เมื่อวานนี้ทาง คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ได้กรุณาเข้ามาสัมภาษณ์ผมเรื่องของ Digital Transformation
มีคำถามว่าในมุมมองของผมคำว่า Digital transformation คืออะไร
ผมเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลแต่จริงๆมันคือเรื่องของกลยุทธ์ กล่าวคือ องค์กรต้องกำหนด Value Proposition ให้กับลูกค้าใหม่รวมถึงอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กร การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ผู้คนมีการใช้ Digital มากขึ้นพฤติกรรมของผู้บริโภคเลยเปลี่ยนไป แต่ก่อนเราในฐานะของบริษัทซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการ จะเป็นศูนย์กลางและมีอิทธิพล เราสามารถจะกำหนดกลไกการตลาดต่างๆได้ แต่เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถที่จะสืบค้นข้อมูล สามารถที่จะเปรียบเทียบราคา สามารถที่จะเลือกบริโภคอะไรก็ได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้สั่งจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้นการแข่งขันไม่เหมือนเดิมเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว
Lazada Alibaba NetFlix Airbab หรือแม้แต่ Grab ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าธุรกิจที่มีรูปแบบเดิมๆเนี่ยกำลังเปลี่ยนไป โดนแพลตฟอร์มเข้ามาแทนที่และแพลตฟอร์มเนี่ยสามารถขยายในวงกว้างเนื่องด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมันสามารถขยายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และความสามารถของเทคโนโลยีก็มีมากชึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ผู้ที่เริ่มก่อนและมีผู้ใช้มากๆขยายตัวอย่างมหาศาลจนเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Winner Take All
Digitl Disruption เกิดขึ้นในบางอุตสาหกรรมอย่างชัดเจนแล้วอาทิเช่นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อบันเทิง แต่จริงๆแล้วเนี่ยมันจะกระทบกับทุกอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับเวลาหรือขนาดเท่านั้น ยิ่งถ้าอุตสาหกรรมใดมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากแล้วโอกาสที่จะเกิดขึ้นเร็วก็จะยิ่งมีมาก ผลกระทบมันเป็นแบบสึนามิขึ้นมาเร็วใครตั้งตัวไม่ติดก็คงล้มลงไปเลย
ความแตกต่างระหว่างคำว่า Digitized คำว่า Digital
หลายๆองค์กรยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า Digitized คำว่า Digital องค์กรที่เป็น Digitized organisation ก็คือองค์กรที่ลงมือทำหรือนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ เช่นการแปลงข้อมูลจาก analog ให้มาเป็น Digital มีการใช้ระบบ CRM ระบบ ERP หรือแม้แต่การทำสินค้าขายออนไลน์ ซึ่งโดยมากก็เป็นงานโครงการ ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นอาจเพิ่มรายได้ขึ้นระยะสั้น แต่สุดท้ายอาจถูก Digital Disruption อยู่ดี เพราะยังไม่ใช่เป็นการเปลี่ยน
คำว่า Digital Organisation คือองค์กรที่มีวัฒนธรรมทางดิจิทัล เริ่มมีสินค้าหรือบริการที่อยู่ในรูปของดิจิตอลมีการนำเสนอรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ มีการปรับองค์กรใหม่ มีความคล่องตัว และมีการทำTransformation อย่างต่อเนื่อง เพราะมันไม่ใช่เป็นโครงการที่ทำครั้งเดียวเสร็จ
องค์กรอาจจะเริ่มต้นจากการทำ Digitized ก่อนเป็นขั้นตอนแรก หลังจากนั้นบางแผนกบางธุรกิจก็อาจจะเริ่มมีการทำ Digital transformation ของแผนกตัวเองโดยมีการนำเสนอกระบวนการหรือสินค้าใหม่ๆในรูปของดิจิทัล Business Model บางอย่าง ขั้นตอนนี้ผมเรียกว่า Siloed จากนั้นอาจเข้าสู่ขั้นตอนที่ผู้บริหารสูงสุดหรือบอร์ดเห็นความสำคัญของ Digital transformation จะต้องกำหนดกลยุทธ์องค์กรไปข้างหน้าโดยใช้ Digital กล่าวคือ ทำให้องค์กรมีวัฒนธรรมดิจิทัล กลยุทธ์องค์กรเดินด้วยดิจิทัล กล่าวคือ เปลี่ยนจาก Digital enable Business เป็น Digital inspire Business ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์เนี่ยในช่วงแรกเราอาจเห็นขับเคลื่อนไปได้บางส่วนในองค์กรหรือที่เรียกว่า Partially Transform จากนั้นเมื่อองค์กรทำพร้อมทั้งหมดแล้วก็อาจถึงขั้นตอนที่เรียกว่า Fully Transform สุดท้ายองค์กรจะเดินไปข้างหน้าได้การทำ Digital Transformation จะมีอย่างต่อเนื่องและจะประสบความสำเร็จได้เราจะต้องไปถึงขั้นที่เรียกว่า Living DNA คือมีองค์กรพร้อมที่จะเปลี่ยนปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลตาม Value Proposition ที่เปลี่ยนไป
ผมได้เขียนบทความหลายหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Digital Transformation ทั้งในบล็อก thanachart.org ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและ Business Today ทุกสัปดาห์ก็สามารถติดตามอ่านได้แล้วกันครับ
ธนชาติ นุ่มนนท์
IMC Institute