Screenshot 2019-10-01 10.14.45

ผมได้เรียนหลักสูตรออนไลน์ Digital Strategies for Business: Leading The Next-Generation Enterprise ของ Columbia Business School Executive Education ซึ่งเป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากหนังสือ Digital Transformation Playbook Rethink Your Business for the Digital Age ของ David L. Rogers และก็พบว่ามีหลายๆหัวข้อที่น่าสนใจในเรื่องของ Digital Transformation และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของ Disruptive Business Model

โดยเนื่อหาได้กล่าวถึงทฤษฎี Disruption ของ Clayton Christensen ว่า Business disruption คือการที่อุตสาหกรรมปัจจุบันกำลังถูกผู้ท้าชิง (Challenger) เข้ามานำเสนอสิ่งที่ให้คุณค่ากับลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆโดยที่ผู้เล่นรายเดิม (Incumbent) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไม่สามารถที่แข่งขันได้โดยตรง ทั้งนี้ Disruption มักจะเริ่มจากการที่ผู้ท้าจริงจะนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆให้กับลูกค้าที่ผู้เล่นรายเดิมไม่ค่อยสนใจ จากนั้นเมื่อสินค้าหรือบริการถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆโดยอาจมีเครือข่ายมากขึ้น ลูกค้าส่วนใหญ่ของผู้เล่นรายเดิมก็จะค่อยๆเปลี่ยนมาใช้สินค้าหรือบริการของผู้ท้าชิง จนในที่สุดผู้เล่นรายเดิมก็จะหายไป

แต่อย่างไรก็ตามนวัตกรรมทุกอย่างอาจไม่ได้หมายความจะทำให้เกิด Disruption เช่นการทำสินค้าใหม่ๆที่รายเดิมอาจเลียนแบบได้ หรือการลดราคาแข่งกันหรือนำเสนอสินค้าที่ราคาถูกกว่าซึ่งรายเดิมก็อาจเลียนแบบได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญอันหนึ่งของ Disruption คือต้องมีกำแพงที่จะป้องกันการเลียนแบบ (Barrier of imitation) จากผู้เล่นรายเดิมด้วย ซึ่งทาง David L. Rogers ระบุไว้ว่าทฤษฎีของ Disruption ผู้ท้าชิงจะต้องมีคุณค่าที่มีความแตกต่างจากผู้เล่นรายเดิมอยู่สองด้านคือ

  • Value Proposition Differential คือคุณค่าทีจะให้ลูกค้าที่ดีกว่าอาทิเช่น ราคา การเข้าถึง ความง่ายต่อการใช้งาน Personalization หรือ การมีระบบ Social network ของสินค้าหรือบริการที่ทำให้ลูกค้าอยากเปลี่ยนมาใช้งานอย่างยิ่งยวด
  • Value Network Differential คือเครือข่ายที่ทำให้นำเสนอคุณค่าที่กว่าข้างต้นให้กับลูกค้าได้ เช่นอาจมีช่องทางที่ดีกว่า มีเครือข่ายผู้ใช้จำนวนมาก มีทรัพย์สินทางปัญญา หรือมีข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะเป็นกำแพงที่ป้องกันไม่ให้ผู้เล่นรายอื่นๆเลียนแบบคุณค่าที่นำเสนอให้กับลูกค้าโดยง่าย

ตัวอย่างเช่นเมื่อ iPhone เข้ามาในฐานะของผู้ท้าชิง แข่งกับรายเดิมอย่าง  Nokia  เราจะสังเกตได้ว่า  iPhone จะมี Value Proposition และ Value Network  ที่แตกต่างออกไปดังนี้

  • Value Proposition  มีรูปทรงในการออกแบบทีดีกว่า, ใช้งานง่ายกว่า, มี Application  ให้ใช้งาน,  รวมหลายๆอย่างเข้ามาด้วยกันเช่น การฟังเพลง ส่งอีเมล แผนที เป็นต้น
  • Value Network มี ทีมงานในการออกแบบที่มีความสามารถ, มีเครือข่ายนักพัฒนา Application, มี iTunes และ App Store, มีการร่วมมือกับ  Telecom Operator ในการที่จะให้บริการ Data package

Screenshot 2018-10-15 20.22.10

ซึ่งการวิเคราะห์ว่าธุรกิจใหม่ใดจะทำให้เกิด  Disruption เราก็ควรที่จะมาวิเคราะห์ Value Propostion  และ Value Network ต่างๆโดยใช้ Disruptive business model map ตามรูปข้างบนนี้ แล้วต้องทดสอบคำถามสองอย่าง (Two-Part Test) ว่า Value Proposition จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณค่ายิ่งยวดหรือไม่ และทดสอบว่า Value network จะทำให้ผู้เล่นรายอื่นๆไม่สามารถเลียนแบบได้หรือไม่ ถ้าสองคำตอบนี้เป็นจริงก็มีโอกาสที่ธุรกิจใหม่นั้นมีโอกาสทำให้เกิด Disruption ได้

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s