ขีดความสามารถการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN

เมื่อวันเสาร์ที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให่ไปบรรยายที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “Shaping Thailand and AEC with ICT – Master Plan” โดยบรรยายร่วมกับ คุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผอ.สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งชาติ และ ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ASEAN จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คำถามหนึ่งที่ถูกถามจากผอ.ไตรรัตน์และทางผมกับดร.การดีตอบเหมือนๆกันคือ หากจัดอันดับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเมื่อเที่ยบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN แล้วประเทศเราอยู่ตรงไหน

ผมกับดร.การดีจะมองว่าในอาเซียน ประเทศสิงคโปร์เขานำหน้าไปไกล ซึ่งทางดร.การดีจัดว่าเป็นดิวิชั่นหนึ่ง ส่วนที่เป็นอันดับสองและสามจะคิดคล้ายกันคือมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งทางดร.การดีจัดให้ประเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไทยจัดอยู่ในดิวิชั่นสอง ส่วนอินโดนีเซียและเวียดนามจัดอยู่ในดิวิชั่นสามด้านไอซีที ส่วน พม่า เขมร ลาว และ บรูไน ก็จัดว่าเป็นอีกดิวิชั่น ในแง่ของบรูไนแม้จะมีอัตราการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สูง แต่เนื่องจากจำนวนประชากรค่อนข้างน้อย และไม่ได้เน้นการแข่งขันด้านนี้มากนัก จึงทำให้ยังไม่สามารถที่จะสู้กับประเทศอื่นๆในอาเซียนได้

เพื่อให้เราเข้าใจถึงขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศไทยกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งที่สำคัญผมเลยทำภาพกราฟฟิกง่ายๆมาเปรียบเทียบให้ดูในด้านต่่างๆดังนี้

Screen Shot 2556-01-24 at 11.42.27 PM

ด้าน IT Industry Competitiveness

ทาง Economic Intelligence Unit (EIU) ได้ประกาศผลการจัดอันดับความสามารถการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมไอทีเมื่อปี 2011 โดยพิจารณาจาก้านต่างๆและมีคะแนนในหกกลุ่มคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที  ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านงานวิจัยไอที ด้านกฎหมายไอที และด้านการสนับสนุนของภาครัฐบาล ปรากฎว่าประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดคือสหรัฐอเมริกา ตามมาด้วยฟินแลนด์ และสิงคโปร์อยู่อันดับสาม (คะแนน 69.8) ซึ่งขึ้นมา 6 อันดับจากการสำรวจเมื่อปี 2009

สำหรับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียอยู่อันดับ 31  (คะแนน 44.1; ขึ้นจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 42) ประเทศไทยอยู่อันดับ 50  (คะแนน 30.5; ตกจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่  49) ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 52  (คะแนน 27.9; ตกจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่  51) เวียดนามอยู่อันดับ 53  (คะแนน 27.1; ขึ้นจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่  56) และอินโดนีเซียอยู่อันดับ 57  (คะแนน 24.8; ขึ้นจากปี 2009 ซึ่งอยู่ที่ 59) ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆที่สำคัญในอาเซียน ผมอาจพอที่ให้ Like  ในการประเมินด้านนี้แต่ก็ยังอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วง

ข้อมูลการวิเคราะห์ทั้งหมด สามารถเข้าไปดูได้ที่ The IT Industry Competitiveness Index

The IT Industry Competitiveness Index

ด้าน E-Government Readiness

ทาง  United Nations Public Administration Network (UNPAN) จะมีการจัดอันดับ E-Government Readiness ออกมาทุกสองปี โดยจะมองในด้านต่างๆที่แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ด้านการบริการออนไลน์ ด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และด้านบุคลากร โดยล่าสุดในปี 2012  ได้จัดให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก  (คะแนน 0.8474 ขึ้นมาจากอันดับที่ 11 เมื่อปี 2010) โดยประเทศที่มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในการสำรวจนี้คือเกาหลีใต้ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และเดนมาร์ก

สำหรับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียอยู่อันดับ 40  (คะแนน 0.6703 ตกมาจากอันดับที่ 32 เมื่อปี 2010)  บรูไนอยู่อันดับ 54  (คะแนน 0.6250 ขึ้นมาจากอันดับที่ 68 เมื่อปี 2010) เวียดนามอยู่อันดับ 83  (คะแนน 0.5217 ขึ้นมาจากอันดับที่ 90 เมื่อปี 2010)  ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 88  (คะแนน 0.5130 ขึ้นมาจากอันดับที่ 78 เมื่อปี 2010) ประเทศไทยอยู่อันดับ 92  (คะแนน 0.5093 ตกมาจากอันดับที่ 76 เมื่อปี 2010) และอินโดนีเซียอยู่อันดับ 97  (คะแนน 0.4949 ขึ้นมาจากอันดับที่ 109 เมื่อปี 2010) เห็นคะแนนด้านนี้แล้วน่าตกใจเมื่อเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นๆในอาเซียน และก็คงต้องคะแนน Unlike

Screen Shot 2556-01-26 at 11.57.20 AM

รายงานการสำรวจฉบับเต็มสามารถดาวน์โหลดได้ที่ E-Government Survey 2012

ด้าน  Cloud Computing Readiness

Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีทีกำลังมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและการใช้ไอซีทีอย่างมาก Asia Cloud Computing Association  ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความตระหนักและสำรวจข้อมูลการใช้  Cloud Computing  ในเอเซีย จะจัดทำผลสำรวจความพร้อมด้าน  Cloud Computing ของประเทศต่างๆในเอเซีย  14 ประเทศทุกปี โดยเริ่มสำรวจตั้งแต่ปี 2011 โดยจะดูข้อมูลต่างๆทั้งในแง่ของ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ความเสี่ยงของดาต้าเซ็นเตอร์ ความปลอดภัยของข้อมูล ความพร้อมเรื่องระบบไฟฟ้า การสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งสองปีติดกันคือญี่ปุ่น และในปี 2012 ทางเกาหลีใต้เป็นอันดับสอง ตามด้วยฮ่องกง และสิงคโปร์

สำหรับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียอยู่อันดับ 8  (คะแนน 63.0 ตกมาจากอันดับที่ 7 เมื่อปี 2011) อินโดนีเซียอยู่อันดับ 11  (คะแนน 47.1 เป็นอันดับเดิมเมื่อปี 2011) ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 12  (คะแนน 46.0 ขึ้นมาจากอันดับที่ 13 เมื่อปี 2011) ประเทศไทยอยู่อันดับ 13  ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายร่วมกับเวียดนาม  (คะแนน 44.9 โดยไทยตกมาจากอันดับที่ 10 ส่วนเวียดนามตกมาจากอันดับ 12 เมื่อปี 2011) ซึ่งเมื่อดูคะแนนจากผลการสำรวจด้านนี้ ก็คงต้องให้คะแนน  Unlike กับประเทศไทยอย่างแน่นอน

Screen Shot 2556-01-26 at 1.04.14 PM

สำหรับรายงานฉบับเต็มสามารถดูได้ที่ CLOUD READINESS INDEX 2012

ด้าน Internet Penetration

ข้อมูลอัตราส่วนการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชาการอาจจะมีหลายแหล่ง แหล่งหนึ่งที่นิยมมาใช้ในการอ้างอิงคือ Internet World Stats ที่ออกรายงานเมื่อเดือนมิถุนายน 2012 เปรียบเทียบข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก โดยในกลุ่มประเทศอาเซียนจะพบว่าประเทศที่มีอัตราส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตต่อประชากรสูงสุดคือ บรูไน 78% ตามด้วย สิงคโปร์ 75%  มาเลเซีย 60.7%  เวียดนาม 33.9% ฟิลิปปินส์ 32.4% ประเทศไทย 30.0% และอินโดนีเซีย 22.1% ซึ่งเมื่อดูข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของเราเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในกลุ่มอาเซียนแล้วคงต้องขอกด Unlike อีกครั้ง

Screen Shot 2556-01-26 at 1.11.37 PM

สำหรับข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถดูได้ที่ Internet World Stats

ด้านความเร็วของอินเตอร์เน็ตสำหรับเครื่อง Desktop

เมื่อเดือนเมษายน 2012 ทาง Google ได้วัดความเร็วในการโหลดเว็บจากอินเตอร์เน็ตของประเทศต่างๆทั่วโลก 50 ประเทศ ซึ่งผลการสำรวจพบว่าประเทศที่มีความเร็วสูงสุดคือ Slovak ใช้เวลา 3.3  วินาที ตามด้วยเกาหลีใต้  3.5  วินาที สาธารณรัฐเช็ค เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยความเร็วอยู่ที่ 9.6 วินาที ซึ่งอาจช้ากว่าเวียดนามที่มีความเร็ว 6.6 วินาที แต่ก็ยังเร็วกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน อย่าง มาเลเซีย 14.3 วินาที ฟิลิปปินส์ 15.2 วินาที และ อินโดนีเซีย 20.8  วินาที ดังนั้นเมื่อดูคะแนนความเร็วอินเตอร์เน็ตบนเครื่อง Desktop  แล้ว ก็คงพอกด Like ให้กับประเทศไทยได้

ด้านความเร็วของอินเตอร์เน็ตสำหรับ Mobile

การสำรวจอีกอันที่ทาง Google ทำควบคู่กันไปคือการวัดความเร็วในการโหลดเว็บจากอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งผลการสำรวจพบว่าประเทศที่มีความเร็วสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ใช้เวลา 4.8  วินาที ตามด้วยเดนมาร์ก  5.2  วินาที ฮ่องกง นอร์เวย์ และสวีเดน สำหรับประเทศไทยเนื่องจากเรายังไม่มีระบบ 3G ความเร็วจึงอยู่เพียง 16.3 วินาที และอาจช้ากว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน อย่าง เวียดนาม 11.6 วินาที อินโดนีเซีย 12.4 วินาที มาเลเซีย 13.2 วินาที แต่อาจใก้ลเคียงกับฟิลิปปินส์ ดังนั้นเมื่อดูคะแนนด้านนี้แล้ว ก็คงต้องกด Unlike ให้กับประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

ผลการสำรวจของ Google สามารถดูได้ที่ Google Analytics

การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud Platform โดยใช้ PaaS/IaaS

กระแสของ Cloud Computing  กำลังมาแรงมาก และทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ต้องเริ่มปรับรูปแบบของซอฟต์แวร์ตัวเองจาก Product เป็น Service และเริ่มที่จะให้บริการเป็นแบบ  SaaS (Software as a Service) แต่จริงๆแล้ว SaaS เป็นเพียง Business Model ของ Cloud Computing แต่ในแง่ทางด้านเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็น Cloud Application ไม่ใช่เป็นแค่การทำซอฟต์แวร์ตัวเองให้เป็น Web Application แล้วก็คิดค่าใช้จ่ายแบบ SaaS

ในทางเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud Platform จะมีจุดที่ต้องพิจารณาหลายด้านอาทิเช่น

  • Reliability ระบบ  Server  จะต้องมีความน่าเชื่อถือ สามารถรองรับ  SLA ทีเหมาะสมได้ ดังนั้นการทำ   Web Application โดยไม่คำนึงถึง  Hosting  ที่เหมาะสม ไม่ใช่การทำ Cloud App ที่ถูกต้อง
  • Redundancy ระบบ Cloud จะต้องระบบสำรองที่ดี (DR Site)  ซึ่งโดยมากมักจะเป็นระบบที่ให้บริการและติดตั้งบน Data Center ขนาดใหญ่
  • Elastic ระบบ  Cloud Server จะต้องมีความยืดหยุ่น กล่าวคือเมื่อมีผู้ใช้มากระบบก็จะมีทรัพยากรเพียงพอ และสามารถที่จะทำ Virtualization และ Multi-Tenancy ได้
  • Scalability : ประเด็นนี้จะเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะการทำ  Web Server หรือ Hosting เอง จะไม่สามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ ลองคิดดูว่าถ้าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เปลี่ยนรูปแบบการคิดราคาเป็นแบบ SaaS แล้วมีผู้ใช้เข้ามาใช้จำนวนมาก แต่การออกระบบไม่ได้รองรับไว้ก็จะทำให้ระบบล่มได้

ดังนั้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud Platform  ที่ดี จะต้องไปใช้บริการของ Cloud Provider ที่เป็น IaaS (Infrastructure as a Service) หรือ PaaS (Platform as a Service) อย่างเช่น Amazon EC2, Microsoft Azure, Google App Engine, Heroku, OpenShift, Force.com  หรืออาจใช้ผู้บริการในประเทศอย่าง True IDC เป็นต้น

การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud โดยใช้บริการ IaaS และ PaaS จะมีความแตกต่างกันดังนี้

  • การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ IaaS  ผู้พัฒนาจะต้องบริหารจัดการหลายๆอย่างเองหมด อาทิเช่น การติดตั้ง  Web Server  และ Database Server, การทำ Load Balance, การบริหารจัดการ  VMware  หรือ DBMS และ การพัฒนา Application ดังรูป 
การพัฒนา Cloud App โดยใช้ IaaS (Source: Comparing IAAS and PAAS: A Developer’s Perspective by Wely Lau)
  •  การพัฒนาบน PaaS นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะสามารถที่จะมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาและติดตั้ง Application ได้อย่างเดียว โดยการทำงานและบริหารระบบอื่นๆทาง  Cloud Provider  จะเป็นผู้ดำเนินการให้ดังรูป
การพัฒนา App โดยใช้ PaaS (Source: Comparing IAAS and PAAS: A Developer’s Perspective by Wely Lau)

แต่การพัฒนาบน PaaS ก็จะมีข้อจำกัดตามที่ Cloud Provider กำหนดเช่น ภาษาที่ใช้ หรือการกำหนด Web Server หรือ Database Server  ข้อสำคัญในปัจจุบันเรายังไม่มีผู้ให้บริการ PaaS  ภายในประเทศจึงยังต้องพึี่งการให้บริการจากต่างประเทศ ก็อาจมีปัญหาเรื่องของการสื่อสารและการชำระเงิน

สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สนใจการพัฒนา  Cloud Application ก็สามารถที่จะเลือก Platform  ต่างๆได้ดังนี้

  • Amazon Web Services (AWS) : เป็น  IaaS ที่น่าสนใจเพราะผู้พัฒนาสามารถที่จะติดตั้ง Middleware  ต่างๆได้ และทดลองใช้งานได้ฟรี จึงเหมาะกับนักพัฒนาที่ใช้ภาษาต่างๆเช่น PHP, Java, Python ที่ต้องการความคล่องตัว
  • Microsoft Azure: เป็นทั้ง IaaS และ PaaS จึงทำให้นักพัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมทั้งภาษาที่เป็นของ Microsoft หรือภาษาอื่นๆเช่น PHP หรือ Java ก็้ได้  แต่อยากจะแนะนำให้พัฒนาด้วย .NET และใช้  Tool อย่าง Visual Studio จะง่ายกว่า (ซึ่งถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติม ทาง IMC Institute ได้เปิด Course  อบรม  Windows Azure for .NET Quick Start)
  • Google App Engine: เป็น PaaS  ที่ทำงานบน  Infrastructure ของ Google ที่นักพัฒนาสามารถเลือกใช้ภาษาอย่าง  Java หรือ Python มาพัฒนาได้  โดยสามารถจะเลือกใช้ฐานข้อมูลที่เป็น BigTable ของ Google หรือ MySQL หรือแม้แต่จะเชื่อมต่อกับ Database ของตัวเองก็ได้  (ซึ่งถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติม ทาง IMC Institute ได้เปิด  Slideshare ให้ Download เอกสารการบรรยายและแบบฝึกหัดภาษาไทยให้ทดลองทำ และยังมี Course  อบรม Google App Engine for Java Developers )
  • OpenShift: เป็น  PaaS ของ RedHat ที่นักพัฒนาสามารถจะเลือกพัฒนา Application โดยใช้ภาษาอย่าง Java, Ruby, Node.JS,  Python, PHP และ Perl   โดยรันบน  JBoss Server ซึ่งเมื่อ 2012   OpenShift ได้รับเลือกเป็น PaaS ที่ดีที่สุด
  • Heroku: เป็น  PaaS อีกอันหนึ่งที่สามารถใช้ภาษาที่หลากหลายในการพัฒนาได้อาทิเช่น  Ruby, Node.js, Clojure, Java, Python, and Scala ซึ่ง Cloud Platform นี้ได้ถูกซื้อไปโดย Salesforce  (ซึ่งถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติม ทาง IMC Institute ได้เปิด Course  อบรมการพัฒนา Java Web Application เป็นมีตัวอย่างการพัฒนา App ขึ้น Heroku ใน course Java Web Programming  Using Cloud Platform)
  • Force.com : เป็น PaaS รายแรก ที่ใช้  Platform ของ SalesForce  เหมาะสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการพัฒนาระบบ CRM หรือ ERP อย่างรวดซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำ  App  ที่พัฒนาขึ้นไปขายใน AppExchange ของ SalesForce ได้ (ทาง IMC Institute จะเปิดการอบรม Training of The Month ในเดือนเมษายน เพื่อให้ผู้สนใจการพัฒนา Force.com เป็นพิเศษ)

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

www.imcinstitute.com

www.facebook.com/imcinstitute

การก่อตั้งสมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย

ผมจำได้ว่าตอนเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ก่อนผมเข้าทำงานที่ Software Park คนที่นั้นโทรมาหาผมขอให้ไปบรรยายเรื่อง SOA (Service Oriented Architecture) ในการประชุมวิชาการที่เรียกว่า ITARC ซึ่งย่อมาจาก IT Architect Regional Conference Thailand ก็เลยทำให้ทราบว่าในเมืองไทยเรามีชมรมที่เกี่ยวข้องกับ IT Architect ที่ชื่อว่า IASA Thailand ซึ่งก็เป็น Chapter ของ IASA (An Association for IT Architect) ซึ่งกลุ่มสถาปนิกไอทีที่มีสาขาต่างๆอยู่ทั่วโลกหลายที่ และก็มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้และสอบประกาศนียบัตรด้าน IT Architect

Screen Shot 2556-01-19 at 10.54.09 PM

ในช่วงต้น IASA Thailand ดำเนินการโดยทีมงานของ สำนักงานส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจคอมพิวเตอร์ ( CCP ) ของ สวทช. โดยนายแพทย์สมิทธ์ สุขสมิทธ์ ท่านผู้อำนวยการสำนักในตอนนั้น และภายหลังทาง Software Park ก็นำมาช่วยดำเนินการต่อ โดยมีอดีตผอ.Software Park ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ เป็นประธาน ​ซึ่งกิจกรรมของชมรมส่วนใหญ่ก็คือการจัดสัมมนาและ  Training ในการที่จะสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญของ  IT Architecture ให้กับคนในกลุ่มไอที

เมื่อผมมารับตำแหน่ง ผอ. Software Park ก็มีการจัดกิจกรรมสัมมนาหลายครั้งและก็มีการประชุมกันกลุ่มตามโอกาสอันสมควร แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ประธานและสมาชิกชมรมพยายามผลักดันก็คือ การจะทำให้ชมรมนี้มีการจดทะเบียนเป็นสมาคมวิชาชีพ ทางสมาชิกชมรมก็ได้ปรึกษากันหลายๆครั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อบังคับสมาคมและได้การสนับสนุนจากพนักงานใน  Software Park ในการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสมาคม

แม้เราอาจจะใช้เวลาดำเนินงานในการจดทะเบียนค่อนข้างนาน เนื่องจากติดขัดเรื่องเอกสาร แต่สุดท้ายเมื่อปลายปี ทางกระทรวงมหาดไทยก็แจ้งเรามาว่าการจดทะเบียนสมาคมเรียบร้อยแล้วและให้เราไปชำระเงินค่าจดทะเบียน ในวันนี้เราจึงมีสมาคมวิชาชีพทางไอทีเกิดมาใหม่ที่ชื่อ  “สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย”  (สทสท )  หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thailand IT Architects Association” (TITAA)

สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดยอมรับวิชาชีพทางด้าน   IT Architect ทำให้สาขาวิชาชีพนี้เป็นที่ยอมรับและมีการรับรองคุณวุฒิ และประกาศนียบัตรต่างๆเหมือนอย่างสมาคมวิชาชีพอื่นๆเช่น วิศวกร แพทย์ และนักบัญชี นอกจากจะทำหน้าที่ ส่งเสริม และให้ความรู้่ เพื่อเกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพนี้ ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ และหน่วยงานต่างๆในการส่งเสริมงานทางด้่าน IT Architect

ผู้ที่สนใจ สามารถที่จะดูรายละเอียดข้อบังคับของสมาคมได้ที่   >>   Link ข้อบังคับสมาคม

ซึ่งเพื่อให้จดทะเบียนได้ เราจำเป็นต้องมีนายกสมาคมและกรรมการ ซึ่งในตอนนั้นผมก็เลยต้องใส่ชื่อตัวเอง สมาชิกชมรมบางท่าน และพนักงาน Software Park มาเป็นกรรมการชั่วควารก่อน แต่ตั้งใจว่าเมื่อตั้งเป็นสมาคมเสร็จก็จะลาออกจากกรรมการ แล้วก็ให้สมาชิกมาเลือกกันใหม่

ที่สำคัญก็คือต้องมีการระดมหาสมาชิกที่สนใจในสมาคมนี้และมาทำงานร่วมกัน ตามข้อบังคับของสมาคมจะมีสมาชิกอยู่  4 ประเภทคือ

  • สมาชิกสมทบ ก็คือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของสมาคม 
  • สมาชิกสามัญ ก็เหมือนกับสมาชิกสมทบแต่จะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านหลักเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด
  • สมาชิกสามัญวิชาชีพ จะต้องเป็นสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 2 ปีแล้วก็ประกอบวิชาชีพ IT Architect ผ่านการทดสอบหรือหลักเกณฑ์ที่สมาคมกำหนด
  • สมาชิกกิตติมศักดิ์

ซึ่งในเบื้องต้นคงจะต้องหาสมาชิกสามัญกัน โดยได้ปรึกษาหารือที่จะกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นคือ เป็นบุคคลที่ทำงานด้านไอทีมาอย่างน้อย  4 ปี  ผมจึงได้ให้ทีมงานทำแบบฟอร์มใบสมัครแก่ผู้สนใจที่จะมาร่วม โดยสามารถ  Download แบบฟอร์มได้ที่ >>    ใบสมัครสมาชิก

อนึ่งการสมัครสมาชิกจะมีค่าสมัคร 20 บาทและค่าบำรุงรายปีๆละ  400  บาท  โดยในเบื้องต้นผมได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่อยู่ในการส่งเอกสารและเบอร์บัญชีชั่วควาร เพื่อจะให้ดำเนินงานต่อไปได้ โดยผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมได้ปรึกษากันแล้วเห็นว่าเราจะเปิดรับสมาชิกสามัญไปจนถึงวันที่   28 กุมภาพันธ์ จากนั้นวันที่   18  มีนาคม 2556 เวลา 17.00 น. เราจะมีประชุมใหญ่ของสมาชิก เพื่อแถลงวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคม

สุดท้ายผมขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมก่อตั้งสมาคม จริงๆแล้วผมมีส่วนร่วมในงานนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับท่านอื่นๆ และคงต้องขอบคุณทีมงานในซอฟต์แวร์พาร์คทุกท่านที่ช่วยกันผลักดันให้สามารถจดทะเบียนสมาคมสำเร็จ

ผลงานซอฟต์แวร์ไทยกับการประกวด Asia Pacific ICT Awards


APICTA2012

Asia Pacific ICT Awards (APICTA) เป็นงานประกวดผลิตภัณฑ์ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศในกลุ่มสมาชิก โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความตระหนักเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะทางด้านซอฟต์แวร์ และเพื่อลดช่องว่างเชิงดิจิตอลของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังต้องการที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทและหน่วยงานต่างๆได้นำผลิตภัณฑ์หรือผลงานในประเทศมาประกวดแข่งกัน เพื่อที่จะให้สามารถเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน อันจะมีผลทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมไอทีใหม่ๆ การกระตุ้นให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ของประเทศสมาชิก การส่งเสริมการตลาดและการขายซอฟต์แวร์ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับบริษัทซอฟต์แวร์และหน่วยงานต่างๆในประเทศกลุ่มสมาชิก

APICTA มีสมาชิกจาก 16 ประเทศคือ ออสเตรเลีย บรูไน จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเก๊า มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม ซึ่งเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2001 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และทางประเทศไทยเองก็มีโอกาสเป็นเจ้าภาพงานนี้ 3 ครั้งคือ ปี 2003 ที่กรุงเทพมหานคร ปี 2005 ที่เชียงใหม่ และ ปี 2011 ที่พัทยา

BizSpark

Builk.com 2011

remote_image_ab85a4f266

Neo Invention 2010

kittinun

Arunsawad 2012

apicta2002

CyberPlanet 2003

จากการประกวด APICTA 12 ครั้งที่ผ่านมา บริษัทและหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลายๆรางวัลดังนี้

  • ปี 2003 บริษัท CyberPlanet ประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2004 บริษัท CyberPlanet Interactiveประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2005 บริษัท CT Asia ประเภท Communication Applications
  • ปี 2006 บริษัท Comanche ประเภท Tourism & Hospitality
  • โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2007 บริษัท LarnGear Technology ประเภท Research & Development
  • บริษัท AISoft ประเภท Tourism & Hospitality
  • โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2009 บริษัท SSC Solutions ประเภท Industrial Applications
  • บริษัทการบินไทยจำกัด ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2010 บริษัท Neo Invention ประเภท e-Logistic and Supply Chain Management
  • บริษัท GeoMove ประเภท Tools and Infrastructure
  • ปี 2011 บริษัท Builk Asia ประเภท Industrial Applications
  • บริษัท Netka Systems ประเภท Tools and Infrastructure
  • บริษัท Nippon Sysits ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2012 บริษัท Arunsawad Dot Com ประเภท Financial Industry Applications และ บริษัท EcartStudio ประเภท Tools and Infrastructure

สำหรับในปี 2012  เราสามารถสรุป รางวัลของประเทศต่างๆได้เรียงลำดับดังนี้

  •  Hong Kong 5 Winners, 7 Merits
  • Singapore 3 Winners, 2 Merits
  • Australia 3 Winners, 2 Merits
  • Indonesia 2 Winners, 5 Merits
  • Thailand 2 Winners, 2 Merits
  • Malaysia 1 Winner, 9 Merits
  • Brunei 1 Winner, 4 Merits
  • Sri Lanka 4 Merits
  • Pakistan 4 Merits
  • Macau 2 Merits

การเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

วันนี้ของนำบล็อกเก่ามาเขียนใหม่ เพราะนึกถึงการบรรยายของผมในหัวข้อ “Technology Trends &  The Impact of Software Industry” เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม ที่ผมได้รับเชิญจากสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ให้ไปบรรยายให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ฟังทั้งนี้สามารถที่จะ Download สไลด์ในการบรรยายได้จากที่ https://dl.dropbox.com/u/12655380/TechTrends.pdf

สไลด์มีทั้งหมด 119 หน้าโดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ 5 ตอนคือ

  • IT Trends
  • Post-PC Era
  • Mobile Cloud Computing
  • The World in 2020
  • 12 Massive Changes That Will Transform The Software Industry Within 5 Years

ในส่วนแรกเรื่อง IT Trends ผมเริ่มจากการนำบทวิเคราห์บางแห่งที่ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตเราจะไม่รู้จักเทคโนโลยีหรือสิ่งของบางอย่างที่เราไม่ได้ใช้ในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างเช่น Wired Home Internet, Hard Drives, Mouse, Video Tapes, Paper Map เป็นต้น และแสดงให้เห็น Technology Trends ต่างๆที่วิเคราะห์มาจาก Gartner และที่อื่นๆ โดยสรุปให้เห็นว่า IT Trends ที่สำคัญก็คือ

  • Mobile Devices ที่จะมาสู่เรื่องของ (Bring Your Own Device : BYOD)
  • Cloud Computing
  • Social Network
  • Information (Big Data)

ในส่วนถัดมาจะพูดถึงว่าในปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุค Post-PC โดยเราได้ใช้  Mobile Devices ต่างๆเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงซอฟต์แวร์และอินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์เหล่านี้ก็มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้อุปกรณ์ mobile devices มีแนวโน้มที่โตเพิ่มขึ้นทุกๆปี ทั้งในส่วนของ Smartphone และ Tabletโดยคาดการณ์ว่าจะมียอดขาย Smatphone ในปี 2014  ถึง 1.05 พันล้านเครื่องและยอดขาย Tablet ในปี 2016 ถึง 370 ล้านเครื่อง การเข้าสู่ยุค Post-PC ทำให้แนวโน้มการใช้ซอฟต์แวร์เปลี่ยนไป โดยคนจะคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ต้องสามารถใช้ได้กับทุกอุปกรณ์ Notebook,Tablet,SmartPhone
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา และ ทุกอุปกรณ์
  • สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงัก และข้อมูลไม่สูญหาย
  • คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน OPEX ไม่ใช่ CAPEX
  • เป็นบริการ (Service) ไม่ใช่ ผลิตภัณฑ์ (Product)

ในส่วนของ Mobile Cloud Computing ได้พูดถึงว่าการใช้ไอทีในปัจจุบัน Mobile Devices จะเป็นเพียง Front ที่จะเข้าถึง Application ที่อยู่่หลังบ้านที่อยู่บนระบบ Cloud Computing ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างปัจจุบันว่าคนจะใช้ Smartphone, Tablet หรือ Notebook เข้าถึง Application อย่าง Facebook, Gmail หรือ Google Apps และแนวโน้มของนักพัฒนาจะต้องทำ Applications ขึ้นสู่ Cloud Computingมากขึ้น โดยจะใช้บริการ Cloud ที่เป็น IaaS และ PaaS เพื่อที่พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็น SaaS ให้กับผู้ใช้ ทำให้โมเดลในการพัฒนาซอฟต์แวร์และการทำธุรกิจเปลี่ยนไป

ในหัวข้อถ้ดมาได้พูดถึง The World in 2020 จริงๆแล้วสไลด์ในส่วนนี้นำมาจากเว็บไซต์ FutureAgenda.org ที่เขาได้ไปสอบถามองค์กรระดับโลกถึง 1,500 องค์กรเพื่อที่จะศึกษาแนวโน้มว่าโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในปี 2020  โดยมีข้อสรุปในสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือสิ่งที่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนสี่เรื่องคือ

  • ในปี 2020  เราจะมีประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอีก 700 ล้านคน
  • ทรัพยากรบางอย่างจะมีน้อยลง และจะเกิดการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและการเมือง
  • โลกจะเชื่อมต่อกันทั้งหมดผ่านเครือข่าย โดยเราจะมีอุุปกรณ์ที่ต่่ออินเตอร์เน็ตถึงห้่าหมื่นล้านชิ้น
  • เศรษฐกิจของโลกจะย้ายจากตะวันออกสู่ตะวันตก

และกลุ่มสองคือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเรื่องต่างๆ  6 ด้่านคือ Security, Locality, Health, Happiness, Wealth และ Mobility อาทิเช่น

  • การคาดการณ์ว่าคนจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น และงบประมาณด้านนี้จะสูงมาก
  • รัฐบาลจีนจะลงทุนสร้างราวรถไฟถึง 100,00 กิโลเมตร
  • เอเซียจะเป็น  Hub สำหรับสายการบินต่างๆแทนที่อเมริกา
  • ประชากรจะมาอยู่กันอย่างหนาแน่นในตัวเมือง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
  •  Telecom Operator  จะทำหน้าที่เป็นผู้ระบุตัวตนของประชากร เสมือนหน่วยงานของรัฐเช่นกรมการปกครอง

(ข้อมูลของเว็บไซต์ FutureAgenda.org จะสอดคล้องกับวิดีโอคลิป How will be the world in 2020?  ข้างล่างนี้)

ในส่วนสุดท้ายเอามาจากเว็บ http://www.businessinsider.com// ที่จะพูดถึงสิ่งที่จะมีผลกระทบ 12 ด้านที่มีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ใน 5 ปีข้างหน้า เช่นการพูดถึง Cloud Computing จะเปลี่ยนวิธีการซื้อซอฟต์แวร์ การใช้ Web App ทำให้ลดการผูกขาดของไมโครซอฟต์ เทคโนโลยี  mobile ทำให้เปลี่ยนแปลงการใช้ซอฟต์แวร์ และพูดถึงผลกระทบจาก Open Source และ Big Data ที่ผลต่ออุตสาหกรรมซอต์แวร์