Gartner ได้ประกาศ Strategic Technology Trends 2021 ออกมาเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งนี้ในปีนี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คนจากการที่จะต้องสร้างระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และน่าจะมีผลต่อเนื่องในระยะยาวที่จะทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ Gartnerแบ่งแนวโน้มด้านเทคโนโลยีปีนี้ไว้เป็นสามกลุ่มคือ

  • ด้าน People centricity ซึ่งถึงแม้ว่าโควิด-19 จะทำให้การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป แต่คนก็ยังเป็นศูนย์กลางของธุรกิจที่จำเป็นจะต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆถูกแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
  • ด้าน Location independence โควิด-19 ทำให้เกิดสังคมที่ไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่แบบเดิม ทำงาน เรียนหรือใช้ชีวิตประจำวันที่ไหนก็ได้ จึงจำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีที่จะมาสนับสนุนพฤติกรรมรูปแบบใหม่ๆ
  • ด้าน Resilient delivery วิกฤติโควิด-19และการถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและมีความคล่องตัว จึงต้องมีการเตรียมเทคโนโลยีที่สามารถมารองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากกระแส Digital disruption

ทั้งนี้ในปีนี้ Gartner ประกาศแนวโน้มเทคโนโลยีออกมาเพียง 9 อย่าง ซึ่งแตกต่างจากปีก่อนๆที่ปกติจะมี 10 อย่าง โดยมีเทคโนโลยีดังนี้

ด้าน People centricity

  • Internet of Behaviours เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้สามารถเก็บข้อมูลของผู้คนได้มากขึ้น ทั้งข้อมูลของลูกค้าในเชิงธุรกิจและข้อมูลของประชาชนสำหรับภาครัฐ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากโซเชียลมีเดีย Internet of things หรือมือถือ ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้คนได้มากขึ้น และอาจนำมาใช้งานในด้านต่างๆได้ดีขึ้นทั้งเรื่องของการให้บริการลูกค้า หรือการควบคุมการเกิดโรคระบาด เช่นการตรวจสอบว่ามีการใส่หน้ากากหรือไม่จากกล้องอัจฉริยะ หรือได้ล้างมือหรือยังจากระบบเซ็นเซอร์ของก็อกน้ำ ตลอดจนการมีระบบติดตามผู้คนทำให้ทราบพฤติกรรมของผู้คนได้มากขึ้น
  • Total experience คือการรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งจาก ประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ประสบการณ์ของพนักงาน (employee experience) และประสบการณ์ของผู้ใช้ (user experience) มาเพื่อเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นในช่วงโควิด-19 มีบริษัทด้านโทรคมนาคมแห่งหนึ่งได้ติดตั้งระบบนัดหมายผ่านโมบายแอป และเมื่อลูกค้ามาตามเวลานัดหมายพอใกล้ถึงสถานที่ก็จะสามารถเช็คอินได้อัตโนมัติ และสังข้อความไปแจ้งพนักงานที่อาจใช้แทปเล็ตเพื่อให้บริการและโต้ตอบกับลูกค้าแบบทันทีทันใด ซึ่งจะช่วยลดเรื่อง Social distancing และทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าและพนักงานโดยรวมดีขึ้น
  • Privacy-enhancing computation คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อจะประมวลผลข้อมูลได้อย่างปลอดภัย โดยประกอบไปด้วยเทคโนโลยีสามด้านคือ 1) การทำระบบและสภาพแวดล้อมที่สามารถประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัย 2) การทำให้สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบกระจายไปหลายที่ได้ และ 3) การเข้ารหัสข้อมูลและอัลกอริทึมก่อนที่นำไปประมวลผลและวิเคราะห์ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปประมวลผลข้ามองค์กรได้ด้วยความปลอดภัย

ด้าน Location independence

  • Distributed cloud คือการที่ผู้ให้บริการ public cloud กระจายการติดตั้งระบบ cloud ไว้ในหลายๆแห่งโดยที่การบริหารจัดการบริการและการควบคุมต่างๆยังเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ public cloud จึงทำให้องค์กรต่างๆได้ Cloud services ที่ทันสมัย และมีระบบที่ตั้งอยู่ตำแหน่งใกล้กับหน่วยงานเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการส่งข้อมูล และตอบโจทย์ขององค์กรที่ต้องการให้ข้อมูลไม่ย้ายออกไปอยู่ในดำแหน่งไกลๆโดยเฉพาะในต่างประเทศ ทั้งนี้มีการกล่าวว่า Distributed cloud คืออนาคตของ Cloud
  • Anywhere operation คือรูปแบบของธุรกิจที่จะให้บริการลูกค้าจากที่ใดก็ได้และพนักงานทำงานจากที่ใดก็ได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งต้องมีแนวคิดที่มองดิจิทัลต้องมาก่อนโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งที่ตั้ง (Digital first, location independent) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานไอทีและแอปพลิเคชั่นแบบกระจาย
  • Cybersecurity mesh คือสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Distributed architecture) ที่จะสามารถควบคุมความปลอดภัยทางไซเปอร์ได้อย่างมั่นใจ ยืดหยุ่น และขยายตัวได้ ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรด้านไอทีจำนวนมากอยู่นอกรัศมีการควบคุมความปลอดภัยที่มักจะกำหนดไว้ภายในองค์กร Cybersecurity mesh จะเป็นการอนุญาตให้ผู้ใช้กำหนดรัศมีการควบคุมความปลอดภัยโดยพิจารณาจากการระบุตัวตน หรือตำแหน่งของผู้ใช้ จึงทำให้สามารถใช้ระบบความปลอดภัยในรูปแบบโมดูลาร์และตอบสนองได้ โดยมีนโยบายจากส่วนกลาง

ด้าน Resilient delivery

  • Intelligent composable business องค์กรต่างๆจำเป็นจะปรับตัวอยู่ตลอดเวลาในโลกที่กำลังเปลี่ยงแปลงไป จึงจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้นและสามารถที่จะเสริมข้อมูลเหล่าให้เห็นในเชิงลึกได้ ตลอดจนประกอบข้อมูลในแต่ละส่วนย่อยหรือแอปพลิเคชั่นได้ เพื่อที่จะมาพัฒนาระบบต่างๆที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่นธนาคารอาจจะต้องสามารถที่จะพยากรณ์แนวโน้มและพฤติกรรมของลูกค้าแล้วสามารถสร้างบริการใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจากระบบเดิมที่มีอยู่จากการจัดเรียงระบบขึ้นมาใหม่แทนที่จะต้องพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมด
  • AI engineering คือการแก้ปัญหาโครงการด้านเอไอที่มักจะเจอในแง่ของการบำรุงรักษา การขยายระบบ และด้านธรรมาภิบาล โดยการให้การทำเอไอเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาและการทำงานโครงการไอทีต่างๆแทนที่จะมองเป็นโปรเจ็คด้านเอไอโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนเป็นเป็นตามหลักธรรมภิบาล โดยต้องคำนึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส จริยธรรม การสามารถอธิบายได้ และเป็นไปตามกฎปฎิบัติต่างๆ
  • Hyperautomation คือ แนวคิดที่จะต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆทั้งทางด้านธุรกิจและไอทีเป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้เทคโนโลยี Intelligent automationที่หลากหลายแต่สามารถนำมาเชื่อมต่อและประกอบกันได้

ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้องค์กรต่างๆควรจะคำนึงถึงเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการวางแผน Digital Transformation เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจทอดยาวไปถึงอีก 4-5 ปีข้างหน้า

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s