cloudmgmt

เมื่อพูดถึง Cloud Service Provider คนก็จะนึกถึงผู้ให้บริการในต่างประเทศเจ้าใหญ่ๆอย่าง Amazon Web Services, Microsoft Azure, Google หรือ Dropbox แต่เราก็มักจะได้ยินคำถามบ่อยๆว่าแล้วผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศเราละเมื่อไรจะมี บ้างก็ถามหาบริการเฉพาะด้านในประเทศบ้างเช่น Storage as a Service, Big Data as a Service หรือ Platform as a Service

จากคำถามดังกล่าวทำให้น่าสนใจที่จะหาคำตอบว่า แล้วเราจะต้องมีผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศหรือไม่ เราลองมาพิจารณาดูตัวอย่างผู้ให้บริการ Cloud หลักๆในต่างประเทศก่อนว่ามีบริการและราคาเป็นอย่างไรบ้าง

  • Amazon Web Services (AWS) แน่นอนเมื่อพูดถึง AWS เราจะนึกถึงภาพของผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่ที่สุด มีจำนวน Servers ถึง 4-5 แสนเครื่อง มีบริการที่หลากหลายตั้งแต่ Server, Storage, Database หรือแม้กระทั่ง Big Data อย่าง Hadoop จากจำนวน Server ที่มีอยู่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานในจำนวนที่ไม่จำกัดและราคาค่อนข้างคุ้มค่า นอกจากนี้ก็ยังมีลูกค้าจำนวนมาก บางรายก็ใช้ Infrastructure ของ  AWS เพื่อสร้างบริการ Cloud Services อื่นอย่างเช่น Dropbox  ใช้บริการ  S3 ของ  AWS  โมเดลธุรกิจของ AWS  เริ่มตั้งแต่ให้บริการฟรีแบบ Trial  เป็นเวลาหนึ่งปี ไปจนถึงการเช่า VM ทั้งที่เป็น public หรือ private จำนวนมาก
  • Digital Ocean เป็น Cloud Provider  ที่อยู่ใน New York ที่ให้บริการ IaaS ในราคาที่ถูกซึ่งเราสามารถที่จะจ่ายค่า  Server  ขนาด  2Core, 2GB Memory และ 3GB SSD Disk ด้วยราคาเพียง $20 ต่อเดือน ซึ่งในปัจจุบัน Digital Ocean มี Data Center  หลายๆแห่งทั่วโลกทั้งใน  Amsterdam, London หรือใน Singapore และเป็นบริษัทที่ให้บริการ IaaS ที่โตที่สุดในโลกรายหนึ่ง ล่าสุดทาง Netcraft  ระบุว่าจำนวนผู้ใช้  Web Facing Server ของ  Digital Ocean มีจำนวนสูงถึงอันดับ  5  ในโลกแซงหน้าบริษัทอย่าง Rackspace  ไปแล้ว
  • Dropbox  ถ้าเรานึกถึงผู้ให้บริการ  Storage as a Service  เราจะนึกถึงผู้ให้บริการอย่าง  Dropbox  ซึ่งมีโมเดลการให้บริการแบบฟรีสำหรับผู้ใช่้  2-5 GB และก็เพิ่มค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการพื้นที่มากขึ้น แม้ Dropbox จะไม่มี  Infrastructure ของตัวเอง แต่ด้วยโมเดลธุรกิจและซอฟต์แวร์ที่มีผู้ใช้ทั่วโลกในหลากหลาย Platform ก็ทำให้ Dropbox  สามารถสู้กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่าง  Google Drive หรือ OneDrive  ของ Microsoft  ได้ ล่าสุดด้วยจำนวนผู้ใช้จำนวนมากและการมีคู่แข่งที่มากขึ้นทำให้ Dropbox  สามารถตัดราคามาเหลือเพียง  $100 ต่อปีสำหรับ เนื้อที่ถึง  1TB
  • Azure, SalesForce, Google, OpenShift ยังมีผู้ให้บริการ Cloud ในต่างประเทศอีกจำนวนมากที่ให้บริการ Cloud ที่หลากหลายในราคาถูก อาทิเช่น  Azure  ที่มีบริการทั้ง  PaaS  อย่าง  SQL as a Service, IaaS หรือบริการเฉพาะด้านอย่าง  Big Data as a Service หรือผู้ให้บริการอย่าง SalesForce.com ที่ให้บริการ SaaS อย่าง Sales CRM หรือ PaaS อย่าง Force.com

จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดเราจะเห็นว่าผู้ให้บริการ Cloud  ในต่างประเทศอาจมีจุดแข็งต่างๆดังนี้

  • มี Infrastructure ขนาดใหญ่และมี Data Center หลายๆแห่งทำให้มีระบบที่เสถียร
  • มีจำนวนลูกค้าจำนวนมาก ทำให้มี Economy of Scale สามารถให้บริการได้ถูกกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ
  • มีบริการที่หลากหลาย มีระบบ APIs ที่ดีทำให้ลูกค้าสามารถต่อยอดการใช้งานโดยง่าย
  • มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีทีมวิศวกรและนักพัฒนาจำนวนมากที่มีความสามารถ

แต่ปัญหาที่เรามักจะเจอกับการใช้บริการของผู้ให้บริการ Cloud ต่างประเทศก็คือ

  • การขาดตัวแทนในประเทศทำให้การสนับสนุนเชิงเทคนิคบางด้านไม่สามารถทำได้ตามความต้องการของลูกค้าได้
  • ขาดความยืดหยุ่น ยากที่จะการ  Customize  ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
  • การจ่ายค่าบริการบางรายต้องชำระโดยตรงไปยังต่างประเทศ ทำให้ลูกค้าในบ้านเราไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้
  • ผู้ให้บริการต่างประเทศจะให้ความสนใจกับลูกค้าไทยน่้อยเนื่องจากจำนวนการใช้เราไม่มากพอ

เมื่อเจอปัญหาต่างๆเหล่านี้ โดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ๆและภาคราชการที่จะพบว่าการใช้บริการ  Cloud Computing ของต่างประเทศจะมีอุปสรรคที่อาจขัดต่อกฎระเบียบในการทำงาน จึงเริ่มมีการถามหาผู้ให้บริการในประเทศที่อาจสนับสนุนลูกค้าได้ดีกว่า แต่ปัญหาของการเป็นผู้ให้บริการในประเทศจะเจออุปสรรคต่างๆบางประการดังนี้

  • Economy of Scale  มีไม่เพียงพอ ถ้าผู้ให้บริการ Cloud  จะมุ่งให้บริการเพียงในประเทศจำนวนลูกค้าจะมีไม่มากพอ จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันเรื่องราคากับต่างประเทศได้ ดังนั้นถ้าจะเปิดบริการในประเทศคงต้องเน้นในตลาดที่กว้างขึ้นอย่างตลาด  ASEAN หรือมุ่งไปทั่วโลก เพราะ Cloud ไม่เน้นเรื่องตำแหน่งที่ตั้งอยู่แล้ว แต่ข้อสำคัญคือการจะเป็น Cloud Provider  ที่จะไปแข่งต่างประเทศได้คงต้องเน้นตลาดเฉพาะทาง ซึ่งอาจไม่ใช่แค่ IaaS หรือ PaaS แบบพื้นฐาน แต่อาจต้องมีจุดเด่นเฉพาะที่ต้องให้บริการต่างกับรายอื่นๆ ที่เราสามารถตั้งราคาที่สูงได้
  • Infrastructure ที่ยังไม่พร้อม ประเทศเรายังเป็นผู้นำเข้า Server  และจำนวนที่นำเข้าในแต่ละ Data Center จะมีไม่มากนัก ดังนั้นการทำ IaaS ในบ้านเราก็คือการนำเข้า  Server ที่ราคาย่อมสูงกว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ๆอย่าง AWS  ที่เขาซื้อและผลิต  Server  มาเป็นแสนๆตัว ต้นทุนของเขาก็ย่อมถูกกว่า อีกอย่างโครงสร้างพื้นฐานในบ้านเรายังไม่พร้อมที่ทำ Data Center ขนาดใหญ่ และถ้าจะทำต้นทุนเราจะสูงกว่ามาก ดังนั้นการทำ IaaS ในบ้านเราก็คือการซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อมาขายต่อที่ไม่สามารถทำราคาได้ถูกกว่าเขา แม้เราอาจได้  Knowhow เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าต้องการทำจริงจังในระยะยาวคงต้องมีการทำ R&D ด้่่่านนี้ที่มากกว่านี้มาก
  • ขาดบุคลากร  การจะเป็นผู้ให้บริการ  Cloud  ที่จะแข่งกับต่างประเทศได้ เราต้องมีบุคลากรที่มีความเชียวชาญเฉพาะ เช่นถ้าเราคิดว่าจะเป็นผู้ให้บริการ  Big Data as a Service  เราต้องมีบุคลากรทางนี้ โดยเราอาจไม่จำเป็นต้องที  Infrastructure ในการให่้บริการ Big Data  เอง เราสามารถที่จะไปพึ่ง IaaS  ของต่างประเทศอย่าง AWS หรือ Google แต่สิ่งสำคัญคือบุคลากรที่มีความเก่งและมีจุดเด่นที่ทำให้เราแข่งขันได้ แล้วเราก็จะสร้างบริการ  Cloud เฉพาะด้านแข่งกับต่างประเทศได้
  • Bandwidth เชื่อมต่อต่างประเทศต่ำ อย่างที่บอกตอนต้นถ้าเราคิดจะเป็นผู้ให้บริการ  Cloud  เราต้องมุ่งตลาดในต่างประเทศ เราถึงจะได้ Economy of Scale แต่อุปสรรคสำคัญคือ Bandwidth  เชื่อมต่อไปยังต่างประเทศเรายังไม่ดีพอ ดังนั้นการที่จะเป็นผู้ให้บริการที่ต้องใช้ Infrastructure ที่ตั้งอยู่ในประเทศอาจเป็นเรื่องยาก
  • ขาดการทราบความต้องการของผู้ใช้ที่ชัดเจน ผู้ให้บริการ Cloud ทีต้องสร้าง Infrastructure ต้องทำหน้าที่เหมือนผู้ผลิตไฟฟ้า ต้องพยากรณ์ความต้องการของผู้ใช้ในระยะเวลา 2-3  ปีข้างหน้าได้อย่างชัดเจน จะได้ลงทุนด้าน Server  และ Infrastructure  ได้อย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ แต่ปัจจุบันเราขาดข้อมูลทางด้านนี้ และยากที่จะคาดการณ์ของต้องการของผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรมีผู้ให้บริการ  Cloud Computing ในประเทศ แม้เราจะสู้เรื่องราคา โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรไม่ได้ แต่เรายังมีความจำเป็นที่จะต้่องมีผู้ให้บริการ  IaaS หรือ PaaS ในประเทศด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้

  • ความปลอดภัยและความมั่นคง หน่วยงานหลายๆแห่งอาจไม่เหมาะที่ไปใช้บริการของต่างประเทศ เพราะการนำข้อมูลบางอย่างไปไว้ในต่างประเทศอาจขัดกฎระเบียบและมีความเสี่ยงต่อความมั่นคง
  • การให้บริการกับหน่วยงานเฉพาะ เช่นภาคราชการ
  • การให้สนับสนุนทางด้านเทคนิคและการให้บริการลูกค้าที่ดีกว่า
  • การพัฒนาบุคลากรและการสร้างการเรียนรู้ทางด้าน Cloud Computing โดยเฉพาะในด้าน R&D  ระยะยาว
  • การให้บริการที่มีความยืดหยุ่นต้องการ  Customize  ให้กับลูกค้า
  • Bandwidth ที่รวดเร็วกว่าถ้า Infrastructure  อยู่ในประเทศ

แต่ที่กล่าวมาทั้งหมด ยังไม่ได้เน้นเรื่องของ SaaS การเป็นผู้ให้บริการ SaaS  เราสามารถแข่งขันได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะความเป็น  Localization หรือซอฟต์แวร์ที่เราสามารถเปิดให้บริการทั่วโลกได้ ในปัจจุบันบริษัทซอฟต์แวร์ไทยหลายๆรายก็เปิดให้บริการ  SaaS  โดยที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ Infrastructure ที่อยู่ในประเทศ

Cloud Expo Asia 2014

cloudexpo

สุดท้ายนี้ผมขอพูดถึงงาน  Cloud Expo Asia  ซักหน่อยหนึ่งเพราะปีที่แล้วผมไปงานนี้ และพบว่าเป็นงาน Cloud computing  ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นงาน Cloud ที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ที่เราจะได้พบกับผู้ให้บริการ Cloud จากทั่วโลกทั้งที่เป็น IaaS, PaaS, SaaS รวมถึงผู้ผลิต  Cloud Infrastructure และยังมีหัวข้อในการบรรยายที่น่าสนใจในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องของ Infrastructure, Virtualization, Security, PaaS, Cloud Management หรือ Big Data  โดยสามารถที่จะดูโปรแกรมการสัมมนาได้ที่

งาน Cloud Expo Asia ปีนี้จัดขึ้นคู่กับงาน Data Center World  ในวันที่  29-30 ตุลาคมที่  Suntec Exhibition Centre ประเทศ Singapore  ทาง IMC Institute ได้จัดอบรมหลักสูตร Cloud Computing  for Senior Management ในวันที่ 14-16  ตุลาคม และมีการพาไปดูงาน Cloud Expo Asia  ในวันที่ 28-30 ตุลาคม โดยนอกจากไปงานนี้แล้วยังพาไปเยี่ยมชมบริษัททางด้าน  Cloud Computing อย่าง  Amazon Web Services, Oracle, Microsoft และ VMWare  ในกรณีที่มีผู้สนใจต้องการไปดูงานอย่างเดียวก็สามารถทำได้ สำหรับรายละเอียดโปรแกรมหลักสูตรนี้ สามารถดูได้ที่

สำหรับโปรแกรมการดูงานโดยละเอียดมีดังนี้

28  ตุลาคม:

  • 8.00  น. เดินทางไป Singapore สายการบิน  Thai Airways เที่ยวบิน  TG403 (08:00-11:15)
  • 12.30  น. Check-in ที่โรงแรม Ibis Singapore On Bencoolen หรือเทียบเท่า และรับประทานอาหารเที่ยง
  • 14.00 น. เยี่ยมชมบริษัท Amazon Web Services
  • 16.30 น. เยี่ยมชม Oracle Solution Center เพื่อดูเรื่อง Private Cloud/Virtualization
  • 18.00 น. รับประทานอาหารเย็นบริเวณ  Suntec City Mall

29 ตุลาคม:

  • 9.00 – 16.00 น. เข้าชมงานและฟังสัมมนางาน Cloud Asia Expo 2014 ที่ SunTec Exhibition Center
  • 18.00 น. รับประทานอาหารเย็น ถนน Orchard

30 ตุลาคม:

  • 9.00 น. เยี่ยมชม Microsoft Technology Center
  • 13.00 น. ดูงานกับบริษัท VMWare  หรือ บริษัทด้าน Cloud  อื่นๆ
  • 18:15  น.  เดินทางกลับ  สายการบิน  Thai Airways เที่ยวบิน   TG408  (18:15-19:35)

One thought on “ความจำเป็นของการมีผู้ให้บริการ Cloud ในประเทศ และงาน Cloud Expo Asia 2014

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s