เมื่อเดือนก่อนผมเขียนบทความเรื่อง การคาดการณ์แนวโน้มของ Big Data โดยคาดการณ์ด้านๆต่างไว้  10 เรื่อง และได้กล่าวถึงเรื่อง Big Data as a Service (BDaaS) ไว้ โดยเชื่อว่าจะมีการให้ความสำคัญกับการทำ  Big Data บน Cloud มากขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าการตลาดของ Big Data ในปี 2021  จะสูงถึง 88 พันล้านเหรียญสหรัฐและถ้าคิดมูลค่า Big Data as a Service ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 35% ของตลาดก็จะทำให้มีมูลค่าสูงถึง 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ และผมได้แสดงแผนภาพของ  BDaaS ที่เริ่มพูดถึง as a Service อื่นๆ นอกเหนือจากคำว่า IaaS, PaaS และ SaaS ที่เราคุ้นเคยกันดี ดังรูปที่  1

BDaaSรูปที่ 1 Big Data as a Service

จากจะรูปจะเห็นว่า BDaaS จะมีบริการอย่าง  Compute as a Service  เช่น EC2 บน Amazon Web Services (AWS) หรือ Storage as a Service เช่น S3 บน AWS หรือบริการอย่าง Data as a Service  อาทิเช่น

  • Database as a Service  อย่าง SQL Server บน Azure  หรือ  RDS บน AWS หรือ
  • NoSQL as a Service  เช่น  Mongo DB บน Bluemix หรือ  Heroku
  • Hadoop as a  Service  อย่าง Amazon EMR, Microsoft Azure HDInsight, Rackspace Cloud Big Data Platform, IBM Bluemix และ  Qubole (ผมเองก็ได้เขียนบทความเรื่อง “Big Data on Cloud: Hadoop as a Service “)

คราวนี้พอมาถึงเรื่องสุดท้าย Analytics as a Service ก็เริ่มมีประเด็นขึ้นมาบ้างเพราะหลายๆคนไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง  Big Data, Business intelligence และ  Analytics  พอดีได้อ่านบทความของดร.อธิป อัศวานันท์ รองประธานกรรมการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หอการค้าไทย เรื่อง “ความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับ Big Data และ Analytics (1)” ก็ยิ่งทำให้เห็นสอดคล้องกับท่านว่าคนไทยยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ดี คิดไปว่า  Programmer  หรือ  BI Analyst  จะสามารถเป็น Data Scientist ทำเรื่อง  Analytics ได้ ผมเลยได้เขียนบทความเรื่อง “Big Data Analytics กับความต้องการ Data Scientist ตำแหน่งงานที่น่าสนใจในปัจจุบัน” เพื่อย้ำให้เห็นว่าอะไรคือคำว่า  Analytics และต่่างกับ BI อย่างไร

ตัวผมเองเรียนปริญญาโทและเอกมาทางด้าน Electrical and Electronic  Engineering สมัยนั้นจำได้ว่ามีเพื่อนหลายๆคนทำวิทยานิพนธ์ทางด้าน Neural Networks  ซึ่งก็เป็นคณิตศาสตร์โมเดลด้าน  Analytics แบบหนึ่ง และปีท้ายๆของการเรียนปริญญาเอกและการทำวิจัยหลังจากจบปริญญาเอกก็ต้องมาจัับเรื่อง Analytics กับเขาบ้าง ตอนนั้นทำเรื่อง Parallel Genetic Algorithm เพื่อคาดการณ์ราคาจำหน่ายไฟฟ้าของ Spot Market ที่โรงไฟฟ้าใน New Zealand ต้องแข่งขันกัน การเรียนปริญญาเอกที่ใช้เวลาหลายปี ดูวุ่นวายกับโมเดลคณิตศาสตร์ และ Algorithm  ทำให้บางครั้งก็ท้อ และถามตัวเองหลายครั้งว่า เรามาทำอะไรเสียเวลาอยู่หลายๆปีกับการคำนวณอะไร ขณะที่เพื่อนๆหลายคนจบออกมาก็มีความก้าวหน้าทางการงานไปประกอบอาชีพแล้ว พอจบมาสอนหนังสือนักศึิกษาอีกสิบกว่าปี ก็ได้ใช้โมเดลคณิตศาสตร์เหล่านี้อีกน้อยมาก จนลืมเรื่องเหล่านี้ไป

มาวันนี้พอคำว่า Big Data  Analytics กำลังเข้ามา และได้มีโอกาสให้คำปรึกษาอาจารย์และนักศึกษา รวมถึงให้คำปรึกษาบริษัทต่างๆด้่าน Big Data ทำให้เริ่มเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้เรียนมา และเริ่มเข้าใจว่าอะไรคือประโยชน์ของการเรียนรู้ Predictive Analytics และน่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตไม่มากก็น้อย ซึ่งก็จะช่วยทำให้เราเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ดีขึ้นซึ่่งเป็นการใช้  Big Data  ให้ได้ประโยชน์มากขึ้น

ถ้าเรามาพิจารณา Product ทางด้าน  BI and Analytics จะพบว่ามีรายงานของ Gartner เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เรื่อง Magic Quadrant for Business Intelligence and Analytics Platforms ที่วิเคราะห์ Product ทางด้านนี้ ซึ่งทาง Gartner จะพิจารณา Product จากคุณลักษณะต่างๆ อาทิเช่น ความสามารถในการทำ Report, Dashboard, Interactive visualization หรือการพิจารณาว่ามีความสามารถด้าน advanced analytics เช่น forecasting algorithms หรือดูความสามารถในการที่เชื่อมโยงกับข้อมูล Big Data  อื่นๆอย่าง Hadoop  ซึ่งผลการวิเคราะห์จะพบว่า Product หลายๆตัวก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกันและไม่ได้มี feature ที่ทำได้ทุกด้าน โดย Gartner ได้สรุปรูปของ Magic Quadrant ดังนี้

 Screenshot 2014-10-09 17.57.12

รูปที่  2 Gartner’s Magic Quadrant for Business Intelligence and Analytics Platforms

เมื่อพูดถึงความแตกต่างระหว่าง BI กับ Predictive Analytics และ Product ต่างๆที่กล่าวมาแล้ว เราอาจจะเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่าง BI as a Service  และ Analytics as a Service ซึ่งในปัจจุบันบริการบน Cloud ส่วนใหญ่จะระบุว่าเป็น BI as a Service ตัวอย่างเช่น

Screenshot 2014-10-09 12.44.21

รูปที่ 3  BIME: BI as a Service

BI as a Service บน Cloud เหล่านี้โดยมากจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจาก Data ที่มาจากแหล่งต่างๆได้ บางตัวก็อาจสนับสนุน Big Data ที่เป็น  unstructure หรือบางตัวก็จะมี Analytics Engine ที่ Embedded เข้ามาและทำให้เราใช้ Algorithm วิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลได้ก่อนที่จะใช้ เครื่องมืออย่าง BI ในการที่จะทำ Report/ Dashboard  หรือทำ  Visualization ในมุมมองต่างๆ อาทิเช่น  Birst  ดังแสดงให้เห็นในรูป

Screenshot 2014-10-09 18.05.11

รูปที่  4 Birst Data Sheet

Screenshot 2014-10-09 19.49.48

รูปที่  5 IBM Watson Analytics

แต่เมื่อมาดู Analytics บน Cloud ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้มี Analytics Algorithm ที่ชาญฉลาดมากนัก แต่ก็อาจช่วยลดความจำเป็นของความต้องการ Data Scientist ไปได้บ้าง เพราะอาจใช้เครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วยได้ แต่ที่น่าสนใจและกำลังเป็นเรื่องที่น่าจับตามองก็คือการเปิดตัวของ  IBM Watson Analytics ซึ่งเป็น  ระบบคอมพิวเตอร์ Artificial Intelligent ของ IBM ที่จะให้บริการบน Cloud ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และก็น่าจะเป็น Analytics as a Service บน  Cloud ที่แท้จรืงตัวหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนโลกของการวิเคราะห์  Big Data ไปอย่างมาก และเครื่องมือเหล่านี้อาจเข้ามาช่วยแทนที่ความต้องการหา  Data Scientist   ในอนาคตไปได้

ธนชาติ นุ่มนนท์

IMC Institute

ตุลาคม 2557

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s