ทุกองค์กรพูดถึง AI (ปัญญาประดิษฐ์) ว่าเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกและธุรกิจ บ้างก็เป็นกังวลกับอนาคตของธุรกิจและอุตสาหกรรม บางหน่วยงานที่มีศักยภาพก็เริ่มเตรียมตัวทั้งการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร AI เป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์และพยากรณ์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำอยู่เป็นประจำ แต่ด้วยความสามารถของคอมพิวเตอร์ประกอบกับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ก็เลยทำให้ทำได้รวดเร็วและมีความแม่นยำกว่ามนุษย์ ดังนั้นงานยากๆที่แต่ก่อนทำไม่ได้จึงสามารถทำได้ดีขึ้นในวันนี้ การประบุกต์ใช้ AI จะประกอบด้วยหลายๆด้านทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการฟัง ด้านการมองเห็น ด้านภาษา หรือด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของ AI ก็คือการที่จะต้องมีข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) แล้วใช้ Machine Learning มาเป็นอัลกอริทึมในการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องมีคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วด้วย โดยรูปที่ 1 ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ AI, Big Data และ Machine Learning

 

screenshot 2019-01-14 13.34.15

รูปที่  1 ความสัมพันธ์ของ AI, Big Data และ Machine Learning

จริงๆแล้ว AI ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ที่เริ่มมากล่าวถึงมากขึ้นในตอนนี้ก็เพราะว่าเทคโนโลยีอย่าง Mobile, Social Media และ Internet of Things  (IoT) ทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ข้อมูลก็มีขนาดใหญ่ขึ้นก็ยิ่งทำให้ AI มีความแม่นยำขึ้น ประกอบกับการมีระบบ Cloud computing ทำให้เราสามารถหาทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้ง่ายขึ้น

การเตรียมตัวสำหรับการทำ AI องค์กรจะต้องพิจารณาเริ่มต้นจากความต้องการธุรกืจ ไม่ใช่เริ่มจากด้านเทคโนโลยี  ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่จะนำ AI มาประยุกต์ใช้ในองค์กร หลังจากนั้นจึงพิจารณาด้านโครงสร้างพิ้นฐานสำหรับการทำ AI ซึ่งองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีที่สำคัญมีสองส่วนคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Machine Learning และ Deep Learning  การเตรียมโครงสร้างพิ้นฐาน Big Data ผมก็คงจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้เพราะได้เขียนไว้บ่อยๆในเรื่องของ Data Lake, Hadoop และ  Cloud Storage

อัลกอริทึมที่ใช้ใน AI ที่มักจะกล่าวถึงคือ Machine Learning ซึ่งก็มีการพัฒนามายาวนานโดยมีการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆอาทิเช่น การทำ Classification, Clustering, Recomendation, Personalization หรือ การทำ Fraud detection นอกจากนี้ยังมีอัลกอริทึมอีกกลุ่มหนึ่งคือ Deep Learningโที่มีความสามารถดีกว่า Machine Learning แบบเดิมๆดยได้ตัดเรื่องของการทำ Feature Engineer ออกเลยทำให้ AI สามารถเรียนรู้จากข้อมูลขนาดใหญ่ได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เลยทำให้ในปัจจุบันมีการนำ Deep learning ในการประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆอาทิเช่น Image recognition, Speech Recognition, Language หรือ  Self driving car

การเตรียมเทคโนโลยีด้านอัลกอริทีมเหล่านี้จะต้องเลือกเครื่องมือในการพัฒนา (Toolkit) และเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับการประมวลผล ซึ่งเมื่อพูดถึงเครื่องมือในการพัฒนาเราอาจต้องใช้เครื่องมือต่างๆอาทิเช่น

  • Machine Learning Toolkit
    • SAS, R, MATLAB, Python (scikit-learn), Spark, Anaconda
  • Deep Learning Toolkit
    • TensorFlow, MXNet, PyTorch, Caffe, CTNK

นอกจากนี้การใช้อัลกอรึทีมโดยเฉพาะในขั้นตอนการทำ Data Training จำเป็นต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในการประมวลผล ซึ่งองค์กรอาจจำเป็นต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ On-Premise หรืออาจใช้เครื่อง Virtual Server บนระบบ Public cloud เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้น แต่หากโจทย์ AI เป็นปัญหาทั่วๆไปที่มีการทำ Data Training มาแล้ว เช่นการทำ Face Recognition, Speech Recognition หรือ Chat Bot องค์กรก็อาจสามารถที่จะใช้ APIs สำเร็จรูปที่ผู้ให้บริการ Public Cloud ค่ายต่างๆได้จัดเตรียมไว้เช่น Vision API ของ Google Cloud Platform  หรือ Recommendation API ของ Microsoft Azure ดังแสดงในรูปที่ 2 ที่เป็นการสรุปเปรียบเทียบบริการ AI Cloud  ของค่ายต่างๆ แต่การใช้ API เหล่านี้ก็อาจมีจุดด้อยในเรื่องของ Vendor Lock-in

49938364_2261204387459828_3708624111711289344_n

รูปที่ 2 เปรียบเทียบ API Services ของ Public Cloud Provider ต่างๆ

กล่าวโดยสรุปการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรในการทำ AI อาจจะต้องครอบคลุมถึงเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลอย่าง Data Lake, Toolkit ในการพัฒนาอัลกอริทึมทางด้าน Machine Learning หรือ Deep Learning  และระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับการประมวลผล ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาอาจใช้บริการของ  Public cloud เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้น

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

 

 

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s