หนึ่งปีที่ผ่านมากับเรื่องราวเด่นต่างๆของวงการไอทีไทยในมุมมองของผม

Screenshot 2015-01-24 22.30.12

ในรอบปี 2557 มีเหตุการณ์หลายอย่างที่สำคัญต่อวงการไอทีของประเทศไทย ผมคงไม่สามารถจะเขียนสรุปจัดอันดับเหตุการณ์สำคัญในฐานะตัวแทนคนไอทีได้ แต่ผมอยากจะสรุปเรื่องราวต่างๆที่ทางผมและสถาบันไอเอ็มซีได้เจอมาและเห็นว่ามีความสำคัญต่อวงการไอทีในรอบปี 2557 ดังนี้

1) การประกาศนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ทันทีที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่าจะเน้นนโยบายเรื่อง Digital Economy เพื่อใช้ไอซีทีมาเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นผู้รับผิดชอบผลักดันในเรื่องนี้พร้อมกับมีทีมที่ปรึกษาที่เป็นกูรูในวงการไอซีทีที่เป็นคนที่วงการไอทีรู้จักดีเข้ามาช่วย นโยบายนี้ก็ได้สร้างความหวังให้กับคนในอุตสาหกรรมไอซีทีเป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาลที่ผ่านๆมาไม่เคยให้ความสำคัญกับด้านนี้มาก่อน จึงเป็นโอกาสอันดีของวงการไอทีที่จะนำเสนอเรื่องต่างๆ ทั้งทางด้านธุรกิจและกฎหมาย ข้อสำคัญเราก็เห็นความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลนี้ในการทำ Digital Economy ที่ต่างกับรัฐบาลนักการเมืองส่วนใหญ่ที่มักออกนโยบายสวยหรูทแต่ไม่เคยปฎิบัติจริง โดยล่าสุดรัฐบาลก็ผ่านความเห็นชอบร่างพรบเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีทีเป็นกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อนำเสนอสภานิติบัญญติแห่งชาติ พร้อมทั้งยังมีนโยบายและโครงการอื่นๆอีกมาก จนมีบางท่านบอกว่าโอกาสดีๆอย่างนี้มีไม่บ่อยนักคนไอซีทีอยากจะเสนออะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติควรรีบทำ เพราะการรัฐประหารไม่ได้มีบ่อยนัก 

ETDA2

2) การรวมตัวของคนไอทีในกิจกรรมการเมือง ปกติคนไอทีมักจะไม่ค่อยยุ่งกับเรื่องทางการเมืองมากนัก แต่ในปีที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มกปปส.ที่ออกมาสนับสนุนให้มีการปฎิรูปก่อนเลือกตั้งโดยมีการชุมนุมต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือนและมีกิจกรรมต่างๆมากมาย คนวงการไอทีจำนวนมากก็เข้ามาร่วมในกิจกรรมดังกล่าว หลายๆครั้งจะเห็นคนไอทีมากหน้าหลายตาผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมกิจกรรม มีตั้งแต่ระดับคนทำงานไปจนถึงเจ้าของบริษัทโดยไม่ได้เกรงกลัวต่ออำนาจภาครัฐ ซึ่งก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าคนไอทีส่วนใหญ่ไม่ได้แค่สนใจแต่เรื่องเทคโนโลยี แต่ถ้าเป็นเรื่องของบ้านเมืองเรื่องความถูกต้องคนไอทีส่วนมากก็ยินดีจะเข้ามาร่วมเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ กิจกรรมที่สำคัญอันหนี่งที่คนไอทีทำคือการจัดรวมตัวกันของกลุ่มวิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และไอซีที ที่จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม และมีคนวงการไอทีมาร่วมหลายพันคน

1499623_801929639836621_764316460_n

3) ภาคเอกชนร่วมกันนำเสนอกลยุทธ์ Digital Economy เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย Digital Economy  คนในภาคเอกชนที่ประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมต่างๆก็จัดระดมความเห็นเพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นของภาคเอกชนโดยจัดให้มี Workshop 6-7 ครั้ง และเริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม จนสุดท้ายได้เป็นข้อเสนอ 4 ด้านของสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TFIT)  ยื่นต่อภาครัฐบาลและได้แถลงข่าวให้สื่อมวลชนทราบเมื่อต้นเดือนธันวาคม

10361985_398007750346571_3482526127724671760_n

10847902_424636234350389_3483319182901888954_n

4) Start-up ของไทยยังแรงอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เป็นอีกปีที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่เป็นกลุ่มบริษัทเกิดใหม่  (Start-up Company) ได้รับความสนใจมากมายจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตามกระแสของกลุ่ม Start-up ทั่วโลก ในปีนี้ยังมีกิจกรรมประกวด Start-up Software จากหลายๆหน่วยงานทั้งจาก  DTAC, AIS, True และ  Samart และยังมีบริษัทไทยหลายๆบริษัทที่ได้รับเงินสนับสนุนจากนักลงทุนทั่วโลกอาทิเช่นเช่น Page 365, Computerlogy, ถามครู (Taamkru), OokBee, Wongnai และ  ClaimDi เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมายสำหรับกลุ่ม  Start-up ดังที่ทาง Thumpsup สรุปไว้ในรูป

Screenshot 2014-12-29 17.04.51

5) การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารไอทีภาครัฐ ภายหลังการรัฐประหารก็มีคำสั่งของคสช.เปลี่ยนปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจากคุณสุรชัย ศรีสารคามที่ข้ามมาจากผู้ว่าราชการในกระทรวงมหาดไทยมาเป็นคุณเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการของกระทรวงที่ทำงานอยู่กับกระทรวงมายาวนานและเป็นผู้หนึ่งที่มีความเข้าใจและใก้ลชิดกับวงการไอทีดี นอกจากยังมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาต และผู้อำนวยการ NECTEC ก็หมดวาระลง พร้อมทั้งได้ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เป็นนักวิจัยอย่าง ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน นอกจากนี้คนในวงการไอทีหลายท่านก็ยังได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาดำรงตำแหน่งที่สำคัญในทางการเมืองอาทิเช่น ดร.โกศล  เพ็ชร์สุวรรณ์ (อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอดีตนายกสมาคมโทรคมนาคม) และ คุณสุรางคณา วายุภาพ (ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)) ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  (สนช.)

6) กระแส Big Data กำลังมาแรง ในปีนี้หน่วยงานหลายๆแห่งเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของ Big Data  มีการจัดสัมมนากันหลายครั้งโดยหน่วยงานต่างๆทั้งจากVendor ภาครัฐและภาคเอกชน ในแง่ของภาครัฐบาลโดยการนำของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ก็เริ่มมีการพูดถึงเรื่องของ Open Data ทาง IMC Institute ก็มีจากอบรมหลักสูตรทางด้าน Big Data สำหรับทั้งกลุ่มผู้บริหารและหลักสูตรด้านเทคนิคอย่าง Hadoop Technology โดยมีผู้ผ่านการอบรมร่วม 300 คน

1510488_375876575893022_4906313227950881334_n

7) สมาคมไอทีไทยยังแข็งแกร่งและคุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ขึ้นเป็นประธาน ASOCIO ปีนี้สมาคมคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆอย่างสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ครบรอบ 25 ปี และได้มีการจัดงานฉลองการครบรอบดังกล่าวมีผู้คนร่วมจำนวนมากทำให้เห็นถึงความสามัคคีและแข็งแกร่งของกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีไทย แมัจะมีสมาคมไอทีเกิดใหม่อย่างสม่ำเสมออาทิเช่นล่าสุดในปีนี้มีการจัดตั้งสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association) แต่ก็จะเห็นได้ทุกสมาคมต่างก็มีจุดมุ่งหมายทีดีเพื่ออุตสาหกรรม และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องรวมตัวกันก็สามารถช่วยงานกันได้เป็นอย่างดี ล่าสุดก็มีการผลักดันจะจัดตั้งสภาไอซีทีโดยมีสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TFIT) ที่รวมกันถึง 14  สมาคมเป็นผู้เริ่มขับเคลื่อน นอกจากนี้ในปียังมีข่าวดีในวงการอุตสาหกรรมไอทีไทยเมื่อคุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนายก ASOCIO  (Asian-Oceanian Computing Industry Organization) นับเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับตำแหน่งสำคัญนี้

10670001_387788211368525_6092266115346062879_n

8) สามบริษัทไทยชนะเลิศรางวัล APICTA 2014 Asia Pacific ICT Awards (APICTA) เป็นงานประกวดผลิตภัณฑ์ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศในกลุ่ม Asia Pacific โดยมีประเทศสมาชิก 16 ประเทศ ในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียมีบริษัทไทย 3  บริษัทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ บริษัท Siam Square Technology จากประเภท Finacial Industry Application; บริษัท EcartStudio จากประเภท Application and Tool Platform และบริษัท Mobility(Stamp) จากประเภท Start-up นอกจากนี้ยังมีทีมที่ได้รางวัล Merit อีกสี่รางวัลคือ Success Strategy Solution Co.Ltd. จากประเภท Retails & Logistic Supply Chain; จากประเภทนักศึกษา 2 รางวัลที่มาจาก ม.มหิดล และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าบางมด และประเภทนักเรียน 1 รางวัลจากโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์

aptica_thumbnails

9) ตลาด Cloud Computing ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่นิยมขึ้น จากที่เราเคยถกเถียงกันว่า  Cloud Computing  จะมาหรือไม่มา ตอนนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าคนไอทีเริ่มเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้มากขึ้น ปีนี้เริ่มเห็นว่าหน่วยงานต่างๆในประเทศมีการนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้มากขึ้น มีทั้งการทำ Private Cloud และการใช้ Public Cloud หลายๆหน่วยงานรวมถึงหน่วยงานใหญ่ๆทั้งภาครัฐและเอกชนจัดหาซอฟต์แวร์ที่เป็น SaaS มากขึ้นเช่น Google Apps, Office 365  และ Salesforce ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์จำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่ม Start-up ก็ต่างหันมาใช้ Public IaaS หรือ PaaS แทนการจัดหาเครื่อง Server เอง ยิ่ง Vendor หลายใหญ่ๆอย่าง Microsoft นำซอฟต์แวร์ Office ขึ้น Cloud แล้วก็ยิ่งชัดเจนว่าคนไทยต้องมาใช้ Cloud มากขึ้น

10) ปัญหาการขาดบุคลากรด้านซอฟต์แวร์รุนแรงกว่าเดิม สุดท้ายปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีก็ยังคงอยู่ และดูเหมือนว่าจะหนักกว่าเดิมเพราะเด็กรุ่นใหม่ๆเริ่มไม่สนใจที่จะเข้าเรียนทางด้านไอทีเหมือนแต่ก่อน จำนวนมากไม่อยากเรียนเขียนโปรแกรม เด็กรุ่นใหม่ที่จบมาและพร้อมที่จะทำงานเลยก็มีไม่มากนัก จำนวนหนึ่งก็สนใจจะเป็น Freelance หรือทำ Start-up ของตัวเอง ทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆขาดแคลนโปรแกรมเมอร์และต้องแย่งตัวคนทำงานกัน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางสถาบันการศึกษาต่างๆก็เริ่มถกกันว่าเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้คงต้องดูกันต่อว่าแต่ละฝ่ายจะช่วยกันอย่างไร

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ต้องเร่งปฎิรูประบบราชการสู่ยุคดิจิทัล มิฉะนั้นแล้วนโยบาย”ดิจิทัลอีโคโนมี”จะกลายเป็นแค่”มโนอีโคโนมี”

ผมเคยอยู่ในระบบราชการมาเกือบยี่สิบปี ทำงานตั้งแต่เป็นอาจารย์เด็กๆไปจนถึงเข้ามาทำงานบริหาร เมื่อย้ายมาภาคเอกชนก็ยังมีโอกาสไปทำงานกับหน่วยงานราชการเป็นประจำ ผมจำได้ว่าตอนรับราขการผู้ใหญ่มักจะสอนผมว่า “เราจะทำถูกหรือผิด ไม่สำคัญเท่ากับทำให้เอกสารถูกต้อง” ผมว่าราชการเสียเวลาไปมากกับเรื่องของเอกสารและกฎระเบียบ แม้กระทั่งในปัจจุบันราชการเองยังขาดการทำงานเป็นดิจิทัลทั้งวิธีคิดและกระบวนการในการทำงาน พอรัฐบาลนี้บอกว่าจะส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัล  (Digital Economy) มันก็จุดประกายความฝันของผมอีกครั้งหนึ่งที่ภาคราชการกำลังจะเปลี่ยนยุค เมื่อที่ผมเคยฝันเมื่อสิบกว่าปีก่อนตอนรัฐบาลทักษิณจัดตั้งกระทรวงไอซีทีและพยายามผลักดันโครงการไอทีต่างๆ ร่วมทั้งโครงการอย่าง ICT City ในสามจังหวัด แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหนส่วนหนึ่งก็เพราะการขาดความเอาจริงจังของนักการเมืองที่ไม่ได้จัดสรรงบประมาณมาให้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะความคิดที่ไม่เคยเป็นดิจิทัลของภาคราชการเอง

พอเรื่องของดิจิทัลอีโคโนมีเข้ามารอบใหม่ ภาครัฐและภาคเอกชนงวดนี้ก็ระดมความเห็นอีกครั้ง ดูเหมือนคราวนี้ภาครัฐเองจะจริงจังมากกว่าครั้งเก่า คราวนี้ไม่ใช่แค่เปลี่ยนชื่อและโครงสร้างของกระทรวง แต่ก็ยังมีแนวคิดดีๆและออกมาผลักดันอีกหลายๆเรื่องทั้งทางด้านกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และก็ยังเห็นข่าวๆจากหลายๆภาคส่วนว่าจะตั้งเร่งปฎิรูปภาคราชการให้เข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

แต่บังเอิญมันมีเรื่องของ Uber และก็ Co-Working Space ที่ยังคาใจผมในวิธีคิดของภาคราชการ ผมไม่ได้คัดค้านนะครับว่า Uber  ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย หรือการที่คนต่างชาติมานั่งทำงานใน Co-Working Space มันถูกต้องตามกฎหมาย แต่มันสะกิดผมให้เห็นว่าความคิดของภาคราชการที่ผมเคยทำงานมานี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไม่ว่าโลกจะหมุนเปลี่ยนไปเพียงใด ราชการยังเอากฎระเบียบมากางดูทีละข้อแล้วก็จะบอกว่าทำไม่ได้ และไม่คิดหรอกว่าจะหาแนวทางแก้ไขยังไง ทุกวันนี้เห็นราชการทำงานด้านเอกสารแล้วปวดหัว ต้องส่งหนังสือเวียนกันวุ่นวายไปหมด จะประชุมแต่ละทีก็มีเอกสารหนาเป็นบึกส่งมาให้เปลืองกระดาษ ผมประชุมบางทีเสียเวลากับการรับรองรายงานการประชุมเป็นขั่วโมง การทำงานราชการเสียเวลากับการเขียนหนังสือราชการซักเรื่องเป็นชั่วโมง คนราชการวันนี้ทำงานตามตัวอักษรจะเชิญผมมาประชุม มาบรรยายต้องส่งหนังสือที่เกษียณมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดของหน่วยงาน ยังต้องมาถามหาเบอร์เพื่อที่จะส่ง Fax ขอบัตรประชาชนผมเพื่อไปทำเรื่องเข้าประชุมแล้วก็มา  Xerox แล้วก็ต้องให้ลงนามว่าสำเนาถูกต้อง ข้าราชการที่เก่งมีความก้าวหน้าจำนวนหนึ่งคือคนที่เก่งในการเกษียณหนังสือ รู้จักกฎระเบียบและวิธีการปฎิบัติในหน่วยงานอย่างดี แต่ไม่ใช่เรื่องของนวัตกรรมนะครับ

Digital Economy คือการพูดถีงเศรษฐกิจใหม่ จะมีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นอีกเยอะ แต่แน่นอนถ้าจะต้องปฎิบัติตามระเบียบราชการและข้อกฎหมายเราจะต้องตอบทันทีว่า การทำงานหรือทำธุรกิจตามนวัตกรรมใหม่ๆหลายอย่างทำไม่ได้ เพราะขัดระเบียบและข้อกฎหมาย ถ้าภาคราชการไม่เข้าใจและใช้วิธีการทำงานแบบเดิมๆก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะวิธีคิดแบบเดิมๆคือการทำตามระเบียบพอทำไม่ได้ก็ไม่พยายามหาทางช่วยให้เห็นช่องทางที่จะให้ทำได้

Screenshot 2014-12-28 18.12.19

ในเรื่องของ Digital Economy ผมเองก็ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมได้ช่วยกันจัด  Workshop  กันหลายรอบจนนำไปสูjของสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศ (TFIT) ดังรายละเอียดตามเอกสารนี้ (ข้อเสนอเพื่อการพัฒนานโยบาย Digital Economy ของ TFIT )  โดยแบ่งเป็นสี่ด้านคือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านธุรกิจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ 4) ภาครัฐบาล ซึ่งข้อเสนอบางอย่างรัฐบาลชุดนี้ก็ได้วางแผนจะทำแล้ว แต่สิ่งที่ผมห่วงสุดคิอด้านอื่นๆจะไม่ขยับได้เลยถ้า ภาคราชการยังไม่ปฎิรูป และปรับ Mindset ให้เป็นยุคดิจิทัล ถามผมว่าผมอยากเห็นอะไรกับการเปลี่ยนแปลงกับภาคราชการผมอยากเสนอข้อคิดให้เปลี่ยนแปลงดังนี้

1)   คนราชการจะต้องเลิกกลัวการใช้เทคโนโลยี บางท่านอาจเถียงผมว่าข้าราชการก็ใช้  smartphone, Tablet  เล่น Facebook, Line  หรือ YouTube  เป็นประจำ ใช่ครับเราใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงเยอะมาก แต่เราไม่ค่อยใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ภาคราชการจำนวนยังไม่กล้าที่จะใช้ e-commerce, Internet Banking  จำนวนมากไม่รู้จักการใช้  File Sharing อย่าง Dropbox, Google Drive  ไม่เคยได้ใช้โปรแกรมอย่าง  Evernote, Google Docs  หรือ Office 365 ข้อสำคัญราชการต้องอย่ากลัวว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้ข้อมูลของราชการรั่วไหล จนทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้เทคโนโลยีได้เลย

2) ภาคราชการจะต้องปรับกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล การทำงานภาคราชการต้องมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานมากขึ้น ต้องลดการใช้เอกสาร ระบบดิจิทัลไม่ใช่หมายความว่าแค่การใช้ Word, Excel ส่งอีเมล์หรือการใช้ Line แต่มันหมายถึงทุกขั้นตอนตั้งแต่การขออนุมัติเรื่องต่างๆที่ต้องเป็นระบบดิจิทัล มีการใช้ระบบ Digital Workflow การประชุมที่จะต้องเป็นแบบ paperless มีระบบคลังข้อมูลดิจิทัลในการค้นหาเอกสารต่างๆแทนที่จะต้องมาเก็บแฟ้มเอกสารมากมาย การประชุมก็ต้องเลิกแจกเอกสารหนาๆ ต้องเลิกส่งจดหมายเชิญต่างๆ ส่งหนังสือเวียน หรือมาถามหาเบอร์ fax

3) คนราชการต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ ข้าราชการมักจะมีความคิดว่าการทำงานราชการมีความมั่นคง มองการทำงานแบบมีเวลาการทำงานที่แน่นอนตามระบบราชการ ทั้งๆที่วันนี้ โลกกำลังเข้าสู่การไร้พรมแดน ไม่มีขอบเขตเรื่องเวลาการทำงาน เราอยู่ในยุค 24×7 การทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้ คนทำงานอาจอยู่คนที่ละที่ มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นมากมายได้เสมอโดยที่อาจไม่อยู่ภายใต้กรอบเดิมๆ โลกมีการแข่งขันสูงขึ้น เราต้องเน้นวัดการทำงานของราชการที่ Performance Base มันหมดยุคที่จะต้องลงชื่อเข้าทำงาน เข้าประชุม และต้องลดระบบอาวุโส ต้องทำองค์กรให้แบบราบขึ้น (Flat Organization) มีสายการบังคับบัญชาที่น้อยลง โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ และส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรมมากขึ้นในระบบราชการ

4) ภาคราชการต้องปรับบริการประชาชนให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น เราต้องยอมรับว่า e-service ของภาครัฐบ้านเรามีน้อยมาก ที่เด่นๆก็เป็นแค่ระบบการชำระภาษีของกรมสรรพากร บริการส่วนใหญ่ก็เป็นแค่การให้ข้อมูลทางเว็บไซต์ผ่านพีซี บริการที่เป็น Mobile Web หรือระบบอย่าง Government Portal ก็ยังไม่มีมากนัก ทั้งๆที่เรามีการลงทุนซื้อโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมาก แต่ก็ติดกฎระเบียบหลายๆอย่างที่ออกมานานแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกใจการขอบริการต่างๆจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนธุรกิจการค้า การขอคืนภาษี การประมูลจัดซื้อจัดจ้าง การบริการกรมที่ดิน ของบ้านเราจะใช้เวลานานกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและเต็มไปด้วยการขอเอกสารที่ซ้ำซ้อนไปหมด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ควรหมดไปหากจะก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

5) ภาคราชการต้องเปิดกว้างในเรื่องข้อมูล หน่วยราชการต้องเปิดกว้างด้านข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ โดยเฉพาะการทำ Open Data ที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆในรูปของดิจิทัลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ การเปิดข้อมูลนอกจากจะช่วยทำให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ภาคประชาชนนำข้อมูลของรัฐไปสร้างบริการหรือนวัตกรรมใหม่ๆได้ เช่นข้อมูลด้านการจราจร ข้อมูลด้านธุรกิจการค้าต่างๆ ข้อสำคัญภาครัฐต้องตระหนักว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสมบัติของประชาชนไม่ใช่ข้อมูลของหน่วยงานตัวเอง และต้องเปิดกว้างให้ทุกๆภาคส่วนนำข้อมูลที่ไม่ใช่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางราชการนำไปใช้ได้

6) ภาคราชการต้องเน้นการทำงานแบบร่วมกัน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ระบบราชการ มันจะทำให้เกิดบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่ากรแชร์ไฟล์ การทำเอกสารร่วมกัน การส่งเอกสารแบบใหม่ผ่านระบบ Cloud  การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบใหม่นี่จะเกิดประโยชน์อย่างมากถ้าภาคราชการฝึกการทำงานแบบ  Colaboration จะทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

สุดท้ายถ้าราชการยังคิดแบบเดิม ยังไม่ปรับตัวเองตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกยุคใหม่แล้วผมเชื่อว่าดิจิทัลอีโคโนมีคงไปได้ไม่ถึงไหน เผลอๆคงต้องยืมคำพูดของคุณปรีดา ยังสุขสภาพร ที่เขียนบทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่าระวังนะครับ ดิจิตอลอีโคโนมีของเราจะเป็นได้อย่างมากก็เพียง “มโนอีโคโนมี” เท่านั้นเอง

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Screenshot 2014-12-28 18.22.17

รางวัลชนะเลิศการประกวดซอฟต์แวร์เอเซียแปซิฟิก (APICTA) กับความจริงด้านศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยบนเวทีโลก

Screenshot 2014-12-13 21.47.44

โซลูชั่นของคุณตกลงเป็นของประเทศไหนกันแน่” ผมถามผู้ประกวดรายหนึ่งเพราะเห็นในเว็บไซต์ระบุ สำนักงานตั้งอยู่หลายๆประเทศ “เรามี Headquarter อยู่ที่สิงคโปร์ แต่มี สำนักงานขายที่ ออสเตรเลีย, มาเลเซีย และอีกหลายประเทศ แต่เราเป็นโซลูชั่นจากศรีลังกา เรามีทีมงานพัฒนาที่นั้น 400 คน” บริษัทซอฟต์แวร์จากศรีลังการายนั้นตอบคำถามผม

ระบบเราติดตั้งใช้งานเกือบทุกธนาคารในปากีสถาน ขายไปทั่วในตะวันออกกลาง และแอฟริกา มีหลายธนาคารใน Dubai ก็ใช้ระบบของเรา เรามีทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ที่ปากีสถานมากกว่า 500 คน และเรามี Sales Headquarter อยู่ที่ลอนดอน” ผู้เข้าแข่งขันอีกทีมจากปากีสถานนำเสนอผม

บริษัทเรามีสำนักงานที่สหรัฐอเมริกา และก็ขายสินค้ามามากกว่า 1ล้านชิ้นแล้ว” อีกบริษัทจากประเทศมาเลเซีย

เป็นเรื่องที่ผมได้ยินประจำจากการนำเสนอผลงานประกวด APICTA (Asia Pacific ICT Awards) ของผู้เข้าแข่งขันจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่าง Australia, Hong Kong, Singapore หรือ Pakistan หลายชาตินอกจากมีการนำเสนอที่ดีแล้ว เรายังเห็นว่าโซลูชั่นของเขาก้าวเข้าไปสู่ระดับสากลจริงๆ เป็นเรื่องปกติที่จะได้ยินโซลูชั่นของเขานำไปขายทั่วโลก มีทีมนักพัฒนาเป็นหลายร้อยคน มีสำนักงานในต่างประเทศ มีเทคโนโลยีในการพัฒนาทีน่าสนใจและมีการทำ R&D ที่ดี

ผมตัดสิน APICTA มาสิบปีเห็นโซลูชั่นของประเทศไทยเข้าประกวดมากมาย และมีหลายผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งผมเคยสรุปให้เห็นว่า จากการจัด 14 ครั้งที่ผ่านมาโดยในแต่ละครั้งอาจมีการประกวด 15-17 หมวดเราเคยได้รางวัลชนะเลิศถึง 21 ผลงาน บางท่านดูจากผลงานที่เราได้รางวัล APICTA แล้วอาจจะรีบสรุปว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเจ๋ง เราเก่งกว่าชาติอื่นๆและควรรีบผลักดันให้ซอฟต์แวร์ไทยไปสู่ระดับโลก แต่ถ้าเราไปตามดูผลงานที่ชนะเลิศได้รับรางวัลเราจะพบว่ามีไม่กี่ผลงานที่เราสามารถนำไปขยายตลาดได้ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ แต่บางรายก็อาจจะโชคดีที่ได้เวที APICTA ช่วยผลักดันให้บริษัทมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น เราต้องยอมรับครับว่าหลายๆผลงานเราเด่นในการประกวดตรงใจกรรมการ แต่อาจไม่ใช่ผลงานที่มีจำนวนลูกค้าอยู่มาก ข้อสำคัญผู้เข้าประกวดไทยที่ชนะเลิศบางรายอาจได้รับรางวัลเพราะเด่นด้านนวัตกรรม แต่ถ้าถามถึงความเข้มแข็งของทีมนักพัฒนา และความเป็นไปได้ในการขยายตลาดยังเป็นไปได้ยาก แม้ระยะ 3-4 ปีหลังเราเริ่มเห็นผลงานที่เราชนะเลิศมีโอกาสในตลาดต่างประเทศมากขึ้น และเป็นผลงานชนะเลิศที่มีความโดดเด่นจริงๆ แต่เมื่อเทียบกับโซลูชั่นของประเทศอื่นๆแล้วเรายังสู้ในแง่ของการตลาดไม่ได้ และอาจขาดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการขยายให้โตขึ้น

ปัญหาที่บริษัทซอฟต์แวร์เราสู้เขาไม่ได้ส่วนหนึ่งเราต้องยอมรับครับว่า เราขาดความเป็นสากล การนำเสนอโซลูชั่นเราไม่ว่าจะวิธีการพูด การทำเว็บไซต์ การทำเอกสาร เราสู้ชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่ได้ อีกข้อหนึ่งเราขาดนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ การมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนนับร้อยคนในบริษัทของประเทศอื่นๆที่มาประกวดบางทีเป็นเรื่องปกติขณะที่บริษัทของเราพูดกันเป็นหลักสิบเท่านั้น อีกอย่างการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆของเขาเป็นเรื่องปกติ เราจะเห็นซอฟต์แวร์มีการนำเทคโนโลยีอย่าง RESTful, Cloud หรือเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ล่าสุดต่างๆมาใช้ในโซลูชั่นอย่างกลายเป็นเรื่องธรรมดา อาจเป็นเพราะว่าเขามีทีมงาน R&D ในบริษัท ข้อสำคัญอีกประการคือบริษัทของเขามีเป้าหมายการตลาดและจำนวนลูกค้าทั้งภายในประเทศและออกตลาดต่างประเทศที่ชัดเจน

ผมอยากสรุปให้เห็นว่าประเทศต่างๆที่มาแข่ง APICTA แต่ละแห่งมีความโดดเด่นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้เราต้องเร่งพัฒนาคนในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ถ้าเราหวังว่าจะแข่งในระดับสากลได้ในอนาคต แต่อย่าหวังนะครับว่าจะสร้างนโยบายแบบนักการตลาดเป็น Quick Win เพราะการสร้างคนต้องใช้เวลาครับ ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จได้ทันที

  • Australia ต้องยอมรับเรื่องนวัตกรรมที่ค่อนข้างเด่นของเขา เขามีการนำเสนอที่ดี มีตลาดในระดับโลก ข้อสำคัญตลาดในประเทศเขาเองด้านซอฟต์แวร์ก็ขนาดใหญ่มาก
  • Hong Kong เขาถูกฝึกมาให้เป็นนักธุรกิจ ตลาดเขาค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะตลาดขนาดใหญ่ในประเทศจีน แม้แต่ในฮ่องกงเอง ตลาดก็ค่อนข้างใหญ่มาก จุดเด่นอีกอย่างของเขาคือการทำ R&D และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาซอฟต์แวร์
  • Malaysia เขามีการผลักดันจากภาครัฐที่ดี บริษัทมีการวางแผนการตลาดที่ดี มีหลายๆแห่งที่บุกตลาดในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ หรือแม้แต่ในเอเซีย และเนื่องจากเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทำให้มีการนำเสนอผลงานที่ดี อีกอย่างบริษัทของเขามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก
  • Singapore บริษัทจากประเทศนี้มีความเป็นสากลมาก เขามองตลาดในระดับโลก มีการทำแผนการตลาดที่ดี ข้อสำคัญโซลูชั่นเขาจะใช้นวัตกรรมที่ค่อนข้างเด่น
  • Sri Lanka ค่อนข้างแปลกที่เวลาเห็นบริษัทในศรีลังกาจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เขามุ่งบุกตลาดค่อนข้างชัดในกลุ่มประเทศทีใช้ภาษาอังกฤษ
  • Pakistan เป็นอีกประเทศที่บริษัทแต่ละแห่งมีขนาดใหญ่ หลายๆบริษัทมีสำนักงานในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีลูกค้าในตะวันออกกลางและแอฟริกา
  • Taiwan บริษัทจะเด่นเรื่องนวัตกรรมและมีตลาดชัดเจนที่จะมุ่งไปที่ลูกค้าในประเทศจีน

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็ใช่ว่า บริษัทซอฟต์แวร์ไทยจะสู้ประเทศอื่นๆไม่ได้ เรายังเด่นกว่าประเทศอย่าง

  • Vietnam ที่แม้ว่าจะมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์อยุ่มาก แต่บริษัทส่วนใหญ่ยังเป็น SI หรือทำ Outsourcing ทำให้ไม่ได้มีโซลูชั่นที่เด่นชัด
  • Indonesia ผลงานยังไม่โดดเด่นกว่าบริษัทบ้านเรานัก แต่เขาอาจได้เปรียบเรื่องภาษาอังกฤษที่ดีกว่า แต่เรายังมีความเด่นกว่าเรื่องจำนวนนักพัฒนาและขนาดของตลาดในประเทศ ข้อสำคัญโซลูชั่นเขาก็ไม่ได้บุกไปต่างประเทศมากมายนัก
  • Brunei, Macau สองประเทศนี้ยังเล็กเกินไป และมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบริษัทไม่มากนักส่วนประเทศอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี หรืออินเดีย เขาถือว่าเขาอยู่ในระดับโลกและไม่ได้เข้ามาร่วมประกวด APICTAการประกวดมันคือเกมส์การแข่งขันอย่างหนึ่งที่อาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงในอุตสาหกรรมมากนัก เรามีนักเรียนไทยที่ได้เหรียญทองการแข่งขันโอลิมปิควิทยาศาสตร์เป็นประจำทุกปี แต่ก็ต้องยอมรับกันว่าโดยเฉลี่ยนักเรียนบ้านเราอ่อนทางด้านวิทยาศาสตร์ เราขาดการลงทุนและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่ดี เช่นเดียวกันครับเราอาจได้รางวัลการประกวดซอฟต์แวร์มากมาย มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายคนเก่งระดับโลก แต่ก็ใช่ว่าโดยเฉลี่ยอุตสาหกรรมด้านนี้เราเข้มแข็ง และก็ไม่ใช่ว่าเรามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพจำนวนมากสุดท้ายอยากจะบอกว่าเราเองก็มีหลายบริษัทที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็น Start-up แต่ถ้าจะสร้างอุตสาหกรรมด้านนี้ให้โตเราต้องเน้นการพัฒนาให้ถูกทาง สิ่งที่สำคัญในวันนี้ที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการพัฒนานักซอฟต์แวร์ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ทุกวันนี้เราหานักพัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆได้ยากขึ้นเรื่อย จำนวนคนเรียนทางด้านนี้ก็น้อยลงทุกๆปี มันคือวิกฤตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพราะงานทางด้านนี้คือเราจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมากพอ ถ้าเราไม่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพมากพออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เราจะโตได้อย่างไร

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Screenshot 2015-01-25 18.22.23

การวางกลยุทธ์ด้าน Big Data ขององค์กรและ Technology ด้าน Data ต่างๆ

 

Big Data คือแนวโน้มของเทคโนโลยีไอทีที่สำคัญที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญเพื่อนำข้อมูลมาสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้าน Big Data จะมีสามด้านคือ

  • Data Source องค์กรจะต้องคำนึงถึงข้อมูลที่จะมีความหลากหลายมากขึ้น ข้อมูลที่จะนำมาใช้จะมีทั้ง structure และ unstructure ซึ่งในอนาคตข้อมูลกว่า 85% จะเป็นแบบ unstructure นอกจากนี้องค์กรก็อาจจะต้องมีการนำข้อมูลภายนอกองค์กรมาใช้เช่นข้อมูลจาก Social Networks. หรือข้อมูลจากคู่ค้า (partner) ซึ่งทาง Gartner เองก็ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มที่องค์กรต่างๆจะนำข้อมูลมาใช้งานเมื่อเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดมีสัดส่วนจำนวนน้อยลงเรื่อยๆดังแสดงในรูปที่ 1

Figure1

รูปที่ 1 สัดส่วนของข้อมูลที่จะมีการนำมาใช้วิเคระห์เมื่อเทียบกับข้อมูลทั้งหมด

  • Information Infrastructure องค์กรจำเป็นจะต้องมีการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเพื่อให้รองรับข้อมูลที่เป็น Big Data ซึ่งนอกจากฐานข้อมูลแบบเดิมที่เป็น SQL แล้ว อาจต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง Hadoop, NoSQL หรือ MPP เข้ามาใช้ในองค์กร ซึ่งผมเองเคยเขียนบทความแนะนำเทคโนฌลยีต่างๆไว้คร่าวๆในเรื่อง เทคโนโลยี Big Data: Hadoop, NoSQL, NewSQL และ MPP
  • Analysis องค์กรประกอบสำคัญอีกเรื่องคือ การนำข้อมูลที่เป็น Big Data มาประมวลผลและวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจเป็นการทำ Business Intelligence หรือ Predictive Analytics ตามที่ผมเคยเขียนในบทความเรื่อง Big Data Analytics กับความต้องการ Data Scientist ตำแหน่งงานที่น่าสนใจในปัจจุบัน

สิ่งแรกองค์กรควรคำนึงถึงในการทำ Big Data คือมองกลยุทธ์ทางธุรกิจว่าต้องการอะไรไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี เมื่อทราบวัตถุประสงค์ทางธุรกิจแล้วทีมทางด้านไอทีก็คงต้องมาพิจารณาดูว่ามี Data Source อะไรที่ต้องใช้ และต้องใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อให้เห็นภาพของการวางกลยุทธ์ด้าน Big Data ผมขอยกตัวอย่าง Template ที่ผมนำมาจากหนังสือเรื่อง Big Data: Understanding How Data Powers Big Business

Screenshot 2014-12-06 12.42.45

รูปที่ 2 Big Data Strategy Temple [Source: Big Data: Understanding How Data Powers Big Business]

จาก Template นี้จะเห็นได้ว่า เราควรจะเริ่มจากการกำหนด Business Initiatives ของการจะนำข้อมูลมาใช้ จากนั้นคงต้องพิจารณาว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้และอะไรคือปัจจัยสู่ความสำเร็จ จากนั้นถึงจะกำหนดงาน (Task) ที่ต้องทำ และระบุถึงข้อมูลที่จะนำมาใช้

ซึ่งเมื่อเรากำหนดกลยุทธ์ทางด้าน Big Data โดยเริ่มจากมุมมองธุรกิจเช่นนี้แล้ว เราค่อยมาคำนึงถึงเทคโนโลยีที่จะต้องนำมาใช้งาน จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีแต่ละแบบจะมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น

Figure3

รูปที่ 3 เปรียบเทียบเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบต่างๆ [Source: Amazon Web Services]

  • Traditional Database คือเทคโนโลยีฐานข้อมูล SQL แบบเดิมสำหรับข้อมูลที่เป็น structure ในระดับ GByte ถึง TByte และมีความเร็วในการประมวลผลไม่มากนัก
  • MPP Database คือเทคโนโลยีสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่หลาย TByte ที่เป็น structure โดยมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างของ MPP มีอาทิเช่น Oracle Exadata. SAP HANA, Amazon Redshift หรือ Datawarehouse อย่าง Teredata หรือ Greenplum
  • NoSQLคือเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล semi-structure ขนาดใหญ่ โดยไม่ได้ใช้คำสั่งในการประมวลผลที่เป็น SQL ต้วอย่างเช่น mongo DB, Cassendra หรือ Dynamo DB
  • Hadoop คือเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลที่เป็น unstructure ซึ่งสามารถจะเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ได้เป็น PByte

องค์กรจะต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะรองรับ Big Dataโดยจะต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ผสมผสานกัน องค์กรคงยังต้องมี SQL Database แต่ขนาดเดียวกันอาจต้องมี Hadoop สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็น unstructure และอาจต้องมี MPP Database ที่อาจเป็น DatawareHouse หรือ Large Scale Database อย่าง Oracle ExaData

ในปีหน้าทาง IMC Institute จะมุ่งเน้นเรื่อง Big Data มากขึ้น ซึ่งนออกเหนือจากการเปิดหลักสูตรต่างๆในด้าน Big Data อพื่อพัฒนาบุคลากรแล้ว (ดูบทความ IMC Institute ปรับปรุงหลักสูตรด้าน Big Data ในปีหน้า เพื่อสร้างคนไอที) ยังได้ร่วมมือกับบริษัทต่างประเทศที่เชี่ยวชาญในด้าน Big Data คือ Cosmos Technology และ Xentio ในการที่จะวางแผนกลยุทธ์และทำโครงการด้าน Big Data ให้กับองค์กรต่างๆในประเทศไทย ซึ่งถ้าท่านใดสนใจก็สามารถจะติดต่อมายัง IMC Institute ได้

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ธันวาคม 2557

 

สรุปการบรรยายงานสัมมนา IT Trends: Strategic Planning for 2015 และ Slide การบรรยาย

เมื่อวันที่ 2-3  ธันวาคมนี้ ทาง IMC Institute ได้จัดงานสัมมนา “ IT Trends: Strategic Planning for 2015 ″  โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในประเทศไทยรวม 17 คนมากล่าวถึงแนวโน้มของ เทคโนโลยีสารสนเทศในปีหน้าเพื่อให้องค์กรได้ใช้ในการวางแผนไอทีสำหรับองค์กร โดยมีหัวข้อในการบรรยายที่น่าสนใจหลายเรื่อง ในบทความนี้จึงขอสรุปบรรยากาศการสัมมนาและขอแชร์ Slide และข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆดังนี้

วันที่ 2 ธ.ค.

  • การบรรยายในวันแรกเริ่มต้นด้วยหัวข้อ IT Trends: Strategic Planning for 2015  โดย ดร.มนู ออดีดลเชษฐฺ อดีตผู้อำนวยการ SIPA และหนึ่งในที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรีในการจัดทำนโยบาย Digital Economy ซึ่งทางอาจารย์ได้กล่าวถึงการพยากรณ์ของ Gartner ด้านไอทีสำหรับองค์กรและผู้ใช้ในปีหน้า โดยมองว่าจากปี 2014 เป็นต้นไป ธุรกิจจะแข่งด้วย
    • Disruptive digital business model
    • บริการลูกค้าด้วยระบบ Mobile Commerce โดยมี Mobile Digital Assistant เป็นตัวช่วย และพัฒนา e-Commerce สู่ Digital commerce
    • กระบวนการธุรกิจ (Business processes) ที่ให้บริการลูกค้าจะมีลักษณะ Agile ที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิด Customer experience สูงสุด
    • ธุรกิจจะให้ความสำคัญกับ Customer experience และเน้นลงทุนด้าน Customer experience innovation

10247397_420308191449860_4200632943935780653_n

สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/Technology%20Trends%202015_v1.pdf

  • หัวข้อหลังจาก Break ภาคเช้าเป็นเรื่อง Computing Everywhere & The Internet of Things โดยคุณปฐม อินทโรดม CEO ของ ARIP ที่เป็นผู้จัดงาน Commart มาเล่าให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดอุปกรณ์ IoT ที่ชี้เห็นว่าจะมีอุปกรณ์ต่ออินเตอร์เน็ตในปี 2020 จะมีถึง 50 ล้านชิ้น และกล่าวถึงการประมวลผลและใช้งานได้ในทุกที่ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการนำมาใช้งานในสถานที่และอุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/PATHOM%20IOT%20IMC.pdf
  • หลังจากพักเที่ยงคุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัท  Computerlogy และ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thumpsup.in.th มาบรรยายเรื่อง Social Media Trends 2015: เพื่อให้เห็นผ่านรวมแนวโน้มของ Social Media ในปีหน้า โดยได้พูดให้เห็นถึง Social Media Command Center  สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/Social%20Media%20Trend%202015%20_IMC.pdf
  • หัวข้อถัดมาทางผมเอง มาพูดเรื่อง  Cloud-Client Architecture  ที่เป็นหนึ่งใน Trend ของ Gartner ที่พูดมา 2 ปีติดกัน โดยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของสถาปัตยกรรมไอทีที่เปลี่ยนไป ที่จะเห็นหลังบ้านเป็น Cloud  ที่เราจะรัน App ที่เป็น SaaS และมี Client เป็นอุปกรณ์ที่หลากหลาย สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/Cloud-Client-Architecture.pdf
  • หัวข้อหลังจากนั้นเป็นเรื่อง Thailand & Asian E-Commerce Trend 2015  โดยคุณกิตตินนท์ อุ้ยวงศ์ไพศาล ผู้จัดการฝ่ายผลิตเว็บไซต์บริษัท Tarad.com มากล่าวถึง 10 แนวโน้มของการค้าออนไลน์ไทยและอาเซียน สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/eCommerce-Trend2015.pdf
  • ช่วงสุดท้ายของวันแรกเป็นการเสวนาเรื่อง Big Data Analytics: How and Trends ที่จะมีผู้ร่วมเสวนาที่เป็นผู้เขี่ยวชาญด้าน Big Data หลายท่านคือ ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณวัชระ เอมวัฒน์ CEO ของบริษัท Compterlogy และตัวผมเอง โดยมี คุณพันธุ์ทิตต์ สิรภพธาดา ผู้บริหารบริษัท Ebistoday และผู้จัดรายการวิทยุ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ช่วงนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะวิทยากรแต่ละท่านได้มาอธิบายถึงแนวโน้มทางด้านนี้ที่ต้องสนใจสามด้านคือ  Data Source, Data Infrastructure และ  Data Analytics

วันที่ 3 ธ.ค.

  • วันที่สองเริ่มต้นด้วยการบรรยายของผมเรื่อง IT Enterprise planning 2015 on Cloud Computing and Big Data ที่กล่าวถึงการวางแผนไอทีขององค์กรที่จะต้องเน้นเรื่องของ Cloud, และ Big Data โดยกล่าวถึงกลยุทธ์ที่ควรคำนึงสำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/IT-Planning.pdf
  • หลังเบรกภาคเช้า Web-Scale IT  โดยผศ.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ จากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และรองคณบดีฝ่ายสารสนเทศของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายให้เห็นถึงหนึ่งใน Gartner Trend ที่พูดถึงการทำเว็บที่มีผู้ใช้จำนวนที่จะมี Infrastructure ที่เปลี่ยนไป ที่ต่อไปเราจะเห็นอนาคตของการพัฒนาที่เป็น  Flexible Hardware, Flexible Integration, Flexible Architecture, Flexible Processes ,Flexible Teams และ Flexible IT Culture  สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/Web-Scale%20IT%20Talk.pdf
  • หัวข้อถัดไป คุณวรรณา ศฤงคารบริบูรณ์ Technical Director จาก CA Solutions (Thailand) มาบรรยายในเรื่อง  Dev-Op Trends เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็น Agile  อย่างแท้จริงจะประกอบไปด้วยสามส่วนคือ Methodology คือ Agile; Collaboration Process คือ DevOps และ Technology คือ Service Virtualisation, Release Automation, App Perf Management และ Data Mining Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/DevOps%20Trend%20V1.0_wanna%2026112014.pdf
  • ในภาคบ่ายเริ่มต้นด้วยการเสวนาเรื่อง Digital Economy and IT Market Outlook 2015: จากมุมมองของคุณอดิเรก ปฎิทัศน์ นายกสมาคม ATCI และประธานกรรมการบริษัท MFEC, คุณศุภชัย สัจกิจไพบูลย์ เลขาธิการสมาคม ATCI, และ ดร.กษิติธร ภูภราดัย ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยและนโยบาย ผู้ที่ทำการสำรวจตลาดไอซีทีในประเทศไทยมาโดยตรง โดยมีคุณวิชัย วรธานีวงศ์ ผู้จัดรายการ CEO Vision และที่ปรึกษารายการทีวี IT 24 Hours Show ทางทีวีช่อง 3 เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ผู้บรรยายชี้ให้เห็นว่าตลาดไอทีเริ่มเปลี่ยนไป เพราะการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้ตลาด Hardware  และ  Software  เปลี่ยนไป แต่นโยบาบ Digital Economy จะช่วยทำให้ตลาดโตขึ้นได้ แต่การทำ Digital Economy ภาครัฐเองจะต้องเริ่มปรับตัวเอง เช่นเดียวกับคนไอทีที่จะต้องปรับให้ทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

10805607_420747911405888_1323766870202389079_n

  • หัวข้อหลัง Break ช่วงสุดท้าย เริ่มต้นด้วยเรื่อง Risk-Based Security and Self-Protection: ที่เป็นมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Security อย่างคุณนรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล (ไชยกร อภิวัฒโนกุล) กรรมการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA)  สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/IMC%20Risk-base%20security.pdf
  • หัวข้อถัดมาคือเรื่อง Smart Machines ที่เป็นอีกหนึ่ง Technology Trend ของ Gartner โดยคุณธนะพงษ์ จารุเวคิน ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค จาก IBM (Thailand) มาพูดเรื่อง IBM Watson ที่เป็น supercomputer ที่สามารถจะตอบคำถามของมนุษย์ที่เป็นภาษาธรรมชาติ (natural language) ได้ สำหรับ  Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/Smart%20Machine%20-%20Watson%20%281%29.pdf
  • หัวข้อสุดท้ายเป็นเรื่อง Software Defined Infrastructure and Applications: ซึ่งเป็นอีกแนวโน้มหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากคือเรื่องนี้ โดยมีคุณฐิติธร เสมาเงิน IT Architect จาก Oracle (Thailand) มาเป็นผู้บรรยาย โดยมาชี้ให้เห็นแนวโน้มของ Infrastructure ว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับ Slide การบรรยายของ Session นี้ สามารถดูได้ที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/software-define-infra.pdf

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

Screenshot 2015-01-13 08.34.13

บริษัทและหน่วยงานจากประเทศไทยที่เคยได้รับรางวัล APICTA (Asia Pacific ICT Awards)

10690067_10202872867693982_3522665861868942629_n

Asia Pacific ICT Awards (APICTA) เป็นงานประกวดผลิตภัณฑ์ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศในกลุ่ม Asia Pacific โดยมีประเทศสมาชิก 16 ประเทศ จากการประกวด APICTA ที่ผ่านมา มีบริษัทและหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลายๆรางวัลดังนี้

  • ปี 2003 บริษัท CyberPlanet ประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2004 บริษัท CyberPlanet Interactiveประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2005 จัดที่เชียงใหม่ประเทศไทย บริษัท CT Asia ประเภท Communication Applications
  • ปี 2006 จัดที่ประเทศมาเก๊า บริษัท Comanche ประเภท Tourism & Hospitality และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2007 จัดที่ประเทศสิงคโปร์ บริษัท LarnGear Technology ประเภท Research & Development; บริษัท AISoft ประเภท Tourism & Hospitality และ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2009 จัดที่ประเทศออสเตรเลีย บริษัท SSC Solutions ประเภท Industrial Applications และบริษัทการบินไทยจำกัด ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2010 จัดที่ประเทศมาเลเซีย บริษัท Neo Invention ประเภท e-Logistic and Supply Chain Management และบริษัท GeoMove ประเภท Tools and Infrastructure
  • ปี 2011 จัดที่พัทยา ประเทศไทย บริษัท Builk Asia ประเภท Industrial Applications, บริษัท Netka Systems ประเภท Tools and Infrastructure และ บริษัท Nippon Sysits ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2012 จัดที่ประเทศบรูไน บริษัท Arunsawad Dot Com ประเภท Financial Industry Applications และ บริษัท EcartStudio ประเภท Tools and Infrastructure
  • ปี 2013 จัดที่ฮ่องกง บริษัท Connect Information System Co., Ltd. ประเภท Tourism & Hospitality และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประเภท Tertiary Student Project
  • ปี 2014 จัดที่ประเทศอินโดนีเซีย บริษัท Siam Square Technology ประเภท  Finacial Industry Application; บริษัท EcartStudio ประเภท Application and Tool Platform และบริษัท Mobility(Stamp) ประเภท Start-up