โครงการ Big Data กับความจำเป็นต่อการลงทุนด้านเทคโนโลยี

คำถามหนึ่งที่เรามักจะเจอบ่อยคือ “ข้อมูลใหญ่ขนาดไหนถึงจะเรียกว่า Big Data” หรือบางทีเราก็มักจะเจอคำถามว่า “เราต้องซื้อ Product อะไรเพื่อมาทำโครงการ Big Data เราต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยี Hadoop หรือไม่” จริงๆแล้ว Big Data มันก็เป็นศัพท์ทางการตลาดที่พยายามจะบอกให้ผู้คนเข้าใจได้ว่าข้อมูลในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้น (Volume) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Velocity) มีรูปแบบที่หลากหลาย (Variety) และมีความไม่แน่นนอน(Vacirity) ซึ่งข้อมูลมหาศาลเหล่านี้มีทั้งข้อมูลภายใน ภายนอกองค์กรหรือจาก Social Media การที่ข้อมูลปัจจุบันเป็นอย่างนี้ถ้าใครรู้จักนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์มาใช้งานก็จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมหาศาล หลายองค์กรเริ่มสนใจจะทำโครงการ Big Data แต่บางครั้งไปเริ่มที่ฝ่ายไอที ก็มักจะกลายเป็นโจทย์ในการหาโซลูชั่นหรือ Product ซึ่งพอเป็นโครงการอย่างนี้บางทีก็คิดว่าจะต้องลงทุนด้วยงบประมาณสูงๆ ทางบริษัท Vendor ต่างๆก็จะพยายามนำเสนอโซลูชั่นราคาแพงที่สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลได้และสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วทั้งๆที่อาจยังไม่รู้ด้วยว่าจะนำโซลูชั่นไปวิเคราะห์ข้อมูลอะไร โครงการ Big Data ที่ดีควรเริ่มที่ฝั่งธุรกิจ ควรจะต้องพิจารณาก่อนว่าต้องการทำอะไร อาทิเช่นต้องการหาข้อมูลลูกค้าเพิ่ม วิเคราะห์ความเสี่ยง พยากรณ์ยอดขาย ทำ Social Media Analysis. ต้องการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งโจทย์แต่ละอย่างอาจมีความต้องการข้อมูลที่แตกต่างกัน Product ที่ต่างกันและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างกัน

Screenshot 2015-07-30 11.22.37

Big Data มีองค์ประกอบที่สำคัญสามอย่าง

  • Data Source คือแหล่งข้อมูลที่าจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กร หรือข้อมูลภายนอกองค์กร หรืออาจต้องนำข้อมูลจากSocial Media มาใช้ ข้อมูลอาจเป็นข้อมูลรูปแบบเดิมที่เป็น structure หรือข้อมูลแบบใหม่ที่เป็น unstructure แต่หลักการหนึ่งที่สำคัญในเรื่องของ Big Data คือถ้าเรามีข้อมูลมากขึ้นก็น่าจะมีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้นตาม
  • Technology คือโซลูชั่นที่จะช่วยทำให้เราสามารถจะเก็บข้อมูลและประมวลผลได้รวดเร็วขึ้น การจะใช้เทคโนโลยีใดก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการ ถ้าขนาดข้อมูลไม่ได้มากไปข้อมูลที่ต้องการยังเป็นแบบเดิมก็อาจใช้เทคโนโลยีแบบเดิมในการเก็บ หรือถ้าข้อมูลมีจำนวนมากก็อาจพิจารณาเทคโนโลยใหม่ๆที่เป็น Hadoop หรือ MPP รวมถึงอาจต้องพิจารณาเครื่องมือต่างๆในการวิเคราะห์ข้อมูลเช่น BI หรือ Analytics Tool
  • Analytics คือกระบวนการในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่าต้องการทำอะไรงานบางอย่างก็อาจใช้เครื่องมือ BI ทั่วๆไปแต่งานบางงานก็อาจต้องหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็น Data Scientists เข้ามาช่วย โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ต่างๆที่อาจต้องหาอัลกอริทึมที่เหมาะสม

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าบางครั้งโครงการ Big Data อาจไม่ต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีใดเลยก็ได้ ถ้าเริ่มจากความต้องการทางธุรกิจและเข้าใจว่าต้องการ Data Source และต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

กรกฎาคม 2558

 

การตัดสินใจเลือก IaaS Cloud Service Provider

11709430_522234144590597_5709026408869460786_n

การพิจารณาเลือกใช้ IaaS  (Infrastructure as a Service) จากผู้ให้บริการ Cloud รายต่างๆทั้งในและต่างประเทศ มีความแตกต่างจากการจัดหาระบบฮาร์ดแวร์มาเอง ต่างกับการเลือกหา Sever Hosting ไม่ใช่แค่การพิจารณาเรื่องราคา เพราะระบบ  Cloud  ไม่ใช่การทำ Hosting หรือการหา Co-location บน Data Center จุดเด่นของ Cloud ไม่ใช่อยู่ที่จะเรื่องงบประมาณแต่อยู่ที่ความยืดหยุ่น ความคล่องตัวของการใช้บริการ และ การขยายระบบขนาดใหญ่ได้

ผมเคยเขียนบทความลงในบล็อกนี้ครั้งหนึ่งเรื่อง ปัจจัยในการเลือกใช้ Cloud Computing สำหรับองค์กร มาในวันนี้อยากจะมาขยายความสำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้บริการ IaaS โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  • ผู้ให้บริการต้องมี Service Catalog ทีดี: การใช้ IaaS/PaaS Cloud จะมีบริการที่หลากหลาย ไม่ใข่แค่การใช้ Virtaul Server อาจมีทั้ง Storage, Database, Load Balancer หรือระบบอื่นๆ ผู้ให้บริการต้องมี Catalog ที่จะระบุประเภทของการบริการ ราคาในรูปแบบต่างๆ
  • ผู้ให้บริการควรมี Market Place:  การใช้บริการ Cloud อาจต้องมีการติดตั้ง  Middleware หรือ Software อื่นๆลงบน Server  ผู้ให้บริการ Cloud ที่ดีจะต้องมี Marketplace ที่ให้ลูกค้าเลือกซอฟต์แวร์ในการติดตั้งมาพร้อมกับค่าใช้งานที่เป็นลักษณะ pay per use คล้ายๆกับการซื้อซอฟต์แวร์จาก Apple App Store คังตัวอย่างที่แสดงในรูปที่ 1 ซึ่งเป็นตัวอย่างการเลือกใช้ SAP HANA จาก AWS Marketplace

Screenshot 2015-07-27 13.49.58

รูปที่ 1  ตัวอย่างของ Cloud Marketplace

  • ความสามารถในการทำ Self Provision: จุดเด่นของระบบ Cloud คือความยิดหยุ่น ผู้ให้บริการต้องให้ผู้ใช้สามารถจะเพิ่มหรือลดจำนวนบริการต่างๆอาทิเช่น Virtual Server ได้ด้วยความรวดเร็ว ผมเองในบางวันทำการอบรมให้กับ  IMC Institute ต้องเพิ่ม Server ขึ้นมาถึง 40-90 เครื่อง และต้องปิดการใช้บริการในตอนเย็นด้วยความรวดเร็ว

Screenshot 2015-07-27 13.47.53

รูปที่ 2  ตัวอย่างของการ Provision Server  จำนวนมากภายในเวลารวดเร็ว

  • ความสามารถในการรองรับการขยายตัวของลูกค้า: ระบบ Cloud Computing จะมีความต้องการที่ยืดหยุ่นเหมือนการใช้ไฟฟ้าหรือน้ำประปา ผู้ให้บริการจะต้องมีการทำ Capacity Planning ที่ดีและอาจต้องมีเครื่อง Server นับพันหรือหมื่นเครื่อง (บางทีอาจหลายแสนเครื่อง) ที่รองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากได้ หากวางแผนไม่ดีผู้ใช้ก็ไม่สามารถจะเพิ่มเครื่อง Virtual Server หรือบริการต่างๆเมื่อมีความจำเป็นได้
  • ความสามารถในการทำ Auto-scaling หรือ  Vertical Scaling: จุดเด่นของระบบ Cloud คือสามารถที่จะมีระบบรองรับเมื่อเกิด Peak Load หรือที่เรียกว่า Cloud Burst ได้ ผู้ให้บริการต้องมีระบบที่ให้ลูกค้าสามารถทำ Migration ที่สามารถเปลี่ยนขนาดของเครื่องด้วยความรวดเร็ว (Vertical Scaling) หรือสามารถทำ Auto Scaling ที่จะเพิ่มเครื่องได้อัตโนมัติ
  • ข้อตกลงการใช้บริการ: พิจารณาเรื่อง SLA  ด้านต่างๆเช่นการประกันเรื่อง Uptime,  Reliability/Uptime, มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และข้อตกลงด้านอื่นๆ
  • ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานของผู้ให้บริการ:  อาทิเช่นตำแหน่งของ Data Center,  ข้อมูลด้าน Internet Bandwidth, จำนวน Server หรือจำนวนผู้ใช้ในปัจจุบัน อันจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการให้บริการ รวมถึงเรื่องของ Latency
  • จำนวนลูกค้าและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ: จำนวนลูกค้าและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการก็มีความสำคัญ เพราะการให้บริการ Cloud คือการบริการระยะยาวที่ผู้ให้บริการต้องลงทุนค่อนข้างสูงและผลตอบแทนจะไม่ได้มาโดยเร็ว

ปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาจะมีผลสำคัญยิ่งต่อการเลือกผู้ให้บริการ Cloud ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยเรื่องราคาไม่ใช่เรื่องสำคัญสุด แต่ผู้ใช้ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบ

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

การบริหารจัดการ Cloud Computing Services

11709430_522234144590597_5709026408869460786_n

Cloud Computing เป็นการเปลี่ยนโมเดลของการทำงานไอทีสู่งานบริการ แต่หลายๆครั้งก็ยังพบว่าทั้งผู้ให้บริการ Cloud (ผู้ติดตั้ง private/public cloud) หรือผู้ใช้บริการ Cloud ก็ยังทำงานในรูปแบบเดิมๆเสมือนการจัดหาระบบไอทีที่เป็นแบบ On-premise อาทิเช่น

  • หน่วยงานไอทีวางแผนติดตั้ง Private Cloud โดยคิดว่าเป็นการทำ Virtual Server ให้กับหน่วยงานอื่น โดยไม่มีการวางแผนทำ Capacity Mangement โดยคิดว่าคือการจัดซื้อระบบมาแทน Server
  • ผู้ให้บริการ Cloud  ไม่สามารถตรวจสอบและตัดสินใจได้ว่า Virtual Server ที่จัดสรรไปมีการใช้งานจริงหรือไม่ เพราะไม่ได้คำนึงว่าจะมี Service Lifecycle
  • การบริการ Cloud ขาด Service Catalog และไม่มีระบบการทำ Provisioning เพราะคิดว่า Cloud Service ก็คือการจัดหาระบบมาแทน Server แบบเดิมๆที่ไม่น่าจะมีบริการที่หลากหลาย
  • ผู้ใช้บริการ Cloud  ขอใช้ระบบเกินความจำเป็น อาทิเช่น ขอ Virtual Server ที่มีขนาดใหญ่สุด หน่วยความจำมากเกินความจำเป็น เพราะผู้ใช้คิดเสมือนว่าซื้อ Hardware แบบเดิมๆ
  • ผู้ใช้บริการ Cloud ไม่สามารถบริหารความต้องการการใช้งานได้ ทำให้ค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น เพราะไม้เข้าใขการจัดการ User Demand

Screenshot 2015-07-26 20.25.45

แท้ที่จริงแล้วการบริหารจัดการ Cloud Computing คือการบริหารงานบริการที่ต้องใช้หลักการของ ITSM (Information Technology Service Management) และอาจใช้แนวทางอย่าง ITIL (Information Technology Infrastructure Library) มาช่วยในการจัดการ โดยเราอาจพิจารณาขั้นตอนต่างๆดังนี้

1) Service Strategy คือขั้นตอนในการวางแผนเพื่อที่จะใช้หรือให้บริการ Cloud Service ทั้งทางด้านนโยบาย ความต้องการ และ Governance ซึ่งเราอาจมีเรื่องต่างๆที่ต้องพิจารณาอาทิเช่น

  • Demand Management  คือการวางแผนเพื่อที่จะให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้ไม่ได้ขอใช้บริการเกินความจำเป็นและสร้างปัญหาต่างๆในอนาคต
  • Service Portfolio Management คือการทำ Service Portfolio เพื่อจัด Cloud Serviceให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ
  • Financial Management คือการวางแผนบริหารจัดการการเงิน ทั้งงบประมาณที่จะต้อง รูปแบบของคิดค่าบริการต่างๆ

2)  Service Design คือขั้นตอนการทำ Capacity Management ซึ่งเป็นการออกแบบ Cloud Service ให้เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งเราอาจมีเรื่องต่างๆที่ต้องพิจารณาอาทิเช่น

  • Service Catalog Management คือการจัดการข้อมูลของ Cloud Services ต่างๆที่มีให้บริการ ซึ่งโดยมากผู้ให้บริการมักจะมีหลากหลาย Service และราคาที่หลากหลาย อาทิเช่นบริการ Virtual Server, Storage หรือ Database
  • Service Level Management คือการบริหารและต่อรองข้อตกลงการให้บริการ (SLA: Service Level Agreement)
  • Supplier Management คือการบริหารจัดการ supplier ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ Cloud อาทิเช่น Supplier ด้าน  Software Licensing
  • Capacity Management คิอการบริหารความสามารถในการให้บริการเพื่อให้มั่นใจว่า จะมี Cloud Service ที่มีการให้บริการเพียงพอกับความต้องการ อาทิเช่นสามารถสร้าง Virtual Server ได้มากพอ หรือไม่มีจำนวน Server มากเกินความจำเป็น
  • Information Security Management คือการบริหารทางด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของการให้บริการ Cloud

3)  Service Opeartion คือขั้นตอนการทำการทำงานประจำวันของการให้บริการ Cloud Service ซึ่งเราอาจมีเรื่องต่างๆที่ต้องพิจารณาอาทิเช่น

  • Request Fulfillment คือขั้นตอนในการขอใช้บริการว่าจะจะต้องมีการบริหารจัดอย่างไร และจะเป็นรูปแบบ Self-service เพียงใด
  • Incident Management คือขั้นตอนบริหารจัดการเมื่อเกิด  incident ในการใช้บริการ Cloud
  • Access Management คือขั้นตอนการกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้บริการ สามารถที่จะใช้บริการใดบ้าง ตามนโยบายที่กำหนดไว้

4)  Service Transition คือขั้นตอนบริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราอาจมีเรื่องต่างๆที่ต้องพิจารณาอาทิเช่น

  • Change Management คือขั้นตอนที่ให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงทุกขั้นตอนของ  Cloud Service สามารถที่จะควบคุมได้
  • Service Asset and Configuration Management คือการบริหารจัดการ Configuration และทรัพยากรที่อยู่ภายใต้ระบบ  Cloud ซึ่งเป็นการทำ CMDB (Configuration Management DataBase)
  • Knowledge Management คือกระบวนการที่จะรวบรวมองค์ความรู้ใหม่ๆที่เกี่ยวกับ Cloud Computing Services

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการ  Cloud Computing ไม่ใช่คือการวางแผนเพื่อจะจัดซื้อระบบ Hardware/Software มา แต่เป็นเรื่องของการบริหาร Service Lifecysle ที่ต้องวางแผนและบริหารจัดการในระยะยาว

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ตัวชี้วัด Digital Economy ในมุมมองของภาคเอกชน

smart-hand-hold-the-digital-world

เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการทำแผนเรื่อง Digital Economy ของกระทรวงเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสาร โดยเป็นการประชุมในกลุ่มที่ 4 สำหรับภาคเอกชนซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการประชุมในกลุ่มอื่นๆอาทิเช่น ภาคสังคม ภาควิชาการ และ ภาคราชการ ผมเองได้รับเชิญสองรอบคิอภาควิชาการและภาคเอกชน แต่เลือกไปในฐานะของภาคเอกชนเป็นตัวแทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI)

ในกลุ่มย่อยของเราเห็นคล้ายกันว่า Digital Economy คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือไอซีทีไปใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากกับดักเศรษฐกิจที่เราติดหล่มมาในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา การนำดิจิทัลเข้ามาเราอาจได้นวัตกรรมใหม่ การบริการใหม่ และทำให้เศรษฐกิจในทุกภาคส่วนเราแข่งขันได้ Digital Economy จะต้องมุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆในประเทศเจริญเติบโต ไม่ได้มีเป้าเพียงเพื่อมุ่งให้อุตสาหกรรมไอซีทีบ้านเราเจริญเติบโต

เราได้ถกกันในประเด็นเรื่อง How To เล็กน้อย โดยมองว่าสิ่งสำคัญในการทำ Digital Economy คือการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเช่น High Speed Broadband  ให้ทั่วถึง ควบคู่ไปกับการพัฒนาประชาชนให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีระดับขั้นในการพัฒนาที่ผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งใช้คำว่า 4A  คือ

  • Availability: จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึงให้ประชาขนสามารถที่จะใช้งานได้
  • Access:  ประชาชนจะต้องสามารถที่จะใช้งานได้ในราคาที่เหมาะสม
  • Awareness: ประชาชนจะต้องตระหนักถึงประโยชน์ในการใช้งาน
  • Ability:  ประชาชนจะต้องมีความสามารถในการใช้งานเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

มีประเด็นที่น่าสนใจว่า อะไรคือเป้าหมายและตัวชี้วัดของ Digital Economy สิ่งเราสรุปกันว่าน่าจะมีสามด้านคือ

  • Digital Economy  จะต้องทำให้ GDP ของประเทศสูงขึ้น ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ GDP ของประเทศจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่าไรที่เหมาะสม เป็นไปได้ไหมที่รายได้ของประชากรต่อหัวจะโตขึ้นสองเท่าภายใน 5 ปี   ซึ่งก็จะต้องมีตัวชี้วัดย่อยตามมาคือ การมี Broadband อย่างทั่วถึงภายใน 2-3 ปี ประชาชนในประเทศมีการใช้ Internet ร้อยละ 70 ภายใน 5 ปี หรือสัดส่วนของอุตสาหกรรมภาตบริการที่ควรสูงขึ้น รวมถึงการวัดโดยจำนวนและมูลค่าของนวัตกรรมใหม่ๆ
  • ดัชนีความสุขของประชาชนต้องดีขึ้น Digital Economy จะต้องช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดการเดินทาง การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การใช้งานบริการต่างๆต้องว่องไวขึ้น ประชาชนจะต้องมีโอกาสในการศึกษาที่ดีขึ้นผ่านระบบดิจิทัล และต้องช่วยลดช่องว่างทางชนชั้นของสังคม ตัวเลขเหล่านี้อาจวัดยากแต่ก็ต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสม
  • ดัชนีชี้วัด E-Government ของประเทศจะต้องสูงขึ้น เราถกกันว่าหน่วยงานที่เป็นดิจิทัลน้อยสุดคือภาคราชการ ธุรกรรมของราชการเป็นอุปสรรคต่อการทำ Digital Economy เรายังต้องใช้เอกสารมากมาย คนภาคราชการมี Digital Mindset ไม่มากพอ เราต้องเร่งปฎิรูประบบราชการให้เป็นดิจิทัล เพิ่ม E-Services ต่างๆ ลดการใช้เอกสาร ตัวชีวัดที่ดีคือ  E-Government Index  ของ UN ที่เราตกมาที่ร้อยกว่า ทำอย่างไรให้เราติด  Top 20 ใน 5  ปีข้างหน้า

ทั้งหมดก็เป็นความเห็นส่วนหนึ่งของภาคเอกชนกลุ่มเล็กๆที่ได้แลdเปลี่ยนกันเมื่อวานนี้ ก็ได้แต่หวังว่าภาครัฐคงจะนำสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปพิจารณาปฎิบัติบ้าง

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institue

นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย  (ATCI)

Screenshot 2015-06-29 10.24.10