ในตอนที่แล้วผมได้เขียนถึง ขีดความสามารถการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศใน ASEAN ซึ่งได้กล่าวถึงข้อมูลชี้วัดที่หน่วยงานต่างนำมาเปรียบเทียบ ซึ่งจากข้อมูลที่มีจะสังเกตุเห็นว่า ศักยภาพของประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซี่ยนแล้วเรายังอยู่ในสภาวะที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่พอสมควร

ในตอนนี้ผมจึงอยากจะลองเอาข้อมูลชี้วัดที่น่าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มาให้ดู โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งใน ASEAN และได้แสดงเป็นภาพกราฟฟิกดังรูปนี้

Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.56 AM

ด้านจำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เมื่อเดือนมิถุนายน 2012 ทาง Evans Data Corp (EDC) ได้ข้อมูลประมาณการณ์จำนวนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้วโลก ซึ่งรวมตั้งแต่โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ จนถึงผู้บริหารโครงการว่ามีประมาณ 17.2 ล้านคนในปี 2012 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 24.7 ล้านคนในปี 2018 โดยระบุว่าในปี 2012 ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนมากที่สุดคือ 3.5 ล้านคน ตามด้วยอินเดีย 2.5 ล้านคน และจีน 9 แสนคน แต่คาดการณ์ว่าในปี  2018  จำนวนนักพัฒนาในประเทศอินเดียจะเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวน 4.8 ล้านคน ตามด้วยสหรัฐอเมริกา 4.6 ล้านคน จีน 1.6 ล้านคน รัสเซีย 1.2 ล้านคน และไทยก็ติดอันดับ 10 ด้วยจำนวน 377,100 คน

หากดูข้อมูลด้านนี้เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ประเทศไทยจะดูโดดเด่นมาก เพราะจำนวนที่คาดการณ์ในปี 2012 ของประเทศไทยจะมีประมาณ 263,800 คน เป็นอันดับที่ 15 ของโลกและเป็นอันดับ 5ในภูมิภาค  APAC  ขณะที่ประเทศคู่แข่งใน ASEAN อย่าง ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ  6 ใน APAC มีจำนวน 187,000 คน เวียดนามอยู่อันดับ  8 ใน APAC มีจำนวน 152,900 คน อินโดนีเซียอยู่อันดับ  9 ใน APAC มีจำนวน 141,200 คน และมาเลเซียอยู่อันดับ  10 ใน APAC มีจำนวน 99,400 คน

จำนวนบริษัทที่ได้มาตรฐาน CMMI

CMMI คือ มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน ย่อมาจาก Capability Maturity Model Integration ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของทั่วโลก ล่าสุดทาง Software Engineering Institute  ของ Carnegie Mellon University ที่เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ได้รายงานจำนวนบริษัททั่วโลกที่ประเมินผ่าน CMMI จนถึงเมื่อเดือนกันยายน 2012  มีจำนวน 6,272 ราย โดยเป็นบริษัทในประเทศจีน 2,128 ราย  บริษัทในสหรัฐอเมริกา 1,416 ราย และบริษัทในอินเดีย 581 ราย ขณะที่ประเทศไทยมีจำนวน 63 ราย โดยเราสามารถดูรายงานฉบับนี้ได้ที่ http://cmmiinstitute.com/wp-content/uploads/2012/11/2012SepCMMI.pdf


Screen Shot 2556-02-09 at 9.51.25 AM

สำหรับจำนวนบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน CMMI และยังรักษาสถานภาพไว้อยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยมีทั้งหมด 36 บริษัท โดยเป็นระดับ  5 ถึง  4  บริษัทคือ บริษัท Avalant บริษัท CPF บริษัท Wealth Management System Limited และ บริษัท GoSoft โดยประเทศไทยมีจำนวนบริษัท CMMI ในปัจจุบันมากที่สุดใน ASEAN ตามมาด้วยมาเลเซีย 27 บริษัท เวียดนาม 23 บริษัท ฟิลิปปินส์ 17 บริษัท สิงคโปร์ 10 บริษัท  และ อินโดนีเซีย 1 บริษัท ซึ่งเราสามารถที่จะดูรายชื่อของบริษัทที่ได้ CMMI ณ ปัจจุบัน ทั้งหมดจากเว็บไซต์ https://sas.cmmiinstitute.com/pars/pars.aspx 

การเป็นแหล่งทางด้าน Outsourcing

ทาง AT Kearney ได้ออกรายงานเรื่อง “Global Services Location Index 2011”ระบุประเทศต่างๆที่มีความน่าสนใจในการทำ Outsourcing โดยมีตัวชี้วัดจากสามด้านคือ  ความน่าสนใจในการลงทุน  (Financial attractiveness)  ความสามารถและความพร้อมของคน (People skills and availabilty) และ สภาวะแวดล้อมเชิงธุรกิจ (Business Environment) ซึ่งในรายงานระบุว่าประเทศอินเดียมีความน่าสนใจเป็นอันดับ  1 ตามด้วยประเทศจีน และมาเลเซีย ส่วนประเทศไทยมีความสนใจในการเป็นแหล่งในการทำ Outsourcing อันดับที่ 7 ของโลก (ทั้งนี้ประเทศเราหล่นจากที่เคยเป็นอันดับที่ 4 เมื่อปี 2009) โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ทางอินโดนีเซียอยู่อันดับ 5 เวียดนามอันดับ 8 และฟิลิปปินส์อันดับ 9

จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ  Outcsourcing ของโลก แต่เราจะพบว่าอุตสาหกรรมด้านนี้จะมีน้อยมากในประเทศไทย ซึ่งผมเองก็เคยเขียนบล็อกเรื่อง “ประเทศไทยติดอันดับประเทศน่าดึงดูดในการทำ Outsourcing แต่ไม่มีอุตสาหกรรมด้านนี้

นอกจากนี้เมื่อมกราคมปี  2012 ทาง Tholons ได้ออกรายงานระบุเมืองที่ติด 100 อันดับในการทำ Outsourcing ทั่วโลกโดยดูจากปริมาณการจ้างงาน ความน่าสนใจ และแนวโน้ม จะพบว่าแหล่งที่น่าสนใจจะอยู่ทางเอเซียใต้ โดยมีเมืองที่ติดอันดับ 1 ถึง 7 ล้วนแต่เป็นเมืองในประเทศอินเดีย โดยมีเมือง Bangalore เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Mumbai และ  Delhi ส่วนกรุงมะนิลาเป็นเมืองเดียวนอกประเทศอินเดียที่ติด 1 ใน  7 คือมีคะแนนมาเป็นอันดับ  4 และหากมาพิจารณาเฉพาะประเทศในกลุ่ม ASEAN  จะเห็นว่าเมืองในประเทศฟิลิปินส์ติดอันดับหลายเมืองมากเช่น Cebu เป็นอันดับ 9 นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเมืองในประเทศเวียดนามก็เป็นแหล่งที่น่าสนใจในการทำ Outsourcing  โดย Ho Chi Minh ติดอันดับ 17 และ Hanoi  ติดอันดับ 21 ขณะที่กรุงเทพมหานครคะแนนลด10 อันดับ ตกมาที่ 87 จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2011

Screen Shot 2556-02-08 at 9.11.53 AM

กล่าวสรุปจะเห็นว่าการจัดอันดับประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในเรื่องของคน ของมาตรฐาน และความน่าสนใจในการลงทุน อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่เรายังขาดการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง ทำให้อุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะการลงทุนจริงทางด้าน Outsourcing จากต่างประเทศไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s