เมื่อพูดถึง Big Data หลายๆคนก็คงเริ่มเข้าใจความหมายของ 3Vs (Volume, Velocity, Variety) และเริ่มที่จะเห็นภาพว่าข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่หลายองค์กรจำเป็นต้องปรับ Information Infrastructure เพื่อให้รองรับกับการบริหารจัดการ Big Data ได้

เทคโนโลยีฐานข้อมูลเดิมที่เป็น RDBMS และภาษา SQL ก็ยังคงอยู่แต่การที่จะนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มากๆเป็นหลายร้อย TeraByte หรือนับเป็น PetaByte อาจไม่สามารถทำได้และอาจมีต้นทุนที่สูงเกินไป และยิ่งถ้าข้อมูลเป็นแบบ  Unstructure ก็คงไม่สามารถจะเก็บได้ นอกจากนี้การจะประมวลผลข้อมูลหลายร้อยล้านเรคอร์ดโดยใช้เทคโนโลยี  RDBMS ผ่านภาษา SQL ก็อาจใช้เวลานานและบางครั้งอาจไม่สามารถประมวลผลได้

Screenshot 2015-09-26 21.57.56

รูปที่ 1  ตัวอย่างของ Big Data Technology

ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีการคิดถึงเทคโนโลยีอื่นๆในเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เป็น Big Data ดังที่ได้แสดงตัวอย่างในรูปที่ 1 ซึ่งหากเราแบ่งเทคโนโลยีเป็นสองด้านคือ การเก็บข้อมูล (Storage) และการประมวลผล/วิเคราะห์ข้อมูล (Process/Analytics) เราอาจสามารถจำแนกเทคโนโลยีต่างๆได้ดังนี้

เทคโนโลยีการเก็บข้อมูล

ข้อมูลที่เป็น Big Data อาจจะมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบเดิมที่เรามีอยู่เก็บได้หรืออาจเจอปัญหาในแง่โครงสร้างของข้อมูลที่อาจไม่เหมาะกับเทตโนโลยี RDBMS ตัวอย่างเช่น Telecom operator อาจต้องการเก็บข้อมูล Call Detail Records (CDR) ที่อาจมีปริมาณสูงถึง 1 TeraByte ต่อวันเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น หรือเราอาจต้องเก็บข้อมูลในอีเมลจำนวนมากที่เป็นรูปแบบของ Text File  หรือเก็บภาพจากกล้อง CCTV จำนวนหลายสิบ TB หรืออาจต้องการเก็บข้อมูลจาก Facebook ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้ที่กล่าวมา อาจไม่เหมาะกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบเดิม RDBMS ที่เป็น Vertical Scaling

จากที่กล่าวมาจึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเพื่อที่จะให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีต่างๆอาทิเช่น

  • ฐานข้อมูล  RDBMS แบบเดิม ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บข้อมูลแบบ Structure แต่ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่มากก็จะเจอปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูง  และหากข้อมูลมีจำนวนเป็น PetaByte ก็คงยากที่จะเก็บ ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี MPP Datanbase อย่าง Oracle ExaDta หรือ SAP HANA แต่ราคาก็สุงมาก
  • Hadoop HDFS เป็นเทคโนโลยีที่มีการคาดการณ์ว่าหน่วยงานส่วนใหญ่จะต้องใช้ในอนาคต เพราะมีความต้องการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งที่เป็น Unstrucure Data หรือนำข้อมูลที่เป็น structure มาเก็บไว้ โดยสามารถจะเก็บข้อมูลได้เป็น PetaByte ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องที่มีอยู่ในลักษณะ scale-out ข้อสำคัญ Hadoop มีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบอื่น ดังแสดงในรูปที่ 2
  • NoSQL เป็นเทคโนโลยีที่ต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมากกว่าของ RDBMS ในลักษณะ scale-out เป็นจำนวนหลาย TeraByte แต่อาจไม่ได้เน้นเรื่อง Consistency หรือ ACID ของข้อมูลมากนัก เหมาะกับ Application บางประเภท ทั้งนี้เราสามารถจะแบ่งเทคโนโลยี NoSQL ออกไปได้สี่กลุ่มคือ Column Oriented, Document Oriented, Key-Value และ Graph
  • Cloud Storage ข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรบางส่วนอาจต้องเก็บไว้ใน Public Cloud Storage เช่น  Amazon S3 โดยเฉพาะข้อมูลภายนอกอาทิเช่น Social Media Data หรือข้อมูลที่เป็น Archiving  ที่ไม่ได้มีความสำคัญมาก เพราะ Cloud Storage จะมีราคาในการเก็บที่ถูกสุด และสามารถที่จะเก็บได้โดยมีขนาดไม่จำกัด แต่ข้อเสียคือเรื่องความปลอดภัยและความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล

Screenshot 2014-11-17 16.27.33

รูปที่  2  เปรียบเทียบราคาของ Storage Technology

เทคโนโลยีการประมวลผลข้อมูล

การประมวลผลข้อมูลที่เป็น Big Data จะมีทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น business intelligence (BI) เพื่อที่จะดึงข้อมูลมานำเสนอ หรือการทำ Predictive Analytics โดยใช้หลักการของ Data Science ความยากของการประมวลผลคือต้องการความเร็วในการประมวลผลข้อมูลที่นอกจากมีขนาดใหญ่แล้วบางครั้งยังเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้นต้องจึงมีการนำเทคโนโลยีหรือภาษาต่างๆมาเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้ ซึ่งในบางครั้งหน่วยงานอาจต้องพิจารณาต้องเลือกใช้ อาทิเช่น

  • SQL  ก็เป็นภาษาที่ยังต้องใช้ในการประมวลผลข้อมูลโดยเฉพาะ Structure  Data ที่เก็บอยู่ใน RDBMS และสามารถประมวลผลแบบ RealTime ได้
  • APIs ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Storage ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นเช่น NoSQL หรือ Cloud Storage  อาจต้องพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในการประมวลผลข้อมูลโดยใช้  APIs ในการเข้าถึงข้อมูล
  • MapReduce เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Google ในการประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใน HDFS โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อย่าง Java ในการพัฒนาโปรแกรม โดยจะประมวลผลแบบ Batch และเป็นวิธีการประมวลผลที่มากับเทคโนโลยี  Hadoop
  • Hive หรือ Pig เป็นภาษาคล้าย SQL หรือ Scripting ที่ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใน Hadoop HDFS ได้โดยไม่ต้องพัฒนาโปรแกรม MapReduce แต่ทั้งนี้ข้อมูลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเช่น  ไฟล์ csv หรือ ไฟล์ข้อความบางประเภท
  • Impala  เป็นภาษาคล้าย SQL ที่ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใน Hadoop HDFS ได้ โดยทำงานได้รวดเร็วกว่า Hive มาก แต่มีข้อเสียคือเป็นภาษาที่เป็น proprietary ของ  Cloudera
  • Spark เป็นเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Real-time  โดยอาจมี Data Source มาจากหลากหลายแหล่งเช่น  RDBMS, Cloud Storage, NoSQL หรือ Hadoop  ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษา Scala, Java, Python หรือจะเขียนโดยใช้ภาษาคล้าย SQL ก็ได้ และมี  Library สำหรับการทำ Data Science คือ  MLib  เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากอันหนึ่ง
  • ภาษาและเทคโนโลยีในการทำ Machine Learning  ซึ่งก็จะมีหลากหลายทั้ง R Hadoop, Mahout, Azure Machine Learning  หรือ AWS ML
  • เทคโนโลยีสำหรับการทำ Data Visualisation และ BI อาทิเช่น Tableau, Pentaho, SaS, Excel  และอื่นๆ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าหน่วยงานจะมีโครงการ Big Data และข้อมูลมีขนาดใหญ่จริง เราคงต้องเลือกหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

สิงหาคม 2558

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s