การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งเรื่องการทำงานและเรื่องส่วนตัวล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมา ตั้งแต่เราตื่นนอนก็อาจมีเวลาที่เราตื่น การทานอาหารที่ใด ไปที่ไหน การทำงานก็มีข้อมูลตลอดว่าเราทำอะไร ส่งเอกสารหาใคร เขียนข้อความอะไร  หน่วยงานทุกแห่งล้วนมีข้อมูลจำนวนมากจากการทำงาน การติดต่อลูกค้า และการทำธุรกรรมต่างๆแต่ในอดีตข้อมูลเหล่านี้ไม่ถูกบันทึกในรูปแบบของดิจิทัลทั้งหมดทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องเทคโนโลยี

การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่อย่าง Internet of Things หรืออุปกรณ์ต่างๆ ประกอบกับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล ที่รูปแบบข้อมูลเปลี่ยนไป และราคาที่ถูกลง รวมถึงการที่คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำ ลงไปได้มากขึ้น และเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลขนาดใหญ่  (Big Data) ที่แตกต่างจากการเก็บข้อมูลเพียงแค่ในฐานข้อมูลแบบเดิมที่เป็น Database หรือ Datawarehouse ในอดีตที่จะต้องเลือกเก็บข้อมูลบางอย่าง ไม่ใช่ Big Data ที่ควรจะเป็น

เมื่อหน่วยงานมี Big Data ที่สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงมาในรูปแบบของ Data Lake ก็เกิดความท้าทายขึ้นมาว่า แล้วเราจะนำข้อมูลเรานั้นมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์อย่างไร กล่าวคือการทำ Big Data Analytics หลายๆหน่วยงานเข้าใจแต่เพียงว่าคือการนำมาสร้างรายงานให้เห็นข้อมูลต่างๆในรูปแบบของ Business Intelligence และไปเข้าใจว่าการทำ Digital Transformation ของหน่วยงานคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ แล้วนำรายงานที่ได้จาก Big Data มาใช้ประโยชน์

Screenshot 2017-04-22 16.33.53

จริงๆทุกวันนี้เราพูดถึงคำว่า  Digital Disruption  เราพูดคำว่า Industry 4.0 แล้วก็บอกว่า  Robot หรือ Artificial Intelligent / Machine Learning  กำลังเข้ามา เราเห็นธุรกิจหลายอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไปคิดว่ามันก็คือแค่การใช้ดิจิทัล การหาซอฟต์แวร์เข้ามาใช้งาน หลายหน่วยงานก็พยายามจะปรับหน่วยงานไอทีในองค์กร หานักพัฒนาซอฟต์แวร์ ลงทุนฮาร์ดแวร์เพิ่มด้วยความเข้าใจว่า เราต้องทำ Digital Transformation หรือพยายามเต้นตามกระแส Industria; 4.0/ Thailand 4.0 อย่างไม่เข้าใจ

แต่จริงๆแล้วธุรกิจหลายๆอย่างที่กำลังทำให้เกิด Digital Disruption อย่าง  Amazon.com, Alibaba, Uber, AirBnb, eBay หรือ Facebook  ล้วนแต่เกิดการจากการนำ Big Data องค์กรที่ได้จากการบันทึกข้อมูลจากการทำงานมาใช้เช่นข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้าในการทำธุรกรรมมาวิเคราะห์ หน่วยงานเหล่านี้ต่างมีทีมงาน  Data Scientist  จำนวนมาก มีแผนก  Data Science ที่คอยคิดวิเคราะห์ว่าจะนำ Big Data มาเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้อย่างไร จะนำมาสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆได้อย่างไร และก็มีผลทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้รุกคืบเข้าไปเปลี่ยนธุรกิจต่างๆ ทำให้ธุรกิจที่ไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลแข่งขันไม่ได้

ดังนั้นการรู้จักนำ Big Data  มาใช้ในองค์กร ที่สำคัญคือการรู้จักใช้หลักการของ Data Science มาเพื่อทำการคาดการณ์ธุรกิจ ซึ่งนอกเหนือจากจะทำให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ที่สำคัญคือ Big Data อาจทำให้เกิด  Digital Disruption  อาจทำให้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการของ Machine Learning หรือการนำข้อมูลมาใช้โดยทีมงาน Data Scientist แล้วอาจทำให้โอกาสใหม่ๆดังเช่นบริษัทที่กล่าวข้างต้น และก็จะทำให้หน่วยงานสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

แต่ Big Data ไม่ใช่แค่เรื่องของ Business Intelligence  ไม่ใช่งานแบบเดิมๆของหน่วยงานอย่าง Datawarehouse ไม่ใช่แค่ใช้ทักษะของนักพัฒนาโปรแกรม หรือคนดูแลฐานข้อมูล แต่เป็นงานของคุนกลุ่มใหม่ที่องค์กรจะต้องกล้าและต้องสร้างทีมใหม่ขึ้นมา  ข้อสำคัญBig Data ไม่ใช่ Quick win ไม่ใช่โปรเจ็คระยะสั้น แต่มันคือการลงทุนเพื่ออนาคต ลงทุนคน ลงทุนเทคโนโลยีใหม่ แล้วต้องหวังผลระยะยาว มันคือคำถามที่ว่าผู้บริหารระดับสูงจะกล้าเสี่ยงไหม เพื่อเห็น  Digital Disruption ขององค์กร

วันนี้ผมขอเริ่มต้นแค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อเป็นประเด็นต่างๆทีควรทำในครั้งหน้า

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

เมษายน 2560

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s