Screenshot 2018-08-05 11.29.12

วันก่อนไปที่ร้านขายเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งเพราะอยากซื้อ ตู้โชว์แบบเดียวกับที่เคยซื้อเมื่อ 6-7 ปีก่อน เพิ่มอีกซักหนึ่งชุด แต่พอไปถึงหารุ่นนั้นไม่เจอ ก็เลยขอพนักงานดูประวัติการซื้อย้อนหลัง เพราะอยากทราบว่าตอนนั้นซื้อรุ่นไหน สิ่งที่น่าสนใจคือร้านนี้เก็บช้อมูลลูกค้าไว้ทุกรายการที่เราซื้อ รวมถึงวัสดุทุกชิ้น แต่พอเกิน 5 ปีก็ไม่มีข้อมูลแล้ว ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่าข้อมูลเก่าไปและต้องการประหยัดพื้นที่เก็บข้อมูล ก็เลยลบข้อมูลเก่าทิ้งไป ผมว่าที่ร้านมีข้อมูล Big Data ของลูกค้าที่น่าสนใจ เพราะเขาเก็บข้อมูลธุรกรรมการซื้อของลูกค้าไว้ทุกรายการ และเขาทราบข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าและเบอร์ติดต่อชัดเจน คำถามที่ผมสนใจก็คือว่าจากข้อมูลที่เขามีอยู่ เขาสามารถที่จะวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ไหม การเก็บข้อมูลธุรกรรมของลูกค้าไว้เพียง 5 ปีเพียงพอจะวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ดีแค่ไหน ลูกค้าแต่ละรายจะมาซื้อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆบ่อยแต่ไหนในแต่ละปี

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของร้านนี้คือ เขามีกลยุทธ์ที่ดีในการจะทำ Big data โดยสามารถที่จะให้ลูกค้ามาสมัครเป็นสมาชิก ใส่รายละเอียดที่อยู่ได้ และสามารถเก็บธุรกรรมของลูกค้าได้ อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าถ้าเราจะทำ Big Data เราควรจะต้องเน้นที่ข้อมูลธุรกรรม (ดูรายละเอียดได้ที่ Big data ต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ Transactional data ไม่ใช่เล่นกับ summary data) ซึ่งถ้าได้ข้อมูลเหล่านี้มาก็จะทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าได้ดีขึ้น ยิ่งมีจำนวนธุรกรรมของลูกค้าแต่ละรายมากเท่าไรก็ยิ่งดีขึ้น

หากเราพิจารณาข้อมูลที่เป็น Big Data เราอาจเห็นข้อมูลใหญ่ๆอยู่สี่ประเภทคือ

  • Social media data
  • Mobile data
  • Internet of things data
  • Transactional data

ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อมูลที่จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมลูกค้าที่ธุรกิจต่างๆมักจะมีก็คือข้อมูลธุรกรรมต่างๆที่ลูกค้ามาทำกับธุรกิจเช่น การซื้อสินค้า การติดต่อสื่อสาร เพราะข้อมูล Social media หรือ ข้อมูล Mobile โดยมากมักจะเป็นข้อมูลภายนอกองค์กรธุรกิจ ส่วนข้อมูล IoT ก็จำเป็นจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

1a-transactional-data

แต่ความท้าทายของธุรกิจที่จะมีข้อมูลธุรกรรมเหล่านี้ก็คือกลยุทธ์ในการเก็บข้อมูล บางธุรกิจมีการทำธุรกรรมขายให้กับลูกค้าจำนวนมาก แต่ก็อาจไม่ทราบว่าลูกค้าคือใครเช่น ธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ซึ่งบางทีฝ่ายการตลาดก็ต้องพยายามจูงใจให้ลูกค้าสมัครเป็นสมาชิกเพื่อทราบข้อมูลของลูกค้าเป็นรายคน บางธุรกิจลูกค้าก็อาจไม่ได้มาทำธุรกรรมบ่อยนักเช่นประกันภัยรถยนต์ ถ้าจะได้ข้อมูลขนาดใหญ่ก็อาจต้องใช้เทคโนโลยีอย่าง IoT หรือข้อมูล  Mobile มาช่วย ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นว่าธุรกิจที่มีข้อมูลธุรกรรมลูกค้าแต่ละรายจำนวนมากก็อาจมีกลุ่มต่างๆดังนี้

  • ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
  • ธนาคาร
  • บริษัทหลักทระพย์
  • ธุรกิจด้านการชำระเงินออนไลน์เข่น  Mobile Payment
  • ธุรกิจค้าปลีกที่ลูกค้าลงทะเบียนข้อมูลบุคคลไว้
  • โรงพยาบาล

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความยากของการทำ Big data ประเด็นหนึ่งก็คือข้อมูลที่ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะมีข้อมูลลูกค้าแต่ละรายเป็นจำนวนจำกัด ทำให้ไม่สามารถจะวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าได้ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องร่วมกันวางกลยุทธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านั้นมา

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s