เมื่อเร็วๆนี้ผมได้วาดภาพกราฟฟิก เพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนแม่บทด้านไอซีทีของประเทศต่างๆในกลุ่ม ASEAN โดยจะเห็นได้ว่า ASEAN มีแผนที่เรียกว่า ASEAN ICT Masterplan 2015 และในแต่ละประเทศก็จะมีแผนแม่บทไอซีทีของตนเอง ผมจึงตั้งใจที่จะเขียนบล็อกนี้มาขยายความเพื่อให้เข้าใจถึงแผนแม่บทต่างๆที่ได้อ้างอิงถึง

Image

ASEAN ICT Masterplan 2015

แผนยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของ ASEAN เกิดจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ TELMIN เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2008 ที่ได้เห็นชอบโครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN ICT MASTERPLAN 2015 และอนุมัติการสนับสนุนเงินจากกองทุน ASEAN ICT Fund เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางกิจกรรมความร่วมมือด้านไอซีทีและสนับสนุนการรวมกลุ่มของอาเซียน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีที

หลังจากนั้นในการประชุม TELMIN ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนมกราคม 2011 จึงได้มีการรับรองแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 และมีการประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนแบบเบ็ดเสร็จที่มีการระบุยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน เป้าหมาย รวมทั้งระยะเวลาการดำเนินการภายใน 5 ปีที่ชัดเจน

ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ได้เคยเขียนบทความที่สรุปแผนแม่บท  ASEAN ICT Masterplan 2015  ไว้เป็นภาษาไทยไว้ที่ http://www.ddn.ac.th/web/aseanictmasterplan2015.pdf ซึ่งในเนื้อหาจะเห็นได้ว่าแผนมีบทจะมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ  6 ด้านคือ

  • การปฎิรูปทางเศรษฐกิจ
  • การเสริมสร้างพลังใหัแก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วม
  • การสร้างนวตกรรม
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • การพัฒนาทุนมนุษย์
  • การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ดังแสดงในรูป โดยแผนแม่บทฉบับจริงสามารถที่จะ download ได้ที่ www.asean.org แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาแผนแม่บทฉบับนี้ จะเห็นได้ว่ามีเพียงกรอบเวลาการทำงานคร่าวๆและไม่มีตัวชี้วัดที่ขัดเจน

Image

แผนแม่บท  iN2015 ของสิงคโปร์

Intelligent Nation 2015 (iN2015) เป็นแผนแม่บทด้านไอซีทีของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2005 ที่กำหนดให้ในสิบปีข้างหน้าที่จะผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น Intelligent Nation โดยใช้ศักยภาพของ Infocomm ซึ่งแผนแม่บทนี้ได้ถูกร่างโดยหน่วยงานที่ชื่อ Infocomm Development Authority (IDA)

ซึ่งวิสัยทัศน์ของแผนกำหนดไว้ว่า “Singapore: An Intelligent Nation, A Global City, Powered By Infocomm.

เป้าหมายหลักของแผน iN2015 มีดังนี้

  • ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นประเทศอันดับหนึ่งของโลกในการที่จะนำ Infocomm มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
  • เพื่มมูลค่าอุตสาหกรรมด้าน Infocomm  เป็นสองเท่าคือมีมูลค่า $26 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
  • เพิ่มมูลต่าการการส่งออกทางด้าน เป็นสามเท่าคือมีมูลค่า $60 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
  • เพิ่มงานด้าน Infocomm อีก  80,000 ตำแหน่ง
  • ทำให้มีการใช้งาน Broadband  ตามบ้านถึงร้อยละ 90
  • ทำให้ทุกบ้านที่มีเด็กที่จะต้องศึกษาในโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้งาน

และเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย แผนแม่บทได้กำหนดยุทธศาสตร์สี่ด้านคิอ

  • ผลักดันให้กลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ภาครัฐ และสังคมมีนวัตกรรมการใช้ Infocomm  มากขึ้น
  • มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Infocomm ที่มีความเร็วสูง ชาญฉลาด และน่าเชื่อถือ
  • มีการพัฒนาอุตสาหกรรม Infocomm  ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้
  • มีการพัฒนากำลังคนด้าน Infocomm ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้

โดยเราสามารถที่จะศึกษาดูแผนของ  iN2015 ได้จากรายงานของ iN2015 Steering Committee >> รายงาน

แผนแม่บท Digital Strategy ของฟิลิปปินส์

แผนแม่บทของฟิลิปปินส์เป็นแผน 5 ปีตั้งแต่ปี  2011 ซึ่งเป็นแผนต่อจากแผนแรกเมื่อปี  2006-2010 โดยชูคำว่า “Transform 2.0 : Digitally Empowered Nation”  แผนของฟิลิปปินส์จะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม BPO (Business Process Outsourcing), KPO (Knowledge Process Outsourcing), CPO (Creative Process Outsourcing), ITO (IT Outsourcing)  รวมถึงด้าน e-Government และงานด้านสังคม โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว่ว่า

““A digitally empowered, innovative, globally competitive and prosperous society where everyone has reliable, affordable and secure information access in the Philippines. A government that practices accountability and excellence to provide responsive online citizen-centered services. A thriving knowledge economy through public-private partnership.”

โดยมียุทธศาสตร์สี่ด้านดังรูปคือ

  • การลงทุนในการให้ประชาชนมีทักษะในการใช่้ไอซีที
  • การให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ต
  • ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมไอซีทีและนวัตกรรมทางธุรกิจ
  • การมีบริการ e-service ของรัฐบางที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

Image

สำหรับเป้าหมายที่สำคัญของแผนแม่บทนี้คือ

  • การเพิ่มรายได้ของอุตสาหกรรม ITO และ  BPO เป็น $20  ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งเป้าที่จะมีสัดส่วนการตลาดของ BPO ในโลกถึง 9% ในปี 2016
  • เพิ่มจำนวนงานของ IT/BPO ให้เป็น 900,000  ตำแหน่งในปี 2016
  • ให้มีสัดส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ความเร็วอย่างน้อย 2  Mbps ตามบ้านให้ได้ร้อยละ 80

เราสามารถที่จะ download แผนแม่บท Digital Strategy  ฉบับเต็มได้ที่ >> แผนแม่บท

แผนแม่บทไอซีทีของประเทศเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีของเวียดนามได้อนุมัติแผนแม่บทไอซีมีของเวียดนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  2010 โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันเวียดนามให้กลายเป็นประเทศที่ี่มีความก้าวหน้าด้าน ICT ในปี  2020 ( “Transforming Vietnam into and advanced ICT”) นอกจากนี้รัฐบาลเวียดนามยังมีการอนุมัติแผนการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีถึงปี  2015 และมุ่งเป้าปี 2020 (IT HR development up to 2015 and toward 2020.) ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี  2009

แผนแม่บทไอซีทีมีเป้่าหมายต่างๆที่สำคัญดังนี้

  • ต้องการเพิ่มให้อุตสาหกรรมไอซีทีมีรายได้รวมเป็นสัดส่วนร้อยละ  10% ของ รายได้รวมประชาชาตื GDP ในปี  2020
  • ผลักดันให้เวียดนามติด  Top Ten  ในประเทศทางด้านการบริการ Outsourcing เรื่อง Software และ Digital Content
  • ผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็น sector  ทีมีการเจริญเติบโตมากสุด
  • ต้องการเพิ่มจำนวนแรงงานทางด้านอุตสาหกรรมไอซีทีให้เป็น  1 ล้านคนในปี 2020
  • ให้มีการใช้  Mobile Broadband  ครอบคลุมถึง 95% ของจำนวนประชากร
  • ให้ประชากรร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้
  • ให้มีอินเตอร์เน็ตเข้าถึงตามบ้านร้อยละ 50-60%

ตัวแผนแม่บทฉบับจริงของเวียดนามหาค่อนข้างยาก แต่มี Presentation ที่สรุปสั้นๆสามารถดูได้ที่ >> Vietnam ICT

แผนแม่บทไอซีทีของมาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียมีแผนในการที่จะผลักดันให้ประเทศเป็นชาติที่มีรายได้สูง  (High-Income Nation)  ในปี 2020 :ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้กล่าวเมื่อปี 2011 ว่ากำลังเตรียมพัฒนาแผน Digital Malaysia โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ

  • จะให้ทุกบ้านสามารถเข้าถึง Broadband Internet ได้ในปี 2020
  • จะผลักดันให้อุตสาหกรรมไอซีทีมีรายได้รวม7% ของรายได้รวมของชาติ (GNI)
  • จะผลักดันให้เกิดตำแหน่งงานใหม่ด้่นไอซีทีอีก 160,000  ตำแหน่ง

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารค้นหาแผนแม่บทของมาเลเซียล่าสุดได้ เข้าใจว่ายังอยู่ระหว่างการทำแผน

สำหรับแผนแม่บทไอซีทีของมาเลเซียคือ National IT Agenda (NITA) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี  1996  โดยในช่วงแรกได้เน้นเรื่องการพัฒนา Multimedia Super Corridor (MSC) และกลยุทธ์ก็จะเน้นอยู่ในห้าด้านคือ E-Community, E-Public Services, E-Learning, E-Economy และ E-Sovereignty โดย  NITA จะมีองค์ประกอบสำคัญสามด้านคือ คน (people) โครงสร้่างพื้นฐาน (Infostructure)  และ แอพพลิเคชั่น ดังรูป

Image

สำหรับรายละเอียดของ National IT Agenda สามารถดูไดที่เว็บไซต์ http://nitc.mosti.gov.my/

นโยบายและแผนแม่บทไอซีทีของประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเราจะมีกรอบนโยบายไอซีทีฉบับที่สอง ICT 2020  (2011-2020) ซึ่งต่อจากแผน ICT2010  และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกันยายน 2010 และก็มีแผนแม่บทไอซีที ICT Masterplan 2 (2009-2013)  ที่ขอความเห็นชอบจากครม.เมื่อสิงหาคม 2009

โดยตัวกรอบนโยบาย ICT 2010 ฉบับเต็มสามารถที่จะดูรายละเอียดได้ที่ >> กรอบนโยบาย ICT 2010

และแผนแม่บท ICT Masterplan  2009-2013 สามารถดูรายละเอียดได้ที่ >> ICT Masterplan

กรอบนโยบาย ICT 2010  จะเน้นเรื่องของ “Smart Thailand”  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญหลักคือ

  • ประชากรทั่วประเทศร้อยละ 80 สามารถเข้าถึง Broadband  ได้ในปี 2015 และ ร้อยละ 95 ในปี 2020
  • ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ  75 สามารถใช้ประโยชน์จากไอซีทีได้อย่างรู้เท่าทัน และเพิ่มการจ้างงานบุคลากรไอซีทีไม่น้อยกว่า 3% ของการจ้างงานทั้งหมด
  • เพิ่มอัตราส่วนของอุตสาหกรรมไอซีทีให้มีมูลค่าเพ่มต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 18%
  • ยกระดับความพร้อมด้านไอซีทีโดยรวม เพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดร้อยละ 25 ของ  Network Readiness Index
  • ผลักดันให้เกิดการจ้างงานแบบใหม่ที่เป็นการทำงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ตระหนักถีงความสำคัญและบทบาทของไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กรอบนโยบาย ไอซีที 2020 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 7ด้านดังแสดงในรูป

Image

สำหรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปyญญา  (Smart Thailand) ด้วย ICT”  ซึ่งแผนแม่บทฉบับที่สองกำหนดจะสิ้นสุดในปีนี้ และทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศก็คงผลักดันร่างแผนฉบับที่ 3 ต่อ

ประเทศไทยอาจจะแตกต่่างกับประเทศอื่นๆพอสมควรในเรื่องของแผนไอซีที เพราะเรามีหลายแผนและยังมีนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีที่อาจเปลี่ยนแปลงตลอด จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่จะให้ความสำคัญกับกรอบนโยบายหรือแผนแม่บท มากกว่าจะเปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารของประเทศหรือกระทรวงอยู่ตลอดเวลา

สุดท้ายผมขอนำภาพให้เห็นว่า แผนและนโยบายไอซีทีของประเทศไทยถูกกำหนดมาจากส่วนใดบ้าง เพื่อให้ทุกคนเห็นถึงความหลากหลายตามที่กล่าวไว้

Image

4 thoughts on “แผนยุทธศาสตร์ไอซีทีของประเทศในกลุ่มอาเซียน

  1. ขอบคุณอาจารย์ที่นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้ให้ทราบ เป็นประโยชน์ในการค้นหาบทความทำวิจัยมากๆค่ะ จะรอติดตามบทความใหม่ๆนะคะ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s