Screenshot 2018-10-14 13.55.59

สัปดาห์ที่ผ่านมา (9-11 ตุลาคม 2018) ทีมงาน IMC Institute  พาผู้เข้าอบรม 16 ท่านไปดูงาน Cloud Expo Asia 2018 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยนับเป็นปีที่ 5 ที่ทางเราพาผู้เข้าอบรมไป ซึ่งนอกเหนือจากการเข้าชมงานก็ยังได้พาผู้เข้าอบรมไปเยียมชมบริษัท Oracle ด้วย

43462155_1228836723930332_1337121326103527424_n

สำหรับในปีนี้ทางผมเองได้เข้าไปร่วมบรรยายในงานนี้ด้วยในหัวข้อ Hybrid Cloud Strategies Drive Demand for Colocation ซึ่งผู้สนใจสามารถดูสไลด์การบรรยายของผมได้ที่ https://tinyurl.com/hybrid-cloud-imc โดยในการบรรยายนี้ผมได้กล่าวนำให้เห็นว่าจากการมาเยียมชมงาน Cloud Expo Asia ต่อเนื่องมาทุกปี ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของงานจากเดิมที่ปีแรกๆจะเน้นที่ ผู้ให้บริการ Public cloud ค่ายต่างๆอย่าง  Amazon, Google, Micrsoft มาออกงาน ในปีหลังๆก็จะเห็นเน้นไปที่การทำโซลูชั่นอย่าง IoT, Big Data หรือ AI โดยใช้ Cloud Computing มากขึ้น และในปัจจุบันก็เน้นไปที่การทำ Multi-cloud มากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับผลสำรวจของ Rightscale ปีล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า ระบบไอทีในองค์กรต่างๆจะเป็น  Multi-cloud  มากขึ้น โดยมีแนวโน้มที่จะเป็น Hybrid cloud มากกว่าที่จะเป็น Multiple public cloud หรือ   Multiple private cloud ดังแสดงในรูปที่ 1 นอกจากนี้ก็ยังพบว่าจากการสำรวจผู้ใช้ทั่วโลกเกือบ 1000 ราย เกือบ 96% จะใช้ Cloud computing  ในปัจจุบันโดยเกือบ 71% จะตอบว่าจะใช้  Hybrid cloud ดังแสดงในรูปที่ 2

Screenshot 2018-10-14 14.09.25

รูปที่ 1 ผลการสำรวจการใช้  Cloud ขององค์กรขนาดใหญ่  [จาก RightScale]

Screenshot 2018-10-14 14.14.55

รูปที่ 2 ผลการสำรวจการใช้  Cloud   [จาก RightScale]

แม้ Public cloud รายใหญ่ๆจะมีประโยชน์ในด้านเงินลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ เพราะเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน และยังมีจุดเด่นที่มีบริการใหม่ๆมากมายอาทิเช่นด้าน  Big data, IoT หรือ AI ที่จะทำให้หน่วยงานพัฒนาระบบไอทีใหม่ๆได้รวดเร็วขึ้น แต่เมื่อมีการใช้งานมากๆค่าใช้จ่ายก็อาจสูงขึ้นกว่าการพัฒนาระบบ Private cloud เองหรือสูงกว่าการใช้ On-premise นอกจากนี้ก็อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรือด้าน Compliance ประเด็นที่สำคัญอีกด้านก็คืออาจเจอปัญหาเรื่อง  Vendor Lock-in

ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่องค์กรจะใช้เฉพาะ  Public cloud และแนวโน้มด้านไอทีเราคงจะต้องเห็นการผสมผสานกันระหว่างการใช้ Private cloud หรือระบบ  On-premise กับการใช้ Public cloud โดยเราอาจแบ่งระบบไอทีขององค์กรได้เป็นสองกลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 ระบบ Application ดั้งเดิม หรือระบบที่มีความสำคัญยิ่งยวด รวมถึงระบบ Core ขององค์กร ซึงพวกนี้ก็จะเป็นกลุ่มที่ใช้ Private cloud/On-premise
  • กลุ่มที่ 2 ระบบ Application ใหม่ๆ ที่ต้องการความรวดเร็วในการพัฒนา หรือที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการพัฒนา กลุ่มพวกนี้จะใช้ Public cloud

ซึ่งองค์กรสามารถที่จะดูแลระบบไอทีทั้งสองนี้ในรูปแบบของ Bi-model IT กล่าวคือทั้งสองระบบจะแยกกันอยู่ หรือจะเป็น  Single infrastructure ก็ได้ โดยในรูปแบบหลังจะมีผลดีกว่าเพราะสามารถจะย้าย  workload ต่างๆได้ง่ายขึ้น โดยทั้งสองระบบจะเชื่อมต่อผ่าน VPN ดังรูปที่ 3

Screenshot 2018-10-14 14.31.25.png

รูปที่ 3 Hybrid Cloud Model

ทั้งนี้เราสามารถใช้  Hybrid Cloud ได้หลายรูปแบบอาทิเช่น

  • Isolated use cases คือการวางระบบ  Application ที่ต่างกันแยกในส่วนของ Private หรือ  Public cloud ที่ต่างกัน
  • Coexisting use cases  คือการที่เราอาจเอา Application เดียวกันมาติดตั้งไว้ในทั้ง Private และ Public cloud  เช่นกรณีของ  Cloud bursting ที่เราจะใช้ Private cloud สำหรับกรณีของ Fixed load แล้วในช่วงของ Peak load ก็ขยายไปใช้ Public cloud หรือกรณีของ Big data  ที่อาจมีข้อมูลเก็บไว้ในทั้งสองระบบ และเมื่อต้องการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ก็อาจไปใช้ Public cloud
  • Supporting application use cases  คือตัวอย่างของการพัฒนา Applicationใหม่ๆที่อาจต้องการใช้เครื่องมือใน Public cloud เช่นการใช้ Machine learning

การพัฒนาระบบขององค์กรสู่ Hybrid cloud จะมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ

  1. วางแผนระบบ  Application ต่างๆว่าระบบใดเหมาะกับ  Cloud โมเดลแบบไหน เช่น Private, Public หรือ  On-Premise
  2. ต้องพยายามเลือก Cloud Framework หนึ่งเดียวเพื่อลดความวุ่นวายในการดูแลลหลายระบบ อาทิเช่นอาจต้องตัดสินใจเลือก  VMWare, OpenStack, Azure stack หรือ ระบบอื่นๆ
  3. ต้องปรับเปลี่ยนระบบไอทีในองค์กรที่เป็น On-premise ให้เป็นระบบที่ทันสมัย โดยอาจเป็น Private cloud โดยต้องยึดกับ Framework ที่เลือกไว้
  4. พยายามเลือก Public cloud หรือ Cloud service provide ที่มี Framework ตามที่เลือกไว้และทำการเชื่อมต่อกับ Private cloud ผ่าน  VPN

ทั้งหมดก็เป็นการสรุปการบรรยายของผมสั้นๆที่กล่าวในงานดังกล่าว

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s