ในปัจจุบันผู้ผลิตเทคโนโลยีรายใหญ่ต่างพยายามนำระบบ AI เข้ามาอยู่ในชีวืตประจำวันของผู้คนด้วยการการพัฒนาแพลตฟอร์ม Digital Assisstant เข้ามาฝั่งอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆทั้ง ระบบ Digital Assistant นอกจากเป็นโมบายแอปที่อยู่บนโทรศัพท์มือถืออย่าง Apple Siri, Google Assitant, Microsoft Cortana หรือ Amazon Alexa แล้วยังมีฝั่งอยู่ในลำโพงอัจฉริยะต่างๆอย่าง Google Home, Amazon Echo หรือ Apple Homepod หรือมีอยู่ในสมาร์ททีวี รถยนต์ หรืออุปกรณ์ IoT ต่างๆมากมาย
โดยอุปกรณ์ที่ผู้ใช้นิยมกันมากก็คือการใช้ลำโพงอัจฉริยะ ที่ทาง Amazon ได้เริ่มทำก่อนคือ Amazon Echo และ Amazon Echo Dot แล้วหลังจากนั้นทาง Google ก็ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Google Home และ Google Mini เข้ามาแข่ง นอกจากนี้ในปัจจุปันลำโพงต่างๆที่มีขายตามท้องตลอดก็เริ่มที่จะพัฒนาติดตั้ง Digital Assistant ของค่ายเทคโนโลยีเหล่านี้มาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกเหนือจากการใช้ฟังเพลงตามปกติ
ระบบ Digital Assistant โดยมากจะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง และจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่เชื่อมโยงกันหมด และก็จะมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้มาตลอดเวลา ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้มากขึ้น รู้จักผู้ใช้ได้ดีขึ้นและมีความชาญฉลาดในหลายเรื่อง อาทิเช่นการให้ข้อมูลต่างๆ การทราบตำแหน่งของผู้ใช้ การเข้าปฎิทินของผู้ใช้ การสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน หรือการสั่งสินค้าต่างๆ นอกจากนี้ระบบเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับบริการอินเตอร์เน็ตต่างๆเชื่อ Google Map, NetFlix, Spotify หรือ Lyft เพื่อสั่งงานด้วยเสียงได้ หรือแม้แต่มีบริการในการจองร้านอาหารด้วยเสียงอย่างเช่น Google Duplex ที่เปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา
รูปที่ 1 อุปกรณ์ /โปรแกรม Digital Assistant ที่ผมใช้ในชีวิตประจำวัน
สำหรับผมเองใช้ Digital Assistant อยู่สองค่าย คือ Google Assistant และ Amazon Alexa แต่ส่วนใหญ่จะใช้ Google Assistant มากกว่า โดยจะมีอุปกรณ์ที่มี Google Assistant อยู่สี่ตัวคือ
- Google Home ตั้งแต่รุ่นแรก
- Google Home Mini
- True ID TV Box
- โมบายแอป Google Assistant ที่อยู่ในมือถือ iPhone
นอกจากนี้ที่บ้านมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างที่สามารถเชื่อมต่อกับ Google Assistant ได้ทำให้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ อาทิเช่น Google Chromecast ที่เชื่อมต่อทีวี, BroadLink RM Mini 3 ที่ทำหน้าที่เป็นรีโมทควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ, Xenon Smart Plug ที่เป็นปลั๊กไฟที่สามารถเชื่อมต่อ WiFi ได้ และ อุปกรณ์อัจฉริยะของ Xiaomi หลายๆอย่างเช่น Smart Bedside Lamp หรือ Air Purifier ส่วนตัวอุปกรณ์ Google Home ผมก็จะเชื่อมต่ออยู่กับเครื่องเสียงที่บ้าน เพื่อทำให้ได้เสียงที่ไพเราะขึ้น โดยเฉพาะเวลาให้เล่นเพลงจาก Spotify โดยเลือกการตั้งค่าในโปรแกรม Google Home ให้ Default speaker เป็นลำโพงที่ต้องการ
รูปที่ 2 การเชื่อมโยง Google Home แล้วกำหนดให้เครื่องเสียงคุณภาพดีเป็น Default Speaker
รูปที่ 3 ขั้นตอนการกำหนด Default Speaker โดยใช้โปรแกรม Google Home
อุปกรณ์ Google Assistant ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนการสั่งงานด้วยภาษาไทย โดยเฉพาะตัวลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home ส่วนตัว True ID TV Box จะรู้จักคำสั่งภาษาไทย แต่ตัวโมบายแอป Google Assistant โดยปกติจะไม่รู้จักภาษาไทย แต่เราสามารถติดตั้งให้เข้าใจคำสั่งภาษาไทยได้ (ดูรายละเอียดการติดตั้งจากบทความ “การติดตั้ง Google Assistant ลงบนมือถือเพื่อให้สั่งงานเป็นภาษาไทยได้“) เลยทำให้ระยะหลังผมจะใช้ Digital Assistant จากโมบายแอป Google Assistant เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากอยู่บนมือถือที่พกติดตัวตลอดเวลาและสามารถสั่งงานเป็นภาษาไทยได้
นอกเหนือจาก Google Assistant ผมยังมีอุปกรณ์ Amazon Echo Dot เพื่อใช้สั่งงานกับบริการต่างของ Amazon อย่างการอ่านหนังสือใน Amazon Kindle หรือการฟังเพลงจาก Spoitfy รวมถึงการใช้สั่งงานในเรื่องต่างๆ
ในตอนหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ผมใช้ Digital Assistant เหล่านี้ทำอะไรบ้่าง ตั้งแต่การค้นหาหนังตามโรงภาพยนต์ การดูทีวี การแปลภาษา การสั่งเปิดปิดเครื่องไฟฟ้า หรือการฟังเพลง ซึ่งจะมาอธิบายขั้นตอนการทำงานต่างๆที่ผมใช่้ประจำ
ธนชาติ นุ่มนนท์
IMC Institute