การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยบนเวทีอาเซียน

ในตอนที่แล้วผมได้เขียนถึง ขีดความสามารถการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN ซึ่งได้กล่าวถึงข้อมูลชี้วัดที่หน่วยงานต่างนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งจากข้อมูลที่มีจะสังเกตุเห็นว่า ศักยภาพของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซี่ยนแล้วเรายังอยู่ในสภาวะที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่พอสมควร

ในตอนนี้ผมจึงอยากจะลองเอาข้อมูลชี้วัดที่น่าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มาให้ดู โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งใน ASEAN และได้แสดงเป็นภาพกราฟฟิกดังรูปนี้

Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.56 AM

ด้านจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ทาง Evans Data Corp (EDC) ได้ข้อมูลประมาณการณ์จำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้วโลก ซึ่งรวมตั้งแต่โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้บริหารโครงการว่ามีประมาณ 17.2 ล้านคนในปี 2012 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 24.7 ล้านคนในปี 2018 โดยระบุว่าในปี 2012 ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุดคือ 3.5 ล้านคน ตามด้วยอินเดีย 2.5 ล้านคน และจีน 9 แสนคน แต่คาดการณ์ว่าในปี  2018  จำนวนนักพัฒนาในประเทศอินเดียจะเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวน 4.8 ล้านคน ตามด้วยสหรัฐอเมริกา 4.6 ล้านคน จีน 1.6 ล้านคน รัสเซีย 1.2 ล้านคน และไทยก็ติดอันดับ 10 ด้วยจำนวน 377,100 คน

หากดูข้อมูลด้านนี้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ประเทศไทยจะดูโดดเด่นมาก เพราะจำนวนที่คาดการณ์ในปี 2012 ของประเทศไทยจะมีประมาณ 263,800 คน เป็นอันดับที่ 15 ของโลกและเป็นอันดับ 5ในภูมิภาค  APAC  ขณะที่ประเทศคู่แข่งใน ASEAN อย่าง ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ  6 ใน APAC มีจำนวน 187,000 คน เวียดนามอยู่อันดับ  8 ใน APAC มีจำนวน 152,900 คน อินโดนีเซียอยู่อันดับ  9 ใน APAC มีจำนวน 141,200 คน และมาเลเซียอยู่อันดับ  10 ใน APAC มีจำนวน 99,400 คน

จำนวนบริษัทที่ได้มาตรฐาน CMMI

CMMI คือ มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน ย่อมาจาก Capability Maturity Model Integration ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั่วโลก ล่าสุดทาง Software Engineering Institute  ของ Carnegie Mellon University ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ได้รายงานจำนวนบริษัททั่วโลกที่ประเมินผ่าน CMMI จนถึงเมื่อเดือนกันยายน 2012  มีจำนวน 6,272 ราย โดยเป็นบริษัทในประเทศจีน 2,128 ราย  บริษัทในสหรัฐอเมริกา 1,416 ราย และบริษัทในอินเดีย 581 ราย ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวน 63 ราย โดยเราสามารถดูรายงานฉบับนี้ได้ที่ http://cmmiinstitute.com/wp-content/uploads/2012/11/2012SepCMMI.pdf


Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.25 AM

สำหรับจำนวนบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน CMMI และยังรักษาสถานภาพไว้อยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยมีทั้งหมด 36 บริษัท โดยเป็นระดับ  5 ถึง  4  บริษัทคือ บริษัท Avalant บริษัท CPF บริษัท Wealth Management System Limited และ บริษัท GoSoft โดยประเทศไทยมีจำนวนบริษัท CMMI ในปัจจุบันมากที่สุดใน ASEAN ตามมาด้วยมาเลเซีย 27 บริษัท เวียดนาม 23 บริษัท ฟิลิปปินส์ 17 บริษัท สิงคโปร์ 10 บริษัท  และ อินโดนีเซีย 1 บริษัท ซึ่งเราสามารถที่จะดูรายชื่อของบริษัทที่ได้ CMMI ณ ปัจจุบัน ทั้งหมดจากเว็บไซต์ https://sas.cmmiinstitute.com/pars/pars.aspx 

การเป็นแหล่งทางด้าน Outsourcing

ทาง AT Kearney ได้ออกรายงานเรื่อง “Global Services Location Index 2011”ระบุประเทศต่างๆที่มีความน่าสนใจในการทำ Outsourcing โดยมีตัวชี้วัดจากสามด้านคือ  ความน่าสนใจในการลงทุน  (Financial attractiveness)  ความสามารถและความพร้อมของคน (People skills and availabilty) และ สภาวะแวดล้อมเชิงธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งในรายงานระบุว่าประเทศอินเดียมีความน่าสนใจเป็นอันดับ  1 ตามด้วยประเทศจีน และมาเลเซีย ส่วนประเทศไทยมีความสนใจในการเป็นแหล่งในการทำ Outsourcing อันดับที่ 7 ของโลก (ทั้งนี้ประเทศเราหล่นจากที่เคยเป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2009) โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ทางอินโดนีเซียอยู่อันดับ 5 เวียดนามอันดับ 8 และฟิลิปปินส์อันดับ 9

จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ  Outcsourcing ของโลก แต่เราจะพบว่าอุตสาหกรรมด้านนี้จะมีน้อยมากในประเทศไทย ซึ่งผมเองก็เคยเขียนบล็อกเรื่อง “ประเทศไทยติดอันดับประเทศน่าดึงดูดในการทำ Outsourcing แต่ไม่มีอุตสาหกรรมด้านนี้

นอกจากนี้เมื่อมกราคมปี  2012 ทาง Tholons ได้ออกรายงานระบุเมืองที่ติด 100 อันดับในการทำ Outsourcing ทั่วโลกโดยดูจากปริมาณการจ้างงาน ความน่าสนใจ และแนวโน้ม จะพบว่าแหล่งที่น่าสนใจจะอยู่ทางเอเซียใต้ โดยมีเมืองที่ติดอันดับ 1 ถึง 7 ล้วนแต่เป็นเมืองในประเทศอินเดีย โดยมีเมือง Bangalore เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Mumbai และ  Delhi ส่วนกรุงมะนิลาเป็นเมืองเดียวนอกประเทศอินเดียที่ติด 1 ใน  7 คือมีคะแนนมาเป็นอันดับ  4 และหากมาพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN  จะเห็นว่าเมืองในประเทศฟิลิปินส์ติดอันดับหลายเมืองมากเช่น Cebu เป็นอันดับ 9 นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเมืองในประเทศเวียดนามก็เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ Outsourcing  โดย Ho Chi Minh ติดอันดับ 17 และ Hanoi  ติดอันดับ 21 ขณะที่กรุงเทพมหานครคะแนนลด10 อันดับ ตกมาที่ 87 จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2011

Screen Shot 2556-02-08 at 9.11.53 AM

กล่าวสรุปจะเห็นว่าการจัดอันดับประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในเรื่องของคน ของมาตรฐาน และความน่าสนใจในการลงทุน อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่เรายังขาดการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง ทำให้อุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะการลงทุนจริงทางด้าน Outsourcing จากต่างประเทศไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย

Enterprise Architecture คืออะไร

Screenshot 2013-11-13 11.41.43

[บล็อกนี้เป็นบทความเก่าที่ผมเขียนมาเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ขอนำบางส่วนมาปรับปรุงใหม่]

ผมจำได้ว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา องค์กรต่างๆมักจะเชิญผมไปบรรยายในหัวข้อเรื่อง   SOA (Service Oriented Architecture)  เพราะองค์กรมีความสนใจในเรื่องของการทำ  Application  Integration   เลยทำให้ผมต้องบรรยายในหัวข้อดังกล่าวมากกว่า 50 ครั้งตั้งแต่ Introduction to SOA, Business Process Management จนถึง SOA Governance ทั้งนี้ที่องค์กรต่างๆสนใจเรื่องนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าองค์กรให้ความสนใจกับเรื่องของ   IT Architecture แต่ก็อย่างไรการทำ SOA    ของหลายๆองค์กรกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า  SOA มักจะถูกขับเคลื่อนจากฝั่งของเทคโนโลยีมากกว่าฝั่งของ  Business หรือมองจากธุรกิจหลักขององค์กร

ระยะหลังผมจึงเริ่มเห็นว่าองค์กรต่างๆให้ความสนใจกับการทำแผนแม่บทไอทีมากขึ้นและ  SOA ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในแผนที่จะดำเนินการ แต่แผนแม่บทหลายๆที่ก็ยังเป็นแผนที่ฝ่ายเทคโนโลยีเป็นคนทำอยู่ดีจึงทำให้ขาดการขับเคลื่อนที่  จนกระทั้งองค์กรเริ่มสนใจจะทำ  EA หรือ Enterprise Architecture กันมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่องของธุรกิจหรือกลยุทธ์ขององค์กรมากกว่าที่จะมองเป็นเพียงแค่  IT Architecture หรือ Solution Architecture

แล้วอะไรคือ EA (Enterprise Architecture)  ทาง Software Park เคยจัดบรรยายเรื่อง “Enterprise Architecture for e-Government” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 โดยผมได้นำเสนอการบรรยายในหัวข้อ Introduction to Enterprise Architecture (ผู้สนใจสามารถจะ Download presentation ของการบรรยายได้ที่ http://dl.dropbox.com/u/12655380/EnterpriseArchitecture.pdf) ซึ่งสามารถที่จะดูวิดีโอการบรรยายของผมได้ที่ http://knowhow.swpark.or.th/videos/viewvideo/453/software-engineering/iasa-thailand-seminar-12011–enterprise-architecture-for-e-government-session–27.html

ทั้งนี้ในการบรรยายผมได้พยายามชี้ให้ว่า EA ก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ที่จะเอา Vision, Mission และ Business ขององค์กรเป็นตัวนำ แล้วมาดูว่าไอทีจะเข้ามาช่วยได้อย่างไร  ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการทำ EA   จะไม่ใช่เรื่องของฝ่ายเทคโนโลยีเป็นหลักแต่จะต้องเป็นเรื่องของทุกภาคส่วนในองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหาร ฝ่ายธุรกิจ ฝ่ายปฎิบัติการ และฝ่ายเทคโนโลยี ทั้งนี้แผนผังที่ได้จากการทำ EA ในองค์กรมักจะมีอย่างน้อย  4 ด้านหลักคือ

  • Business Architecture เพื่อแสดงกลยุทธ์ขององค์กร, Business Process ของแต่ละฝ่าย, Organization Chart
  • Information Architecture เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีข้อมูลอย่างไรในแต่ฝ่าย, Database หรือ MetaData
  • Application Architecture เพื่อแสดงให้เห็นว่าในองค์กรจะต้องมีระบบโปรแกรมหรือระบบไอทีอะไรบ้าง ในการที่จะตอบโจทย์ของธุรกิจต่างๆ
  • Technical Architecture เพื่อแสดงโครงสร้าง Hardware, Software  หรือแม้กระทั่ง  Telecom Network    ในองค์กร

แผน EA นอกจากจะช่วยให้เราได้ผังหลักๆ  4 ด้านนี้แล้ว เราอาจจะเห็นผังย่อยๆในเรื่องต่างๆดังแสดงในรูป

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ EA ก็คือเรื่องของ Cost Saving  ที่จะทำให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่า ทั้งนี้เมื่อเราจะมี  Project ใหม่ๆ เราก็จะมาพิจารณาจากแผน EA เพื่อให้ได้ Solution Architectire ที่เหมาะสมตาม  Architecture  ต่างๆที่วางไว้ และการเลือกเทคโนโลยีต่างๆตามแผน

การทำ EA ควรจะเริ่มต้นจากการได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหารเพราะ EA ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายไอทีแต่อย่างเดียว และสิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือการพิจารณาเลือก  Framework  ในการทำ EA ซึ่งที่นิยมมักจะมีสองตัวคือ TOGAF และ Zachman Framework

สำหรับเอกสารการบรรยายที่ได้ทำขี้น ผมได้รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆดังนี้

Slide จาก SlideShare.net

เอกสารจาก Wikipedia

วิดีโอจาก YouTube

ในด้านของการอบรมการทำ Enterprise Architecture ผมได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆในวงการไอทีหลายคน และคนหนึ่งที่ร่วมงานกันมาด้วยดีตลอดคือคุณดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ที่มีตำแหน่งเป็น  Enterprise Architect ของ  Oracle ที่ดูแลงานในหลายๆประเทศในภูมิภาคนี้ และผมได้เชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษของ IMC Institute และจะมีการอบรม Enterprise Architecture in Cloud Computing Era ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2556 โดยสามารถมาดูรายละเอียดการอบรมได้ที่ >> EA Course

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

การบรรยายและ Presentation ของผมเรื่อง Cloud Computing

ในช่วง 2-3  ปีที่ผ่านมานี่ผมมีโอกาสไปบรรยายด้าน Cloud Computing หลายๆที่และในหลายๆหัวข้อ จริงๆอาจกล่าวได้ว่าในตอนที่ผมอยู่  Software Park ผมพยายามที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยตระหนักในเรื่องของ  Cloud Computing และ Mobile Technology อย่างมาก

ผมเองไม่ได้เป็นแค่ค้นหรือรวบรวมเอกสารมาบรรยาย แต่ตัวผมเองอยู่กับ Cloud Technology ทั้งการใช้งานส่วนตัวที่เป็น Personal Cloud และในงานขององค์กร เอกสาร รูปภาพ ไฟล์ต่างๆผมอยู่บน Cloud ทั้งหมด โดยใช้มันตั้งแต่ Dropbox, Picasa, Google Apps, Evernote, Springpad, Salesforce และอย่างอื่นๆอีกมากบน Cloud เรียกกันว่าทุกอย่าง  Sync กันหมดในทุกอุปกรณ์ตั้งแต่  Mac, Galaxy S III, iPad และ Apple TV

นอกจากนี้ผมยังเป็นคนที่พัฒนาโปรแกรมบน Cloud Platform  โดยใช้ PaaS ทั้งที่เป็น Google App Engine, Heroku และวันนี้ก็เล่น  Force.com ในส่วนการพัฒนา Application ผมเองก็ใช้สอนและอบรมในหลักสูตร  Mini Master of Java Technology มาหลายปีและก็เขียนเอกสารและแบบฝึกหัดต่างๆให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนา Application บน Cloud PaaS

อีกด้านก็คือการไปร่วมงานวิจัย การบรรยายทั้งในและต่างประเทศในเรื่อง  Cloud Computing และค้นคว้่าข้อมูลต่างๆที่เกีี่ยวกับ Cloud  จึงทำให้เข้าใจ Cloud Computing ได้ดีขึ้น และก็โอกาสไปแลกเปลี่ยนให้กับที่ต่างๆบ่อยครั้ง

ผมเห็นมีคนมาถามหาเรื่อง Presentation เกี่ยวกับ Cloud Computing ผมเลยเขียน บล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆที่ผมไปบรรยายมากกว่า 30  ครั้งในเรื่อง  Cloud Computing เผื่อบางท่านจะเก็บไว้อ้างอิง รวมถึงการทำ Workshop เรื่อง  Cloud Computing ของผม โดยมีข้อมูลแบ่งไปตามการบรรยายต่างๆดังนี้

การบรรยายงาน International Seminars

การบรรยายให้กับบริษัทซอฟต์แวร์และ  IT Vendors

การบรรยายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

การบรรยายให้กับกลุ่ม SME และผู้ใช้ทั่วไป

วิดีโอการบรรยาย

 เอกสารการสอน

สำหรับเอกสารการพัฒนาโปรแกรม   Cloud Computing บน Google App Engine  ที่ผมมีประกอบด้วย  Slide ประกอยการสอน และแบบฝึกหัดต่างๆดังนี้

นอกจากการบรรยายเรื่อง Cloud Computing และการทำวิจัยแล้ว ผมก็ยังสอนการพัฒนาโปรแกรมบน Cloud Computing อยู่โดยผมจะสอนอยู่สาม  Course คือ

  • Java Web Programming Using Cloud Platform โดย Course นี้จะเน้นการพัฒนาโปรแกรม  Java Web อย่าง Servlet/JSP และก็มีการให้นำ Application ขึ้น Cloud PaaS อย่าง Google App Engine และ Heroku: Course  นี้ให้ทาง IMC Institute เปิดในระหว่างวันที่  18-22 กุมภาพันธ์ 2556
  • Google App Engine for Java Developers อันนี้เป็น Course ที่สอนให้พัฒนาขึ้น Google Cloud  โดยใช้ภาษาจาวา ซึ่งจะเจาะลึกไปถึงการเก็บข้อมูลทั้งการใช้ Big Table และการทำ  Local Database เพื่อเก็บข้อมูลในองค์กรโดยใช้ MySQL  : Course  นี้ให้ทาง IMC Institute เปิดในระหว่างวันที่ 23-24,  31 มีนาคม 2556
  • Force.com Development Quick Start จะเป็นหลักสูตรที่สอนการพัฒนา  Application โดยใช้ Force.com  ที่เป็น PaaS ของ SalesForce การอบรมนี้ตั้งใจจะทำเป็น Training of the month ในเดือนเมษายน 2556 โดยจะเป็น workshop สองวันระหว่างวันที่ 18-19 เมษายน 2556

ดร.ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC Institute

บริษัทซอฟต์แวร์ไทยบน Cloud Platform

ผมมีโอกาสในการสอบถามบริษัทซอฟต์แวร์ไทยหลายครั้งเกี่ยวกับการเป็น Cloud Application ที่มี Business Model แบบ SaaS ซึ่งก็จะมักเจอคำถามกลับว่าซอฟต์แวร์ผมเป็น Cloud หรือเป็น Web Application และบ่อยครั้งก็เจอคนที่ทำ Web Application เข้าใจผิดว่าซอฟต์แวร์ของตัวเองในทางเทคนิคเป็น Cloud Application แล้ว

ซึ่งคราวก่อนผมได้เขียนบล็อกเรื่อง การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud Platform โดยใช้ PaaS/IaaS และได้ชี้ให้เห็นว่าความยากของการทำ Cloud Application อยู่ที่ Elastic/ Scalability/ Reliability และ Multi tenancy ในงวดนี้จึงอยากแนะนำซอฟต์แวร์ไทยที่เป็น Cloud Application ที่เด่นๆให้รู้จักกัน

OokBee

เวลานี้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่เด่นสุดรายหนึ่งคงหนีไม่พ้น OokBee ซอฟต์แวร์แพลต์ฟอร์มสำหรับ E-Book ที่มีร้านหนังสือหลายๆรายนำไปใช้เข่น B2S Bookstore หรือ AIS BookStore เป็นต้น แม้ OokBee จะเป็นโปรแกรมอ่านหนังสือที่รันบน iOS และ Android แต่ระบบหลังบ้านที่เป็นหนังสืออยู่บน Server โดยมีผู้ใช้จำนวน 2.5 ล้านคนรันอยู่บน Cloud Platform ของทั้ง Amazon Web Services และ Microsoft Azure จนล่าสุดทาง Microsoft นำไปเป็นกรณีศึกษาทั่วโลก ดังตัวอย่างในวิดีโอคลิปนี้ของทีมี subtitle ภาษาจีน

Builk.com

ซอฟต์แวร์บริหารจัดการงานก่อสร้างฝีมือคนไทยอันนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดมากมายทั้งงาน APICTA 2011 และงาน Startup Pitching Echelon 2012 ซอฟต์แวร์รันอยู่บน Cloud Platform ของ Microsoft Azure

iLertU

ซอฟต์แวร์ของบริษัท Arunsawad Dot Com ที่ใช้แจ้งเตือนภัยเหตุการณ์ต่างๆซึ่งสามารถรันอยู่บนอุปกรณ์ Smartphone หรือ Tablet ในหลายๆ Platform ก็มีหลังบ้านที่จะต้องติดต่อกับผู้ใช้จำนวนมาก ซึ่งผู้พัฒนาก็ได้ย้ายแอพพลิเคชันขึ้นไปทำงานบน Windows Azure และมีลูกค้าจริงใช้งานอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ตัวนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ APICTA 2012 และรางวัลประกวดอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ทาง Arunsawad Dot Com ยังมี application ที่รันบน Cloud ของ Microsoft Azure ก็คือ @2claim สำหรับบริษัทประกันภัย

ECartStudio

ซอฟต์แวร์ระบบ Location-Based Information เป็นซอฟต์แวร์อีกรายหนึ่งที่มีหลังบ้านทำงานอยู่บน Platform ของ Microsoft Azure ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด APICTA 2012 และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

Screen Shot 2556-02-02 at 11.40.59 AM

eFlowSys

เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ERP ที่รันอยู่บน Windows Azure โดยให้บริการในธุรกิจหลากหลายทั้ง ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจไอที ธุรกิจแฟชั่น ธุรกิจขายส่ง และธุรกิจ โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3,550 บาท/เดือน ซอฟต์แวร์นี้ก็เคยได้รับรางวัลหลายๆรางวัลทั้งจาก Intel และ SIPA

Screen Shot 2556-02-02 at 12.06.57 PM

Absolute |Solutions|

เป็นซอฟต์แวร์บริหารระบบ ERP ที่ทำงานอยู่บน Cloud Platform ของ Amazon Web Services โดยมีระบบหลากหลายทั้ง ระบบคลังสินค้า ระบบค้าปลีก ระบบค้าส่ง ระบบจัดซื้อ ระบบการเงิน ซอฟต์แวร์ตัวนี้เคยได้รับรางวัลของ True IDC และมีวิดีโอแนะนำตามนี้

OfficeAbility

โปรแกรมบริหารจัดการภายในสำนักงานที่ทำงานบน Cloud Platform ของ Amazon EC2 ซึ่งสามารถขายในต่างประเทศตัวนี้ พัฒนาโดยบริษัทของคนไทยชื่อ Mai Thai Enterprise ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโปรแกรมที่กำหนดราคาแบบ SaaS โดยแปรผันไปตามจำนวน Users และขนาดของ Storage ที่จะใช้ในแต่ละเดือน โดยราคาเริ่มต้นที่ $69 สำหรับสำนักงานที่มีผู้ใช้น้อยกว่า 30 คน และต้องการพื้นที่ Storage ไม่เกิน 4 GB

Screen Shot 2556-02-02 at 2.23.35 PM

BentoWeb

เป็นซอฟต์แวร์ e-commerce สำหรับให้ผู้ใช้สามารถเปิดร้านค้าบน Facebook ได้ โดยโปรแกรมนี้ทำงานอยู่บนระบบของ  Microsoft Azure  ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างของธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ผู้ประสบความสำเร็จในการนำ Cloud Platform มาใช้งาน

Screen Shot 2556-02-05 at 12.29.46 PM

Computerlogy

เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ทำ Web Application และทางไมโครซอฟต์ระบุว่ามีการนำ Cloud Platform ของ Microsoft Azure มาใช้ในการทำ Application