Screenshot 2018-08-05 11.29.12

เรามักจะได้ยินคำว่า Platform และคำกล่าวที่ว่าในยุคปัจจุบันธุรกิจจะต้องปรับตัวเองมาสร้าง Platform ไม่ใช่ Product หรือ Service และมักยกตัวอย่างของ Alibaba, Uber, Google, Facebook หรือ AirBnb บางท่านก็เข้าใจความหมายของคำว่า Platform แต่บางท่านก็อาจเข้าใจไปว่าการสร้าง Platform คือการนำสินค้าหรือบริการของเราเข้าสู่ระบบดิจิทัล ไปทำ Online marketing บ้าง, พัฒนา Digital Product บ้างเช่นการทำ Online courseware หรือบ้างก็ไปพัฒนา e-Commerce website ด้วยความเข้าใจว่านั้นคือการปรับธุรกิจเข้าสู่ Platform

อะไรคือความหมายของคำว่า Platform?  

ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง The Digital Transformation Playbook ของ David L. Rogers แล้วสรุปความหมายของคำว่า Business Platform ไว้อย่างน่าสนใจว่า “A platform is a business that create value by facilitating direct interaction between two or more distinct type of customers.” จะเห็นได้ว่าการที่ธุรกิจจะเป็น Platform นั้นจะมีนัยสำคัญอยู่สามอย่างคือ

  • Distinct types of customers คือจะต้องมีประเภทของลูกค้ามากกว่าหนึ่งประเภทเช่น AirBnb อาจมีเจ้าของห้องพักที่เป็นลูกค้าของ Plaform และก็มีผู้ที่ต้องการหาที่พักซึ่งก็เป็นลูกค้าของ Platform อีกประเภทหนึ่ง
  • Direct interaction คือจะต้องให้ลูกค้าเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารหรือทำธุรกรรมได้โดยตรง 
  • Facilitating เจ้าของ Platform จะเป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ Platform โดยไม่ได้เข้าจัดการเรื่องต่างๆโดยมากเกินไป

จากความหมายที่ระบุมาจะเห็นว่า Business Platform ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างเช่นเราอาจเห็นห้างสรรพสินค้าอย่าง มาบุญครอง ก็เป็น Platform ด้านค้าปลีกก่อนยุคดิจิทัลเสียอีก เพราะห้างสรรพสินค้าเหล่านั้นก็เป็น Platform ที่ทำให้ผู้เช่ามาตั้งร้านขายสินค้าโดยตรงให้กับผู้เข้ามาเดินห้างได้ ตัวอย่างของห้างสรรพสินค้าเราก็อาจจะเห็นลูกค้าของ Platform มีหลายประเภทอาทิเช่น

  • ร้านค้า คือผู้ที่จ่ายรายได้โดยตรงให้กับห้างสรรพสินค้า
  • คนเดินห้าง คือลูกค้าที่ไม่ได้จ่ายรายได้ตรงให้กับห้างสรรพสินค้า แต่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญสุด เพราะถ้ามีลูกค้าเยอะ ร้านค้าก็จะโต
  • ผู้โฆษณาหรือสื่อต่างๆ ก็อาจเป็นลูกค้าของห้างสรรพสินค้าอีกประเภท ที่สามารถจ่ายเงินให้กับห้างสรรพสินค้าโดยการติดป้ายโฆษณา

หรือถ้ายกตัวอย่างของ Business Platform ในยุคดิจิทัล เราอาจนึกถึง Amazon Marketplace ที่จะมีลูกค้าคล้ายๆกับห้างสรรพสินค้า คือ ผู้ขาย, ผู้ซื้อ และ ผู้โฆษณา โดยทาง Amazon ก็เป็นผู้ช่วยสร้าง Platform และหาเครื่องมือต่างๆให้กับลูกค้าประเภทต่างๆที่มาใช้ Platform เช่น ระบบการชำระเงิน, การแนะนำสินค้า (Recommendation engine) หรือเครื่องมือในการโฆษณาสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

beyond-uber-how-the-platform-business-model-connects-the-world-4-638

ในยุคดิจิทัลเราจะเห็นตัวอย่าง Platform หลายๆประเภทที่เพิ่มมามากขึ้นเพราะสามารถพัฒนา Business Platformได้ง่ายขึ้น อาทิเช่น

  • ค้าปลีก: eBay, Alibaba, Amazon marketplace
  • สื่อ: YouTube, Forbes.com
  • การเงิน: PayPal, Kickstarter, Alipay
  • Mobile computing: iOs, Android
  • ซอฟต์แวร์: Salesforce
  • การท่องเที่ยว: Airbnb, Tripadvisor
  • บริการรถสาธารณะ: Uber, Grab
  • การศึกษา: Coursera, Udemy

ดังนั้นถ้าเราพิจารณาจากคำนิยามของ Business Platform  จะเห็นได้ว่า การทำ e-commerce website ขายของออนไลน์โดยตรงก็ไม่ใช่ Business Platform เพราะเราเป็นเจ้าของ Platform ที่มีลูกค้าประเภทเดียวแล้วเราขายตรงไปยังลูกค้า แม้แต่ธุรกิจอย่าง Netflix ก็อาจไม่ใช่ Business Platform เพราะมีลูกค้าประเภทเดียวคือผู้ชม และ Netflix เป็นผู้กำหนดราคาและติดต่อกับลูกค้าเอง แต่ Netflix หรือ e-commerce webiste อาจเป็นตังอย่างของ Digital Platform

ประเภทของ Business Platform

เราอาจแบ่ง Platform ได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

  • Exchange Platform
    • Pre-digital: Real estate brokers, shopping mall
    • Digital: Product marketplaces (eBay, Alibaba), Service marketplaces (Airbnb, Uber)
  • Transaction system
    • Pre-digital: Credit card, Debit card
    • Digital: Digital payment systems (PayPal), Digital currencies (Bitcoin)
  • Ad-support media
    • Pre-digital: Newspaper, TV
    • Digital: Website with ads, social media with ads
  • Hardware/Software standard
    • Pre-digital: Color TVs (RCA vs CBS), Motor fuels
    • Digital: Videogame consoles (Xbox, Playstation), Mobile OS (iOS, Android)

ทำไม Business Platform ในยุคดิจิทัลถึงมีความน่าสนใจ?

Business Platform จะมีความสำคัญและมีประโยชน์มากๆถ้ามีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก (Network effect) เช่นถ้าห้างมีคนเข้ามาเดินจำนวนมากก็จะให้รายได้ของร้านค้าในห้างโตตาม หรือถ้าบัตรเครดิตมีร้านค้าที่รับบัตรจำนวนมากก็จะมีผู้ถือบัตรมากขึ้น มีธนาคารเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรมากขึ้น

ในยุคก่อนดิจิทัล Platform  จะถูกจำกัดการเจริญเติบโตด้วยปัจจัยหลายอย่างอาทิเช่น ขนาดของพื้นที่ การเข้าถึงของลูกค้าที่อาจจะต้องเดินทางมาที่ห้าง การโฆษณาที่จำกัดเพียงบางช่องทาง แต่ Business Platform ในยุคดิจิทัลจะสามารถสร้าง Network Effect ได้ดีกว่าทั้งนี้จากหลายๆปัจจัยอาทิเช่น

  • ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้ Platform ได้โดยง่ายผ่าน Web APIs หรือ เครื่องมือ SDK ในการเชื่อมต่อกับ Platform เช่น Amazon Marketplace ได้สร้าง APIs ให้ร้านค้าสามารถนำสินค้ามาขายได้โดยง่าย
  • ระบบสามารถขยายได้อย่างมหาศาลรองรับผู้ใช้จำนวนมาก โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานบน Cloud Computing
  • ลูกค้าสามารถเข้าถึง Platform ได้ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย จากทุกที่ ทุกเวลา เช่นการใช้บริการผ่านมือถือ
  • โลกดิจิทัลได้สร้างระบบตรวจสอบตัวตน ผ่านระบบ Verification ต่างๆหลายวิธีทั้งในอีเมล หรือ Social media

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า Business Platform  มีความน่าสนใจ และเจ้าของ Platform สามารถสร้างรายได้จำนวนมากได้ ถ้า Platform นั้นมีผู้ใช้จำนวนมาก มีเครื่องมือในการอำนวยสะดวกให้กับลูกค้า มีมาตรฐานที่ลูกค้าทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดสิ่งต่างๆเหล่านั้น เจ้าของ Platform จึงทำหน้าที่เป็นคนกลางไม่ต้องลงทุนสินทรัพย์จำนวนมาก และสามารถโตได้อย่างรวดเร็ว

ขอจบตอนที่หนึ่งไว้เท่านี้ ครั้งหน้าจะมาเขียนเรื่อง การทำ The Platform Business Model Map ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ Platform ต่างๆ

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

มีนาคม 2561

 

 

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s