Screenshot 2015-05-21 16.28.47

ข้อมูลจากหน่วยงานวิจัยต่างๆอาทิเช่น Gartner, IDC หรือ Forrester reserach ต่างระบุคล้ายกันว่า เทคโนโลยี Cloud Computing กำลังเปลี่ยนโลกไอที และตลาดด้านไอทีก็มุ่งไปสู่การจำหน่ายระบบ Cloud Computing มากขึ้น ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud บริษัทที่ทำธุรกิจด้าน Cloudต่างๆ อาทิเช่น Amazon Web Services ก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นมาก และบริษัทซอฟต์แวร์บางรายก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบการขายมาเน้นที่ตลาด Cloud ไม่ว่าจะเป็น Adobe, Microsoft หรือ Oracle

Screenshot 2015-05-21 16.18.17

ข้อมูลตัวเลขตลาด Cloud ของ Gartner ระบุว่าตลาด Cloud จะโตขึ้นถึง 43.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 โดยแบ่งเป็นสัดส่วนของ Saas 49.2%, PaaS 5.5%และ IaaS 45.3% นอกจากนี้ ก็ระบุว่าสัดส่วนตลาดซอฟต์แวร์ที่เป็น Cloud จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ซึ่งในปี 2018 จะมีสัดส่วนเป็น 32% เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ที่เป็น Non-cloud ที่จะมีสัดส่วน 68% บางท่านเห็นข้อมูลต่างๆเหล่านี้แล้วก็เกิดคำถามว่าแล้วทำไมตลาด Cloud สำหรับบ้านเราถึงไม่สอดคล้องกับกระแสโลก เพราะถึงแม้ว่าจะมีสัดส่วนที่มากขึ้นแต่ก็ยังๆม่ได้รับความนิยมมากนัก

Screenshot 2015-05-15 16.10.06ปัจจัยหลายๆประการที่ทำให้ตลาด Cloud ในประเทศเราไม่โตน่าจะมาจากเหตุผลต่างๆดังนี้

1) ขาดความตระหนักและความเข้าใจเรื่อง Cloud ที่แท้จริง ถึงแม้ว่าหลายๆหน่วยงานในบ้านเราจะพยายามจัดสัมมนาสร้างกระแสเรื่องของ cloud Computing แต่สิ่งที่พบคือคนด้านไอทีไทยจำนวนมากยังไม่เข้าใจความหมายของ Cloud ที่แท้จริง บางครั้งเข้าใจว่าเป็นเพียงระบบอินเตอร์เน๊ตหรือเป็บแค่ Web Application โดยไม่เข้าใจถึงเทคโนโลยีของ Cloud และการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจไอทีที่กำลังเปลี่ยนแปงสู่ระบบ Cloud ทั้งนี้เพราะเราเน้นที่จะจัดสัมมนาเอาจำนวนคนมากๆมาฟังฟรีมากกว่าที่จะให้เขาเข้าใจและได้ลงมือปฎิบัติจริง

2) คนไอทีในบ้านเรายังอยากมีความเป็นเจ้าของระบบไอที ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับระบบ Cloud ที่คล้ายเป็นระบบเช่า ผู้ใช้จะไม่ได้เป็นเจ้าของระบบเอง คนจำนวนหนึ่งเลยรู้สึกขัดแย้งในใจที่ไม่ได้เป็นผู้ที่จัดซื้อจัดหาระบบ ไม่ได้เห็นตัวเครื่องจริงๆ และคนไอทีบ้านเรามีความเชื่อมั่นว่าตัวเองจะดูแลระบบได้ดีกว่าคนอื่น

3) คนไอทีบ้านเรายังขาดทักษะทางด้าน Cloud ระบบ cloud ทำให้คนไอทีต้องเรียนรู้ทักษะใหม่หลายๆด้าน อาทิเช่นระบบ IaaS ก็จะทำให้รูปแบบการทำงานของ System Administrator เปลี่ยนไป การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็น SaaS โดยใช้ระบบ PaaS หรือ IaaS ก็ต้องการทักษะใหม่ๆหรือการจะทำ Private Cloud ก็ต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งคนไอทีไทยได้เรียนเรื่องนี้มาน้อยมาก และยังไม่ค่อยมีการเรียนการสอนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ที่น่าตกใจคือคนไอทีไทยจำนวนมากไม่เคยเล่นระบบ Public Cloud ไม่ว่าจะเป็นระบบ IaaS อย่าง Amazon Web Services หรือ Microsoft Azure หรือแม้แต่การใช้ SaaS บางตัวอย่าง Google Apps หรือ Office 365

4) บริษัทซอฟต์แวร์ไทยยังไม่ค่อยพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud การใช้ SaaS จะเป็นสัดส่วนของตลาด Cloud ที่มากที่สุด แต่ตลาด SaaS จำเป็นต้องการซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับในแต่ละประเทศและต้องใช้ภาษาท้องถิ่น ซอฟต์แวร์ SaaS สำหรับผุ้ใช้ในประเทศไทยยังมีน้อย ถ้ามีก็ยังผลิตมาจากต่างประเทศแล้วมาทำ localization อาทิเช่นระบบ CRM ของ Salesforce ซึ่งฟังก์ชั่นบางอย่างอาจไม่เหมาะกับคนไทยนัก เมื่อมีซอฟต์แวร์น้อยคนก็ใช้งานน้อย ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะบริษัทซอฟต์แวร์ไทยยังไม่พร้อมที่พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud ทั้งนี้อาจเพราะยังขาดทักษะ และข้อสำคัญบริษัทซอฟต์แวร์ไทยจำนวนมากยังพึ่งพอใจทีจะขายซอฟต์แวร์แบบ License model ที่มีราคาสูงๆ มากกว่าที่จะใช้โมเดลของ Cloud ที่เป็น subscription model

5) ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานไทยยังไม่ได้ปรับตามธุรกิจของ Cloud การใช้ระบบ Cloud จะมีค่าใช้จ่ายตามการใช้งานเสมือนการเช่าใช้ ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน รายปี หรือแม้แต่คิดเป็นรายชั่วโมงการใช้งาน แต่หน่วยงานบ้านเรายังมีวิธีการงบประมาณแบบเดิม และหลายๆหน่วยงานการจัดซื้อระบบไอทียังต้องมีการส่งมอบระบบที่เป็น Physical ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับระบบ Cloud ได้

6) ผู้ใช้บ้านเรายังมีความกังวลเรื่อง Cloud ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะระบบความปลอดภัยไอทีบ้านเรายังไม่ดีพอ และเรายังมีปัญหาเรื่องความเสถียรของระบบอินเตแร์เน็ต เลยทำให้ผู้ใช้มีความกังวลว่าจะขาดความต่อเนื่องในการใช้งาน จึงทำให้ไม่กล้าที่จะนำระบบ Cloud มาใช้งาน

7) ผู้ใช้บ้านเรายังมีอัตราการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายค่อนข้างสูง ระบบ Cloud ที่เป็น Saas จะสามารถตรวจสอบการใช้งานของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องจำนวนผู้ใช้ การแอบใช้งาน และไม่สามารถก็อบปี้ได้ คนไทยซึ่งไม่ชินกับการซื้อซอฟต์แวร์ก็จะไม่กล้าใช้ระบบ Cloud เพราะจะถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

8) ระบบ Cloud เป็บแบบ On demand -self service ที่ผู้ใช้ต้องจัดหามาเองโดยไม่มีคนช่วย support ซึ่งขัดกับการทำงานของบางหน่วยงานที่มักจะหาคนมาช่วยติดตั้งระบบไอที และระบบ Cloud ต้องชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งบางครั้งไม่สามารถออกใบเสร็จได้ ทำให้ผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆไม่สามารถใช้ระบบ Cloud ได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าเรายังไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่เปลี่ยนไป ซึ่งเราอาจต้องปรับทั้ง ทัศนคติ ทักษะ กฎระเบียบต่างๆ เราก็อาจตามกระแสโลกไม่ทัน ไม่เพียงแต่จะแข่งขันในอุตสาหกรรมไอทีหรืออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไม่ได้ แต่เราอาจแข่งขันในทุกภาคส่วนลำบากเพราะไอทีการเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ผู้ใช้ไอทีเรายังไม่ปรับตามกระแสโลก

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s