ดังนั้นเพื่อให้ประเทศเราแข่งขันได้ เราจำเป็นจะต้องเอาหลักสูตรเอไอเข้ามาใส่ในการศึกษาทุกระดับ ทุกคณะและทุกสาขาวิชาควรมีการสอนการพัฒนาเอไอ ส่วนหลักสูตรที่เป็นด้านเอไอหรือวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะต้องเร่งพัฒนาผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ต้องเน้นวิชาด้านคณิตศาสตร์มากๆแม้แต่ในระดับปริญญาตรีก็ควรที่จะต้องเรียนคณิตศาสตร์เป็น 10 วิชา ถ้าหลักสูตรเรียนเพียงเพื่อเขียนโปรแกรมหรือใช้เครื่องมือในการพัฒนาระบบเอไอหรือวิเคราะห์ข้อมูล ก็ควรที่จะมุ่งพัฒนา Citizen Data Scientist และ Citizen AI Developer มากกว่า
ธนชาติ นุ่มนนท์
IMC Institute
————–
หมายเหตุ
ทั้งนี้ทางสถาบันไอเอ็มซี จะจัดงาน Free Webinar #31: “AI in Practice: The Series (4 EPs)” AI ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายขึ้น ใครๆก็ทำได้ ร่วมรับฟังการบรรยายผ่านระบบ Zoom และรับชมการสาธิตการใช้โปรแกรมจริง
Internet of Behaviours เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้สามารถเก็บข้อมูลของผู้คนได้มากขึ้น ทั้งข้อมูลของลูกค้าในเชิงธุรกิจและข้อมูลของประชาชนสำหรับภาครัฐ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากโซเชียลมีเดีย Internet of things หรือมือถือ ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้คนได้มากขึ้น และอาจนำมาใช้งานในด้านต่างๆได้ดีขึ้นทั้งเรื่องของการให้บริการลูกค้า หรือการควบคุมการเกิดโรคระบาด เช่นการตรวจสอบว่ามีการใส่หน้ากากหรือไม่จากกล้องอัจฉริยะ หรือได้ล้างมือหรือยังจากระบบเซ็นเซอร์ของก็อกน้ำ ตลอดจนการมีระบบติดตามผู้คนทำให้ทราบพฤติกรรมของผู้คนได้มากขึ้น
ผมกับคุณมิค (ศุภชัย สัจไพบูลย์กิจ) ได้มีโอกาสไปบรรยายและทำ Workshop ในหัวข้อ Digital Transformation ให้กับหลายๆองค์กร สิ่งหนึ่งที่คุณมิคจะนำมาให้ผู้เรียนทำเสมอในตอนท้ายก็คือการเขียน Business Model Canvas (BMC) สำหรับการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจ (Business Transformation) ในยุคของดิจิทัล เพราะการทำ Digital Transformation คือการปรับกลยุทธ์และอาจต้องคิดโมเดลของธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วย มากกว่าที่จะคิดเพียงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในองค์กรเพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ยังมีโมเดลธุรกิจเดิมๆซึ่งอาจกำลังเกิด Digital Disruption
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจผ่านปัจจัยทั้ง 9 ด้านที่ครอบคลุมส่วนสำคัญๆ ต่อธุรกิจ BMC ถูกพัฒนาและนำเสนอโดย Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur ในหนังสือชื่อ Business Model Generation (ปี พ.ศ. 2552) เพื่อเป็นเทมเพลตที่ช่วยออกแบบแบบจำลองธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจ และทำให้สามารถช่วยประเมินธุรกิจในด้านต่างๆ 9 องค์ประกอบคือ
BMC ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจต่างๆอาจต้องกลับมาทบทวน Business Model ที่ดำเนินอยู่ ทั้งนี้รูปแบบธุรกิจแบบเดิมก็อาจเริ่มเปลี่ยนไปในยุคไอทีที่เข้ามาในช่วงก่อนหน้านี้ซึ่งมีเรื่องของอินเตอร์เน็ตและ Smartphone เข้ามา และกำลังเปลี่ยนไปอีกครั้งในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เราต้องทำ Digital Transformation
ผมเลยอยากเขียนสรุปสั้นๆให้เห็นว่า องค์ประกอบแต่ละด้านของ Business Model Canvas มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในยุคดิจิทัล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปวางแผนปรับโมเดลธุรกิจในการทำ Digital Transformation ดังนี้
หากองค์กรใดต้องการที่จะทำ Digital Transformation ก็อาจสามารถเริ่มต้นด้วยการทำ Business Model Canvas แล้ววางแผนในบริบทที่ควรจะเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัลตามที่กล่าวมาในที่นี้
ในยุคของอุตสาหกรรม 4.0 มีการกล่าวกันว่ามหาอำนาจโลกเปลี่ยนจากการแข่งขันไปอวกาศ (Space Race) เป็นการพัฒนา AI แข่งกัน ประเทศใดที่ทำเรื่องของ AI ได้ดีกว่าประเทศนั้นมีโอกาสสร้างความได้เปรียบในยุคของอุตสาหกรรม 4.0 โดยจะสามารถ เพิ่มศักยภาพการผลิตและสร้างให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศดีกว่า โดยอาจจะเห็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ในบางด้าน และประเทศใดที่ไม่สามารถแข่งขันหรือพัฒนา AI ได้ก็จะล้าหลังและไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรม 4.0 ได้
คำถามที่น่าสนใจคือว่า ในปัจจุบันชาติใดเป็นผู้ที่ได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2019 มีผลการศึกษาเรื่อง Who is winning the AI race: China, the EU or the United States? ของ Center for Data Innovation ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบศักยภาพการพัฒนา AI ของประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรปใน 6 ด้านคือ ด้านทักษะบุคลากร ด้านงานวิจัย ด้านการพัฒนา ด้านการประยุกต์ใช้งาน ด้านข้อมูล และด้านฮาร์ดแวร์
ทีมงานศึกษาได้วัดจากจำนวนนักวิจัยทางด้าน AI โดยพบว่า สหรัฐอเมริกามีจำนวนมากถึง 28,536 คน ขณะที่สหภาพยุโรปมีกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ รวม 43,064 คน โดยมีมากสุดในประเทศเยอรมัน 9,441 คน และสหราชอาณาจักร 7,998 คน ส่วนจีนมีอยู่ 18,232 คน อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาระบุว่า แม้สหภาพยุโรปจะมีผู้มีทักษะด้าน AI มากสุด แต่ปรากฏว่าจำนวนพนักงานทางด้านนี้ในบริษัทใหญ่ๆ กลับมีน้อยกว่าสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมีเงินทุนสนับสนุนน้อยกว่า และบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกาก็ยังสามารถที่จะดึงดูดคนเก่งทางด้าน AI ไปทำงานได้ดีกว่าที่อื่นๆ
แต่ทั้งสามกลุ่มประเทศต่างก็มีนโยบายในการที่จะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI เข้ามาทำงาน และศึกษาต่อระดับปริญญาโท/เอก โดยการให้ทุนการศึกษา และมีงบประมาณการตั้งหน่วยงานวิจัยทางด้าน AI จำนวนมาก เช่น ประเทศจีนมีแผนที่จะตั้งศูนย์วิจัย AI ถึง 50 แห่ง และมีการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ทางด้านนี้ รวมทั้งมีแผน 5 ปี ที่เน้นในการสร้างบุคลากรทางด้าน AI
ภาพของความเป็นคนไอทีที่แต่ก่อนเป็นเรื่องที่เคยดูแตกต่างจากกลยุทธ์ธุรกิจและเกี่ยวข้องกับสังคมไม่มากนัก ก็กลายเป็นว่าองค์กรและคนนอกวงการไอทีให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ตัวผมเองเลยต้องมีส่วนไปช่วยให้คำแนะนำหน่วยงานต่างๆเรื่องแนวโน้มของเทคโนโลยี การวางกลยุทธ์องค์กร การทำ Digital Transformation หรือแม้แต่ให้เข้าไปช่วยในการพัฒนาระบบ Big Data และก็มีโอกาสได้เข้าไปทำงานเป็นบอร์ดและกรรมการอิสระในองคกร์ต่างทั้งภาครัฐและเอกชน ก็ยิ่งทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและสังคมดีขึ้น
หนังสือเล่มนี้เลยได้รวมรวมบทความและข้อเขียนต่างๆที่ผมลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและ Business Today รวมถึงในบล็อกส่วนตัว thanachart.org ในรอบปีที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจกระแสของ Digital Disruption และการทำ Digital Transformation แนวโน้มของเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงาน ซึ่งก็หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในการที่จะเข้ากระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ดีขึ้น