AI, Scalability และ Security คือความท้าทายของการพัฒนาระบบไอทีในปัจจุบัน

edm_Nov_jayedit

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมาผมมีโอกาสไปบรรยายที่ Software Park ในงานสัมมนา  Developers for Disruptive Era ในหัวข้อ Trend of Technology Skill for Developers โดยผมมีสไลด์ในการบรรยายดังนี้ >> Slide การบรรยาย Software ParkScreenshot 2018-09-01 10.41.19

สิ่งหนึ่งที่กล่าวในการบรรยายคือการพัฒนาซอฟต์แวร์ในวันนี้ไม่ใช่เน้นที่ Mobile First อีกต่อไป แต่เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI First ซอฟต์แวร์ในยุคต่อไปจะต้องมีระบบปัญญาประดิษฐ์ฝั่งอยู่ เราคงไม่ได้เน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบ CRM, ERP, ระบบ Enterprise, ระบบบริการ หรือ  Mobile application ต่างๆเพียงอย่างเดียว แต่ซอฟต์แวร์ในอนาคตต้องชาญฉลาด ต้องสามารถบอกผู้ใช้ได้ว่าจะต้องทำอะไร ดังนั้นซอฟต์แวร์ที่จะแข่งขันได้ในอนาคตต้องเน้นปัญญาประดิษฐ์ และต้องมีทีมงานเข้าใจด้าน Machine Learning หรือ  AI ในการร่วมพัฒนา

นอกจากนี้ผมยังเน้นให้เห็นว่าในปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลคนเข้ามาใช้ไอทีกันมากขึ้น มีอุปกรณ์ต่างๆเข้ามาใช้งานมากขึ้น ระบบก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น ตวามท้าทายในวันนี้ก็คือการทำให้ระบบมีเสถียรภาพ สามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ (สามารถ Scale ได้) และต้องมีระบบความปลอดภัยที่ดี เทคโนโลยีและทักษะการพัฒนาระบบไอทีวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก การพัฒนาระบบใหญ่ๆไม่ใช่เรื่องง่าย คนไอทีจำนวนมากอาจสามารถที่จะสร้างระบบเล็กๆที่เปรียบเสมือนบ้านสองชั้นได้ แต่พอเจอระบบใหญ่ที่เราอาจเปรียบกับการต้องสร้างตึกสูง มันย่อมจะมีความซับซ้อนมากมาย ต้องการคนออกแบบที่เป็น ต้องการผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบ้านเรายังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจระบบและเทคโนโลยีในการพัฒนาระบบที่เปลี่ยนไป

ผมพูดในที่บรรยายแล้วยกตัวอย่างให้เห็นว่า เราเริ่มเห็นระบบไอทีใหญ่ต่างๆในบ้านเราที่มีผู้ใช้จำนวนมากล่มบ่อยๆเวลามีผู้ใช้งานจำนวนมากอาทิเช่น ระบบการจองตํ๋ว ระบบลงทะเบียนการศึกษา หรือแม้แต่ระบบธนาคารต่างๆ ปัญหาไม่เพียงแต่เกิดจากด้านฮาร์ดแวร์ที่อาจรองรับไม่ได้ แต่ยังรวมไปถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมไอทีทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ดี เรามักจะคิดว่าคนไอทีที่ทำระบบเล็กๆนำเสนอ Application หรือไอเดียที่ดีแล้วสามารถจะ Scale มาทำระบบขนาดใหญ่ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วอาจต้องปรับทักษะและวิธีการอย่างมาก

แนวคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในอนาคตอยู่ที่การทำงานแบบร่วมมือกัน (Collaboration)  จะต้องเน้นเรื่องของ  Cloud, Agile, DevSecOp, Containerและ Microservices  เราต้องเน้นการพัฒนา API มากขึ้น และต้องสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็น Hyper-Agile ระบบไอทีขนาดใหญ่มันแตกต่างกับระบบเล็กมากเราต้องการผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องเร่งลงทุนกับระบบไอทีเพิ้ม และต้องพัฒนาคน ก่อนที่เราจะสายไป แล้วทำให้ระบบในประเทศเราพยุกขะงักบ่อยๆแล้วเกิดความเสียหายในอนาคตเมื่อเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่มีผู้ใช้ไอทีจำนวนมากอย่างแท้จริง โดยทักษะด้านไอทีที่เราอาจต้องการในอนาคตอาจมีดังนี้

  • Experience With AI & Machine Learning
  • Data Science Talent
  • Mobile Application Development
  • Ability To Adapt To New Tech.
  • Talent For PaaS In The Cloud
  • Coding And Engineering Experience .. DEvSecOp
  • Any Skills Related To Analytics
  • Blockchain
  • Cyber security
  • Digital Transformation

ธนชาติ นุ่มมนท์

IMC Institute

Facebook ซื้อ Whatsapp กับความคุ้มค่า !!!

ตอนที่ผมได้ข่าวว่า Facebook  ซื้อกิจการของ Whatsapp  ด้วยวงเงิน  19 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ผมแปลกใจมาก เพราะ Whatsapp  เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาเพียง 5 ปีมีพนักงานเพียง  50 คน คำนวณแล้วเป็นเงินถึง 380 ล้านเหรียญสหรัฐต่อพนักงานแต่ละคน วงเงิน   19 พันล้านเหรียญสหรัฐแบ่งเป็นเงินสด  4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปของหุ้นของ Facebook อีก  12 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอีก  3 พันล้านเหรียญสหรัฐจะเป็นหุ้นที่จะทยอยให้กับพนักงานในอีก 4  ปีข้างหน้า

การซื้อกิจการ  Facebook ถือว่าเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับสองจาการเข้าซื้อบริษัทด้านเทคโนโลยีโดยการซื้อกิจการทีใหญ่ที่สุดคือการที่ HP เข้าซื้อ Compaq  เมื่อปี 2001 ซึ่งเมื่อปรับค่าตามเงินเฟ้อในปีนี้จะพบว่ามีมูลค่าถึง 33.4  พันล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าที่ Facebook ซื้อ Whatsapp ทำให้ผมนึกถึงบริษัทเก่าผมคือ Sun Microsystems ที่ถูก Oracle ซื้อไปด้วยมูลค่า 7.4  พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2010 และนึกถึงตอนที่ Microsoft ซื้อ Nokia  เมื่อปีทีแล้วด้วยมูลค่า 7.2  พันล้านเหรียญสหรัฐ สองบริษัทนี้ถูกซื้อถูกจนเกินไปไหม  Sun Microsystems มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายทั้ง Java, MySQL และเครื่อง Server และนวัตกรรมเหล่านั้นยังคงอยู่และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย ส่วน Nokia ก็มีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่และมีทีมวิจัยและพัฒนาที่เข้มแข็ง คำถามคือ Whatsapp มีอะไร ที่คุ้มค่ากับการซื้อกิจการครั้งนี้

unnamed-45

หากเราลองมาดูการเข้าซื้อกิจการนับตั้งแต่ปี 1998 ที่วิเคราห์โดย  BI Intelligence  เราจะพบว่าการควบกิจการของบริษัท Technology ต่างๆในอดีต จะถูกซื้อโดยบริษัทด้าน Hardware/Software  รายใหญ่ๆอย่าง HP, Oracle และ IBM โดยบริษัทเหล่านั้นพยายามจะขยายฐานทางด้าน Products  ที่ตัวเองมีอยู่เช่น   HP ซื้อ Compaq, EDS และ Mercury หรือ Oracle ที่ซื้อบริษัทฮาร์ดแวร์อย่าง Sun Microsstems  และซื้อบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง Peoplesoft, BEA และ Hyperion

แต่ในระยะหลังบริษัทที่เข้ามาซื้อกิจการกลับเป็นบรืษัทที่ทำอินเตอร์เน็ตอย่าง Yahoo, Facebook, Google และ Microsoft และจุดประสงค์ก็เพื่อที่จะขยายฐานลูกค้าบนอินเตอร์เน็ตผ่านซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมไปถึงการหาซื้อเทคโนโลยีอย่างโทรศัพท์มือถือ เราจึงภาพของ Microsoft มาซื้อโปรแกรมอย่าง Skype หรือกิจการโทรศัพท์อย่าง  Nokia เห็น Google เข้าซื้อ Youtube และ Motorola และ Facebook  เข้าซื้อ  Instagram  และ  Whatsapp

chartoftheday_1927_Tech_acquisitions_n

คำถามที่หลายคนสงสัยคือ Whatsapp ยังมีฐานลูกค้ามากพอหรือ ในปัจจุบัน Whatsapp ก็ยังครองตลาดค่อนข้างสูง โดยมีจำนวนผู้ใช้ประมาณ 450 ล้านราย ซึ่งทาง Statistica ระบุว่ามี  Active Users ในเดือนสิงหาคมถึง 300 ล้านราย

chartoftheday_1341_Whatsapp_Reaches_300_Million_Active_Users_b

แม้ในประเทศไทยตลาดด้าน Mobile Messaging Application จะเป็นตลาดของ Line แต่ข้อมูลของ Onava เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่า Whatsapp ยังครองตลาดในหลายๆประเทศโดยเฉพาะตลาดใน Latin America รวมถึงประเทศในอเมริกาใต้อย่างบราซิล และครองตลาดยุโรปหลายๆประเทศทั้ง เยอรมัน อังกฤษ และ อิตาลี และยิ่งถ้ามารวมกับ  Facebook Messaging   ก็จะเป็นตลาดอันดับหนึ่งในหลายๆประเทศรวมทั้งอเมริกา ส่วนตลาดของ Line หลักๆก็เป็นของญี่ปุ่นซึ่งมีความเฉพาะ เหมือนกับ Kakao Talk  ที่ใช้เฉพาะในประเทศเกาหลี และ WeChat ของจีน

onavo-insights1

ดังนั้นถ้าดูข้อมูลการเข้าซื้อ  Whatsapp แล้วคงคาดได้ว่า สิ่งที่ทาง Facebook  คาดหวังส่วนหนึ่งก็คือฐานข้อมูลลูกค้า และการเป็นเบอร์หนึ่งด้าน  Messaging Apps แต่จะคุ้มค่ากับเงิน  19 พันล้านเหรียญสหรัฐที่เป็นเงินสดถึง  4 พันล้านเหรียญสหรัฐ คงต้องรอดูกันต่อไป

Global 100 Software Leader และแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทาง PwC ได้ออกผลวิจัยเรื่อง Global 100 Software Leaders 2013   (ดูรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://tinyurl.com/nhdx5hl)   ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ของโลกที่ทาง PwC ทำต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดย PwC ได้นำข้อมูลจากการสำรวจรายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลกเมื่อปี 2011 มาจัดอันดับและมีการสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ประกอบกับการนำข้อมูลอื่นๆมาวิเคราะห์เพื่อดูแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

Top 100 Global Software Companies

ซึ่งจากข้อมูลการจัดอันดับรายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลก (รายได้ไม่รวม Services และ IT Outsourcing) จะพบว่าบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่สุดคือ Microsoft  ซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ในปี 2011 ถึง $57,668.40 ล้าน ตามด้วยบริษัท IBM, Oracle และ SAP ที่น่าสนใจคือบริษัทซอฟต์แวร์ที่ติด Top 100 ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ของบริษัทเหล่านี้รวมกันถึง  $190,816 ล้าน ส่วนประเทศอื่นๆที่มีบริษัทซอฟต์แวร์ติดอันดับก็จะมีอย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น สวีเดน อังกฤษ และมีบริษัทในประเทศกลุ่มที่เกิดใหม่ทางอุตสาหกรรมนี้ (Emerging Country) ที่ติดอันดับโลกอยู่บ้างบางบริษัทเช่น TOTVS ของบราซิล  Kaspersky Lab ของรัสเซีย และ Neusoft ของจีน ทั้งนี้ข้อมูลนี้ระบุถึงรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายซอฟต์แวร์ไม่ใช่รายได้รวมทั้งหมดจึ่งทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google มีรายได้ในปี 2011เพียง $575.62 ล้าน จากรายได้รวม $37,905.00 ล้าน

ทั้งนี้ข้อมูลของ Top 100 Software Companies ของโลกเป็นไปดังตารางนี้ (ข้อมูลจาก Global Software Business Strategies Group ของ IDC)

Screenshot 2013-10-12 09.35.26

Screenshot 2013-10-12 09.35.43

และถ้าพิจารณาแยกตามประเทศจะพบว่าบริษัทซอฟต์แวร์ Top 100 ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีรายได้รวมกัน $190,816  ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศที่มีรายได้รวมของซอฟต์แวร์ในอันดับสองคือ Germany ที่มีรายได้รวม  $190,816  ล้านเหรียญสหรัฐจากโดยมีบริษัทใหญ่ๆอย่าง SAP, Siemens และ Software AG ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีบริษัทซอฟต์แวร์ใหญ่ๆหลายบริษัทเช่น Fujitsu,  Hitachi และ NEC  เราสามารถสรุปจำนวนบริษัท Top 100 แยกมาจากประเทศต่างๆ ได้ดังนี้ และมีรายได้รวมของประเทศต่างๆในบริษัท Top 100 ดังรูป

  • USA 73  บริษัท
  • Germany  7 บริษัท
  • Japan  4  บริษัท
  • Sweden, France, Canada, Netherlands, Belgium, Israel ประเทศละ  2  บริษัท
  • Norway, Brazil, Russia, China ประเทศละ  1  บริษัท

Screen Shot 2556-09-19 at 10.10.46 PM

แนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

นอกจากนี้ทาง PwC ยังวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างน่าสนใจในหลายๆด้าน โดยระบุว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คือเรื่องของ  Cloud, Software as a Service (SaaS), อุปกรณ์โมบาย และ  Consumerization of IT โดยอุตสาหกรรมจะต้องปรับเปลี่ยนในหลายๆด้่านเช่น

  • อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอนาคตจะไม่ใช่ Standalone Industry อีกต่อไป แต่อาจต้องผสมผสานกับอุตสาหกรรมและประสบการณ์ด้านอื่นเช่น บริการ หรือ Community  เป็นต้น
  • การคิดราคาซอฟต์แวร์จะเริ่มเปลี่ยนจาก License Model  มาเป็น SaaS  หรือ  Subscription model
  • มีการพัฒนา  Mobile Apps ที่ราคาไม่สูงนักมากขึ้น โดย App  เหล่านั้นจะเชื่อมต่อกับ Enterprise Software  ที่รันอยู่บน Data Center ขององค์กรหรือ  Public Cloud
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องคำนึงถึงลูกค้าที่เป็นผู้ใช้จริงๆในองค์กรมากขึ้น การตัดสินใจการใช้ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับแค่ CIO หรือผู้บริหารไอทีขององค์กรอีกต่อไป
  • เรื่องของ  Customer loyalty จะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆเพราะเทคโนโลยีใหม่อย่าง  Cloud  หรือ  Mobile ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนการใช้ซอฟต์แวร์ได้ง่าย
  • ตลาดซอฟต์แวร์กำลังเปลี่ยนจาก B2B  ที่ Vendor เคยขายผ่านตัวแทนเป็น การขายไปยังลูกค้าโดยตรง

ในแง่ของ  SaaS ทาง PwC  ได้แสดงข้อมูลของ 10 อันดับแรกของบริษัทซอฟต์แวร์โลกที่มีรายได้จาก SaaS  สูงสุด ซึ่งอันดับหนึ่งคือ Salesforce ที่มีรายได้ $1,848 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังพบในปัจจุบันสัดส่วนรายได้ซอฟต์แวร์ที่มาจาก SaaS ยังมีเพียง  5% จากรายได้ทั้งหมด แต่คาดการณ์ว่าจำนวนสัดส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 25% ในปี  2016  นอกจากนี้ยังพบว่าบริษัทซอฟต์แวร์ที่เกิดใหม่ในปี 2012 ร้อยละ 82  จะจำหน่ายซอฟต์แวร์ในแบบ  SaaS มากกว่าแบบ Packaging Software

Screen Shot 2556-09-20 at 11.27.48 AMนอกจากนี้ก็ยังจะเห็นว่าเริ่มมีหลายๆบริษัทที่รายได้ของซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่มาจาก SaaS  โดย 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีสัดส่วนรายได้มาจาก SaaS สูงสุดมีดังนี้

Screenshot 2013-10-12 10.19.27

Top 100 Software Companies in Emerging Markets

ทาง PwC ยังจัดอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ในตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เช่น ประเทศจีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย หรือประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าบริษัทที่ติดอันดับ Top 100  จะอยู่ในประเทศจีนส่วนใหญ่โดยจะมีรายได้ของบริษัทที่ติด Top 100 รวมกัน $2,738 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยบริษัทจากอิสราเอลที่มีรายได้รวมกัน $1,174 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายชื่อของบริษัท Top 100 ดังนี้

Screenshot 2013-10-12 10.33.52

Screenshot 2013-10-12 10.34.13

ซึ่งเราสามารถสรุปจำนวนบริษัท Top 100 ของในกลุ่ม Emerging Markets แยกมาจากประเทศต่างๆ ได้ดังนี้ และมีรายได้รวมของประเทศต่างๆในบริษัท Top 100 ดังรูป

  • China 28 บริษัท
  • India  16  บริษัท
  • Korea 16 บริษัท
  • Brazil  9  บริษัท
  • Russia  6 บริษัท
  • Israel 5 บริษัท
  • Romania  3 บริษัท
  • Taiwan, Czech Republic, Poland, Argentina, Mexico, Turkey  ประเทศละ  2  บริษัท
  • Malaysia, Hong Kong, Saudi Arabia, Columbia, Slovakia  ประเทศละ  1  บริษัท

emerging

แนวโน้มการพัฒนา Emerging Technology ของบริษัทไอทีไทย

เมื่อเร็วๆนี้ทาง IMC Institute เปิดแถลงข่าวเรื่องผลสำรวจ “Emerging Technology: Thai Professional Readiness Survey” และก็มีสื่อหลายๆฉบับนำไปลงข่าวให้ รวมถึงบทบรรณาธิการของกรุงเทพธุรกิจที่เขียนในหัวข้อ “แรงงานฝีมือไอทีขาด ดับฝันผู้นำอาเซียน” ในฉบับวันที่ 19 กันยายน  (เนื้อหาของบทความสามารถอ่านได้ที่ http://tinyurl.com/mzq7xgv )และเพื่อให้เข้าใจรายละเอียดของการสำรวจครั้งนี้ผมจึงขอนำรายงานการสำรวจมาสรุปสั้นๆดังนี้

Screen Shot 2556-10-06 at 9.23.03 PM

การสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาวการณ์โดยรวมของประเทศในปัจจุบัน และเพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรและวงการไอทีของไทยต่อไปในอนาคตโดยเน้นในกลุ่มของบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Emerging Technology โดยเฉพาะเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังจะเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ทั้งในเชิงความร่วมมือและการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี พ.ศ.2558

การสำรวจข้อมูลดังกล่าวได้ถูกดำเนินการขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2556 โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ ากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 165 ราย ทางทีมผู้วิจัยได้คัดเลือกตัวอย่างที่สมบูรณ์และมีความสามารถในการสะท้อนภาพรวมที่แท้จริงของวงการบุคลากรไอทีไทยออกมาได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 89 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีเป็นหลัก จำนวน 51 ราย ซึ่งโดยมากจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน แต่ก็มีบางบริษัทที่มัพนักงานซอฟต์แวร์อยู่ระหว่าง 101-500 คน ส่วนกลุ่มที่สองที่ทำการสำรวจคือบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีแผนกไอทีภายในองค์กร อาทิ กลุ่มการเงินการธนาคาร, กลุ่มโทรคมนาคม, กลุ่มพลังงาน เป็นต้น จำนวน 38 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้โดยมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาทและโดยเฉลี่ยจะมีพนักงานไอทีอยู่ประมาณช่วง 11-100 คน โดยสามารถที่จะสรุปจำนวนพนักงานในกลุ่มบริษัทและหน่วยงานได้ดังรูป

Image

รูปที่   1) จำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ภายในองค์กร ของบริษัท/หน่วยงานในอุตสาหกรรมไอที

Image

รูปที่ 2) จำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ภายในองค์กร ของบริษัท/หน่วยงานในอุตสาหกรรมอื่นๆ

ผลการสำรวจความพร้อมด้าน Emerging Technology

การสำรวจครั้งนี้ได้ศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ของหน่วยงานต่างๆในประเด็นต่างที่น่าสนใจ อันได้แก่ ทักษะของบุคลากรในด้านภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม, ด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น, ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์เทคโนโลยี และด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Emerginf Technology อื่นๆ รวมถึง ศึกษาทัศนคติที่มีต่อระดับความสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ, ปัญหาและอุปสรรค, ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด และข้อเสนอแนะอื่นๆ

ทักษะในด้านภาษาคอมพิวเตอร์

ผลการสำรวจในหัวข้อด้านทักษะของบุคลากรไอทีไทยที่เกี่ยวข้องกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Computer Programming Language) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วพบว่า ปัจจุบันองค์กรต่างๆมีบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยหลักสามภาษาคือ PHP, Java และ .NET โดยทั้งสามภาษาทั้งสามมีองค์กรที่มีบุคลากรในการพัฒนาจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างนั้น ได้แก่ PHP (65.17%), Java (62.92%) และ .NET (61.80%) อีกทั้ง และยังมีแนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านภาษาเหล่านี้เพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในแต่ละองค์กรจะพบว่าองค์กรโดยมากจะมีบุคลากรที่สามารถพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ระบุน้อยกว่า 10 คน และมีเพียงไม่กี่องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนามากกว่า 20 คนกล่าวคือ มีเพียง 5 องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน PHP มากกว่า 20 คน และมีองค์การที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Java และ .NET มากกว่า 20 คนอย่างละ 10 องค์กร นอกจากนี้ยังพบว่าเริ่มมีหลายองค์กรที่ให้ความสนใจกับภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ อย่าง Python และ Ruby มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรอาทิ C++, COBOL, Delphi เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในกลุ่มภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆอย่างชัดเจนนัก

Image

รูปที่ 3) ร้อยละขององค์กรที่มีบุคลากรพัฒนาโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน

Image

รูปที่ 4)  แนวโน้มการวางแผนงานขององค์กรสำหรับบุคลากรด้านการพัฒนาโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ

ทักษะในด้านการพัฒนา Mobile Application

สำหรับทักษะของบุคลากรไอทีไทยในหัวข้อการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application Development) นั้นพบว่า ในปัจจุบันองค์กรไอทีของไทยให้ความสนใจกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นโดยใช้ Native Application บนระบบปฎิบัติการ iOS และ Android ในจำนวนที่เท่าเทียมกัน คือ 51.69% ตามมาด้วย Windows (24.72%) นอกจากนี้ยังพบว่าหลายๆองค์กรเริ่มให้ความสนใจกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแบบ Cross Platform โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ HTML5 ในจำนวนถึง 50.56% อีกทั้งองค์กรส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มวางแผนเพิ่มบุคลากรในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างชัดเจนมากกว่าการเพิ่มบุคลากรการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Emerging Technology อื่นๆ โดยมีความสนใจที่จะเพิ่มบุคลากรในการพัฒนาแพลตฟอร์มทางด้าน iOS มากที่สุด

สำหรับในแง่ของจำนวนบุคลากรผลการสำรวจจะออกมาในทำนองเดียวกับจำนวนบุคลากรทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์ กล่าวคือองค์กรส่วนใหญ่จะมีบุคลากรในการพัฒนาด้านโมบายแอพพลิเคชั่นน้อยกว่า 10 คนในปัจจุบัน และมีเพียงอย่างละ1 องค์กรที่มีบุคลากรมากกว่า 20 คนในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ด้าน iOS, Android และ HTML5

mobile

รูปที่ 5) ร้อยละขององค์กรที่มีบุคลากรพัฒนาด้าน Mobile Application จำแนกตามแพลตฟอร์มต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน

mobiletrends

รูปที่ 6)  แนวโน้มการวางแผนงานขององค์กรสำหรับบุคลากรด้านการพัฒนา Mobile Application จำแนกตามแพลตฟอร์มต่างๆ

ทักษะในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยี Cloud Computing

ในปัจจุบันเทคโนโลยี Cloud Computing ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวางนักในกลุ่มบริษัท / หน่วยงานต่างๆในไทย แต่เมื่อมีการสำรวจแนวโน้มการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Platform ก็ยังจัดว่ามีสัดส่วนที่ค้อนข้างน้อย โดยแพลตฟอร์มที่องค์กรต่างๆมีบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนามากที่สุดคือ Google App Engine แต่ก็ยังคิดเป็นเพียง 22.47% ตามมาด้วย Microsoft Azure จำนวน 19.10%  Amazon Web Services (13.48%) และ Heroku (5.62%)  โดยยังพบว่าองค์กรต่างๆจะมีบุคลากรที่พัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing น้อยกว่า 10 คน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยี Cloud Computing อย่างชัดเจนนัก โดยพบว่าองค์กรต่างๆมีความต้องการที่จะเพิ่มบุคลากรด้านนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับความด้องการเพิ่มบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Emerging Technology อื่นๆ

cloud

รูปที่ 7) ร้อยละขององค์กรที่มีบุคลากรซอฟต์แวร์ในการพัฒนา Cloud Technology จำแนกตามแพลตฟอร์มต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน 

cloudtrends

รูปที่ 8)  แนวโน้มการวางแผนงานขององค์กรสำหรับบุคลากรด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Technology จำแนกตามแพลตฟอร์มต่างๆ

ทักษะในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Emerging Technology  อื่นๆ

นอกจากนี้ทาง IMC Institute ยังทำการสำรวจทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Emerging Technology อื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจของบริษัท / หน่วยงานไทย  โดยผลการสำรวจพบว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่พัฒนาทางด้าน Business Intelligence (BI) มากที่สุด โดยในปัจจุบันมีองค์กรที่มีบุคลากรทางด้านนี้อยู่ถึง 58.42% ตามมาด้วย Facebook Application Development (33.71%), noSQL (21.35%) และ Big Data (17.98%) ทั้งนี้องค์กรต่างๆยังมีความต้องการเพิ่มบุคลากรที่มีทักษะด้าน Emerging Technology เหล่านี้ในอนาคตอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนนัก

other

รูปที่ 9) ร้อยละขององค์กรที่มีบุคลากรซอฟต์แวร์ในการพัฒนา Emerging Technology อื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน 

Othertrends

รูปที่ 10)  แนวโน้มการวางแผนงานขององค์กรสำหรับบุคลากรด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับ Emerging Technology  อื่นๆ

ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของ Emerging Technology ขององค์กรต่างๆ

IMC Institute ยังได้สำรวจทางด้านการให้ความสำคัญของ Emerging Technology ของหน่วยงาน/บริษัทต่างๆ จากผลการสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยของทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่มีต่อความสำคัญของ Emerging Technology ต่างๆ ด้วยการวัดค่าจากมาตรวัดคะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) นั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์เทคโนโลยีด้าน Mobile Application (3.80 คะแนน) สูงที่สุด ตามมาด้วย Business Intelligence / Big Data (3.58 คะแนน) Cloud Computing (3.57 คะแนน) และ Social Media  (2.97 คะแนน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมไอที และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ พบว่าแผนกไอทีในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆจะให้ความสำคัญในเทคโนโลยีด้าน Business Intelligence / Big Data และ Social Media มากกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมไอที

emerging

รูปที่ 11)  ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของ Emerging Technology จากคะแนนเต็ม  5.00

ทั้งนี้เหตุผลหลักที่กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนา Emerging Technology ต่างๆ ภายในองค์กรนั้น พบว่ามีสาเหตุเนื่องจากต้องการสร้างโอกาสทางธุรกิจ และต้องการก้าวให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ โดยมีผู้ตอบเป็นจำนวนเท่ากันคือ 78.65% ตามมาด้วยความต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (60.67%) และมีความพร้อมของบุคลากรอยู่แล้ว (28.09%) นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้เหตุผลอื่นๆ อีกด้วย อาทิ ต้องการลดต้นทุนการบริหารงาน, ดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ, ดำเนินการตามข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น

reason

รูปที่ 12)  เหตุผลที่องค์กรต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Emerging Technology

ปัญหาสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเอาไว้เป็นจำนวนมากที่สุดอย่างโดดเด่นคือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถเกี่ยวกับ Emergin Technology ซึ่งมีจำนวนผู้ตอบถึง 76.40% ตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนแหล่งความรู้ / การฝึกอบรม (49.44%) ขาดงบประมาณ (42.70%), เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถก้าวตามได้ทัน (31.46%) ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ (25.84%) ยังมองไม่เห็นโอกาสทางการตลาด (16.85%) ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างยังได้มีการระบุถึงปัญหาอื่นๆ อีกบ้าง อาทิ ผู้บริหารไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจึงไม่ได้รับการสนับสนุน หรือลูกค้าไม่ได้ให้ความสนใจกับเทคโนโลยี เป็นต้น

problem

รูปที่ 13)  ปัญหาที่องค์กรพบในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Emerging Technology

ในด้านการจัดหาหรือพัฒนาบุคลากรด้าน Emerging Technology นั้น จากผลการสำรวจด้วยวิธีการวัดค่าจากมาตรวัดคะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการพัฒนาบุคลากรไอทีที่มีอยู่เดิมในองค์กรให้มีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด (3.31 คะแนน) ตามมาด้วยการจัดหาบุคลากรใหม่ด้วยตนเอง (3.22 คะแนน), การรับสมัครบุคลากรผ่านทางมหาวิทยาลัย (2.72 คะแนน) และการใช้บริการตัวแทนจัดหาบุคลากร (2.07 คะแนน) ตามลำดับ

resource

รูปที่ 14)  ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาและพัฒนาบุคลากรด้าน Emerging Technology จากคะแนนเต็ม  5.00

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรด้าน Emerging Technology ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสนอแนะไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Emerging Technology ของบุคลากรไทยยังมีความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่เป็นจริงอยู่มาก ดังนั้น จึงควรจะมีการปูพื้นฐานอย่างจริงจังตั้งแต่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และภาครัฐควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความสนับสนุนผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังควรจะมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชนเพื่อเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรไอทีของไทยในด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดโดยตรงอีกด้วย

โอกาสของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยบนเวทีโลก

บ่อยครั้งที่ผมจะได้ยินว่าเราอยากจะพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้เข้าสู่เวทีโลกเหมือนอย่างความสำเร็จของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศอย่างจีนหรืออืนเดีย แม้แต่ผมเองก็เคยคิดอย่างนั้นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นเรื่องของสติปัญญาและนวัตกรรมคนไทยน่าจะแข่งได้ และเคยผลักดันหลายๆโครงการที่อยากจะเห็นซอฟต์แวร์ไทยอยู่บนเวทีโลก เราลองมาดูข้อมูลกันหน่อยว่าวันนี้เรามีโอกาสแค่ไหนที่จะผลักดันให้ซอฟต์แวร์ไทยปักหมุดอยู่บนแผนที่ของซอฟต์แวร็โลกได้

Global 100 Software Leaders 2013

ข้อมูลที่น่าสนใจอันหนึ่งคือรายงานของ PwC เรื่อง Global 100 Software Leaders 2013  ที่ออกมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 (ดูรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://tinyurl.com/nhdx5hl  ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ของโลกที่ทาง PwC ทำต่อเนื่องเป็นปีที่สอง จากข้อมูลเราจะเห็นว่าบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่สุดคือ Microsoft  ซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ในปี 2011 ถึง $57,668.40 ล้าน ตามด้วยบริษัท IBM, Oracle และ SAP ที่น่าสนใจคือบริษัทซอฟต์แวร์ที่ติด Top 100 ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีรายได้จากซอฟต์แวร์ของบริษัทเหล่านี้รวมกันถึง  $190,816 ล้าน ส่วนประเทศอื่นๆที่ทำซอฟต์แวร์ก็จะมีอย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น สวีเดน อังกฤษ และมีบริษัทในประเทศกลุ่มที่เกิดใหม่ทางอุตสาหกรรมนี้ (Emerging Country) ที่ติดอันดับโลกอยู่บ้างบางบริษัทเช่น TOTVS ของบราซิล  Kaspersky Lab ของรัสเซีย และ Neusoft ของจีน ทั้งนี้ข้อมูลนี้ระบุถึงรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายซอฟต์แวร์ไม่ใช่รายได้รวมทั้งหมดจึ่งทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google มีรายได้ในปี 2011เพียง $575.62 ล้าน จากรายได้รวม $37,905.00 ล้าน

Image

รายงานของ  PwC ยังชี้ให้อีกว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น Cloud Service มากชึ้นโดยคาดการณ์ว่าในปี 2016 ธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เป็นแบบ SaaS (Software as a Service) จะขยายตัวเป็นสัดส่วนถึง 25% ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ทั้งหมด ทั้งนี้ข้อมูลรายได้บริษัทซอฟต์แวร์ที่ติด 100 อันดับแรกของโลกในปี 2011 ยังมีสัดส่วนเพียง 4.9% โดยบริษัท Salesforce เป็นบริษัทที่มีรายได้จาก SaaS สูงสุดคือ $1,848 ล้าน และมีบริษัทที่มีรายได้ด้าน SaaS สูงสุด 10 อันดับแรกดังนี้

Image

คราวนี้หากเรามามองบริษัทซอฟต์แวร์ไทยก็จะเห็นได้ว่าไม่ติดอันดับ 1-100  ของบริษัทโลก ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะบริษัทซอฟต์แวร์อย่างในประเทศอินเดียก็ไม่ติดอันดับ เราจึงต้องมาดูอันดับบริษัทซอฟต์แวร์ 100 บริษัทแรกในกลุ่มประเทศ Emerging Market ซึ่งรายงานของ PwC ระบุว่ารายชื่อในประเทศอื่นๆไว้หลายบริษัทที่มีมากสุดก็คือบริษัทจากประเทศจีน ส่วนในอินเดียก็จะเป็นรายชื่อของบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์อย่าง Geodesic  หรือ  OnMobile ซึ่งจะไม่ใช่บริษัทอย่าง Infosys หรือ TCS ที่เน้นเรื่องของ IT Outsourcing Service สำหรับประเทศในเอเซียอื่นๆที่ติดอันดับก็จะมีบริษัทจากไต้หวัน เกาหลี และมาเลเซีย ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าไม่มีบริษัทในประเทศไทยติดอันดับ และหากดูรายได้รวมของบริษัทซอฟต์แวร์ Emerging Market 100 บริษัท เราก็จะพบว่าบริษัทจากประเทศจีนมีรายได้รวมสูงสุด ตามด้วยอิสราเอล รัสเซีย และบราซิล ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก็คงจะเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในด้านนี้ไม่ติด 25 อันดับแรกของโลก และก็คงยากที่จะแข่งแม้แต่ในกลุ่ม Emerging Market

Image

IT Outsourcing

นอกเหนือจากการทำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์จำหน่ายแล้ว อีกด้านหนึ่งที่เราพยายามจะแข่งมาตลอดก็คือเรื่องของการพัฒนานักซอฟต์แวร์เพื่อสร้างอุตสาหกรรม  Outsourcing ซึ่งเราเห็นความสำเร็จของบริษัทในอินเดียอย่าง TCS, Infosys หรือ Wipro  ซึ่งรายงานเมื่อปี  2011 ของ AT Kearney เรื่อง “Global Services Location Index 2011” ก็ระบุว่าประเทศไทยมีความสนใจในการเป็นแหล่งในการทำ Outsourcing อันดับที่ 7 ของโลก (ทั้งนี้ประเทศเราหล่นจากที่เคยเป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2009)   โดยมีตัวชี้วัดจากสามด้านคือ  ความน่าสนใจในการลงทุน  (Financial attractiveness)  ความสามารถและความพร้อมของคน (People skills and availabilty) และ สภาวะแวดล้อมเชิงธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งในรายงานระบุว่าประเทศอินเดียมีความน่าสนใจเป็นอันดับ  1 ตามด้วยประเทศจีน และมาเลเซีย โดยมีประเทศอื่นๆใน ASEAN อย่างอินโดนีเซียอยู่อันดับ 5 เวียดนามอันดับ 8 และฟิลิปปินส์อันดับ 9 แต่เมื่อดูข้อมูลจากรายงานก็กลับพบว่า AT Kearney ระบุว่าแม้ว่าประเทศไทยจะมีความน่าสนใจสำหรับการมาทำ  Outsourcing แต่ก็ไม่มีอุตสาหกรรมทางด้านนี้เหมือนอย่างในฟิลิปปินส์หรือเวียดนาม

นอกจากนี้หากมาดูข้อมูลล่าสุดของ Tholons ได้ออกรายงานระบุเมืองที่ติด 100 อันดับในการทำ Outsourcing ทั่วโลกเมื่อปี 2013 (2013 Top 100 Outsourcing Destinations) โดยดูจากปริมาณการจ้างงาน ความน่าสนใจ และแนวโน้ม จะพบว่าแหล่งที่น่าสนใจจะอยู่ทางเอเซียใต้ โดยมีเมืองที่ติดอันดับ 1 ถึง 7 ล้วนแต่เป็นเมืองในประเทศอินเดีย โดยมีเมือง Bangalore เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Mumbai  ส่วนกรุงมะนิลาเป็นเมืองเดียวนอกประเทศอินเดียที่ติด 1 ใน  7 คือมีคะแนนมาเป็นอันดับ  3 และหากมาพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN  จะเห็นว่าเมืองในประเทศฟิลิปปินส์ติดอันดับหลายเมืองมากเช่น Cebu เป็นอันดับ 8 นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเมืองในประเทศเวียดนามก็เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ Outsourcing  โดย Ho Chi Minh ติดอันดับ 16 และ Hanoi  ติดอันดับ 23 ขณะที่กรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 83 แต่เมืองอื่นๆใน ASEAN ก็มีอันดับที่สูงกว่าเราเช่น กรุงกัวลาลัมเปอร์อันดับที่ 19 สิงคโปร์อันดับที่ 31 กรุงจาการ์ต้าอันดับที่ 61 และเมีองต่างๆในเอเซียทั้งในประเทศจีน เกาหลี หรือไต้หวันก็มีอันดับสูงกว่า ซึ่งดูจากข้อมูลนี้ก็คงเห็นว่าเราคงลำบากที่จะแข่งในด้านของ Outsourcing Services

Image

ความพร้อมของบุคลากรด้านซอฟต์แวร์

สิ่งที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์คือเรื่องของการพัฒนาคน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเร็วๆนี้ทาง World Economic Forum ได้มีผลการศึกษาศักยภาพการศึกษาของประเทศต่่างๆทั่วโลก และมีผลที่ระบุว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอยู่อันดับแปดในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งก็เริ่มมีคำถามว่าแล้วในสาขา Computer Science และ Information Technology ประเทศไทยเราพอจะแข่งขันได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้วโลกในสาขา Computer Science ของ QS หรือของหน่วยงานอื่นๆ จะพบว่าไม่มีมหาวิทยาลัยใดในประเทศไทยที่ติดอันดับ  Top 200 ซึ่งแตกต่างกับประเทศอื่นๆในเอเซียทีมีมหาวิทยาลัยติดในอันดับ Top 200 เช่นประเทศ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลี อินเดีย และไต้หวัน (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://tinyurl.com/mct6os7)

ในแง่ของการสนับสนุนของรัฐบาลเราจะเห็นได้ว่าในด้านนโยบายในเรื่องการพัฒนาคนทางด้านนี้เรายังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอาทิเช่น สิงคโปร์มีแผนจะเพิ่มงานด้าน Infocomm อีก  80,000 ตำแหน่ง ฟิลิปปินส์มีแผนเพิ่มจำนวนงานของ IT/BPO ให้เป็น 900,000  ตำแหน่งในปี 2016 เวียดนามต้องการเพิ่มจำนวนแรงงานทางด้านอุตสาหกรรมไอซีทีให้เป็น  1 ล้านคนในปี 2020

นอกจากนี้เมื่อเร็วๆนี้ทาง IMC Institute ก็ได้เปิดเผยผลสำรวจ ในหัวข้อ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” เพื่อศึกษาถึงภาพรวมและความพร้อมของประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้งานทางด้านซอฟต์แวร์ และการพัฒนา Emerging Technology ซึ่งก็พบว่า เรามีปัญหาสำคัญคือขาดบุคลากรที่มีความเข้าใจทางด้านนี้เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าใน ไทยยังมีจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในด้่าน  Emerging Technology ในแต่ละองค์กรน้อยโดยเฉพาะทางด้าน Cloud Technology  โดยบางเทคโนโลยีมีนักพัฒนาน้อยกว่า 10 คนในหนึ่งองค์กร (ดูรายงานได้ที่ http://tinyurl.com/kby5s2l)

บทสรุปความพร้อมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยบนเวทีโลก

จากข้อมูลทั้งในด้านอันดับและรายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ ความพร้อมด้านการเป็นแหล่ง Outsourcing และการพัฒนาคน เราคงต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยคงแข่งในเวทีโลกค่อนข้างยากหรือแม้แต่แข่งกับประเทศในกลุ่ม Emerging Market  อย่างไต้หวัน รัสเซีย จีน หรือ ประเทศกลุ่มยุโรปตะวันออก หากเรามองศักยภาพของเราเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนก็คงจะแข่งลำบากเพราะเราต้องยอมรับว่าสิงคโปร์นำหน้าเราไปมาก เช่นเดียวกับมาเลเซีย ขณะที่ทางเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็เด่นกว่าเรามากในแง่ของ Outsourcing

โอกาสของเราในวันนี้คงต้องพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศให้ดีที่สุด สร้างให้เกิดความต้องการการใช้ซอฟต์แวร์และไอซีทีมากขึ้น ซึ่งหากมีกระตุ้นการใช้ในประเทศส่วนหนึ่งก็จะเพียงพอกับบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆในประเทศ ส่วนโอกาสในการแข่งขันบนเวทีโลกเราอาจมีโอกาสสำหรับกลุ่ม  Start-up  หรือบางบริษัทที่มีนวัตกรรมดีๆที่สามารถจะเปิดตลาดไปต่างประเทศได้

ผมคิดว่าถ้าเราทำเรื่องอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างจริงๆจังเมื่อสิบกว่าปีก่อน และตอนนั้นถ้ารัฐบาลทุ่มเงินเป็นหมื่นล้านเราก็อาจแข่งขันบนเวทีโลกได้ในวันนี้ แต่พอมาถึงวันนี้ผมคิดว่าเราสายเกินไปแล้วครับที่จะเข้ามาแข่งในเวทีนี้ เพราะคู่แข่งเราเมื่อสิบกว่าปีก่อนนำหน้าเราไปไกล และบางประเทศเกิดใหม่ในอุตสาหกรรมนี้ที่เคยตามเราก็แซงเราไปแล้ว เราทุ่มงบประมาณและพัฒนาคนไม่เพียงพอ แต่อุตสาหกรรมนี้ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ เราอาจเน้นช่วยพัฒนาผู้ประกอบรายใหม่บางรายให้ออกไปต่างประเทศ แต่ภาพโดยรวมเราคงไม่สามารถจะแข่งได้ยกเว้นเพียงบางรายที่มีความโดดเด่นและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและนำรายได้กลับเข้ามา และข้อสำคัญในวันนี้เราต้องมาช่วยสร้างตลาดในประเทศให้กับผู้ประกอบการไทยมากกว่าจะไปตั้งเป้าว่าเป็นประเทศอันดับต้นของโลกทางอุตสาหกรรมนี้

แม้เราอาจรู้สึกว่าบริษัทหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์บางคนเราเก่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เหมือนที่เรามีเด็กไทยเราชนะเลิศวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์โอลิมปิคแต่ภาพรวมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ของเราก็ค่อนข้างแย่ เช่นเดียวกับเราก็อาจมีบริษัทซอฟต์แวร์หรือนักพัฒนาบางคนที่ขนะเลิศและแข่งบนเวทีโลกได้ เราก็ควรที่จะสนับสนุนบริษัทหรือนักพัฒนาเหล่านั้นให้ก้าวต่อไป แต่ภาพรวมของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เราคงไม่ใช่ครับ เราต้องดูที่ข้อมูลที่ตัวเลขซึ่งระบุชัดว่าเราไม่ใช่และต้องไม่ใช้ความรู้สึกมาวัดในการพัฒนาประเทศครับ

การพัฒนา Enterprise Application โดยใช้ Force.com

เวลาพูดถึง  Force.com หลายคนอาจสับสนกับคำว่า SaesForce.com  เพราะหลายๆคนคงรู้จัก SalesForce.com ค่อนข้างดีว่าเป็น Cloud Software SaaS ที่ทำทางด้าน CRM ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนมากกว่า 2 ล้านคนและมีรายรับประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐอมริกาเมื่อปี 2012   ทั้งนี้โปรแกรม CRM  ของ Salesforce.com จะมีโซลูชั่นอยู่หลายตัวทั้ง Sales Cloud, Service Cloud, Data Cloud และCollaboration Cloud (Chatter) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้โซลูชั่นต่างๆเหล่านี้ได้โดยมีค่าใช้จ่ายตามจำนวนผู้ใช้ต่อเดือน

Image

สำหรับ Force.com จะเป็น Cloud Computing Platform as a Service (PaaS) เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถพัฒนา Enterprise Application ที่เป็น Multitenant โดยใช้ Infrastructure ของ Force.com ได้ การพัฒนาโปรแกรม Force.com  จะช่วยทำให้นักพัฒนาสามารถที่จะสร้าง Application ที่ต่่อยอดมาจากโปรแกรมของ Salesforce.com ได้ โดยนักพัฒนาสามารถที่จะพัฒนาโปรแกรมได้อย่างง่าย ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัททั่วโลกมากกว่า 100,000 บริษัทที่ใช้ Force.com  ในการพัฒนา Business Application รวมถึงธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยบางแห่งก็มีการใช้  Force.com และมีทีมพัฒนาโปรแกรม  Force.com  ในองค์กร

นอกจากนี้นักพัฒนาสามารถที่จะนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปขายผ่าน Application Store ของ Salesforce.com ที่ชื่อ AppExchange ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรม Business Application มากกว่า  1,700 Apps ที่จำหน่ายอยู่บน AppExchange  โดยมีโปรแกรมทั้งทางด้าน HR, Finance, Project Management และ ERP

Image

ผู้เขียนก็ได้พัฒนาโปรแกรมระบบบริหารการฝึกอบรมที่เก็บข้อมูล CRM จำนวนหลายหมื่นเรคอร์ดโดยใช้ Force.com  ซึ่งสามารถที่จะพัฒนา Application ขนาดใหญ่แบบนี้โดยใชเวลาเพียง 1  สัปดาห์ และในปัจจุบันเสียค่าใช้จ่ายเพียงเดือนละ $65 ซึ่งนอกเหนือจากการที่สามารถจะพัฒนา  Business Application  ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ผู้เขียนยังเห็นว่า Force.com น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของนักพัฒนาหรือบริษัทซอฟต์แวร์ที่จะนำ Application ที่พัฒนาขึ้น นำไปขายผ่านช่องทางของ AppExchange

การพัฒนาโปรแกรม  Force.com  นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมแต่จะเป็นการใช้ Point & Click Tool โดยเราสามารถที่จะสร้าง Database, Menu การทำงานต่างๆ สร้าง Workflow รายงาน และ Dashboard ได้ แต่ถ้าต้องการที่จะพัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติมเช่นการสร้าง User Interface ก็สามารถทำได้โดยใช้  Visualforce และภาษา Apex ที่จะมีลักษณะคล้ายภาษาจาวา

Image

นอกจากนี้ทาง Salesforce.com ยังเข้าไปซื้อ Heroku ซึ่งเป็น Cloud PaaS ที่สามารถให้นักพัฒนาเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาต่างๆอาทิเช่น  Ruby, Node.js, Clojure, Java, Python และ Scala ทำให้นักพัฒนาสามารถที่จะ Integrate Web Application กับโปรแกรม Enterprise Application บน Force.com ได้โดยง่าย

Image

นักพัฒนาสามารถที่จะเริ่มต้นศึกษาการพัฒนา  Force.com ได้ที่เว็บไซต์ force.com และมีเอกสารที่สามารถเริ่มต้นศึกษาเขียนโปรแกรม  Force.com  ที่น่าสนใจเช่น

Screenshot 2013-10-15 07.58.46

นอกจากนี้ทาง IMC Institute  ก็จะเปิดอบรมการพัฒนาโปรแกรม Force.com ในวันที่  24-25 ตุลาคมนี่้ โดยผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.imcinstitute.com/force

การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยบนเวทีอาเซียน

ในตอนที่แล้วผมได้เขียนถึง ขีดความสามารถการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN ซึ่งได้กล่าวถึงข้อมูลชี้วัดที่หน่วยงานต่างนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งจากข้อมูลที่มีจะสังเกตุเห็นว่า ศักยภาพของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซี่ยนแล้วเรายังอยู่ในสภาวะที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่พอสมควร

ในตอนนี้ผมจึงอยากจะลองเอาข้อมูลชี้วัดที่น่าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มาให้ดู โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งใน ASEAN และได้แสดงเป็นภาพกราฟฟิกดังรูปนี้

Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.56 AM

ด้านจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ทาง Evans Data Corp (EDC) ได้ข้อมูลประมาณการณ์จำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้วโลก ซึ่งรวมตั้งแต่โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้บริหารโครงการว่ามีประมาณ 17.2 ล้านคนในปี 2012 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 24.7 ล้านคนในปี 2018 โดยระบุว่าในปี 2012 ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุดคือ 3.5 ล้านคน ตามด้วยอินเดีย 2.5 ล้านคน และจีน 9 แสนคน แต่คาดการณ์ว่าในปี  2018  จำนวนนักพัฒนาในประเทศอินเดียจะเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวน 4.8 ล้านคน ตามด้วยสหรัฐอเมริกา 4.6 ล้านคน จีน 1.6 ล้านคน รัสเซีย 1.2 ล้านคน และไทยก็ติดอันดับ 10 ด้วยจำนวน 377,100 คน

หากดูข้อมูลด้านนี้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ประเทศไทยจะดูโดดเด่นมาก เพราะจำนวนที่คาดการณ์ในปี 2012 ของประเทศไทยจะมีประมาณ 263,800 คน เป็นอันดับที่ 15 ของโลกและเป็นอันดับ 5ในภูมิภาค  APAC  ขณะที่ประเทศคู่แข่งใน ASEAN อย่าง ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ  6 ใน APAC มีจำนวน 187,000 คน เวียดนามอยู่อันดับ  8 ใน APAC มีจำนวน 152,900 คน อินโดนีเซียอยู่อันดับ  9 ใน APAC มีจำนวน 141,200 คน และมาเลเซียอยู่อันดับ  10 ใน APAC มีจำนวน 99,400 คน

จำนวนบริษัทที่ได้มาตรฐาน CMMI

CMMI คือ มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน ย่อมาจาก Capability Maturity Model Integration ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั่วโลก ล่าสุดทาง Software Engineering Institute  ของ Carnegie Mellon University ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ได้รายงานจำนวนบริษัททั่วโลกที่ประเมินผ่าน CMMI จนถึงเมื่อเดือนกันยายน 2012  มีจำนวน 6,272 ราย โดยเป็นบริษัทในประเทศจีน 2,128 ราย  บริษัทในสหรัฐอเมริกา 1,416 ราย และบริษัทในอินเดีย 581 ราย ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวน 63 ราย โดยเราสามารถดูรายงานฉบับนี้ได้ที่ http://cmmiinstitute.com/wp-content/uploads/2012/11/2012SepCMMI.pdf


Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.25 AM

สำหรับจำนวนบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน CMMI และยังรักษาสถานภาพไว้อยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยมีทั้งหมด 36 บริษัท โดยเป็นระดับ  5 ถึง  4  บริษัทคือ บริษัท Avalant บริษัท CPF บริษัท Wealth Management System Limited และ บริษัท GoSoft โดยประเทศไทยมีจำนวนบริษัท CMMI ในปัจจุบันมากที่สุดใน ASEAN ตามมาด้วยมาเลเซีย 27 บริษัท เวียดนาม 23 บริษัท ฟิลิปปินส์ 17 บริษัท สิงคโปร์ 10 บริษัท  และ อินโดนีเซีย 1 บริษัท ซึ่งเราสามารถที่จะดูรายชื่อของบริษัทที่ได้ CMMI ณ ปัจจุบัน ทั้งหมดจากเว็บไซต์ https://sas.cmmiinstitute.com/pars/pars.aspx 

การเป็นแหล่งทางด้าน Outsourcing

ทาง AT Kearney ได้ออกรายงานเรื่อง “Global Services Location Index 2011”ระบุประเทศต่างๆที่มีความน่าสนใจในการทำ Outsourcing โดยมีตัวชี้วัดจากสามด้านคือ  ความน่าสนใจในการลงทุน  (Financial attractiveness)  ความสามารถและความพร้อมของคน (People skills and availabilty) และ สภาวะแวดล้อมเชิงธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งในรายงานระบุว่าประเทศอินเดียมีความน่าสนใจเป็นอันดับ  1 ตามด้วยประเทศจีน และมาเลเซีย ส่วนประเทศไทยมีความสนใจในการเป็นแหล่งในการทำ Outsourcing อันดับที่ 7 ของโลก (ทั้งนี้ประเทศเราหล่นจากที่เคยเป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2009) โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ทางอินโดนีเซียอยู่อันดับ 5 เวียดนามอันดับ 8 และฟิลิปปินส์อันดับ 9

จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ  Outcsourcing ของโลก แต่เราจะพบว่าอุตสาหกรรมด้านนี้จะมีน้อยมากในประเทศไทย ซึ่งผมเองก็เคยเขียนบล็อกเรื่อง “ประเทศไทยติดอันดับประเทศน่าดึงดูดในการทำ Outsourcing แต่ไม่มีอุตสาหกรรมด้านนี้

นอกจากนี้เมื่อมกราคมปี  2012 ทาง Tholons ได้ออกรายงานระบุเมืองที่ติด 100 อันดับในการทำ Outsourcing ทั่วโลกโดยดูจากปริมาณการจ้างงาน ความน่าสนใจ และแนวโน้ม จะพบว่าแหล่งที่น่าสนใจจะอยู่ทางเอเซียใต้ โดยมีเมืองที่ติดอันดับ 1 ถึง 7 ล้วนแต่เป็นเมืองในประเทศอินเดีย โดยมีเมือง Bangalore เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Mumbai และ  Delhi ส่วนกรุงมะนิลาเป็นเมืองเดียวนอกประเทศอินเดียที่ติด 1 ใน  7 คือมีคะแนนมาเป็นอันดับ  4 และหากมาพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN  จะเห็นว่าเมืองในประเทศฟิลิปินส์ติดอันดับหลายเมืองมากเช่น Cebu เป็นอันดับ 9 นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเมืองในประเทศเวียดนามก็เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ Outsourcing  โดย Ho Chi Minh ติดอันดับ 17 และ Hanoi  ติดอันดับ 21 ขณะที่กรุงเทพมหานครคะแนนลด10 อันดับ ตกมาที่ 87 จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2011

Screen Shot 2556-02-08 at 9.11.53 AM

กล่าวสรุปจะเห็นว่าการจัดอันดับประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในเรื่องของคน ของมาตรฐาน และความน่าสนใจในการลงทุน อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่เรายังขาดการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง ทำให้อุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะการลงทุนจริงทางด้าน Outsourcing จากต่างประเทศไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย

Enterprise Architecture คืออะไร

Screenshot 2013-11-13 11.41.43

[บล็อกนี้เป็นบทความเก่าที่ผมเขียนมาเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ขอนำบางส่วนมาปรับปรุงใหม่]

ผมจำได้ว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา องค์กรต่างๆมักจะเชิญผมไปบรรยายในหัวข้อเรื่อง   SOA (Service Oriented Architecture)  เพราะองค์กรมีความสนใจในเรื่องของการทำ  Application  Integration   เลยทำให้ผมต้องบรรยายในหัวข้อดังกล่าวมากกว่า 50 ครั้งตั้งแต่ Introduction to SOA, Business Process Management จนถึง SOA Governance ทั้งนี้ที่องค์กรต่างๆสนใจเรื่องนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าองค์กรให้ความสนใจกับเรื่องของ   IT Architecture แต่ก็อย่างไรการทำ SOA    ของหลายๆองค์กรกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่า  SOA มักจะถูกขับเคลื่อนจากฝั่งของเทคโนโลยีมากกว่าฝั่งของ  Business หรือมองจากธุรกิจหลักขององค์กร

ระยะหลังผมจึงเริ่มเห็นว่าองค์กรต่างๆให้ความสนใจกับการทำแผนแม่บทไอทีมากขึ้นและ  SOA ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในแผนที่จะดำเนินการ แต่แผนแม่บทหลายๆที่ก็ยังเป็นแผนที่ฝ่ายเทคโนโลยีเป็นคนทำอยู่ดีจึงทำให้ขาดการขับเคลื่อนที่  จนกระทั้งองค์กรเริ่มสนใจจะทำ  EA หรือ Enterprise Architecture กันมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์เรื่องของธุรกิจหรือกลยุทธ์ขององค์กรมากกว่าที่จะมองเป็นเพียงแค่  IT Architecture หรือ Solution Architecture

แล้วอะไรคือ EA (Enterprise Architecture)  ทาง Software Park เคยจัดบรรยายเรื่อง “Enterprise Architecture for e-Government” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 โดยผมได้นำเสนอการบรรยายในหัวข้อ Introduction to Enterprise Architecture (ผู้สนใจสามารถจะ Download presentation ของการบรรยายได้ที่ http://dl.dropbox.com/u/12655380/EnterpriseArchitecture.pdf) ซึ่งสามารถที่จะดูวิดีโอการบรรยายของผมได้ที่ http://knowhow.swpark.or.th/videos/viewvideo/453/software-engineering/iasa-thailand-seminar-12011–enterprise-architecture-for-e-government-session–27.html

ทั้งนี้ในการบรรยายผมได้พยายามชี้ให้ว่า EA ก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ที่จะเอา Vision, Mission และ Business ขององค์กรเป็นตัวนำ แล้วมาดูว่าไอทีจะเข้ามาช่วยได้อย่างไร  ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการทำ EA   จะไม่ใช่เรื่องของฝ่ายเทคโนโลยีเป็นหลักแต่จะต้องเป็นเรื่องของทุกภาคส่วนในองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหาร ฝ่ายธุรกิจ ฝ่ายปฎิบัติการ และฝ่ายเทคโนโลยี ทั้งนี้แผนผังที่ได้จากการทำ EA ในองค์กรมักจะมีอย่างน้อย  4 ด้านหลักคือ

  • Business Architecture เพื่อแสดงกลยุทธ์ขององค์กร, Business Process ของแต่ละฝ่าย, Organization Chart
  • Information Architecture เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีข้อมูลอย่างไรในแต่ฝ่าย, Database หรือ MetaData
  • Application Architecture เพื่อแสดงให้เห็นว่าในองค์กรจะต้องมีระบบโปรแกรมหรือระบบไอทีอะไรบ้าง ในการที่จะตอบโจทย์ของธุรกิจต่างๆ
  • Technical Architecture เพื่อแสดงโครงสร้าง Hardware, Software  หรือแม้กระทั่ง  Telecom Network    ในองค์กร

แผน EA นอกจากจะช่วยให้เราได้ผังหลักๆ  4 ด้านนี้แล้ว เราอาจจะเห็นผังย่อยๆในเรื่องต่างๆดังแสดงในรูป

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ EA ก็คือเรื่องของ Cost Saving  ที่จะทำให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่า ทั้งนี้เมื่อเราจะมี  Project ใหม่ๆ เราก็จะมาพิจารณาจากแผน EA เพื่อให้ได้ Solution Architectire ที่เหมาะสมตาม  Architecture  ต่างๆที่วางไว้ และการเลือกเทคโนโลยีต่างๆตามแผน

การทำ EA ควรจะเริ่มต้นจากการได้รับการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหารเพราะ EA ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายไอทีแต่อย่างเดียว และสิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือการพิจารณาเลือก  Framework  ในการทำ EA ซึ่งที่นิยมมักจะมีสองตัวคือ TOGAF และ Zachman Framework

สำหรับเอกสารการบรรยายที่ได้ทำขี้น ผมได้รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆดังนี้

Slide จาก SlideShare.net

เอกสารจาก Wikipedia

วิดีโอจาก YouTube

ในด้านของการอบรมการทำ Enterprise Architecture ผมได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆในวงการไอทีหลายคน และคนหนึ่งที่ร่วมงานกันมาด้วยดีตลอดคือคุณดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ที่มีตำแหน่งเป็น  Enterprise Architect ของ  Oracle ที่ดูแลงานในหลายๆประเทศในภูมิภาคนี้ และผมได้เชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษของ IMC Institute และจะมีการอบรม Enterprise Architecture in Cloud Computing Era ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2556 โดยสามารถมาดูรายละเอียดการอบรมได้ที่ >> EA Course

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

บริษัทซอฟต์แวร์ไทยบน Cloud Platform

ผมมีโอกาสในการสอบถามบริษัทซอฟต์แวร์ไทยหลายครั้งเกี่ยวกับการเป็น Cloud Application ที่มี Business Model แบบ SaaS ซึ่งก็จะมักเจอคำถามกลับว่าซอฟต์แวร์ผมเป็น Cloud หรือเป็น Web Application และบ่อยครั้งก็เจอคนที่ทำ Web Application เข้าใจผิดว่าซอฟต์แวร์ของตัวเองในทางเทคนิคเป็น Cloud Application แล้ว

ซึ่งคราวก่อนผมได้เขียนบล็อกเรื่อง การพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้น Cloud Platform โดยใช้ PaaS/IaaS และได้ชี้ให้เห็นว่าความยากของการทำ Cloud Application อยู่ที่ Elastic/ Scalability/ Reliability และ Multi tenancy ในงวดนี้จึงอยากแนะนำซอฟต์แวร์ไทยที่เป็น Cloud Application ที่เด่นๆให้รู้จักกัน

OokBee

เวลานี้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่เด่นสุดรายหนึ่งคงหนีไม่พ้น OokBee ซอฟต์แวร์แพลต์ฟอร์มสำหรับ E-Book ที่มีร้านหนังสือหลายๆรายนำไปใช้เข่น B2S Bookstore หรือ AIS BookStore เป็นต้น แม้ OokBee จะเป็นโปรแกรมอ่านหนังสือที่รันบน iOS และ Android แต่ระบบหลังบ้านที่เป็นหนังสืออยู่บน Server โดยมีผู้ใช้จำนวน 2.5 ล้านคนรันอยู่บน Cloud Platform ของทั้ง Amazon Web Services และ Microsoft Azure จนล่าสุดทาง Microsoft นำไปเป็นกรณีศึกษาทั่วโลก ดังตัวอย่างในวิดีโอคลิปนี้ของทีมี subtitle ภาษาจีน

Builk.com

ซอฟต์แวร์บริหารจัดการงานก่อสร้างฝีมือคนไทยอันนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดมากมายทั้งงาน APICTA 2011 และงาน Startup Pitching Echelon 2012 ซอฟต์แวร์รันอยู่บน Cloud Platform ของ Microsoft Azure

iLertU

ซอฟต์แวร์ของบริษัท Arunsawad Dot Com ที่ใช้แจ้งเตือนภัยเหตุการณ์ต่างๆซึ่งสามารถรันอยู่บนอุปกรณ์ Smartphone หรือ Tablet ในหลายๆ Platform ก็มีหลังบ้านที่จะต้องติดต่อกับผู้ใช้จำนวนมาก ซึ่งผู้พัฒนาก็ได้ย้ายแอพพลิเคชันขึ้นไปทำงานบน Windows Azure และมีลูกค้าจริงใช้งานอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ตัวนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ APICTA 2012 และรางวัลประกวดอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ทาง Arunsawad Dot Com ยังมี application ที่รันบน Cloud ของ Microsoft Azure ก็คือ @2claim สำหรับบริษัทประกันภัย

ECartStudio

ซอฟต์แวร์ระบบ Location-Based Information เป็นซอฟต์แวร์อีกรายหนึ่งที่มีหลังบ้านทำงานอยู่บน Platform ของ Microsoft Azure ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด APICTA 2012 และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

Screen Shot 2556-02-02 at 11.40.59 AM

eFlowSys

เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ERP ที่รันอยู่บน Windows Azure โดยให้บริการในธุรกิจหลากหลายทั้ง ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจไอที ธุรกิจแฟชั่น ธุรกิจขายส่ง และธุรกิจ โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนโดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3,550 บาท/เดือน ซอฟต์แวร์นี้ก็เคยได้รับรางวัลหลายๆรางวัลทั้งจาก Intel และ SIPA

Screen Shot 2556-02-02 at 12.06.57 PM

Absolute |Solutions|

เป็นซอฟต์แวร์บริหารระบบ ERP ที่ทำงานอยู่บน Cloud Platform ของ Amazon Web Services โดยมีระบบหลากหลายทั้ง ระบบคลังสินค้า ระบบค้าปลีก ระบบค้าส่ง ระบบจัดซื้อ ระบบการเงิน ซอฟต์แวร์ตัวนี้เคยได้รับรางวัลของ True IDC และมีวิดีโอแนะนำตามนี้

OfficeAbility

โปรแกรมบริหารจัดการภายในสำนักงานที่ทำงานบน Cloud Platform ของ Amazon EC2 ซึ่งสามารถขายในต่างประเทศตัวนี้ พัฒนาโดยบริษัทของคนไทยชื่อ Mai Thai Enterprise ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโปรแกรมที่กำหนดราคาแบบ SaaS โดยแปรผันไปตามจำนวน Users และขนาดของ Storage ที่จะใช้ในแต่ละเดือน โดยราคาเริ่มต้นที่ $69 สำหรับสำนักงานที่มีผู้ใช้น้อยกว่า 30 คน และต้องการพื้นที่ Storage ไม่เกิน 4 GB

Screen Shot 2556-02-02 at 2.23.35 PM

BentoWeb

เป็นซอฟต์แวร์ e-commerce สำหรับให้ผู้ใช้สามารถเปิดร้านค้าบน Facebook ได้ โดยโปรแกรมนี้ทำงานอยู่บนระบบของ  Microsoft Azure  ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างของธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ผู้ประสบความสำเร็จในการนำ Cloud Platform มาใช้งาน

Screen Shot 2556-02-05 at 12.29.46 PM

Computerlogy

เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ทำ Web Application และทางไมโครซอฟต์ระบุว่ามีการนำ Cloud Platform ของ Microsoft Azure มาใช้ในการทำ Application

ผลงานซอฟต์แวร์ไทยกับการประกวด Asia Pacific ICT Awards


APICTA2012

Asia Pacific ICT Awards (APICTA) เป็นงานประกวดผลิตภัณฑ์ทางด้านซอฟต์แวร์ของประเทศในกลุ่มสมาชิก โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความตระหนักเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะทางด้านซอฟต์แวร์ และเพื่อลดช่องว่างเชิงดิจิตอลของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังต้องการที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทและหน่วยงานต่างๆได้นำผลิตภัณฑ์หรือผลงานในประเทศมาประกวดแข่งกัน เพื่อที่จะให้สามารถเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน อันจะมีผลทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมไอทีใหม่ๆ การกระตุ้นให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ของประเทศสมาชิก การส่งเสริมการตลาดและการขายซอฟต์แวร์ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับบริษัทซอฟต์แวร์และหน่วยงานต่างๆในประเทศกลุ่มสมาชิก

APICTA มีสมาชิกจาก 16 ประเทศคือ ออสเตรเลีย บรูไน จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเก๊า มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม ซึ่งเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2001 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และทางประเทศไทยเองก็มีโอกาสเป็นเจ้าภาพงานนี้ 3 ครั้งคือ ปี 2003 ที่กรุงเทพมหานคร ปี 2005 ที่เชียงใหม่ และ ปี 2011 ที่พัทยา

BizSpark

Builk.com 2011

remote_image_ab85a4f266

Neo Invention 2010

kittinun

Arunsawad 2012

apicta2002

CyberPlanet 2003

จากการประกวด APICTA 12 ครั้งที่ผ่านมา บริษัทและหน่วยงานในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลายๆรางวัลดังนี้

  • ปี 2003 บริษัท CyberPlanet ประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2004 บริษัท CyberPlanet Interactiveประเภท Entertainment Applications
  • ปี 2005 บริษัท CT Asia ประเภท Communication Applications
  • ปี 2006 บริษัท Comanche ประเภท Tourism & Hospitality
  • โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2007 บริษัท LarnGear Technology ประเภท Research & Development
  • บริษัท AISoft ประเภท Tourism & Hospitality
  • โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ประเภท Secondary Student Project
  • ปี 2009 บริษัท SSC Solutions ประเภท Industrial Applications
  • บริษัทการบินไทยจำกัด ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2010 บริษัท Neo Invention ประเภท e-Logistic and Supply Chain Management
  • บริษัท GeoMove ประเภท Tools and Infrastructure
  • ปี 2011 บริษัท Builk Asia ประเภท Industrial Applications
  • บริษัท Netka Systems ประเภท Tools and Infrastructure
  • บริษัท Nippon Sysits ประเภท Tourism & Hospitality
  • ปี 2012 บริษัท Arunsawad Dot Com ประเภท Financial Industry Applications และ บริษัท EcartStudio ประเภท Tools and Infrastructure

สำหรับในปี 2012  เราสามารถสรุป รางวัลของประเทศต่างๆได้เรียงลำดับดังนี้

  •  Hong Kong 5 Winners, 7 Merits
  • Singapore 3 Winners, 2 Merits
  • Australia 3 Winners, 2 Merits
  • Indonesia 2 Winners, 5 Merits
  • Thailand 2 Winners, 2 Merits
  • Malaysia 1 Winner, 9 Merits
  • Brunei 1 Winner, 4 Merits
  • Sri Lanka 4 Merits
  • Pakistan 4 Merits
  • Macau 2 Merits