Digitized University ไม่เท่ากับ Digital University

69237138_1470765076404161_3826382545780473856_n

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งอยากจะพัฒนาตัวเองเป็น Digital University หลายที่ก็เริ่มทำหลักสูตรออนไลน์ มีความพยายามเรื่องของ MOOC ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่มหาลัยมีความเป็นกังวลเป็นอย่างมากก็คือจำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อมีจำนวนน้อยลง และเริ่มมองเรื่องของ Digital disruption ว่าอาจส่งผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาไปอย่างมาก

digitaluni-300x161-1

แท้จริงแล้วความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงของสถาบันอุดมศึกษามีมากกว่าการที่จะต้องทำ Digitizing หรือที่เรียกว่าการนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในภาคการศึกษา เพราะแนวโน้มการศึกษากำลังเปลี่ยนไปอย่างมากตามความต้องการของผู้เรียนและสังคม ดังนั้นสิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องทำก็คือ Digital transformation ซึ่งมันอาจหมายถึงปรับเปลี่ยนค่านิยม (Value proposition)ของมหาวิทยาลัยให้ตรงกับบริบทที่เปลี่ยนไป อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ปรับหลักสูตรรวมถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่และสำคัญที่สุดผู้บริหารจะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างความหมายของ Digitized University และ Digital University

การพัฒนาระบบดิจิทัล (Doing Digital) ไม่เพียงพอกับอุตสาหกรรมที่กำลังถูก Digital Disruption อย่างอุตสาหกรรมการศึกษา ลองคิดง่ายๆถ้าวันนี้เราเป็นผู้จำหน่ายซีดี DVD หรือแม้แต่เทปเพลง ซึ่งแต่ก่อนเราอาจจะเป็นร้านค้าทั่วๆไป แล้วก็เปลี่ยนระบบมาขายออนไลน์มีระบบ E-commerce ซึ่งมันก็การนำระบบดิจิทัลมาใช้ แต่สุดท้ายก็ไม่จะถูก Disrupt อยู่ดีก็เพราะว่าสินค้าที่เราขายนี่มันไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปแล้ว

มหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนเพียงแต่พัฒนาระบบดิจิทัลโดยไม่ได้สนใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะเทคโนโลยีมันสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมไปอย่างมาก เราต้องการบัณฑิตที่มีทักษะใหม่ๆ มีอาชีพใหม่ๆ มีระบบการเรียนใหม่ๆ วันนี้คู่แข่งของสถาบันการศึกษามันคือโลกออกไลน์ เรียนจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้นเราอาจเริ่มการทำ Digital Transformation ของมหาวิทยาลัยด้วยการวิเคราะห์ว่า Value Propostion ที่มหาวิทยาลัยมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทั้งนี้อาจเนื่องจากความเข้ามาเทคโนโลยี หรืออาจเป็นเพราะความต้องการเปลี่ยนแปลง หรืออาจเพราะมีคู่แข่งรายใหม่ๆหรือมีทางเลือกที่เปลี่ยนไป สุดท้ายมหาวิทยาลัยก็จะต้องวิเคราะห์ถึงการกำหนด  Value Proposition ใหม่ โดยอาจนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นช่วยทำให้สัมฤทธิ์ผล

ดังนั้น Digital Transformation  จึงอาจไม่ได้เริ่มที่จะต้องทำหรือพัฒนาระบบดิจิทัล แต่ต้องเริ่มที่กลยุทธ์และมีทิศทางในการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่แน่ละมหาวิทยาลัยก็อาจต้องมีพื้นฐานในการพัฒนาระบบดิจิทัล เพราะจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยถ้าวันนี้ยังไม่มีความเป็นดิจิทัล และที่สำคัญสุดคือบุคลากรต้องมีวัฒนธรรมดิจิทัล

สุดท้ายผมขอนำเอาตัวอย่างบางส่วนที่ผมใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ Value Proposition Roadmap  มากับระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยขอแยกเป็นเอกสารในตอนที่สองดังนี้

การวิเคราะห์ Value Proposition Roadmap  ของมหาวิทยาลัย  (เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ จากแบบฝึกหัดที่ผมทำ)

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ Value Proposition Roadmap สำหรับมหาวิทยาลัย

Screenshot 2019-10-01 10.27.57

เป็นตัวอย่างแบบฝึกหัดที่ผมได้ทำไว้ในหลักสูตร Digital Transformation Strategy โดยมีขั้นตอนวิเคราะห์ต่างๆดังนี้

Step 1: Identify key customer types by value received.

Screenshot 2019-08-31 16.11.07

Step 2: For each of the customer types, define the current value offered by your university to the customer.

Screenshot 2019-08-31 16.14.50Screenshot 2019-08-31 16.15.08

Step 3: Identify emerging threats.

Screenshot 2019-08-31 16.17.38

Step 4: Assess the strength of your current value elements, , ask yourself (and answer) the following questions:

  1. Is this benefit of decreasing value to the customer?
  2. Is this benefit of increasing value to the customer?

Screenshot 2019-08-31 16.20.34Screenshot 2019-08-31 16.21.04

Screenshot 2019-08-31 16.23.07Screenshot 2019-08-31 16.22.46

Step 5: Focus on generating new potential value elements using three sources to look for the opportunities that will allow you to create new value, serve your customers in new ways that you haven’t been able to do or have not done in the past:

  1. New technologies – these could be different from or the same as your threats. What are some technologies that could help you create new value? What would the benefit be? The new value element? What would your customers get out of it?
  2. Changing trends in the customer environment – what value could you deliver by tapping into those trends?
  3. Unmet customer needs – what way could you add value by serving those unmet needs

Screenshot 2019-08-31 16.31.04

Step 6: Synthesise a new forward-looking value proposition for your university.

Screenshot 2019-08-31 16.34.27Screenshot 2019-08-31 16.34.36Screenshot 2019-08-31 16.34.59

Digital Transformation ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่มันคือการ Redefine Customer Value Proposition

Screenshot 2019-10-01 10.14.45

เมื่อวานนี้ทาง คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ได้กรุณาเข้ามาสัมภาษณ์ผมเรื่องของ Digital Transformation

69271903_10215451188298917_7227946552008900608_n

มีคำถามว่าในมุมมองของผมคำว่า Digital transformation คืออะไร

ผมเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลแต่จริงๆมันคือเรื่องของกลยุทธ์ กล่าวคือ องค์กรต้องกำหนด Value Proposition ให้กับลูกค้าใหม่รวมถึงอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กร การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ผู้คนมีการใช้ Digital มากขึ้นพฤติกรรมของผู้บริโภคเลยเปลี่ยนไป แต่ก่อนเราในฐานะของบริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการ จะเป็นศูนย์กลางและมีอิทธิพล เราสามารถจะกำหนดกลไกการตลาดต่างๆได้ แต่เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถที่จะสืบค้นข้อมูล สามารถที่จะเปรียบเทียบราคา สามารถที่จะเลือกบริโภคอะไรก็ได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้สั่งจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้นการแข่งขันไม่เหมือนเดิมเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว

Lazada Alibaba NetFlix Airbab หรือแม้แต่ Grab ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าธุรกิจที่มีรูปแบบเดิมๆเนี่ยกำลังเปลี่ยนไป โดนแพลตฟอร์มเข้ามาแทนที่และแพลตฟอร์มเนี่ยสามารถขยายในวงกว้างเนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมันสามารถขยายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และความสามารถของเทคโนโลยีก็มีมากชึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ผู้ที่เริ่มก่อนและมีผู้ใช้มากๆขยายตัวอย่างมหาศาลจนเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Winner Take All

Digitl Disruption เกิดขึ้นในบางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนแล้วอาทิเช่นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อบันเทิง แต่จริงๆแล้วเนี่ยมันจะกระทบกับทุกอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับเวลาหรือขนาดเท่านั้น ยิ่งถ้าอุตสาหกรรมใดมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากแล้วโอกาสที่จะเกิดขึ้นเร็วก็จะยิ่งมีมาก ผลกระทบมันเป็นแบบสึนามิขึ้นมาเร็วใครตั้งตัวไม่ติดก็คงล้มลงไปเลย

ความแตกต่างระหว่างคำว่า Digitized คำว่า Digital

หลายๆองค์กรยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า Digitized คำว่า Digital องค์กรที่เป็น Digitized organisation ก็คือองค์กรที่ลงมือทำหรือนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ เช่นการแปลงข้อมูลจาก analog ให้มาเป็น Digital มีการใช้ระบบ CRM ระบบ ERP หรือแม้แต่การทำสินค้าขายออนไลน์ ซึ่งโดยมากก็เป็นงานโครงการ ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นอาจเพิ่มรายได้ขึ้นระยะสั้น แต่สุดท้ายอาจถูก Digital Disruption อยู่ดี เพราะยังไม่ใช่เป็นการเปลี่ยน

คำว่า Digital Organisation คือองค์กรที่มีวัฒนธรรมทางดิจิทัล เริ่มมีสินค้าหรือบริการที่อยู่ในรูปของดิจิตอลมีการนำเสนอรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ มีการปรับองค์กรใหม่ มีความคล่องตัว และมีการทำTransformation อย่างต่อเนื่อง เพราะมันไม่ใช่เป็นโครงการที่ทำครั้งเดียวเสร็จ

องค์กรอาจจะเริ่มต้นจากการทำ Digitized ก่อนเป็นขั้นตอนแรก หลังจากนั้นบางแผนกบางธุรกิจก็อาจจะเริ่มมีการทำ Digital transformation ของแผนกตัวเองโดยมีการนำเสนอกระบวนการหรือสินค้าใหม่ๆในรูปของดิจิทัล Business Model บางอย่าง ขั้นตอนนี้ผมเรียกว่า Siloed จากนั้นอาจเข้าสู่ขั้นตอนที่ผู้บริหารสูงสุดหรือบอร์ดเห็นความสำคัญของ Digital transformation จะต้องกำหนดกลยุทธ์องค์กรไปข้างหน้าโดยใช้ Digital กล่าวคือ ทำให้องค์กรมีวัฒนธรรมดิจิทัล กลยุทธ์องค์กรเดินด้วยดิจิทัล กล่าวคือ เปลี่ยนจาก Digital enable Business เป็น Digital  inspire Business  ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์เนี่ยในช่วงแรกเราอาจเห็นขับเคลื่อนไปได้บางส่วนในองค์กรหรือที่เรียกว่า Partially Transform จากนั้นเมื่อองค์กรทำพร้อมทั้งหมดแล้วก็อาจถึงขั้นตอนที่เรียกว่า Fully Transform สุดท้ายองค์กรจะเดินไปข้างหน้าได้การทำ Digital Transformation จะมีอย่างต่อเนื่องและจะประสบความสำเร็จได้เราจะต้องไปถึงขั้นที่เรียกว่า Living DNA  คือมีองค์กรพร้อมที่จะเปลี่ยนปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตาม  Value Proposition ที่เปลี่ยนไป

ผมได้เขียนบทความหลายหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Digital Transformation ทั้งในบล็อก thanachart.org ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและ Business Today ทุกสัปดาห์ก็สามารถติดตามอ่านได้แล้วกันครับ

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Digital Trends 2020 & Education Transformation

edm_sep

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาผมได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปบรรยายในงาน KKU Digital Transformation ในหัวข้อ Digital Trends 2020 & Education Transformation ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผมเองก็เป็นกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางด้านนี้ของมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้กรุณาอัดวิดีโอการบรรยายของผม เผยแพร่ใน YouTube Channel ของมหาวิทยาลัย และสไลด์ในการบรรยายก็ได้อัพโหลดขึ้น Facebook  โดยมีเนื้อหาทังสองส่วนดังนี้

สำหรับการบรรยายในวันนั้นสามารถสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

  • ผมเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเข้าเรียนในปี 2525 ซึ่งตอนแรกตั้งหวังไว้ว่าจะมาเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่หลังจากที่จะจบออกมา ก็เจอการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่สำคัญคือการเข้ามาของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้ชีวิตการทำงานของผมเปลี่ยนไปและทำงานในหลายๆอาชีพหลังจากจบมาจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เคยได้เป็นวิศวกรไฟฟ้าอย่างที่เคยตั้งใจ
  • ความรู้ที่เรียนมา 4 ปี แม้เมื่อ 30 กว่าปีก่อนก็พบว่าเก่าเกินไปแล้ว ทันทีที่จบออกมา แม้ช่วงนั้นเทคโนโลยีจะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขนาดนี้ แต่สิ่งที่พบก็คือความรู้มีระยะเวลาที่สั้น ยิ่งในปัจจุบัน ความรู้ยิ่งสั้นลงกว่าเดิมเข้าไปอีก
  • ชีวิตการเป็นอาจารย์ของผมเห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีจากแต่เดิมใช้ชอล์กกระดาน และการสอนอาจใช้เนื้อซ้ำเดิมๆได้ มาสู่ยุคปัจจุบันที่เป็นออนไลน์ สอนนักเรียนจากอุปกรณ์ใดก็ได้ ก็ทำให้ต้องทำเอกสารการสอนแบบทันทีทันใดเช่นกัน ต้องสอนและมีความรู้แบบ Realtime
  • เทคโนโลยีที่เป็น  Mega Trend ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีหลายด้าน ตั้งแต่ IoT, Big Data Cloud computing, AI หรือแม้กระทั่ง User Interface ที่กำลังกลายเป็นเรื่องของ Voice, AR, VR
  • ความสามารถของ AI  ในปัจจุบันหลายๆด้านทำได้ดีเช่น การมองเห็น การฟัง หรือ การเคลื่อนไหว ทำให้เห็นว่างานหลายๆด้านในอนาคตอาจถูกแทนที่ด้วยการใช้ AI
  • Digital Disruption เข้ามา ทำให้อาชีพคนในอนาคตคงจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก เราคาดการณ์ได้ยากว่า คนในอนาคตจะประกอบอาชีพอะไร เราอาจจะเห็นอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างมากมายอาทิเช่น  YouTuber, Driverless car Engineer
  • สถานที่ทำงานของคนในอนาคตก็คงไม่ใช่อยู่ในรูปแบบเดิม คนคงไม่มีอาชีพใดที่ทำยาวไปจนตลอดชีวิต และคงจะเห็นสภาพของการเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ คนในยุคใหม่ทำงานที่ไหนก็ได้ เพื่อนร่วมงานก็จะอยู่ได้ทุกมุมโลก และทำงานให้ใครก็ได้ เวลาไหนก็ได้
  • Professor Henry Mintzberg จาก McGill University กล่าวไว้ว่า
    “เมื่อโลกพยากรณ์ได้ เราต้องการคนฉลาด แต่เมื่อโลกพยากรณ์ไม่ได้ เราต้องการคนที่ปรับตัวได้”
  • มหาวิทยาลัยคืออุตสาหกรรมหนึ่งที่ถูก Digital Disruption จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะห่วงโซ่อุปทานการศึกษาได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว

Screenshot 2019-08-05 21.04.12

  • สถาบันการศึกษาในรูปแบบเดิมๆมากกว่าครึ่งจะล้มหายไปจะเกิดสถาบันการศึกษาเล็กๆ ที่อบรมคนระยะสั้น 6 เดือนให้เปลี่ยนอาชีพได้อาทิเช่น โรงเรียนสอนนักบินโดรน,  โรงเรียนสอนวิเคราะห์ข้อมูล
  • การสอนคนในปัจจุบัน ต้องเน้นเน้นให้เข้ามีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือ Attitiude, Skill, Knowledge
  • การศึกษาในปัจจุบันจะต้องเป็นการผสมผสานระหว่าง  Cyber world กับ Physical world
  • การศึกษาในปัจจุบันต้องเน้นให้ผู้เรียนออกแบบหลักสูตรด้วยตัวเอง สะสมหน่วยกิตที่ไปเรียนจากที่ไหนก็ได้ การเรียนกับการทำงานอาจเป็นเรื่องเดียวกัน และต้องเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาปั่นป่วน มหาวิทยาลัยไทย

Screenshot 2019-10-01 10.14.45

(บทความนี้ปรับปรุงจากคอลัมน์ประจำทุกวันศุกร์ที่ผมเขียนในกรุงเทพธุรกิจhttps://tinyurl.com/bkk-biznews)

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมผมมีโอกาสไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้เข้ารับฟังการบรรยาย คือ ผู้บริหารและอาจารย์ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นปัญหาของมหาวิทยาลัยในการรับนักศึกษาปีนี้ คือ หลายสถาบันและหลายสาขาวิชา ไม่สามารถรับนักศึกษาเต็มตามจำนวนที่ต้องการได้ บางสาขาอยู่ในสถานการณ์ที่มีนักศึกษาน้อยมากจนน่าเป็นห่วงว่าจะสามารถเปิดสอนต่อไปได้หรือไม่

ผมคิดว่าสถานการณ์นี้มีปัจจัยอยู่หลายประการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวนนักศึกษาที่เปิดรับมีมากกว่าจำนวนนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อ ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตมหาวิทยาลัยเปิดมากเกินไป ขณะที่จำนวนประชากรรุ่นใหม่ลดลง แต่ส่วนหนึ่งอาจเพราะะสาขาที่เปิดสอนไม่ตรงความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง จึงทำให้นักศึกษาจำนวนมากที่จบออกมาแล้วไม่สามารถหางานทำได้ตามที่ต้องการ ทำให้ไม่เลือกเรียน

แต่ประเด็นสำคัญที่สุดอันดับหนึ่งคือเรื่อง ดิจิทัล ดิสรัปชั่น ชึ่งมีผลกับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง อย่างสื่อสิ่งพิมพ์ ทีวี หรือธนาคาร คนอาจยังต้องการบริการเหล่านั้นอยู่แต่ผ่านตัวกลางที่เปลี่ยนไป โดยมหาวิทยาลัยก็เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ในอดีตผู้เรียนจะต้องเรียนในมหาวิทยาลัยที่ผู้สอนใช้เป็นสถานที่ในการสอนแบบเห็นหน้ากันสนทนาและเปลี่ยนความรู้กันได้ แต่ด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนในปัจจุบัน สามารถใช้สถานที่ใดก็ได้ ใช้เครื่องมือใดก็ได้ หรือจะใช้เวลาใดก็ได้ โดยอาจจะเรียนออนไลน์ผ่านสื่อต่างๆ ที่มีความรวดเร็วและสามารถโต้ตอบกันได้

ผมได้บอกกับผู้เข้าฟังบรรยายว่า ผมเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ตอนนั้นตั้งเป้าว่าจะมาทำงานเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่ทันทีที่ผมจบ สิ่งที่พบคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่เพิ่งเข้ามา ทำให้ผมทราบว่าสิ่งที่ผมเรียนมา 4 ปีนั้น เริ่มล้าสมัยไปแล้ว และหลังจากจบการศึกษาผมมีโอกาสประกอบอาชีพที่หลากหลายทั้งในภาครัฐและเอกชน ผมเป็นทั้งอาจารย์ โปรแกรมเมอร์ ฝ่ายขายซอฟต์แวร์ เป็นผู้บริหารบริษัท กรรมการตรวจสอบ และทำงานอีกหลากหลายอาชีพ ในสิ่งที่ไม่เคยเรียนมาในรั้วมหาวิทยาลัย และสิ่งที่ผมพบตลอดระยะเวลาการทำงานคือผมไม่เคยประกอบอาชีพเป็นวิศวกรไฟฟ้าอย่างที่ตั้งใจไว้ในตอนต้น

ยิ่งทุกวันนี้ความรู้ยิ่งสั้นลงกว่าเมื่อ 30 กว่าปีก่อนมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยี สิ่งที่เรียนในมหาวิทยาลัยทุกวันนี้ก็อาจจะล้าสมัยไปก่อนเรียนจบ หากผู้สอนไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ ความรู้ที่ได้รับก็อาจจะเก่าไปทันทีในทุกๆ สาขาวิชาไม่ใช่เพียงแค่สาขาทางเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ซึ่ง ศาสตราอาจารย์เฮนรี่ มินทซ์เบิร์ก แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิวส์ กล่าวไว้ว่า “เมื่อโลกพยากรณ์ได้ เราต้องการคนฉลาด แต่เมื่อโลกพยากรณ์ไม่ได้ เราต้องการคนที่ปรับตัวได้”

Screenshot 2019-08-04 20.36.36

การเรียนรู้วันนี้เป็นไปแบบตลอดชีวิต เราต้องสอนให้คนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ทุกวันนี้ผมสามารถเรียนหนังสือได้โดยไม่ต้องไปมหาวิทยาลัยอาจจะเรียนจากอาจารย์เก่งๆ ในสถาบันฝึกอบรมระยะสั้น 3-4 วัน บางครั้งก็เรียนออนไลน์จากสถาบันต่างประเทศ เช่น Columbia Business School และเรียนหลักสูตรในสาขาใหม่ๆ จาก Coursea ล่าสุดผมสนใจที่จะเรียนภาษาจีนแบบเบื้องต้นผมก็เลือกเรียนผ่าน Udemy

ถึงเวลาแล้วที่มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวเอง วันนี้ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบมัธยมศึกษา แล้วเข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย 4 ปี มหาวิทยาลัยต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกวัย ที่อาจเรียนจากที่ใดก็ได้ ออนไลน์ก็ได้ เวลาใดก็ได้ นานแค่ไหนก็ได้ มีวิชาที่หลากหลายจากหลายสถาบันที่ได้รับการรับรอง และอาจจะเป็นสหสาขาวิชามาเพื่อให้ประกาศนียบัตรหรือปริญญา ที่ก็ไม่แน่ใจว่าอนาคตข้างหน้ายังเป็นที่ต้องการหรือไม่แต่อย่างน้อยก็เห็นก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัย คนยังต้องการเรียนรู้ ต้องสร้างทักษะ แต่มหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่คำตอบหากยังไม่ปรับตัว

ธนชาติ นุ่มนนท์

สถาบันไอเอ็มซี