8 ทักษะที่สำคัญของคนไอทีในการทำงานในอนาคต

บ่ายวันจันทร์นี้ทางสถาบัน IMC จะจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “Technology Trends / AEC 2015 Shaping the IT workforce” โดยได้เชิญวิทยากรมาบรรยายเพื่อชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีผลกระทบต่อคนทำงานด้านไอทีอย่างไร ซึ่งทางผมจะมาบรรยายให้เห็นภาพของทางด้านเทคโนโลยีและ AEC นอกจากนี้ได้เชิญดร.จีรพันธ์ แดงเดช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ABAC มาบรรยายเรื่อง ASEAN IT professional skills & Shaping software engineering skills และสุดท้ายเชิญ คุณวีรชัย โมกขเวศ และ คุณกรรณิการ์ เศรษฐี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากร มาบรรยายในเรื่อง  Softskills for IT Professionals

ในหัวข้อของผมจะกล่าวบรรยายให้เห็นภาพตลาดไอทีของอาเซียนและให้เห็นผลกระทบเมื่อมีการเปิด AEC 2015 และจะเน้นให้เห็นถึงเทคโนโลยีสำคัญ 4 อย่างที่จะเป็น IT Mega Trends คือ Cloud Computing, Mobile Technology, Social Technology และ Information (Big Data) ว่าจะมีผลต่อการทำงานเราอย่างไร  โดยมี Slide การบรรยายดังนี้

ประเด็นสำคัญในการบรรยายก็คือจะกล่าวถึง 8 ทักษะที่จำเป็นของคนไอทีในอนาคต ที่ผมนำมาจาก Forbe โดยมีทักษะต่างๆดังนี้

  • Cloud Computing Technical Skills

การเข้ามาของ Cloud Computing  ทำให้วิธีการดูแล Data Center การพัฒนาโปรแกรม และการใช้ซอฟต์แวร์เปลี่ยนไป ทักษะที่มีความจำเป็นคือการติดตั้งและ Cloud Computing การทำ Virtualization ในแง่ของนักพัฒนาโปรแกรมจำเป็นต้องเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมขึ้น Public Cloud อย่างเช่น Microsoft Azure, Google App Engine, Amazon หรือ  Heroku นอกจากนี้คนไอทีควรจะต้องรู้เครื่องมือที่ Open Source ต่างๆในการพัฒนา Cloud Computing

  • Mobile app development and management

สมาร์ทโฟนและแทปเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์หลักที่คนจะใช้เล่นอินเตอร์เน็ตแทนที่โน็ตบุ๊คและพีซี หน่วยงานต่างๆจึงจำเป็นจะต้องพัฒนา Mobile Application  มากขึ้นและมีความต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านโมบายแทบทุก Platform ทั้ง iOS, Android  และ Windows นอกจากนี้  HTML5 จะเป็นภาษาสคริป์ที่หลายๆองค์กรนำมาใช้ในการพัฒนา Mobile Web/App ที่ทำให้ cross platform ได้  อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือการที่องค์กรต่างๆจะให้พนักงานพกอุปกรณ์มาใช้งานเอง (Bring Your Own Device: BYOD) องค์กรจะมีความต้องการหาคนมาทำ Mobile Device Management และ Enterprise App Store มากขึ้น

  • Enterprise architecture and business needs analysis

องค์กรต่างๆจะต้องมีการวางแผนไอทีมากขึ้น ดังนั้นจะมีความต้องการทีมงานที่จะมาทำ Enterprise Architecture มากขึ้น รวมถึงการเข้ามาของ  Cloud Computing จะยิ่งทำให้องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องปรับสถาปัตยกรรมไอทีให้เป็น Service Oriented Architecture (SOA) และต้องทำให้คนทางไอทีกับหน่วยงานอื่นๆในองค์กรทำงานร่วมกันมากขึ้น คนไอทีจึงมีความจำเป็นจะต้องเข้าใจธุรกิจขององค์กรมากขึ้น และต้องมีความรู้ด้าน Business Domain

  • Project management skills

ทักษะการบริหารโครงการยังเป็นที่ต้องการสูง เพราะต้องใช้ความสามารถในการบริหารจัดการความต้องการ และทีมงานที่เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น และเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไปการบริหารความต้องการและการเปลี่ยนแปลงก็ยิ่งอยากขึ้น ทักษะที่จำเป็นอีกด้านก็คือเรื่องของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) ที่อาจรวมถึงการเข้าใจมาตรฐานอย่าง CMMI หรือการทำซอฟต์แวร์แบบ Agile

  • Security and compliance

ทักษะด้านความปลอดภัยทางด้านไอทีจะมีความต้องการมากในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้โมบายและ Cloud Computing มากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ต้องการทักษะใหม่ๆทางด้าน  Mobile Security, Cloud Security รวมถึงทางด้าน Social Network Security นอกจากนี้องค์กรบางแห่งอาจต้องปฎิบัติตามระเบียบและมาตรฐานบางอย่างเช่น Sarbanes-Oxley หรือ HIPAA ความต้องการบุคลากรไอทีที่มีความรู้เรื่อง Compliance  ก็จะเป็นสิ่งจำเป็น

  • Data integration/Big Data and analysis skills

ข้อมูลที่อยู่บน  Cloud จะมีมากขึ้นและจำนวนมากจะเป็น  Unstructured Data  ดังนั้นคนไอทีจะต้องพัฒนาทักษะใหม่ๆทางด้านการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data  ทำให้บุคลากรไอทีต้องมีทักษะการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลใหม่เช่น Hadoop การพัฒนาโปรแกรม MapReduce และการใช้ NoSQL Database อย่าง  MongoDB หรือ Big Table  ตลอดจนจะต้องมีความรู้การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ Business Analysis อย่าง Pentaho หรือ SQL Server

  • Contract and vendor negotiation

Cloud Computing จะทำให้รูปแบบการซื้อขายสินค้าไอทีเปลี่ยนไปจาก Product  สู่  Service  ซึ่งจะเป็นการเช่า หรือจ่ายตามการใช้งานมากขึ้น ทำให้รูปแบบของสัญญา ข้อตกลง รวมถึง Service Level Agreement (SLA) เปลี่ยนไป คนไอทีจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจเรื่องการทำข้อตกลงและต่อรองกับผู้ให้บริการในรูปแบบใหม่นี้

  • Business and financial skills

IT Mega Trends จะทำให้การลงทุนด้านไอที ต้องมีความเข้าใจเรื่องธุรกิจและการลงทุนที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่คุ้มค่า ดังนั้นคนไอทีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทางด้านนี้มากขึ้น

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

The Next Big Things: Wearable Technology

ข้อมูลปัจจุบันได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคหลังพีซี (Post-PC Era) คือเป็นยุคที่อุปกรณ์โมบายอย่างสมาร์ทโฟนและแทปเล็ตเข้ามาแทนที่เครืองคอมพิวเตอร์อย่างเดสต์ท็อปและโน๊ตบุ๊ค ในการที่คนทั่วไปจะใช้งานเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต โดยเราเห็นจำนวนยอดจำหน่ายของสมาร์ทโฟนและแทปเล็ตที่พุ่งแซงหน้าเครื่องพีซีไปหลายเท่า เราเห็นการติดตั้งเครือข่ายระบบ 3G หรือ 4G ในหลายๆประเทศที่ทำให้การใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์โมบายเป็นไปด้วยความรวดเร็วเทียบเท่ากับระบบ  Broadband ตามบ้าน และเราเห็นกระแสของการทำธุรกิจผ่านอุปกรณ์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้าน Mobile Social Media, Mobile Commerce หรือ Mobile Payment

กระแสของสมาร์ทโฟนและแทปเล็ตทำให้อุตสาหกรรมด้่านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างก็มุ่งไปที่การพัฒนาระบบและโซลูชั่นบนโมบาย และเราก็เริ่มเห็นว่าผู้นำอุตสาหกรรมไอทีกำลังเปลี่ยนค่ายสู่เจ้าของแพลตฟอร์มและผู้ผลิตอุปกรณ์โมบายอย่าง Google, Facebook, Apple และ Samsung ทำให้ผู้นำอุตสาหกรรมไอทีในยุคพีซีอย่าง Microsoft ก็จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์เข้าสู่ยุคโมบายเช่นกัน โดยการพัฒนาระบบ Windows 8 หรือ Surface

อุปกรณ์โมบายยังทำให้เกิดการพัฒนาอุปกรณ์อื่นๆที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์โมบายโดยใช้  Bluetooth NFC หรือ การเชื่อมต่อผ่านสาย อาทิเช่น นาฬิกาข้อมือ กำไลข้อมือ และเครื่องวัดความดันเป็นต้น มีการคาดการณ์กันว่าในปี 2020 จะมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในโลกนี้ถึง 50,000 ล้านชิ้น ซึ่งอาจเป็นสมาร์ทโฟนเพียงแค่ 8,000  ล้านเครื่อง แต่ที่เหลือจะเป็นอุปกรณ์อื่นๆตั้งแต่ Smart TV, ตู้เย็น, เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆต่างๆ ซึ่งทางสำนักวิจัย Gartner ก็กำหนดให้หนึ่งในแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจก็คือ Internet of Things

กระแสของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเหล่านี้ที่กำลังได้รับความสนใจก็คือ Wearable Technology ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้สามารถสวมใส่และเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต และเรียกใช้ซอฟต์แวร์ที่รันบนระบบ Cloud Computing ได้ ในปัจจุบันเริ่มมีผู้ผลิตหลายรายเร่งพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ออกมาจำหน่าย เช่นแว่นตาที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ กำไลข้อมือที่ช่วยดูแลสุขภาพ หรือ นาฬิกาข้อมือที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งทางสำนักวิจัย  Credit Suisse กล่าวว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็น  The Big Next Things และคาดว่าตลาดของอุปกรณ์เหล่านี้จะโตจาก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น  5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ และจะขึ้นไปถึง  50 พันล้านเหรียญสหรัฐในห้าปีข้างหน้า

WearableTechต้วอย่าง Wearable Technology

เพื่อที่ให้เห็นภาพของ Wearable Tech ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์เด่นๆบางตัวดังนี้

Smart Glasses

ในงาน Google I/O 2012 เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ทาง Google ได้เปิดตัวโปรเจ็คที่ชื่อ Glass ซึ่งเป็นแว่นตาที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตและสามารถที่สั่งงานด้วยเสียงได้ ทำให้ผู้สวมใส่แว่นตาสามารถที่จะรับอีเมล์ ถ่ายรูป ดูแผนที่ หรือใช้ Google Hangout ในการที่จะติดต่อกับเพื่อนๆใน Social Media ตลอดจนเล่น application อื่นๆได้ แม้ในปัจจุบัน Google Glass ยังถูกทดลองกลุ่มนักพัฒนาจำนวนไม่มากนักและราคาสูงถึง  $1,500 แต่ก็คาดการณ์ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงการสื่อสารของโลก Social Media เมื่อมีการจำหน่ายสู่สาธารณะในต้นปีหน้า

วิดีโอสาธิตการใช้งาน Google Glass

นอกเหนือจาก Google Glass แล้ว ยังมีแว่นตาอัจฉริยะอีกหลายค่ายที่เริ่มเปิดตัวออกมาเช่น Telepathy One และ Vuzix M100 Smart Glasses เป็นต้น

Smart Wristband

Wearable Technology กลุ่มหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมากก็คืออุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะกำไลข้อมือที่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์สมารท์โฟนหรือแทปเล็ตได้ ซึ่งในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์หลักๆอยู่หลายรุ่นที่นิยมใช้กันอาทิเช่น

  • Nike FuelBand เป็นอุปกรณ์สำหรับคนที่นิยมออกกำลังกายที่จะจับความเคลื่อนไหวในแต่ละวัน ในกลุ่มสังคมของคนที่ใช้  Nike ทำให้ทราบข้อมูลการออกกำลังกายของตัวเองและสามารถที่จะแชร์ไปยังเพื่อนในกลุ่มได้ นอกจากนี้อุปกรณ์สามารถที่จะเป็นนาฬิกาได้
  • Fitbit Flex เป็นกำไลข้อมือคล้ายๆกับ Nike FuelBand แต่ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูล การหลับนอน การรับประทานอาหาร และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ Fitbit อื่นๆเช่นเครื่องชั่งน้ำหนัก
  • Jawbone Up  เป็นกำไลข้อมูลที่สามารถตรวจสอบข้อมูล การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การหลับนอน เช่นเดียวกับ Fitbit Flex แต่ราคาไม่สูงมากเพียง $99.99

วิดีโอสาธิตการทำงานของ Jawbone Up

อุปกรณ์ Jawbone Up กำลังเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะราคาไม่แพงและยังมีฟังก์ชั่นต่างๆเพื่อช่วยวิเคราะหฺข้อมูลพื้นฐานของเราให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่นการให้ข้อมูลจำนวนแคลอรี่ของอาหารที่เราทานไป การแจ้งเตือนหากเราอยู่นิ่งนานไป และสามารถตั้งเป้าหมายระยะเวลาการหลับนอน และการเคลื่อนไหวในแต่ละวัน

Smartwatch

อุปกรณ์ Wearable อีกประเภทหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมก็คือนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ ซึ่งก็มีข่าวลืออยู่อย่างต่อเนื่องว่าทาง Apple จะออกอุปกรณ์ iWatch ออกมา แต่บางค่ายก็ออกนาฬิกาอัจฉริยะออกมาแล้วเช่น

  • Sony Smartphone นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน Android ผ่าน Bluetooth ได้ และมีระบบการแจ้งเตือน ที่เป็นระบบ “สั่น”เมื่อมีข้อความมาทาง Facebook หรือ Twitter หรือมีสายโทรศัพท์เข้ามา
  • Basis Band อุปกรณ์นี้เป็นทั้งนาฬิกาข้อมูลและตัวที่ใช้วัดกิจกรรมประจำวันของเรา การเคลื่อนไหว การหลับ อัตราการเต้นของหัวใจ คล้ายๆกับสายรัดข้อมูลอัจฉริยะ


วิดีโอแนะนำ Sony Smartwatch

SmartDevices

อุปกรณ์อัจฉริยะอีกกลุ่มที่เริ่มมีผู้ผลิตออกมาก็คืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้สามารถใช้ติดอยู่กับเสื้อผ้าที่เราสวมใส่ เช่น

  • Fitbit Zip เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กราคาเพียง $59 สามารถที่จะคำนวณจำนวนก้าวที่เราเดิน ระยะทาง และจำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญไปได้ และสามารถที่จะ sync กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้
  • Memoto กล้องถ่ายรูปขนาดเพียง  1 ตารางนิ้ว ที่สามารถที่จะติดไว้ที่คอปกเสื้อแล้วจะสามารถถ่ายรูปได้อย่างต่อเนื่องทุก  30 วินาที และมีข้อมูลที่ sync กับ GPS
  • Misfit Shine เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับกิจกรรมประจำวันที่มีขนาดเล็ก สามารถที่จะใส่ไว้ในที่ต่างๆได้ ทั้งติดกับเสื้อผ้า หรือรองเท้าที่สวมใส่

วิดีโอแนะนำ Misfit Shine

นอกจากนี้ยังมี Smart Devices อื่นๆที่เริ่มเข้ามาจำหน่าย โดยส่วนมากจะเน้นในแง่ของการดูแลสุขภาพอาทิเช่น

  • Armour39 เป็นสายรัดเอวสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย ในการวัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว แบบเดียวกับสายข้อมูลอัจฉริยะอื่นๆ
  • Biostamp Temporary Tattoo เป็นลายสักอิเล็กทรอนิกส์ชั่วควารที่จะสามารถใช้วัดความเคลื่อนไหวได้

สรุปการอบรม Planning on Mobile Strategy 29-30 พฤษภาคม

เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคมที่ผ่านมาทาง IMC Institute  ได้จัดการอบรมหลักสูตร Planning on Mobile Strategy  เพื่อให้ความรู้ด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านโมบายให้กับผู้บริหารองค์กรต่างๆ โดยได้เชิญวิทยากรที่เป็นกูรูทางด้านนี้จำนวน 12  ท่านร่วมให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม บล็อกนี้เลยขอสรุปการบรรยายในการอบรม นำเสนอภาพบรรยากาศและเอกสารการอบรมดังนี้

วันที่ 29 พฤษภาคม

การบรรยายใน session แรกเริ่มโดยตัวผมเองที่ชี้ให้เห็นถึง “Mobile Technology Trends” โดยระบุว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคหลังพีซี ที่การใช้อินเตอร์เน็ตจะผ่านอุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนและแทปเล็ดมากกว่าพีซี และองค์กรต่างๆก็เริ่มสนใจที่จะให้พนักงานนำอุปกรณ์โมบายของตัวเองมาใช้ในการทำงานมากขึ้น (BYOD: Bring Your Own Device) องค์กรเองก็ต้องเริ่มคิดกลยุทธ์ทางด้านโมบายต่างๆเช่น Mobile Commerce, Mobile Social Marketing, Mobile Payment หรือ Mobile Security นอกจากนี้ผมยังได้แสดงให้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานและการใช้ชีวิตของพวกเราเช่น Google Glass ดังวิดีโอนี้

Session ที่สองได้รับเกียรติจากคุณ Mimee (อรนุช) จากThumbsup.in.th มาบรรยายในหัวข้อ “Mobile Social Marketing”  เธอได้นำเสนอให้เห้นภาพรวมของตลาด Social Media ในบ้านเรา และชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันคนเข้าถึงสื่อ  social media   ผ่าน  mobile device มากถึง 64% มากกว่าพีซีที่มีเพียง  36%   พร้อมทั้งกล่าวถึงชนิดของ Mobile Marketing ประเภทต่างๆพร้อมทั้งกรณีศึกษาต่างๆ ปิดท้ายด้วยเทอมต่างๆที่เราควรจะต้องรู้เช่น Gamification, SOLOMO และ ZMOT

การบรรยายใน session ทีี่สามเป็นเรื่อง “กลยุทธ์ด้าน BYOD” โดยได้รับเกียรติจาก อ.ไชยกร (S-Generation) มาเป็นวิทยากรให้ อาจารย์เป็ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT Security และมีความเข้าใจเรืองของการบริหารจัดการ  Mobile Devices  ในองค์กร ได้มากล่าวถึงข้อดีข้อเสียของการทำ BYOD ความเสี่ยงที่จะต้องคำนึงถึง สุดท้ายพูดถึงข้อคำนึง 10  อย่างที่จะต้องมีในการทำ BYOD  Strategy  คือ  Business value (ROI), Stakeholders’ expectation, Coverage of service and support, Business risk and need of controls, Security, Balance of Control and Privacy, Classification of data app and network, Current environment and technological dynamic, Consumer technology movement และ Compliance

ถัดมาทาง ดร.บุญนิตย์ มัธยมจันทร์ จากม.มหิดล มาบรรยายเรื่อง “Strategy on Mobile Applications for your organization” โดยชี้ให้เห็นกลยุทธ์ในการทำ Mobile Application สามด้่านคือ  1) การทำ Application สำหรับการใช้งานภาบใน 2) การทำ Application สำหรับลูกค้า และ 3) ด้านนวัตกรรม

และ Session สุดท้ายของวันเป็นกรณีศึกษาจากวิทยากรสามท่าน ท่านแรกคือคุณอภิชัย เรืองศิริปิยะกุลจากบริษัท Think Technology มาพูดถึงกรณีการใช้ Augmented Reality ให้กับหน่วยงานต่างๆทั้งทางด้านการศึกษา งานการตลาด โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าอบรม ซึ่งทางรายการ MCOT Dot Net ก็เพิ่งเชิญคุณอภิชัยไปออกรายการสาธิตเมื่อต้นสัปดาห์นี้ สำหรับวิทยากรท่านถัดไปใน session นี้คือคุณอุกฤษ์จากบริษัท Apptividia ที่มาแบ่งปันประสบการณ์เรื่องการทำ Digital Publishing Platform และท่านสุดท้ายคุณคุณเฉลิมพล จากบริษัท CRM-C  ที่เล่ากรณีศึกษาการทำ  Enterprise Mobile Applicationโดยเฉพาะระบบ CRM ให้กับหน่วยงานต่างๆ

วันที่ 30 พฤษภาคม

งานอบรมในวันที่สองเริ่มต้นด้วยการบรรยายของ คุณภาวุธ จาก Tarad.com  มาบรรยายในเรื่อง “Mobile Commerce”  โดยเริ่มบรรยายให้เห็นตลาด Mobile Commerce ของทั่วโลกและตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งทาง Rakuten ผู้ร่วมลงทุนของ Tarad.com มีข้อมูลอยู่ จากนั้นก็แสดงเห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการใช้มือถือในการ Shopping Online โดยนำข้อมูลบางส่วนมาจากประสบการณ์จริงของ  Tarad.com  สุดท้ายได้ยกตัวอย่างโปรเจ็คที่ทาง Tarad.com ทำร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ในการเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารสามารถ shopping online ได้ที่สถานีรถไฟฟ้า

Session เป็นการบรรยายโดยคุณปฐม จาก ARiP ที่มาให้ข้อมูลเรื่อง “Mobile Device Battles” โดยให้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขต่างๆทางด้านตลาดสมาร์ทโฟนและ Tablet ทั่วโลก ร่วมทั้งข้อมูลในประเทศไทย ภาพที่เห็นอย่างชัดเจนก็คือจำนวนยอดขายของสมาร์ทโฟนและ Tablet มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะจำนวน Mobile Phone ที่ขายในปี 2017 ถึง 2.1 พันล้านเครื่อง และมียอด  Tablet  467 ล้านเครื่อง ขณะที่ยอดจำหน่ายพีซีและ Notebook จะลดลงมาเหลือเพียง 217 ล้านเครื่อง โดยเราจะเห็น Android เป็นเจ้าตลาดของสมาร์ทโฟน

อ.ปริญญา หอมเอนก มาในบรรยาย Session ที่สามเรื่องของ “Mobile Security”  โดยได้ Highlight ให้เห็นภัยทางด้านความปลอดภัยไอทีจากการใช้สมาร์ทโฟน โดยแสดงให้เห็นกรณีศึกษาต่างๆ ตามมาด้วย Session ของคุณนพพร จาก Digio (Thailand) ที่มากล่าวถึง “Mobile Payment

Session ในตอนบ่ายเป็น Workshop เรื่อง  “How to develop and evaluate a mobile strategy for your organization” โดย Ville Kulmala  จาก Mobile Spark และเป็น Chairman ของ Mobile Monday Thailand ซึ่งทาง Ville ได้ระบุว่าการทำกลยุทธ์จะต้องพิจารณาสามด้านคือ Demand, Supply และ Governance and Risk  โดยมีการให้ผู้อบรมได้ร่วมกันศึกษาการทำกลยุทธ์สำหรับกรณีศึกษาที่ทาง Ville  ได้ตั้งขึ้น และทาง Ville ก็มีตัวอย่าง Template ของการกำหนด BYOD Strategy ขององค์กร

และเอกสารการอบรมทั้งหมดสามารถ Download ได้จาก https://dl.dropboxusercontent.com/u/12655380/mobile-strategy-all.pdf

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Instittute