต้องเป็นการผสมผสานระหว่าง  Cyber world กับ Physical world
  • การศึกษาในปัจจุบันต้องเน้นให้ผู้เรียนออกแบบหลักสูตรด้วยตัวเอง สะสมหน่วยกิตที่ไปเรียนจากที่ไหนก็ได้ การเรียนกับการทำงานอาจเป็นเรื่องเดียวกัน และต้องเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute